ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




มะเร็งในไทยที่น่าเป็นห่วง

 

มะเร็งในไทยที่น่าเป็นห่วง

ถาบันมะเร็งแห่งชาติ ชี้ผู้หญิงไทยยังเสี่ยงเป็นมะเร็งเต้านมสูงอย่างต่อเนื่อง จากปัจจัยกรรมพันธุ์-ความอ้วน-ขาดการออกกำลังกาย แนะเปลี่ยนพฤติกรรมใส่ใจสุขภาพ ลดความเสี่ยงการเกิดโรคมะเร็งและอัตราการเสียชีวิต พร้อมเดินหน้าส่งเสริมการวิจัยสร้างสรรค์นวัตกรรมดูแลสุขภาพยกระดับคุณภาพชีวิตคนไทย รับนโยบายไทยแลนด์ 4.0

      นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ ผู้อำนวยการสถาบันมะเร็งแห่งชาติ เปิดเผยว่า สถานการณ์โรคมะเร็งในประเทศไทยปัจจุบันยังถือว่าน่าเป็นห่วง จำนวนผู้ป่วยมีอัตราการเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่องตลอด 20 ปีที่ผ่านมา และเป็นสาเหตุการเสียชีวิตอันดับ 1 ของคนไทย โดยโรคมะเร็งที่พบมาก 5 อันดับแรกในเพศหญิง ได้แก่ มะเร็งเต้านม มะเร็งตับ มะเร็งปากมดลูก มะเร็งปอด และมะเร็งลำไส้ใหญ่ ส่วนโรคมะเร็งที่พบมาก 5 อันดับแรกในเพศชาย ได้แก่ มะเร็งตับ มะเร็งปอด มะเร็งลำไส้ใหญ่ มะเร็งต่อมลูกหมาก และมะเร็งเม็ดเลือดขาว ทั้งยังมีแนวโน้มที่จำนวนผู้ป่วยมะเร็งจะเพิ่มขึ้นอีกอย่างต่อเนื่อง ทั้งนี้มีข้อสังเกตที่น่าสนใจว่า มะเร็งบางชนิดที่สามารถป้องกันหรือคัดกรองได้ และเคยเป็นปัญหามากในอดีต เช่น มะเร็งปากมดลูกที่มีการคัดกรองเพื่อหาเชื้อมะเร็งด้วยการตรวจแปปสเมียร์อย่างต่อเนื่อง หรือมะเร็งตับจากไวรัสตับอักเสบบี ที่สามารถป้องกันได้ด้วยการฉีดวัคซีนมีแนวโน้มลดลง ขณะที่มะเร็งบางชนิด เช่น มะเร็งเต้านมและมะเร็งลำไส้ใหญ่ ยังมีแนวโน้มเพิ่มขึ้นอย่างต่อเนื่อง

 
 

ภัยร้าย...โรคมะเร็ง

นพ.วีรวุฒิ อิ่มสำราญ

        “ปัจจุบัน โรคมะเร็งเต้านมได้กลายมาเป็นโรคมะเร็งที่พบบ่อยที่สุดในเพศหญิง ในปี 2557 มีผู้ป่วยมะเร็งเต้านมเสียชีวิตจำนวน 3,455 ราย หรือเฉลี่ยวันละ 10.5 ราย โดยผู้หญิงที่เข้าสู่วัยเจริญพันธุ์ทุกช่วงอายุ มีความเสี่ยงที่จะเป็นโรคมะเร็งเต้านมได้ทุกคน แต่ในกลุ่มที่อายุมากกว่า 40 ปีขึ้นไปจะมีความเสี่ยงมากขึ้นอย่างชัดเจน และช่วงอายุที่พบอุบัติการณ์การเป็นมะเร็งเต้านมสูงสุดคือระหว่าง 50-55 ปี มีอัตราป่วยสูงประมาณ 95 รายต่อประชากรแสนคน สืบเนื่องมาจากปัจจัยเสี่ยงหลายประการ ทั้งอายุที่เพิ่มมากขึ้น พฤติกรรมการบริโภคที่เน้นไขมันสูง ภาวะอ้วน การดื่มแอลกอฮอล์ การไม่ออกกำลังกาย รวมถึงปัจจัยทางพันธุกรรม ส่วนใหญ่ของผู้ป่วยที่เสียชีวิต มักมาพบแพทย์เมื่อมะเร็งเต้านมได้ลุกลามและแพร่กระจายแล้ว ดังนั้นเพื่อเพิ่มโอกาสในการรักษา นอกจากจะต้องปรับเปลี่ยนพฤติกรรมการใช้ชีวิตและหลีกเลี่ยงปัจจัยเสี่ยงต่างๆ แล้ว ก็ควรหมั่นสังเกตความผิดปกติ และตรวจเต้านมด้วยตนเองอย่างสม่ำเสมอทุกเดือน สำหรับหญิงที่มีอายุ 20 ปีขึ้นไป ส่วนผู้หญิงที่มีอายุ 30 ปีขึ้นไป นอกเหนือจากการตรวจเต้านมด้วยตนเองแล้ว ควรเพิ่มการตรวจเต้านมกับบุคลากรทางการแพทย์อย่างน้อยทุก 3 ปี และเพิ่มเป็นทุกปีเมื่ออายุ 40 ปีขึ้นไปควบคู่กับการตรวจเอกซเรย์เต้านม” แพทย์ผู้เชี่ยวชาญ แนะนำ

ภัยร้าย...โรคมะเร็ง

ภัยร้าย...โรคมะเร็ง

      สำหรับการควบคุมโรคมะเร็งในยุคประเทศไทย 4.0 ที่มุ่งใช้เทคโนโลยีมาเป็นตัวขับเคลื่อนการพัฒนานั้น สถาบันมะเร็งแห่งชาติได้ให้ความสำคัญกับการวิจัยโรคมะเร็งมาอย่างต่อเนื่อง ทั้งในด้านกว้างเกี่ยวกับการพัฒนานโยบายสาธารณะ และในเชิงลึกเพื่อให้เกิดนวัตกรรมการดูแลผู้ป่วยที่จะช่วยยกระดับสุขภาพของประชาชนได้อย่างมีประสิทธิภาพ หนึ่งในโครงการวิจัยที่มีศักยภาพขณะนี้ คือ งานวิจัยเพื่อพัฒนาวิธีการคัดกรองมะเร็งเต้านมจากการตรวจเลือดซึ่งขณะนี้กำลังอยู่ระหว่างการพัฒนา อีกทั้งต้องใช้เงินทุนจำนวนมากจึงเปิดรับการสนับสนุนด้านเงินทุนจากภาคเอกชนร่วมด้วยอย่างต่อเนื่อง




แพทย์ วิสัญญี เภสัชกร ยาแผนปัจจุบัน การดูแลผู้ป่วย สาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ

ควรทานยาปฏิชีวนะให้ครบ
ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
โรคฉี่หนู
อย่ากินแอปเปิ้ลไซเดอร์ถ้าไม่รู้ 4.5 ข้อนี้ article
ผิวดำง่ายมากเกิดจาก 6 ข้อนี้ article
กินอาหารแล้วอ้วนจริงหรือ article
เอ็นข้อศอกอักเสบ เกิดจากอะไร? article
เจาะลึกกระบวนการ 'ทดลองยาในคน' article
กว่าจะเป็นยา ต้องผ่านขั้นตอน อะไรบ้าง? article
5 โรคร้ายรักษาง่ายๆด้วย ข้าวกล้อง article
เคล็บลับนอนหลับง่ายๆโดยไม่ต้องใช้ยา article
5 อาหารไขมันสูงยิ่งกินยิ่งผอม article
มือชา รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
กระดูกพรุน รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
เท้าปุก คืออะไร? รักษาอย่างไร? article
กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
ปวดหลังร้าวลงขา นั่งไม่ได้ รักษาอย่างไร? article
โรคท้องผูก ลำไส้ทำงานอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
การรับมือกับโรคมะเร็ง article
โรคหลอดเลือดหัวใจในหนุ่มสาว article
การจัดการโรคไตเรื้อรัง และสิ่งที่เชื่อผิดๆ article
น้ำดื่มบำรุงไต ไม่อยากฟอกไตต้องดู article
5 ความเชื่อผิดๆที่ทำให้ลดน้ำหนักไม่มีวันสำเร็จ article
7 วิธีควบคุมความดันโดยไม่ต้องพึ่งยา article
3 เทคนิคลดความอ้วน “#ไม่ต้องออกกำลังกาย” article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน