ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




หลอดเลือดหัวใจตีบตัน รู้ทัน รักษาได้

 

หลอดเลือดหัวใจตีบตัน รู้ทัน รักษาได้


 

โรงพยาบาลหัวเฉียว

...

คุณธิติ  ศิริเลิศ

ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจตีบตัน

ผมได้มารักษาที่โรงพยาบาลหัวเฉียว  เพราะผมมีอาการแน่นหน้าอก  เหนื่อยง่ายเวลาทำงาน มีอาการลักษณะนี้เป็นระยะเวลานานแล้ว ตอนแรกผมนึกว่าสาเหตุ มาจากการสูบบุหรี่ แต่เมื่อผมเล่าอาการให้คุณหมอฟัง คุณหมอได้ตรวจเช็คอย่างละเอียด โดยการฉีดสีและสวนหัวใจ เพื่อดูความผิดปกติ จึงพบว่าผม มีหลอดเลือดหัวใจตีบ 2 เส้น หลังจากที่ได้ทราบว่าผมเป็นโรคอะไร คุณหมอก็ได้ทำบอลลูนให้ผม 1 เส้นก่อน   ครั้งแรกที่เข้าการรักษา ผมรู้สึกกังวลใจมาก แต่เมื่อคุณหมอสุรพงษ์ได้เข้ามาพูดคุย อธิบายขั้นตอนการรักษา ทำให้ผมผ่อนคลาย และสัมผัสได้ถึงความเป็นกันเอง ผมและครอบครัวจึงไม่รู้สึกวิตกกังวลในการเข้ารักษาในครั้งนี้เลย และเมื่อผมได้ทำการรักษาหลอดเลือดหัวใจตีบ เส้นแรกเสร็จเรียบร้อย  ผมมีความรู้สึกอาการดีขึ้นมาทันที แต่ก็มีอาการเจ็บจี๊ดๆ แทรกเป็นครั้งคราว เพราะเส้นที่ 2 ยังไม่ได้ทำการรักษา เนื่องจากคุณหมอนัดหมายอีก 1 เดือน ค่อยเข้ามารักษาเส้นที่ 2 อีกครั้ง

และเมื่อถึงวันที่คุณหมอนัดหมาย  ผมจึงได้เข้ามาที่ รพ.หัวเฉียวอีกครั้ง เพื่อขยายเส้นเลือดหัวใจตีบ เส้นที่ 2 คุณหมอได้บอกกับผมว่าจะทำให้เต็มที่ เพราะการรักษาในครั้งนี้ค่อนข้างที่จะเสี่ยงมากกว่าเส้นแรก สุดท้ายก็ผ่านไปอย่างเรียบร้อยสำหรับการทำบอลลูน หลอดเลือดหัวใจตีบเส้นที่ 2 ผมมีสบายใจมากเหมือนยกภูเขาออกจากอก เพราะอาการเจ็บแน่นหน้าอกที่มีก่อนหน้านี้หายไปอย่างปลิดทิ้ง  การรักษาในครั้งนี้ผ่านไปอย่างง่ายดาย  ทั้งหมดนี้ผมต้องขอขอบคุณโรงพยาบาลหัวเฉียว  และคุณหมอสุรพงษ์ พยาบาลทุกคนที่คอยให้กำลังใจ พูดคุยให้ผมคลายเครียด ไม่มีความกลัวใจในการรักษาในครั้งนี้เลยสักนิดครับ

น.พ.สุรพงษ์     วรสุวรรณรักษ์

แพทย์หัวหน้าศูนย์หัวใจและหลอดเลือด  โรงพยาบาลหัวเฉียว

สาขาอายุรศาสตร์ อนุสาขาอายุรศาสตร์  โรคหัวใจและหัตถการปฏิบัติและรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด

ผู้ป่วยเข้ามาตรวจอาการที่ โรงพยาบาลหัวเฉียว ด้วยอาการแน่นหน้าอก เป็นๆ หายๆ มาประมาณ 2-3 ปี โดยผลการตรวจจากเครื่องทดสอบสมรรถภาพหัวใจขณะออกกำลังกาย (Exercise stress test) พบว่าผลการตรวจผิดปกติ  ประกอบกับผู้ป่วยมีโรคประจำตัวเป็นทั้ง โรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง ไขมันในเลือดสูง  อีกทั้งผู้ป่วยสูบบุหรี่ ผมจึงได้ทำการนัดหมายผู้ป่วยมารักษาด้วยวิธีการฉีดสีตรวจหัวใจ พบว่าหลอดเลือดหัวใจของผู้ป่วยมีรอยโรค 2 เส้น เส้นแรก ตันอยู่ทางด้านขวา และเส้นสองตีบอยู่ด้านซ้ายใกล้ขั้วหัวใจ 

เนื่องจากรอยโรคที่พบ ผมจึงตัดสินใจทำการรักษาเส้นที่ตันก่อน โดยทำบอลลูน ใส่ขดลวดเข้าไปขยาย เมื่อทำการรักษาผ่านไปเรียบร้อย ผู้ป่วยได้กล่าวว่าอาการหลังทำบอลลูนเสร็จ  รู้สึกดีขึ้นตั้งแต่ออกจากห้องรักษา อาการแน่นหน้าอกหายไปเกือบหมด ไม่เหมือนเมื่อก่อน  หลังจากนั้นผมได้ตรวจติดตามอาการผู้ป่วย  เช่น ตรวจระดับไขมันในเลือดเป็นระยะๆ เพื่อที่หลังจาก 1 เดือน จะได้ทำการรักษาเส้น 2 ที่ตีบอยู่ด้านซ้าย

สาเหตุของโรคหัวใจและหลอดเลือดเกิดจากการที่มีไขมันจับที่ผนังของหลอดเลือดหัวใจ เรียกว่า พลัค (Plaque) ส่งผลให้ผนังหลอดเลือดแข็งหนา รูในหลอดเลือด จึงตีบแคบลง เลือดจึงหล่อเลี้ยงกล้ามเนื้อหัวใจลดลงเกิดเป็นโรคกล้ามเนื้อหัวใจขาดเลือด ทำให้มีอาการแน่นหน้าอกและเหนื่อยง่ายเวลาออกแรง หยุดพักแล้วดีขึ้น ในผู้ป่วยบางราย พลัค (Plaque) ที่จับที่ผนังหลอดเลือดมีการอักเสบและแตกออก (Plaque rupture) กระตุ้นให้เกิดการจับตัวเป็นก้อนของเกร็ดเลือดทำให้หลอดเลือด อุดตันทันที ทำให้ผู้ป่วยมีอาการแน่นหน้าอกอย่างรุนแรง เหงื่อแตก ตัวเย็น อาจถึงขั้นทำให้หัวใจ หยุดเต้น และถึงขั้นเสียชีวิตได้ ปัจจัยเสี่ยงสำคัญที่ทำให้เกิดโรคหลอดเลือดหัวใจได้แก่ เพศชาย อายุมากกว่า 45 ปี และเพศหญิง อายุมากกว่า 55 ปี สำหรับผู้ป่วยที่เป็นโรคเบาหวาน ความดันโลหิตสูง แต่ยังไม่ได้เป็นโรคหัวใจ ก็ควรต้องรักษาควบคุมระดับความดัน และไขมันในเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ส่วนผู้ป่วยที่เป็นโรคหัวใจและหลอดเลือด นอกจากการรับประทานยาตามคำแนะนำของแพทย์แล้ว ยังต้องมีการปรับเปลี่ยนพฤติกรรมร่วมด้วย ได้แก่ การรับประทานอาหารให้ถูกต้องหลักโภชนาการ  หลีกเลี่ยงอาหารที่มีไขมันสูง  หมั่นออกกำลังกาย  ลดความเครียด งดการสูบบุหรี่

 

น.พ.สุรพงษ์    วรสุวรรณรักษ์

แพทย์หัวหน้าศูนย์หัวใจและหลอดเลือด  โรงพยาบาลหัวเฉียว

สาขาอายุรศาสตร์ อนุสาขาอายุรศาสตร์  โรคหัวใจและหัตถการปฏิบัติและรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือด

หมดกังวล... หลอดเลือดหัวใจตีบตัน รู้ทัน รักษาได้

 

เครื่องมือพิเศษในห้องปฏิบัติการสวนหัวใจ (Cath Lab)

หมดกังวล... หลอดเลือดหัวใจตีบตัน รู้ทัน รักษาได้

เครื่องตรวจสมรรถภาพหัวใจ (Exercise stress test)

หมดกังวล... หลอดเลือดหัวใจตีบตัน รู้ทัน รักษาได้

เครื่องตรวจหัวใจด้วยคลื่นเสียงสะท้อนความถี่สูง ( Echocardiogram)

หมดกังวล... หลอดเลือดหัวใจตีบตัน รู้ทัน รักษาได้




แพทย์ วิสัญญี เภสัชกร ยาแผนปัจจุบัน การดูแลผู้ป่วย สาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ

ควรทานยาปฏิชีวนะให้ครบ
ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
โรคฉี่หนู
อย่ากินแอปเปิ้ลไซเดอร์ถ้าไม่รู้ 4.5 ข้อนี้ article
ผิวดำง่ายมากเกิดจาก 6 ข้อนี้ article
กินอาหารแล้วอ้วนจริงหรือ article
เอ็นข้อศอกอักเสบ เกิดจากอะไร? article
เจาะลึกกระบวนการ 'ทดลองยาในคน' article
กว่าจะเป็นยา ต้องผ่านขั้นตอน อะไรบ้าง? article
5 โรคร้ายรักษาง่ายๆด้วย ข้าวกล้อง article
เคล็บลับนอนหลับง่ายๆโดยไม่ต้องใช้ยา article
5 อาหารไขมันสูงยิ่งกินยิ่งผอม article
มือชา รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
กระดูกพรุน รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
เท้าปุก คืออะไร? รักษาอย่างไร? article
กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
ปวดหลังร้าวลงขา นั่งไม่ได้ รักษาอย่างไร? article
โรคท้องผูก ลำไส้ทำงานอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
การรับมือกับโรคมะเร็ง article
โรคหลอดเลือดหัวใจในหนุ่มสาว article
การจัดการโรคไตเรื้อรัง และสิ่งที่เชื่อผิดๆ article
น้ำดื่มบำรุงไต ไม่อยากฟอกไตต้องดู article
5 ความเชื่อผิดๆที่ทำให้ลดน้ำหนักไม่มีวันสำเร็จ article
7 วิธีควบคุมความดันโดยไม่ต้องพึ่งยา article
3 เทคนิคลดความอ้วน “#ไม่ต้องออกกำลังกาย” article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน