ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




‘บำรุงราษฎร์’ติดปีกเทคโนโลยี CARDIOINSIGHT

 

บำรุงราษฎร์, ติดปีก, เทคโนโลยี, CardioInsight

‘บำรุงราษฎร์’ติดปีกเทคโนโลยี CardioInsight (จบ) : คอลัมน์ ดูแลสุขภาพ 

 
          นอกจากนี้ ความอัจฉริยะของอุปกรณ์นี้ ยังสามารถนำข้อมูลคลื่นไฟฟ้าหัวใจที่ตรวจจับได้ ไปประมวลผลร่วมกับข้อมูลกายวิภาคของหัวใจที่ได้จากเครื่องซีทีสแกน แพทย์ก็จะสามารถเห็นภาพที่ชัดเจน ทั้งจังหวะการเต้นของหัวใจทุกๆ จังหวะ เห็นภาพเส้นทางการเดินทางของกระแสไฟฟ้าทั่วหัวใจทั้งดวงว่าออกจากจุดไหนไปยังจุดไหน และเกิดความผิดปกติในจุดไหน

          “ถ้าเป็นคนปกติ หัวใจจะเต้นในห้องบนแล้วส่งสัญญาณไปหัวใจทั้ง 4 ห้อง ทั้งซ้ายและขวา ในกรณีแบบนี้เราก็จะสามารถเห็นได้เลยว่าทุกจังหวะของหัวใจที่เต้นมันเริ่มจากหัวใจห้องบนลงมาห้องล่าง แล้วกระจายออกไปอย่างไร ถ้านับจากต้นกำเนิดไฟฟ้าหัวใจจนทั่วห้องข้างบน ส่วนใหญ่จะเสร็จสิ้นกระบวนการทำงานประมาณ 0.2 วินาที จากนั้นสัญญาณไฟฟ้าจะผ่านจุดเชื่อมระหว่างหัวใจข้างบนข้างล่าง ประมาณ 0.18-0.2 วินาที แล้วก็ลงไปหัวใจห้องล่างประมาณ 0.1 วินาที อันนี้คือหัวใจปกติ แต่ถ้าเป็นหัวใจเต้นผิดปกติเราก็จะเห็นได้ทันทีว่ามันออกมาจากที่ไหน แล้วแพร่ขยายไปอย่างไร จะแพร่กระจาย (spread) แบบเริ่มจากจุดหนึ่งแล้วแซงหรือซ้อนกับคลื่นไฟฟ้าปกติตามธรรมชาติ หรือเป็นวงจร วนกลับไปมาตรงไหน ก็ทำให้แพทย์เข้าใจอาการผิดปกติของคนไข้ได้ว่าเกิดจากอะไร” นพ.กุลวี กล่าว

 
 
 

          ที่สำคัญเครื่องมือชนิดนี้สามารถใช้งานได้โดยไม่ต้องมีการผ่านหรือสอดใส่เครื่องมือเข้าไปในร่างกายคนไข้ (non-invasive procedure) และยังช่วยเป็นส่วนเสริมให้แก่การทำหัตถการที่เป็น invasive procedure เช่นการสวนหัวใจให้ทำได้ง่าย เข้าถึงตำแหน่งเฉพาะได้ดียิ่งขึ้น เป็นต้น
“เมื่อรู้จุดที่เป็นปัญหาแล้วก็ไปทำ invasive procedure ได้ วิธีการในการรักษาเราเรียกว่า Radio Frequency Ablation ซึ่งเป็นเครื่องจี้ด้วยความถี่วิทยุเพื่อสร้างความร้อนลงไปบนจุดที่มีปัญหา อย่างผมเวลาสวนหัวใจเพื่อรักษาคนไข้ก็ให้คนไข้สวม CardioInsight ไว้ เราก็สามารถใช้ข้อมูลจากทั้ง 2 ส่วนนี้ร่วมกัน เรารู้ว่าปัญหาอยู่ตรงไหนเราก็ไปตรงนั้นเลย ไม่ต้องไปค้นในทุกๆ แห่ง นี่คือสิ่งที่คนไข้และแพทย์ได้ประโยชน์จากเทคโนโลยีนี้ ทำให้กระบวนการรักษามีความแม่นยำ มีประสิทธิภาพ และไม่เสียเวลามากเกินไป”

          ๐เดินหน้างานวิจัยภาวะหัวใจเต้นผิดจังหวะ
          เครื่องมือ CardioInsight ถือเป็นเทคโนโลยีใหม่ อยู่ในช่วงริเริ่ม ซึ่งปัจจุบันมีใช้ในโรงพยาบาลเพียงไม่กี่แห่งในโลก คือที่โรงพยาบาลในเมืองบอร์กโดซ์ ประเทศฝรั่งเศส และโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ของไทยที่ใช้งานเครื่องมือนี้อย่างจริงจังในการรักษาอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะ นอกจากนี้ยังมีในโรงพยาบาลบางแห่งในอังกฤษ แต่การใช้งานยังไม่จริงจัง เท่า 2 แห่งแรก ส่วนในอเมริกาซึ่งเป็นต้นกำเนิดของเทคโนโลยีนี้ ก็ยังไม่เป็นที่แพร่หลายเท่าใดนัก แม้ว่าองค์การอาหารและยาแห่งสหรัฐอเมริกา (FDA) จะอนุญาตให้ใช้เครื่องมือนี้ก็ตาม มีเพียงโรงพยาบาล Mount Sinai ที่มีใช้งานและเริ่มใช้หลังจากโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์

          “โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์เป็นโรงพยาบาลไม่กี่แห่งในโลกที่นำเครื่องมือนี้มาใช้ในการรักษา ผมดีใจมากเราที่ได้อุปกรณ์นี้มาไว้ที่ Electrophysiology Lab ของเรา เราไม่ได้นำ CardioInsight มาเพื่อรักษาผู้ป่วยอย่างเดียว อีกเหตุผลหนึ่งที่บำรุงราษฎร์นำเครื่องมือนี้เข้ามา เพราะโรงพยาบาลต้องการวิจัยองค์ความรู้ในเรื่องหัวใจเต้นผิดจังหวะด้วย ขณะที่ทางผู้พัฒนาอุปกรณ์ก็เห็นว่าเราทำได้ดีก็เลยอยากให้เป็นพาร์ทเนอร์ช่วยเหลือในการพัฒนาเทคโนโลยีนี้ให้ดียิ่งขึ้น ซึ่งอย่างที่บอกว่ามีโรงพยาบาลไม่กี่แห่งในโลกที่มีเครื่องมือนี้และเราก็ภูมิใจที่ได้เป็นหนึ่งในนั้น”

          ทั้งนี้ นพ.กุลวี วางแผนโครงการวิจัยสำคัญๆไว้ 2 เรื่อง คือ 1.การนำอุปกรณ์มาช่วยในการรักษาผู้ป่วย Brugada Syndrome หรือโรคใหลตายในภาษาไทย และ 2.วิจัยว่าเครื่องมือชนิดนี้จะเป็นประโยชน์ในการพยากรณ์ความเสี่ยงอาการหัวใจเต้นผิดจังหวะได้หรือไม่

          สำหรับการเก็บข้อมูลเชิงประจักษ์อื่นๆ เช่น เครื่อง CardioInsight จะช่วยเพิ่มประสิทธิภาพการวินิจฉัยหรือย่นเวลาการรักษาได้มากน้อยพียงใดเมื่อเทียบกับเครื่องมือ EKG นพ.กุลวีกล่าวว่า อาจต้องใช้เวลาอีก 5-6 เดือน เนื่องจากอุปกรณ์นี้ยังเป็นของใหม่ ถือเป็น Learning Curve ที่บุคลากรยังอยู่ในช่วงของการเรียนรู้การทำงานร่วมกับเทคโนโลยี แต่เชื่อว่าช่วยย่นเวลาการวินิจฉัยอาการได้แน่นอน

          ขณะเดียวกัน ประมาณกลางปี 2560 หรือต้นปี 2561 นพ.กุลวียังเตรียมจัดประชุมเชิงปฏิบัติการครั้งใหญ่ เกี่ยวกับการรักษาโรคสำคัญๆ อย่างภาวะหัวใจห้องบนสั่นพลิ้ว (Atrial fibrillation) หรือ หัวใจห้องล่างสั่นพลิ้ว (Ventricular Fibrillation) และจะใช้การรักษาด้วยวิธีการจี้ด้วยคลื่นความถี่วิทยุ (Radio Frequency Ablation) ให้มีประสิทธิภาพอย่างไร รวมไปถึงจะนำเครื่องมือ CardioInsight มาช่วยคนไข้และแพทย์ได้อย่างไร ซึ่งจากกระแสขณะนี้ก็มีผู้สนใจเป็นจำนวนมาก

          “เรานำเอา CardioInsight เข้ามา เพราะเราอยากเป็น Arrhythmia Center ที่ทำวิจัยที่ดีที่สุดและเป็นแห่งหนึ่งในโลกที่ดีที่สุดในการรักษา ซึ่งเครื่องมือนี้จะเป็นสิ่งที่มีประโยชน์ ทำให้เราเรียนรู้มากขึ้น เข้าใจโรคมากขึ้น และวินิจฉัยดีขึ้น ทั้งหมดนี้เพื่อให้คนไข้ได้รับสิ่งที่ดีที่สุดนั่นเอง”
โรงพยาบาลบำรุงราษฎร์




แพทย์ วิสัญญี เภสัชกร ยาแผนปัจจุบัน การดูแลผู้ป่วย สาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ

ควรทานยาปฏิชีวนะให้ครบ
ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
โรคฉี่หนู
อย่ากินแอปเปิ้ลไซเดอร์ถ้าไม่รู้ 4.5 ข้อนี้ article
ผิวดำง่ายมากเกิดจาก 6 ข้อนี้ article
กินอาหารแล้วอ้วนจริงหรือ article
เอ็นข้อศอกอักเสบ เกิดจากอะไร? article
เจาะลึกกระบวนการ 'ทดลองยาในคน' article
กว่าจะเป็นยา ต้องผ่านขั้นตอน อะไรบ้าง? article
5 โรคร้ายรักษาง่ายๆด้วย ข้าวกล้อง article
เคล็บลับนอนหลับง่ายๆโดยไม่ต้องใช้ยา article
5 อาหารไขมันสูงยิ่งกินยิ่งผอม article
มือชา รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
กระดูกพรุน รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
เท้าปุก คืออะไร? รักษาอย่างไร? article
กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
ปวดหลังร้าวลงขา นั่งไม่ได้ รักษาอย่างไร? article
โรคท้องผูก ลำไส้ทำงานอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
การรับมือกับโรคมะเร็ง article
โรคหลอดเลือดหัวใจในหนุ่มสาว article
การจัดการโรคไตเรื้อรัง และสิ่งที่เชื่อผิดๆ article
น้ำดื่มบำรุงไต ไม่อยากฟอกไตต้องดู article
5 ความเชื่อผิดๆที่ทำให้ลดน้ำหนักไม่มีวันสำเร็จ article
7 วิธีควบคุมความดันโดยไม่ต้องพึ่งยา article
3 เทคนิคลดความอ้วน “#ไม่ต้องออกกำลังกาย” article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน