ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




สารอันตรายในผิวหนัง

 

สารอันตรายในผิวหนัง

 

 

สิ่งที่เราใช้อยู่เป็นประจำก็มีสารอันตรายหรือเนี้ย???

      การดูแลผิวหนังให้สะอาดและมีสุขภาพดีในทุกๆ วัน เป็นสิ่งจำเป็น แต่รู้หรือไม่ว่าปัจจุบันมีสารเคมีมากมายหลายชนิด ถูกใช้เป็นส่วนผสมของผลิตภัณฑ์ดูแลผิวที่จำหน่ายในเมืองไทย ซึ่งบางครั้งจะก่อให้เกิดอาการแพ้และมีสารระคายเคืองตกค้าง อาจได้รับสารเคมีบางอย่างแทรกซึมเข้าร่างกาย ผ่านเกราะป้องกันอย่างผิวพรรณไปโดยไม่รู้ตัว

       พญ.ฐิตาภรณ์ วรรณประเสริฐ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญเฉพาะทางด้านผิวหนังเด็ก เผยว่า ผิวหนังเปรียบเสมือนกำแพงด่านหน้าที่คอยปกป้องร่างกายจากภายนอกรวมถึงเชื้อโรคต่างๆ ยิ่งใน เด็กทารกการยึดติดกันของเซลล์ยังไม่แข็งแรงมาก ทำให้ผิวหนังเกิดตุ่มน้ำได้ง่าย และมีโอกาสติดเชื้อได้บ่อยกว่าผู้ใหญ่ จนเมื่อโตขึ้นร่างกายสร้างภูมิคุ้มกันจากปัจจัยรอบด้าน ในการดูแลป้องกันไม่ให้เชื้อโรคเข้าสู่ร่างกายตัวเองได้ง่าย อาทิ สร้างสภาวะการเป็นกรดของผิวหนังที่พอดี ช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อแบคทีเรียหรือกระทั่งแบคทีเรียประจำถิ่นซึ่งคอยยับยั้งแบคทีเรียกลุ่มที่ก่อให้เกิดโรค ฯลฯ กระนั้นก็ใช่ว่ากำแพงผิวจะแข็งแกร่งเสมอไป ตราบที่ยังนำพาสารเคมีต่างๆ ให้แทรกซึมเข้าร่างกายในชีวิตประจำวัน ทั้งในรูปแบบประทินผิวหรือรักษา ฉะนั้นวิธีการที่ดีที่สุดคือรู้เท่าทันจะได้ป้องกันได้  

 
 

สารอันตรายในผิวหนัง

พญ.ฐิตาภรณ์ วรรณประเสริฐ

     "สำหรับ 4 สารที่ควรเฝ้าระวังและอาจก่อให้เกิดอันตราย อย่างแรกคือ โซเดียมลอริลซัลเฟต เป็นสารที่มีคุณสมบัติลดแรงตึงผิวของน้ำ ทำให้เกิดฟอง ช่วยให้สิ่งสกปรกและคราบไขมันหลุดออกได้ง่าย ใช้เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางหลายชนิด เช่น สบู่ แชมพู ครีมล้างหน้า และยาสีฟัน จากการวิจัยพบว่าหากความเข้มข้นของสารที่ใส่ในผลิตภัณฑ์มีปริมาณมากเกินไป อาจก่อให้เกิดการระคายเคืองของผิวหนังบริเวณที่สัมผัส โดยการระคายเคืองจะเพิ่มขึ้นตามความเข้มข้นของสารที่เพิ่มขึ้นด้วย ถัดมาคือ สารกลุ่มพาราเบน เป็นสารกันเสีย มีคุณสมบัติช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อรา ยีสต์ และแบคทีเรีย ป้องกันไม่ให้เครื่องสำอางเสียง่าย นิยมใช้ในผลิตภัณฑ์อาบน้ำ แชมพู ครีมนวดผม ครีมบำรุงผิวหน้า ครีมโกนหนวด น้ำยาดัดผมถาวร ยาสีฟัน และยาระงับกลิ่น เนื่องจากเคยมีรายงานผู้ป่วยที่เป็นมะเร็งเต้านมและตรวจพบพาราเบนในเซลล์มะเร็ง ซึ่งปัจจุบันก็ยังไม่มีงานวิจัยที่ยืนยันแน่ชัดว่าเครื่องสำอางที่มีส่วนผสมของพาราเบนจะก่อให้เกิดมะเร็งเต้านมหรือไม่ เนื่องจากมีข้อถกเถียงกันถึงความปลอดภัยของพาราเบน ปัจจุบันมีผลิตภัณฑ์ที่ใช้สารชนิดอื่นที่ผลิตจากธรรมชาติเป็นสารกันเสียแทน โดยไม่มีส่วนผสมของพาราเบน

สารอันตรายในผิวหนัง

ตัวอย่างผิวหนังที่แพ้สารเคมี

      ส่วน เมทิลไอโซไทอะโซลิโนน เป็นสารกันเสีย มีคุณสมบัติช่วยยับยั้งการเจริญเติบโตของแบคทีเรีย เชื้อรา และยีสต์ ในแชมพู ผลิตภัณฑ์บำรุงผิว ครีมอาบน้ำ เป็นส่วนผสมในเครื่องสำอางและผ้าเช็ดทำความสะอาดสำหรับเด็ก เป็นสารที่อาจทำให้เกิด การระคายเคือง เกิดการแพ้ได้ง่าย โดยกระทรวงสาธารณสุข ควบคุมให้ใช้สารนี้ในความเข้มข้นที่กำหนดและให้ใช้ในผลิตภัณฑ์ที่ใช้แล้วต้องล้างออกเท่านั้น และสุดท้ายคือ ไตรโคลซาน เป็นส่วนผสมในผลิตภัณฑ์ทำความสะอาด เช่น สบู่ฆ่าเชื้อแบคทีเรีย ยาสีฟัน เครื่องสำอาง มีฤทธิ์ช่วยลดหรือป้องกันการติดเชื้อแบคทีเรีย มีประสิทธิภาพในการป้องกันเหงือกอักเสบ แต่หากใช้ปริมาณที่เกินกำหนดจะทำให้เกิดพิษ มีรายงานในสัตว์ทดลองว่าทำให้เกิดความผิดปกติของฮอร์โมนไทรอยด์ ทำให้การหดตัวของกล้ามเนื้อผิดปกติ มีผลกับการทำงานของหัวใจและการใช้ผลิตภัณฑ์ที่มีไตรโคซานเป็นระยะเวลานานจะมีความเสี่ยงต่อเชื้อแบคทีเรียดื้อยา" ผู้เชี่ยวชาญแนะ

สารอันตรายในผิวหนัง

 





แพทย์ วิสัญญี เภสัชกร ยาแผนปัจจุบัน การดูแลผู้ป่วย สาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ

ควรทานยาปฏิชีวนะให้ครบ
ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
โรคฉี่หนู
อย่ากินแอปเปิ้ลไซเดอร์ถ้าไม่รู้ 4.5 ข้อนี้ article
ผิวดำง่ายมากเกิดจาก 6 ข้อนี้ article
กินอาหารแล้วอ้วนจริงหรือ article
เอ็นข้อศอกอักเสบ เกิดจากอะไร? article
เจาะลึกกระบวนการ 'ทดลองยาในคน' article
กว่าจะเป็นยา ต้องผ่านขั้นตอน อะไรบ้าง? article
5 โรคร้ายรักษาง่ายๆด้วย ข้าวกล้อง article
เคล็บลับนอนหลับง่ายๆโดยไม่ต้องใช้ยา article
5 อาหารไขมันสูงยิ่งกินยิ่งผอม article
มือชา รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
กระดูกพรุน รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
เท้าปุก คืออะไร? รักษาอย่างไร? article
กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
ปวดหลังร้าวลงขา นั่งไม่ได้ รักษาอย่างไร? article
โรคท้องผูก ลำไส้ทำงานอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
การรับมือกับโรคมะเร็ง article
โรคหลอดเลือดหัวใจในหนุ่มสาว article
การจัดการโรคไตเรื้อรัง และสิ่งที่เชื่อผิดๆ article
น้ำดื่มบำรุงไต ไม่อยากฟอกไตต้องดู article
5 ความเชื่อผิดๆที่ทำให้ลดน้ำหนักไม่มีวันสำเร็จ article
7 วิธีควบคุมความดันโดยไม่ต้องพึ่งยา article
3 เทคนิคลดความอ้วน “#ไม่ต้องออกกำลังกาย” article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน