ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




งูกัดปฐมพยาบาลอย่างไร (หมอชาวบ้าน) ข้อมูลจาก ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป

 

งูกัดปฐมพยาบาลอย่างไร (หมอชาวบ้าน)
ข้อมูลจาก ตำราการตรวจรักษาโรคทั่วไป

          แต่ละปีมีผู้เสียชีวิตจากการถูกงูกัดหลายราย พบว่าอายุระหว่าง 10-39 ปี ถูกงูกัดมากกว่าช่วงอายุอื่น และผู้ชายจะถูกงูกัดมากกว่าผู้หญิงประมาณ 2 เท่า ยกเว้นงูเขียวหางไหม้ ที่ผู้ชายและผู้หญิงมีโอกาสถูกกัดเท่า ๆ กัน

การปฐมพยาบาล

          หลังถูกงูกัดจะต้องปฐมพยาบาลทันที ก่อนที่จะนำส่งโรงพยาบาล ญาติพี่น้อง หรือเพื่อนฝูงต้องช่วยปฐมพยาบาลเบื้องต้นทันที โดยคำแนะนำการปฐมพยาบาลผู้ที่ถูกงูกัด ได้แก่

          https://img.kapook.com/image/icon/cs_icon/correct_red.gif 1. ใช้เชือก ผ้า หรือสายยางรัดแขนหรือขา ระหว่างแผลงูกัดกับหัวใจ (เหนือรอยเขี้ยว 2-4 นิ้วฟุต) เพื่อป้องกันมิให้พิษงูถูกดูดซึมเข้าร่างกายโดยเร็ว ให้รัดแน่นพอที่จะหยุดการไหลเวียนของเลือดดำ ควรคลายเชือกทุก ๆ 15 นาที โดยคลายนานครั้งละ 30-60 วินาที จนกว่าจะถึงสถานพยาบาล


          https://img.kapook.com/image/icon/cs_icon/correct_red.gif 2. เคลื่อนไหวแขน หรือขาส่วนที่ถูกงูกัดให้น้อยที่สุด ควรจัดตำแหน่งของส่วนที่ถูกงูกัดให้อยู่ระดับต่ำกว่าหัวใจ (เช่น ห้อยเท้า หรือมือส่วนที่ถูกงูกัดลงต่ำ) ระหว่างเดินทางไปสถานพยาบาล อย่าให้ผู้ป่วยเดิน ให้นั่งรถหรือแคร่หาม ทั้งนี้เพื่อป้องกันการแพร่กระจายของพิษงู

          https://img.kapook.com/image/icon/cs_icon/correct_red.gif 3. ควรดูให้รู้แน่ว่าเป็นงูอะไร แต่ถ้าไม่แน่ใจ ควรบอกให้คนอื่นที่อยู่ในที่เกิดเหตุช่วยตีงูให้ตาย และนำไปยังสถานพยาบาลด้วย (อย่าตีให้เละจนจำลักษณะไม่ได้)

          https://img.kapook.com/image/icon/cs_icon/correct_red.gif 4. อย่าให้ผู้ป่วยดื่มแอลกอฮอล์ หรือยาดองเหล้า หรือกินยากระตุ้นประสาท รวมทั้งชา กาแฟ

          https://img.kapook.com/image/icon/cs_icon/correct_red.gif 5. อย่าใช้ไฟ หรือเหล็กร้อนจี้ที่แผลงูกัด และอย่าใช้มีดกรีดแผลเป็นอันขาด เพราะอาจทำให้เลือดออกมาก

          https://img.kapook.com/image/icon/cs_icon/correct_red.gif 6. ถ้าผู้ป่วยหยุดหายใจ (จากงูที่มีพิษต่อประสาท) ให้ทำการเป่าปากช่วยหายใจไปตลอดทาง จนกว่าจะถึงสถานพยาบาลที่ใกล้บ้านที่สุด

          https://img.kapook.com/image/icon/cs_icon/correct_red.gif 7. สำหรับบาดแผลให้ใช้ยาฆ่าเชื้อทำความสะอาดบาดแผล ถ้ารู้สึกปวดแผล ให้กินพาราเซตามอล ห้ามให้แอสไพริน เพราะอาจทำให้เลือดออกง่ายขึ้น

เกร็ดความรู้

          https://img.kapook.com/image/icon/cs_icon/book.gif ช่วงเวลาที่พบผู้ป่วยถูกงูกัดชุกชุม คือ ฤดูฝน (ตั้งแต่เดือนพฤษภาคมถึงพฤศจิกายน) 

          https://img.kapook.com/image/icon/cs_icon/book.gif ผู้ป่วยที่ถูกงูพิษกัด พบว่า ถูกงูกะปะกัดมากอันดับหนึ่ง (ภาคใต้) รองลงมาคือ งูเขียวหางไหม้ (ภาคกลาง) และงูเห่า (ภาคกลาง) ตามลำดับ

ความแตกต่างระหว่างงูพิษกับงูไม่มีพิษ

          https://img.kapook.com/image/icon/cs_icon/book.gif งูพิษ มีเขี้ยว 1 คู่ อยู่ตรงขากรรไกรบน เขี้ยวมีลักษณะเป็นรูกลวงคล้ายเข็มฉีดยา มีท่อติดต่อกับต่อมน้ำพิษ เมื่องูพิษกัดคนหรือสัตว์ ต่อมน้ำพิษจะปล่อยพิษไหลมาตามท่อ และออกทางปลายเขี้ยว คนที่ถูกงูพิษกัดจะพบรอยเขี้ยวเป็นจุด 2 จุด ตรงบริเวณที่ถูกกัด

          https://img.kapook.com/image/icon/cs_icon/book.gif งูไม่มีพิษ จะไม่มีเขี้ยว มีแต่ฟัน เมื่อกัดคน จะเป็นแต่รอยถลอกหรือรอยถากเท่านั้น จะไม่พบรอยเขี้ยว

          https://img.kapook.com/image/icon/cs_icon/book.gif งูไม่มีพิษ เช่น งูก้นขบ งูแสงอาทิตย์ งูปี่แก้ว งูเขียวปากจิ้งจก งูลายสาบ งูลายสอ งูงอด งูเหลือม และงูหลาม (2 ชนิดหลังตัวใหญ่ สามารถรัดลำตัว ทำให้ตายได้) (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ถ้าถูกงูที่มีพิษต่อเลือดกัด) หรืออาจตัดถูกเส้นเอ็นหรือเส้นประสาท รวมทั้งอาจทำให้เกิดการติดเชื้อได้




แพทย์ วิสัญญี เภสัชกร ยาแผนปัจจุบัน การดูแลผู้ป่วย สาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ

ควรทานยาปฏิชีวนะให้ครบ
ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
โรคฉี่หนู
อย่ากินแอปเปิ้ลไซเดอร์ถ้าไม่รู้ 4.5 ข้อนี้ article
ผิวดำง่ายมากเกิดจาก 6 ข้อนี้ article
กินอาหารแล้วอ้วนจริงหรือ article
เอ็นข้อศอกอักเสบ เกิดจากอะไร? article
เจาะลึกกระบวนการ 'ทดลองยาในคน' article
กว่าจะเป็นยา ต้องผ่านขั้นตอน อะไรบ้าง? article
5 โรคร้ายรักษาง่ายๆด้วย ข้าวกล้อง article
เคล็บลับนอนหลับง่ายๆโดยไม่ต้องใช้ยา article
5 อาหารไขมันสูงยิ่งกินยิ่งผอม article
มือชา รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
กระดูกพรุน รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
เท้าปุก คืออะไร? รักษาอย่างไร? article
กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
ปวดหลังร้าวลงขา นั่งไม่ได้ รักษาอย่างไร? article
โรคท้องผูก ลำไส้ทำงานอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
การรับมือกับโรคมะเร็ง article
โรคหลอดเลือดหัวใจในหนุ่มสาว article
การจัดการโรคไตเรื้อรัง และสิ่งที่เชื่อผิดๆ article
น้ำดื่มบำรุงไต ไม่อยากฟอกไตต้องดู article
5 ความเชื่อผิดๆที่ทำให้ลดน้ำหนักไม่มีวันสำเร็จ article
7 วิธีควบคุมความดันโดยไม่ต้องพึ่งยา article
3 เทคนิคลดความอ้วน “#ไม่ต้องออกกำลังกาย” article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน