ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




กระทรวงพาณิชย์ กระทรวงทรัพยากร เรื่อง มันฉาว ข้าวฉาว ฝายฉาว ลำไยฉาว มันคือตัวแทนประชาชนคนชัยนาท คนราชบุรี คนพิจิตร ประชาชนอ่านข่าวช่วยบอกต่อ คนทั้งประเทศเดือดร้อน อย่าให้มันสืบต่อมรดกการเมือง

 

กระทรวงพาณิชย์ (ประเทศไทย)

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี(เปลี่ยนทางมาจาก กระทรวงพาณิชย์)

กระทรวงพาณิชย์แห่งราชอาณาจักรไทย (อังกฤษ: Ministry of Commerce of Thailand) เป็นกระทรวงหนึ่งของประเทศไทยที่มีอำนาจหน้าที่เกี่ยวกับการค้า ธุรกิจบริการ ทรัพย์สินทางปัญญา และราชการอื่นตามที่มีกฎหมายกำหนดให้เป็นอำนาจหน้าที่ของกระทรวงพาณิชย์ หรือส่วนราชการที่สังกัดกระทรวงพาณิชย์ กระทรวงพาณิชย์ตั้งอยู่ที่ 44/100 ถนนสนามบินน้ำอำเภอเมืองจังหวัดนนทบุรี 11000

 เนื้อหา

ประวัติ

 กระทรวงพาณิชย์เดิมเรียก "กระทรวงเศรษฐการ" ตั้งขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2435 ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เดิมรวมอยู่กับกระทรวงเกษตรและสหกรณ์ เรียกว่า "กระทรวงเกษตรพาณิชยการ" ภายหลังจึงแบ่งออกเป็น กระทรวงเกษตราธิการ และ กระทรวงเศรษฐการ

^ พระราชบัญญัติงบประมาณรายจ่ายประจำปีงบประมาณ พ.ศ. 2554

 

 

กระทรวงพาณิชย์
ราชอาณาจักรไทย

ศูนย์บัญชาการ


44/100 ถนนสนามบินน้ำ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี 11000

ภาพรวมของหน่วยงาน

วันก่อตั้ง

พ.ศ. 2435

เขตอำนาจ

ทั่วราชอาณาจักร

งบประมาณ

6,899,226,100 บาท (พ.ศ. 2554)[1]

รัฐมนตรีว่าการ

พรทิวา นาคาศัย, รัฐมนตรี
อลงกรณ์ พลบุตร, รัฐมนตรีช่วย

ผู้บริหาร

ยรรยง พวงราช, ปลัด
พิมพาพรรณ ชาญศิลป์, รองปลัด
กฤษฎา เปี่ยมพงศ์สานต์, รองปลัด
ราเชนทร์ พจนสุนทร, รองปลัด

ลูกสังกัด

ดูในบทความ

เว็บไซต์

MOC.go.th

 

 

เมื่อแรกตั้งนั้นกระทรวงพาณิชย์ตั้งนั้นไม่มีที่ทำการกระทรวง เสนาบดีจึงมักจะใช้บ้านของตนเป็นสถานที่ทำงาน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 6 จึงได้มีการสร้างอาคารที่ทำการอย่างถาวร บริเวณวัง 3 แห่ง คือ วังกรมหลวงอดิศรอุดมเดชวังกรมหลวงบดินทร์ไพศาลโสภณ และวังกรมหมื่นทิวากรวงษ์ประวัติ และใช้ทำการมาเป็นเวลากว่า 70 ปี ครั้นสภาพบ้านเมืองเจริญขึ้น รัฐบาลเริ่มมีนโยบายขยับขยายหน่วยงานราชการออกไปยังชานเมืองมากขึ้น เพื่อลดปัญหาความแออัดของตัวเมืองภายในเขตเกาะรัตนโกสินทร์ คณะรัฐมนตรีได้มีมติเมื่อวันที่ 29 สิงหาคมพ.ศ. 2532 อนุมัติให้กระทรวงพาณิชย์ใช้ที่ดินราชพัสดุจำนวนเนื้อที่ 48 ไร่เศษ บริเวณตำบลบางกระสออำเภอเมืองนนทบุรีจังหวัดนนทบุรี สำหรับก่อสร้างอาคารที่ทำการกระทรวงพาณิชย์แห่งใหม่ ซึ่งเป็นที่ตั้งของกระทรวงจนถึงปัจจุบัน

 บทบาทหน้าที่หลัก
  1. ภารกิจด้านในประเทศ มีหน้าที่ดูแลราคาสินค้าเกษตรและรายได้เกษตรกร ดูแลผู้บริโภคภายใต้กรอบกฎหมายของกระทรวงพาณิชย์ ส่งเสริมและพัฒนาธุรกิจการค้า ทั้งการค้าสินค้าและธุรกิจบริการ รวมทั้งธุรกิจประกันภัย และคุ้มครองด้านทรัพย์สินทางปัญญา
  2. ภารกิจด้านต่างประเทศ มีหน้าที่เจรจาการค้าระหว่างประเทศ ซึ่งประกอบด้วยการเจรจาภายใต้กรอบ WTO FTA อนุภูมิภาค ภูมิภาค ฯลฯ จัดระเบียบและบริหารการนำเข้าส่งออก รวมทั้งการขายข้าวรัฐต่อรัฐ การค้ามันสำปะหลัง สินค้าข้อตกลงต่างๆ แก้ไขปัญหา และรักษาผลประโยชน์ทางการค้า เช่น การดูแลเรื่อง GSP การเก็บภาษีตอบโต้การทุ่มตลาด ส่งเสริมและเร่งรัดการส่งออก

 หน่วยงานในสังกัด

หน่วยงานระดับกรมในสังกัดกระทรวงพาณิชย์ได้แก่

นอกจากนี้ยังมีหน่วยงานอื่นๆอีก 3 หน่วยงาน

 

แกะรอยประมูลมันเส้นฉาว "กาญจนาฟาร์ม & กาญจนพันธ์ฯ" ยึดหัวหาด กวาดเรียบ 2.5 แสนตัน !!

ปมปัญหาการประมูลมันเส้นในสต๊อครัฐบาล ภายใต้อุ้งมือรัฐบาลนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ยังคงเป็นประเด็นที่สร้างความสงสัยให้กับสังคม ถึงความโปร่งใสในขั้นตอนการดำเนินงานต่อไป

เพราะนอกจากข้อมูลความไม่ชอบมาพากล ที่ทีมข่าวเศรษฐกิจ "มติชน" ตรวจสอบพบว่า เอกชน 2 ราย ที่ชนะการประมูลมันเส้น จำนวน 7.4 หมื่นตัน ในโกดัง จ.กำแพงเพชร คือ หนองลังกาฟาร์ม และไพรสะเดาฟาร์ม เป็นฟาร์มในเครือกาญจนา แห่งอาณาจักรของบริษัท กาญจนาฟาร์ม จำกัด ซึ่งปรากฏชื่อนายวิวัฒน์ นิติกาญจนา นางบุญยิ่ง นิติกาญจนา เป็นกรรมการผู้มีอำนาจ และผู้ถือหุ้นใหญ่

ทั้งนี้ นายวิวัฒน์ เคยดำรงตำแหน่งเป็น ส.ส.พรรคไทยรักไทย จ.ราชบุรี เขต 2 สังกัดกลุ่มวังน้ำยมที่มีนายสมศักดิ์ เทพสุทิน เป็นหัวหน้ากลุ่ม ก่อนจะย้ายมาตั้งพรรคมัชฌิมาธิปไตยร่วมกับนายสมศักดิ์ ในตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค ซึ่งนางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ก็เคยนั่งในตำแหน่งเลขาธิการพรรคมาแล้ว

ขณะที่นางบุญยิ่ง นิติกาญจนา ภรรยาของนายวิวัฒน์ ก็ได้รับการแต่งตั้งจากนางพรทิวา ให้ดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

ส่งผลสะเทือนถึงการประมูลมันเส้นของรัฐบาลในครั้งนี้ ที่ถูกสังคมตั้งคำถามเรื่องความเหมาะสม โดยเฉพาะเรื่องการมีผลประโยชน์ทับซ้อน เนื่องจากผู้มีอำนาจในกระทรวงเข้ามามีส่วนเกี่ยวข้องกับการประมูลงานในกระทรวงของตนเอง ขณะที่ขั้นตอนการแข่งขันเสนอราคา การที่ฟาร์มทั้งสองแห่งเป็นกลุ่มเดียวกัน อาจจะส่งผลทำให้มีการแข่งขันเสนอราคาที่ไม่เป็นธรรม เข้าข่ายกระทำความผิดตาม พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ หรือ พ.ร.บ.ฮั้วได้

ขณะที่มีส่วนเกี่ยวข้องกับเรื่องนี้ ไม่ว่าจะเป็น นายมนัส สร้อยพลอย อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ ในฐานะประธานคณะทำงานดำเนินการระบายผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง นางพรทิวา รมว.พาณิชย์ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการด้านการตลาดมันสำปะหลัง นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายมันสำปะหลัง หรือแม้กระทั่งนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ต่างออกมาประสานเสียงว่า การประมูลงานครั้งนี้ ดำเนินการอย่างถูกต้องและไม่มีปัญหาความไม่ชอบมาพากลแต่อย่างใด

 

 


 


แต่ล่าสุดจากการตรวจสอบข้อมูลเชิงลึกของทีมข่าวเศรษฐกิจ "มติชน" พบว่า ปมปัญหาเรื่องการมีผลประโยชน์ทับซ้อน จากกรณีที่บริษัทของคนใกล้ชิด รมว.พาณิชย์ ชนะการประมูลมันเส้น หากได้จำกัดอยู่เพียงแค่ปริมาณ 7.4 หมื่นตันเท่านั้น

แต่มันมีปริมาณมากถึงหลักแสนตันเลยทีเดียว!!

เนื่องจากในข้อเท็จจริงแล้ว การเปิดประมูลมันเส้น จำนวน 7.4 หมื่นตัน ในโกดัง จ.กำแพงเพชร ที่หนองลังกาฟาร์ม และไพรสะเดาฟาร์ม ชนะไปนั้น เป็นเพียงการประมูลส่วนหนึ่ง จากการเปิดประมูลมันเส้นล็อตใหญ่ จำนวน 250,251.26 ตัน จากคลังเก็บสินค้า 14 คลัง ใน จ.กำแพงเพชร และกาญจนบุรี ซึ่งเป็นไปตามนโยบายการจำหน่ายผลิตภัณฑ์มันสำปะหลัง ตามโครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลัง ปี 2551/52 (ครั้งที่ 9) ซึ่งเริ่มดำเนินการในช่วงเดือนมิถุนายน 2553

โดยเบื้องต้นผลการยื่นซองเสนอซื้อมันเส้นดังกล่าว มีผู้เสนอซื้อที่ผ่านคุณสมบัติ 7 ราย เสนอซื้อ 14 คลัง ปริมาณรวม 809,493.552 ตัน ราคาระหว่าง 2,000-4,100 บาท/ตัน แต่ภายหลังการเจรจาต่อรองราคากับผู้เสนอซื้อทั้งหมด พบว่ามีผู้เสนอซื้อปรับเพิ่มราคาสูงสุดและผ่านเกณฑ์ราคาพื้นฐาน 3 ราย ใน 14 คลัง ราคาระหว่าง 5,264-5,862 บาท/ตัน ปริมาณรวม 250,251.26 ตัน มูลค่าร่วม 1,413.94 ล้านบาท ราคาเฉลี่ย 5,650.08 บาท/ตัน

โดยเอกชน 3 ราย ที่ผ่านการพิจารณา ได้แก่ 1.บริษัท กาญจนพันธ์ ฟาร์ม จำกัด ปริมาณ 175,989.92 ตัน มูลค่า 1,023,002,061.04 บาท 2.หนองลังกาฟาร์ม ปริมาณ 34,741.19 ตัน มูลค่า 182,904,334.01 บาท 3.ไพรสะเดาฟาร์ม ปริมาณ 39,520.15 มูลค่า 208,034,069.60 บาท

เบื้องต้น ผลการระบายมันเส้นบิ๊กล็อตนี้ ได้ถูกนำเสนอเรื่องเข้าสู่การพิจารณาของที่ประชุม ครม.เมื่อวันที่ 15 มิถุนายน 2553 โดยเบื้องต้นที่ประชุมมีมติอนุมัติให้จำหน่ายมันเส้นเฉพาะในส่วนของ บริษัท กาญจนพันธ์ ฟาร์ม เท่านั้น

แต่ในส่วนของหนองลังกาฟาร์ม และไพรสะเดาฟาร์ม ยังไม่เห็นชอบ เนื่องจากเห็นว่าราคาที่เสนอมาซึ่งอยู่ที่ 5,264.36 บาทต่อตัน ต่ำเกินไป ก่อนจะมอบหมายให้กระทรวงพาณิชย์ไปเจรจาต่อรองราคาเพิ่มและนำเสนอให้ที่ประชุม ครม.พิจารณาตามขั้นตอนอีก 2 ครั้ง ก่อนที่ ครม.จะพิจารณาอนุมัติรับราคาที่ตันละ 5,500 บาท ไปเมื่อวันที่ 24 สิงหาคม 2553

 


ทั้งนี้ หากพิจารณาอย่างผิวเผินโดยไม่ใส่ใจในรายละเอียด เหมือนที่หน่วยราชการนิยมปฏิบัติกัน จะพบว่า บริษัท กาญจนาพันธ์ ฟาร์ม จำกัด ไม่น่าจะมีส่วนเกี่ยวข้องกับ หนองลังกาฟาร์ม และไพรสะเดาฟาร์ม หรือ บริษัท กาญจนาฟาร์ม ในฐานะเจ้าของฟาร์มทั้งสองแห่งแต่อย่างใด

เนื่องจากข้อมูลการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัท กาญจนพันธ์ ฟาร์ม ที่แจ้งไว้ต่อกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่า จัดตั้งขึ้นเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน 2538 มีทุนจดทะเบียน 10,000,000 บาท ตั้งอยู่ที่ 297 ถนนเพชรเกษม ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี 70000 ทำธุรกิจเลี้ยงสุกร เป็นธุรกิจขนาดเล็ก ปรากฏชื่อ นายวรพล ศิริพลวุฒิกุล นางกัลยา ศิริพลวุฒิกุล เป็นกรรมการผู้มีอำนาจบริษัท ไม่ปรากฏข้อมูลที่สามารถเชื่อมโยงไปถึงบริษัท กาญจนาฟาร์ม

แต่จากการตรวจสอบข้อมูลในส่วนของผู้ถือหุ้นบริษัท กาญจนพันธ์ ฟาร์ม ซึ่งมีอยู่ 7 ราย ประกอบไปด้วย นายวรพล ศิริพลวุฒิกุล 30% นางกัลยา ศิริพลวุฒิกุล 20% นายวรกฤติ ศิริพลวุฒิกุล 15% นางสาววริศร์กุล ศิริพลวุฒิกุล 12.5% นางสาววัชร์ระพี ศิริพลวุฒิกุล 12.5% นายชิตสกนธ์ รังษีเสริมสุข 5% นายประวิช รังษีเสริมสุข 5%

พบว่า มีความน่าสนใจอยู่ตรงที่ นายชิตสกนธ์ รังษีเสริมสุข และนายประวิช รังษีเสริมสุข เนื่องจากบุคคลทั้งสองมีนามสกุลเดียวกับนายอริยนัทธ์ รังษีเสริมสุข กรรมการผู้มีอำนาจ และหนึ่งในผู้ถือหุ้นบริษัท กาญจนาฟาร์ม ร่วมกับนายวิวัฒน์ นิติกาญจนา และนางบุญยิ่ง นิติกาญจนา

นอกจากนี้ นายอริยนัทธ์ รังษีเสริมสุข ยังถูกระบุจากนายวิวัฒน์ว่าเป็นผู้เช่าฟาร์ม หนองลังกาฟาร์ม และไพรสะเดาฟาร์ม ร่วมกับนางเสาวลักษณ์ เย็นใส และใช้ชื่อฟาร์มทั้งสองแห่งนี้เข้าไปร่วมการประมูลมันเส้นครั้งนี้ด้วย

อย่างไรก็ตาม ข้อมูลเรื่องการปรากฏบุคคลที่มีนามสกุลเดียวกัน อาจถูกโต้แย้งว่ามีน้ำหนักน้อยเกินไปที่จะเชื่อมโยงความสัมพันธ์ระหว่างบริษัททั้งสองแห่งว่า เป็นกลุ่มเดียวกัน และสัดส่วนหุ้นที่นายชิตสกนธ์ และนายประวิช ถืออยู่ในบริษัท กาญจนพันธ์ ฟาร์ม ก็มีจำนวนน้อยมาก

แต่จากการตรวจสอบข้อมูลเชิงลึก ยังพบข้อมูลที่น่าสนใจเพิ่มเติมอีก 3 ประเด็นหลัก คือ 1.นายชิตสกนธ์ ยังปรากฏชื่อเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทในเครือกาญจนาฟาร์มอีก 2 แห่ง คือ บริษัท กาญจนาอาหารสัตว์ จำกัด และ บริษัท กาญจนา ฟู้ด จำกัด ขณะที่นายประวิช ก็ปรากฏรายชื่อเป็นผู้ถือหุ้นของบริษัทในเครือกาญจนาฟาร์ม 2 แห่งเช่นกัน คือ บริษัท ธารณ์ธนวัต จำกัด และ บริษัท ธารณ์ธนาภูมิ จำกัด

2.นางกัลยา ศิริพลวุฒิกุล ซึ่งปรากฏรายชื่อเป็นกรรมการผู้มีอำนาจบริษัท และผู้ถือหุ้นใหญ่ ในบริษัท กาญจนพันธ์ ฟาร์ม กลับไปปรากฏชื่อเป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ เป็นอันดับ 2 ในบริษัท ธารณ์ธนาภูมิ ซึ่งปรากฏชื่อ นางบุญยิ่ง นิติกาญจนา เป็นกรรมการผู้มีอำนาจกระทำการแทนบริษัท

3.บริษัท ธารณ์ธนวัต และบริษัท ธารณ์ธนาภูมิ จำกัด ซึ่งเป็นบริษัทในเครือกาญจนาฟาร์ม ที่ปรากฏรายชื่อ นายวิวัฒน์ นางบุญยิ่ง และคนในตระกูลนิติกาญจนา เป็นกรรมการและผู้ถือหุ้น กับมีสถานที่ตั้งเดียวกันกับ บริษัท กาญจนพันธ์ ฟาร์ม คือ "297 ถนนเพชรเกษม ตำบลหน้าเมือง อำเภอเมืองราชบุรี จังหวัดราชบุรี 70000"

ข้อมูลเหล่านี้จึงปฏิเสธไม่ได้ว่า แท้จริงแล้ว บริษัท กาญจนพันธ์ ฟาร์ม หนองลังกาฟาร์ม และไพรสะเดาฟาร์ม ซึ่งเป็นฟาร์มในเครือของบริษัท กาญจนาฟาร์ม ที่เข้าประมูลซื้อมันเส้นในสต๊อครัฐบาลในคราวเดียวกัน จำนวนกว่า 2 แสนตัน วงเงินกว่า 1.4 พันล้านบาท ล้วนแล้วแต่เป็นบริษัทกลุ่มเดียวกันทั้งหมด

น่าสนใจว่า ผู้มีอำนาจสูงสุดในรัฐบาล อย่างนายกฯที่เคยออกมาการันตีว่า "ไม่สนใจว่าใครจะเป็นผู้ชนะการประมูลงาน ขอเพียงแค่ได้ราคาที่เหมาะสมก็พอแล้ว" เคยได้รับข้อมูลเหล่านี้หรือไม่ และเมื่อทราบแล้วจะตัดสินใจอย่างไรต่อไป

หรือจะปล่อยให้กฎเหล็ก 9 ข้อ ค่อยๆ เสื่อมถอยลงไปโดยไม่มีอะไรเกิดขึ้นแบบที่เป็นอยู่ทุกวันนี้!!

 

 

เส้นทางทำกิน(แดก?)ในกระทรวงพาณิชย์ โดย ประสงค์ วิสุทธิ์ มติชนออนไลน์

คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2553 มีมติแต่งตั้งนางบุญยิ่ง นิติกาญจนา เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ตามที่นางพรทิวา นาคาสัย เจ้ากระทรวงเสนอ

นางบุญยิ่ง มีสามีชื่อนายวิวัฒน์ นิติกาญจนา อดีต ส.ส.พรรคไทยรักไทย จ.ราชบุรีเขต 2  สังกัดกลุ่มวังน้ำยมที่มีนายสมศ
ักดิ์ เทพสุทิน เป็นหัวหน้ากลุ่ม 

เมื่อนายสมศักดิ์แยกออกมาตั้
งพรรคพรรคมัชฌิมาธิปไตย ได้ให้นายวิวัฒน์ เป็นรองหัวหน้าพรรค(เนื่องจากนายสมศักดิ์ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเพราะคณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีคำสั่งการยุบพรรคไทยรักไทย) มีนางพรทิวา เป็นเลขาธิการพรรค

ปัจจุบัน นางพรทิวา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิ
ชย์ สังกัดภรรคภูมิใจไทย(ในฐานะเลขาธิการพรรค)ในโควต้าของกลุ่มนายสมศักดิ์ เทพสุทิน

ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่
นางบุญยิ่ง ภรรยานายวิวัฒน์(ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเพราะศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคมัชฌิมาธิปไตย)ได้รับแต่งตั้งเป็นกุนซือของนางพรทิวา

นอกจากความสัมพันธ์ทางการเมื
องที่แนบแน่นแล้ว การได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรี ย่อมทำให้นางบุญยิ่งมีอิทธิพลและ เป็นที่เกรงอกเกรงใจของข้าราชการประจำในสังกัดกระทรวงพาณิชย์

เพราะในทางปฏิบัติแล้ว รัฐมนตรีอาจมอบหมายงานให้ที่ปรึ
กษาช่วยดูแลงานด้านใดด้าหนนึ่งหรือที่ปรึกษาบางคนมีบทบาทอย่างสูงในการช่วยรัฐมนตรีบริหารราชการแผ่นดิน

แต่แล้วจู่ๆ เมื่อเดือนมิถุนายน 2553 ก็มี บริษัท กาญจนาพันธ์ ฟาร์ม จำกัด หนองลังกาฟาร์ม และ ไพรสะเดาฟาร์ม (ในเครือของบริษัท กาญจนาฟาร์ม จำกัด ของที่ปรึกษารัฐมนตรีว่
าการกระทรวงพาณิชย์ มีนายวิวัฒน์ -นางบุญยิ่ง นิติกาญจนา เป็นกรรมการผู้มีอำนาจ และผู้ถือหุ้นใหญ่เข้าร่วมประมูล มันเส้นล็อตใหญ่กว่า  250,251 ตัน มูลค่ากว่า 1,400 ล้านบาท จากโกดังของรัฐบาลซึ่งเป็นไปตามนโยบายการจำหน่ายผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังตามโครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลัง ปี 2551/52 

ปรากฏว่า บริษัททั้ง 3 ราย((จากผู้ยื่นประมูล 7 ราย)ผ่านการพิ
จารณาจากคณะทำงานดำเนินการระบายผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังที่มีนายมนัส  สร้อยพลอย  อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เป็นประธานคณะทำงาน

จากนั้นเสนอเรื่องให้นางพรทิวา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการด้
านการตลาดมันสำปะหลังอนุมัติและนำเสนอ นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายมันสำปะหลัง

จนกระทั่งมีการนำเข้าพิ
จารณาในคณะรัฐมนตรีให้อนุมัติเมื่อวันที่ 24 สิหงาคม 2553 ที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม ในช่วงการประมูลไม่มีการเปิ
ดเผยว่า บริษัททั้ง3 แห่งเป็นบริษัทในเครือของที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

แต่ถูกสื่อมวลชนเปิดโปง มีการนำเอกสารหลักฐานมาเชื่
อมโยงให้เห็นกันอย่างชัดเจนว่า บริษัทที่เข้าประมูลรวมถึงตัวบุคคลมีสายสัมพันธ์กันอย่างไรกับบริษัทของที่ปรึกษารัฐมนตรี (ดู "แกะรอยประมูลมันเส้นฉาว "กาญจนาฟาร์ม & กาญจนพันธ์ฯ" ยึดหัวหาด กวาดเรียบ 2.5 แสนตั" ในมติชน, 13 กันยายน 2553 หรือ มติชนออนไลน์http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1284370023&grpid=01&catid=00)

จากพฤติการณ์ดังกล่าวในการประมู
ล อาจเข้าข่าย พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542  เพราะการที่ผู้เข้าประมูลและชนะการประมูลเป็นบริษัทในเครือของของที่ปรึกษารัฐมนตรีทั้งหมดอย่างบังเอิญ ทำให้อาจมีการ"ฮั้ว"  สมยอมราคาหรือตกลงราคากัน

นอกจากนั้น อาจทำให้สาธารณชนเชื่อว่า มีการใช้อิทธิพลของที่ปรึกษารั
ฐมนตรีเข้าแทรกแซงการประมูลครั้งนี้ด้วยหรือไม่

การกระทำผิดในลักษณะนี้ มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่1 - 3 ปี และปรับร้อยละ 50 ของจำนวนเงินที่มีการเสนอราคาสู
งสุดหรือของจำนวนเงินที่มีการทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ

ขณะเดียวกัน ถ้าเจ้าหน้าที่รัฐที่มีอำนาจอนุ
มัติ การพิจารณาหรือการดำเนินการใด ๆ( อาจเป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาการประมูล รัฐมนตรีเจ้ากระทรวง รองนายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี หรือผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ) รู้หรือมีพฤติการณ์ปรากฏแจ้งชัดว่า ควรรู้ว่า การเสนอราคามีการกระทำความผิด ละเว้นไม่ดำเนินการเพื่อให้มีการยกเลิกการการประมูล ต้องมีความผิดฐานกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่1 - 10 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 200,000 บาท

การที่บริษัทในเครือของที่ปรึ
กษารัฐมนตรีเข้าร่วมประมูลมันเส้น มูลค่ากว่า 1,400 ล้านบาทและชนะการประมูลอย่างบังเอิญโดยพร้อมเพรียงดังกล่าว แม้ยังไม่มีกฎหมายที่จะเอาผิดอาญาในเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนโดยตรง(เนื่องจากคณะกรรมการ ป.ป.ช.ยังไม่ประกาศให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางารเมืองอื่น นอจากคณะรัฐมนตรี เป็นเจ้าหน้าที่รัฐที่ต้องห้ามกระทำตามมาตรา 100  พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542) 

แต่พฤติการณ์ดังกล่าวที่
ปรากฏอย่างชัดเจน ยังไม่เพียงพออีกหรือที่นายอภสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีที่กล่าวอ้างว่า รังเกียจการทุจริตและวางกฎ 9 ข้อให้รัฐมนตรีปฏิบัติ จะแสดงให้เห็นประจักษ์แจ้งในคำกล่าวอ้างดังกล่าว 

เพื่อพิสูจน์ว่า มิใช่ปล่อยการกล่าวอ้างลอยๆเพื่
อความอยู่รอดทางการเมืองเท่านั้

 

พรรคมัชฌัมธิปไตร ถูกยุบพรรค 

 

จากวิกิพีเดีย สารานุกรมเสรี

ไปที่: ป้ายบอกทาง, ค้นหา

พรรคมัชฌิมาธิปไตย
ผู้นำ นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน
เลขาธิการ นางพรทิวา นาคาศัย
โฆษก นายศุภพรพงษ์ ชวนบุญ
นโยบาย ชีวิตร่ำรวย ประชาเป็นสุข ได้รับความเป็นธรรม
ก่อตั้ง 1 ตุลาคม พ.ศ. 2550
ยุบ 2 ธันวาคม พ.ศ. 2551 (1 ปี)
สำนักงานใหญ่ 131 ถนนขาว แขวงวชิระ เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร
สีของพรรค แดงและน้ำเงิน
เว็บไซต์
http://www.matchima.or.th

 

พรรคมัชฌิมาธิปไตย (อังกฤษ: Neutral Democratic Party) เดิมชื่อ พรรคมัชฌิมา เป็นพรรคการเมือง ที่ก่อตั้งโดยกลุ่มมัชฌิมา ซึ่งนำโดยนางอนงค์วรรณ เทพสุทิน (ภรรยานายสมศักดิ์ เทพสุทิน) และกลุ่มนายประชัย เลี่ยวไพรัตน์ อดีตเลขาธิการพรรคประชาราช มีนโยบายรวม 42 ข้อ โดยนโยบายหลักๆ ได้แก่ ขุดบ่อน้ำทั้งประเทศ 9 ล้านบ่อ, ลดค่าโดยสารรถไฟฟ้าตลอดสาย เหลือเพียง 15 บาทเป็นระยะเวลา 10 ปี, ประกันราคาพืชผลทางการเกษตรในราคาที่สูง, เรียนฟรีจนถึงปริญญาตรี เป็นต้น

ในวันที่ 30 มกราคมพ.ศ. 2551คณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) ได้มีมติให้นายประชัยพ้นจากตำแหน่งหัวหน้าพรรค เนื่องจากวินิจฉัยว่า การยื่นใบลาออกของนายประชัยตั้งแต่วันที่ 4 ธันวาคมพ.ศ. 2550 มีผลโดยสมบูรณ์แล้ว ทั้งนี้อาจเป็นแผนของพรรคนี้ที่จะหลอกใช้เงินของนายประชัยเพื่อใช้ในการเลือกตั้ง และเขี่ยนายประชัยทิ้งเมื่อหมดประโยชน์แล้ว เนื่องจากพรรคต้องการนายทุนที่จะใช้ในการซื้อเสียง และการใช้เงินซื้อเสียงนี้เองเป็นเหตุให้ต้องถูกยุบพรรคในวันที่ 2 ธันวาคม 2551 หลังจากก่อตั้งพรรคมาได้ไม่นาน

ในวันที่ 24 กุมภาพันธ์พ.ศ. 2551 ที่ประชุมของพรรคได้มีมติให้ นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน เป็นหัวหน้าคนใหม่สืบไป รวมทั้งได้เปลี่ยนแปลงกรรมการบริหารพรรค โดยมีทั้งหมด 14 คน แต่ยังคงนโยบายเดิม รวมทั้งเปลี่ยนที่ทำการพรรคใหม่ด้วยจาก ชั้น 10 อาคารทีพีไอทาวเวอร์ ถนนจันทน์ตัดใหม่ แขวงทุ่งมหาเมฆ เขตสาทรกรุงเทพมหานคร เป็นเลขที่ 131 ถนนขาว แขวงวชิระ เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร อันเป็นที่ตั้งเดิมของกลุ่มมัชฌิมา ที่นายประชัยได้สร้างขึ้นมาด้วยน้ำพักน้ำแรง เมื่อศาลประกาศคำสั่งยุบพรรค นางอนงค์วรรณ จึงถึงว่าเป็นกรรมเก่า [1]ทั้งนี้นางอนงค์วรรณอาจรู้เรื่องราวที่พรรคได้หลอกเงินของนายประชัยก็เป็นได้

ต่อมาในวันที่ 11 เมษายน ปีเดียวกันนั้น ที่ประชุมคณะกรรมการการเลือกตั้ง (กกต.) เพื่อพิจารณากรณี พรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย ได้ลงมติ 4 ต่อ 1 เห็นชอบตามที่นายอภิชาติ สุขัคคานนท์ ประธาน กกต. ในฐานะนายทะเบียนพรรคการเมือง เสนอให้ส่งเรื่องถึงอัยการสูงสุด เพื่อพิจารณาเสนอต่อศาลรัฐธรรมนูญให้วินิจฉัยยุบพรรคพรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย โดยมติเสียงข้างน้อย 1 เสียง คือ นายสมชัย จึงประเสริฐ กกต.ฝ่ายกิจการสอบสวนสอบสวน

 

เนื้อหา

 

 ศาลรัฐธรรมนูญวินิจฉัยให้ยุบพรรค

เมื่อเวลา 12.30 น. ของวันที่ 2 ธันวาคมพ.ศ. 2551ศาลรัฐธรรมนูญได้อ่านคำวินิจฉัยคดียุบพรรคพลังประชาชนพรรคชาติไทย และพรรคมัชฌิมาธิปไตย ภายหลังนายบรรหาร ศิลปอาชา หัวหน้าพรรคชาติไทย และนางอนงค์วรรณ เทพสุทิน หัวหน้าพรรคมัชฌิมาธิปไตย แถลงด้วยวาจาเสร็จสิ้นแล้ว โดยไม่รอพรรคพลังประชาชนไม่ได้ส่งตัวเข้าแถลงปิดคดีแต่อย่างใด

ต่อมา ศาลรัฐธรรมนูญได้อ่านคำวินิจฉัยในส่วนของพรรคพลังประชาชน ด้วยมติเอกฉันท์ 9 ต่อ 0 ให้ยุบพรรคพลังประชาชน และตัดสิทธิทางการเมืองหัวหน้าพรรค และกรรมการบริหารพรรค 5 ปี เท่ากับว่านายสมชาย วงศ์สวัสดิ์ ในฐานะหัวหน้าพรรคพลังประชาชนต้องพ้นจากตำแหน่งนายกรัฐมนตรีโดยปริยาย

จากนั้นศาลรัฐธรรมนูญได้อ่านคำวินิจฉัยในส่วนของพรรคมัชฌิมาธิปไตย โดยมีมติให้ยุบพรรคมัฌชิมาฯ และตัดสิทธิทางการเมืองหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรค 5 ปี อันเนื่องมาจากกรณีทุจริตการเลือกตั้งของนายยงยุทธ ติยะไพรัช

ต่อมาศาลรัฐธรรมนูญมีมติเป็นเอกฉันท์ 8 ต่อ 1 สั่งยุบพรรคชาติไทยตามไปอีกพรรค โดยศาลฯได้วินิจฉัยว่ามีความผิดตามมาตรา 237 วรรค 2 และมาตรา 68 ตามกฎหมายรัฐธรรมนูญ ถือว่าเป็นข้อเท็จจริงที่ปฏิเสธไม่ได้ และกฎหมายได้เอาไว้เป็นเด็ดขาด แม้จะมีการโต้แย้งว่าหัวหน้าพรรคและกรรมการบริหารพรรคคนอื่นฟังไม่ขึ้น[2]

 กรรมการผู้บริหารพรรค

  • นางอนงค์วรรณ เทพสุทิน หัวหน้าพรรค
  • นางพรทิวา นาคาศัย เลขาธิการพรรค
  • พลตรีอินทรัตน์ ยอดบางเตย รองหัวหน้าพรรค
  • พันตำรวจโทบรรยิน ตั้งภากรณ์ รองหัวหน้าพรรค
  • นายวิวัฒน์ นิติกาญจนา รองหัวหน้าพรรค
  • นายวีระศักดิ์ จินารัตน์ รองหัวหน้าพรรค
  • ร้อยเอกรชฏ พิสิษฐบรรณกร รองเลขาธิการพรรค
  • นายดิษฐ์อัชพณ สูตรสุคนธ์ รองเลขาธิการพรรค
  • นายศุภพรพงษ์ ชวนบุญ โฆษกพรรค
  • นายพิเชษฐ์ หวังเทพอนุเคราะห์ รองโฆษกพรรค

 กรรมการบริหารพรรคมัชฌิมาธิปไตย ชุดที่ถูกคำสั่งยุบพรรค เป็นผลให้ถูกตัดสิทธิ์ทางการเมือง 5 ปี

 นโยบายพรรค

พรรคมัชฌิมาธิปไตย มีนโยบายพรรค 42 ข้อ แบ่งออกเป็น 13 กลุ่ม คือ

  1. บททั่วไป
  2. ด้านเศรษฐกิจการเงินการคลังและการลงทุน
  3. ด้านการคมนาคมขนส่ง
  4. ด้านแรงงาน
  5. ด้านการท่องเที่ยว
  6. ด้านพลังงาน
  7. ด้านการเพิ่มรายได้เกษตรกร
  8. ด้านที่ดินและแหล่งน้ำ
  9. ด้านการบริหารระบบราชการและส่วนท้องถิ่น
  10. ด้านการศึกษา ศาสนาและวัฒนธรรม
  11. ด้านสาธารณสุข
  12. ด้านการส่งเสริมกลุ่มสตรีและความมั่นคงของสถาบันครอบครัว
  13. ด้านกีฬา

อ้างอิง

 แหล่งข้อมูลอื่น

 

 

ครม.ขายมันเส้นบริษัทคนในรัฐบาล เมียเจ้าของธุรกิจนั่งที่ปรึกษา"พรทิวา" !!

 ครม.ขายมันเส้น 2 บริษัท ที่แท้กลุ่มเดียวกับ บ.กาญจนาฟาร์ม ทำธุรกิจเลี้ยงสุกร พบโยงใยคนใกล้ตัว รมว.พาณิชย์ ภรรยาเจ้าของกิจการนั่งที่ปรึกษา"พรทิวา" ส่วนสามี" วิวัฒน์"เคยเป็นรองหัวหน้าพรรคมัชฌิมาฯ ก๊วนสมศักดิ์ เทพสุทิน

ผู้สื่อข่าว "มติชน" รายงานว่า จากกรณีที่ประชุมคณะรัฐมนตรี (ครม.) เมื่อวันที่ 24 สิงหาคมที่ผ่านมา มีมติเห็นชอบการจำหน่ายมันเส้นจำนวน 74,200 ตัน ที่ จ.กำแพงเพชร ให้แก่ผู้เสนอซื้อ 2 ราย ได้แก่ บริษัท หนองลังกาฟาร์ม จำกัด ปริมาณ 34,700 ตัน ที่ราคาเฉลี่ย 5,500 บาทต่อตัน คิดเป็นมูลค่า 191.08 ล้านบาท และบริษัท ไพรสะเดาฟาร์ม จำกัด ปริมาณ 39,500 ตัน ราคาเฉลี่ย 5,500 บาทต่อตัน มูลค่า 217.36 ล้านบาท จากก่อนหน้านี้ ครม.มีมติเมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2553 ให้กระทรวงพาณิชย์เจรจาต่อรองกับผู้ซื้อทั้ง 2 ราย ในการเพิ่มราคาเนื่องจากราคาที่เสนอประมูลได้ต่ำเกินไป อยู่ที่ราคาเฉลี่ย 5,264.36 บาทต่อตัน ซึ่งกระทรวงพาณิชย์สามารถเพิ่มราคาขายได้ตามที่ ครม.อนุมัติที่ราคา 5,500 บาทต่อตัน คิดเป็นเงินทั้งสิ้น 308.44 ล้านบาท

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า อย่างไรก็ตาม จากการตรวจสอบข้อมูลผู้เสนอซื้อมันเส้นทั้ง 2 ราย คือบริษัท หนองลังกาฟาร์ม และบริษัท ไพรสะเดาฟาร์ม พบว่าไม่ได้มีสถานะเป็นบริษัทนิติบุคคลแต่อย่างใด แต่เป็นฟาร์มที่อยู่ในเครือกาญจนา ของบริษัท กาญจนาฟาร์ม จำกัด ซึ่งดำเนินธุรกิจฟาร์มเลี้ยงสุกรขุนเป็นหลัก และจากการตรวจสอบข้อมูลการจดทะเบียนจัดตั้งบริษัทของกรมพัฒนาธุรกิจการค้า กระทรวงพาณิชย์ พบว่า บริษัท กาญจนาฟาร์มฯ จดทะเบียนจัดตั้งเมื่อวันที่ 30 มกราคม 2534 ปัจจุบันยังดำเนินธุรกิจอยู่ มีทุนจดทะเบียน 10,000,000 บาท ตั้งอยู่ที่ 23 หมู่ 4 ตำบลวังมะนาว อำเภอปากท่อ จังหวัดราชบุรี ประกอบธุรกิจเลี้ยงสุกร ซึ่งเป็นธุรกิจขนาดเล็ก ปรากฏชื่อนายวิวัฒน์ นิติกาญจนา และนายอริยนัทธ์ รังษีเสริมสุข เป็นกรรมการและผู้มีอำนาจบริษัท ส่วนนางบุญยิ่ง นิติกาญจนา ปรากฏชื่อเป็นกรรมการ

สำหรับผู้ถือหุ้นมี 7 คน ประกอบด้วย นายวิวัฒน์ นิติกาญจนา ถือหุ้นใหญ่ 80.7% นางบุญยิ่ง นิติกาญจนา ถือหุ้น 15% นายจิรเดช นิติกาญจนา ถือหุ้น 1.05% นางสาวชนกนันท์ นิติกาญจนา ถือหุ้น 1.05% นายธนวัชร์ นิติกาญจนา ถือหุ้น 1.05% นายอริยนัทธ์ รังษีเสริมสุข ถือหุ้น 1.05% และนางเสาวลักษณ์ เย็นใส ถือหุ้น 0.1% 

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า จากการตรวจสอบข้อมูลบุคคล พบว่านายวิวัฒน์เคยเป็น ส.ส.พรรคไทยรักไทย จ.ราชบุรี เขต 2 สังกัดกลุ่มวังน้ำยมที่มีนายสมศักดิ์ เทพสุทิน เป็นหัวหน้ากลุ่ม ก่อนจะย้ายมาตั้งพรรคมัชฌิมาธิปไตยร่วมกับนายสมศักดิ์ ในตำแหน่งรองหัวหน้าพรรค แต่หลังจากมีแนวโน้มว่าพรรคมัชฌิมาธิปไตยจะถูกตัดสิทธิทางการเมือง 5 ปี ส่งผลทำให้ ส.ส.บางส่วน รวมถึงนางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ซึ่งทำหน้าที่เป็นเลขาธิการพรรคมัชฌิชาธิปไตย ได้ย้ายเข้ามาอยู่ในสังกัดพรรคภูมิใจไทยในปัจจุบัน ขณะที่นางบุญยิ่ง นิติกาญจนา ภรรยาของนายวิวัฒน์ ก็ได้รับการแต่งตั้งจากนางพรทิวา ให้ดำรงตำแหน่งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ด้วย 

 

 เส้นทางทำกิน(แดก?)ในกระทรวงพาณิชย์ โดย ประสงค์ วิสุทธิ์

คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2553 มีมติแต่งตั้งนางบุญยิ่ง นิติกาญจนา เป็นที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ตามที่นางพรทิวา นาคาสัย เจ้ากระทรวงเสนอ

นางบุญยิ่ง มีสามีชื่อนายวิวัฒน์ นิติกาญจนา อดีต ส.ส.พรรคไทยรักไทย จ.ราชบุรีเขต 2  สังกัดกลุ่มวังน้ำยมที่มีนายสมศักดิ์ เทพสุทิน เป็นหัวหน้ากลุ่ม

เมื่อนายสมศักดิ์แยกออกมาตั้งพรรคพรรคมัชฌิมาธิปไตย ได้ให้นายวิวัฒน์ เป็นรองหัวหน้าพรรค(เนื่องจากนายสมศักดิ์ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเพราะคณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีคำสั่งการยุบพรรคไทยรักไทย) มีนางพรทิวา เป็นเลขาธิการพรรค

ปัจจุบัน นางพรทิวา เป็นรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ สังกัดภรรคภูมิใจไทย(ในฐานะเลขาธิการพรรค)ในโควต้าของกลุ่มนายสมศักดิ์ เทพสุทิน

ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่นางบุญยิ่ง ภรรยานายวิวัฒน์(ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเพราะศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคมัชฌิมาธิปไตย)ได้รับแต่งตั้งเป็นกุนซือของนางพรทิวา
นอกจากความสัมพันธ์ทางการเมืองที่แนบแน่นแล้ว การได้รับการแต่งตั้งเป็นที่ปรึกษารัฐมนตรี ย่อมทำให้นางบุญยิ่งมีอิทธิพลและ เป็นที่เกรงอกเกรงใจของข้าราชการประจำในสังกัดกระทรวงพาณิชย์

เพราะในทางปฏิบัติแล้ว รัฐมนตรีอาจมอบหมายงานให้ที่ปรึกษาช่วยดูแลงานด้านใดด้าหนนึ่งหรือที่ปรึกษาบางคนมีบทบาทอย่างสูงในการช่วยรัฐมนตรีบริหารราชการแผ่นดิน

แต่แล้วจู่ๆ เมื่อเดือนมิถุนายน 2553 ก็มี บริษัท กาญจนาพันธ์ ฟาร์ม จำกัด หนองลังกาฟาร์ม และ ไพรสะเดาฟาร์ม (ในเครือของบริษัท กาญจนาฟาร์ม จำกัด ของที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ มีนายวิวัฒน์ -นางบุญยิ่ง นิติกาญจนา เป็นกรรมการผู้มีอำนาจ และผู้ถือหุ้นใหญ่) เข้าร่วมประมูล มันเส้นล็อตใหญ่กว่า  250,251 ตัน มูลค่ากว่า 1,400 ล้านบาท จากโกดังของรัฐบาลซึ่งเป็นไปตามนโยบายการจำหน่ายผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังตามโครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลัง ปี 2551/52

ปรากฏว่า บริษัททั้ง 3 ราย((จากผู้ยื่นประมูล 7 ราย)ผ่านการพิจารณาจากคณะทำงานดำเนินการระบายผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังที่มีนายมนัส  สร้อยพลอย  อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เป็นประธานคณะทำงาน

จากนั้นเสนอเรื่องให้นางพรทิวา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการด้านการตลาดมันสำปะหลังอนุมัติและนำเสนอ นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายมันสำปะหลังจนกระทั่งมีการนำเข้าพิจารณาในคณะรัฐมนตรีให้อนุมัติเมื่อวันที่ 24 สิหงาคม 2553 ที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตาม ในช่วงการประมูลไม่มีการเปิดเผยว่า บริษัททั้ง3 แห่งเป็นบริษัทในเครือของที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

แต่ถูกสื่อมวลชนเปิดโปง มีการนำเอกสารหลักฐานมาเชื่อมโยงให้เห็นกันอย่างชัดเจนว่า บริษัทที่เข้าประมูลรวมถึงตัวบุคคลมีสายสัมพันธ์กันอย่างไรกับบริษัทของที่ปรึกษารัฐมนตรี (ดู "แกะรอยประมูลมันเส้นฉาว "กาญจนาฟาร์ม & กาญจนพันธ์ฯ" ยึดหัวหาด กวาดเรียบ 2.5 แสนตั" ในมติชน, 13 กันยายน 2553 หรือ มติชนออนไลน์ http://www.matichon.co.th/news_detail.php?newsid=1284370023&grpid=01&catid=00)

จากพฤติการณ์ดังกล่าวในการประมูล อาจเข้าข่าย พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542  เพราะการที่ผู้เข้าประมูลและชนะการประมูลเป็นบริษัทในเครือของของที่ปรึกษารัฐมนตรีทั้งหมดอย่างบังเอิญ ทำให้อาจมีการ"ฮั้ว"  สมยอมราคาหรือตกลงราคากัน

นอกจากนั้น อาจทำให้สาธารณชนเชื่อว่า มีการใช้อิทธิพลของที่ปรึกษารัฐมนตรีเข้าแทรกแซงการประมูลครั้งนี้ด้วยหรือไม่

การกระทำผิดในลักษณะนี้ มีระวางโทษจำคุกตั้งแต่1 - 3 ปี และปรับร้อยละ 50 ของจำนวนเงินที่มีการเสนอราคาสูงสุดหรือของจำนวนเงินที่มีการทำสัญญากับหน่วยงานของรัฐ

ขณะเดียวกัน ถ้าเจ้าหน้าที่รัฐที่มีอำนาจอนุมัติ การพิจารณาหรือการดำเนินการใด ๆ( อาจเป็นประธานคณะกรรมการพิจารณาการประมูล รัฐมนตรีเจ้ากระทรวง รองนายกรัฐมนตรี นายกรัฐมนตรี หรือผู้เกี่ยวข้องอื่นๆ) รู้หรือมีพฤติการณ์ปรากฏแจ้งชัดว่า ควรรู้ว่า การเสนอราคามีการกระทำความผิด ละเว้นไม่ดำเนินการเพื่อให้มีการยกเลิกการการประมูล ต้องมีความผิดฐานกระทำความผิดต่อตำแหน่งหน้าที่ ต้องระวางโทษจำคุกตั้งแต่1 - 10 ปี และปรับตั้งแต่ 20,000 บาทถึง 200,000 บาท

การที่บริษัทในเครือของที่ปรึกษารัฐมนตรีเข้าร่วมประมูลมันเส้น มูลค่ากว่า 1,400 ล้านบาทและชนะการประมูลอย่างบังเอิญโดยพร้อมเพรียงดังกล่าว แม้ยังไม่มีกฎหมายที่จะเอาผิดอาญาในเรื่องผลประโยชน์ทับซ้อนโดยตรง(เนื่องจากคณะกรรมการ ป.ป.ช.ยังไม่ประกาศให้ผู้ดำรงตำแหน่งทางารเมืองอื่น นอจากคณะรัฐมนตรี เป็นเจ้าหน้าที่รัฐที่ต้องห้ามกระทำตามมาตรา 100  พ.ร.บ.ประกอบรัฐธรรมนูญว่าด้วยการป้องกันและปราบปรามการทุจริต พ.ศ.2542)

แต่พฤติการณ์ดังกล่าวที่ปรากฏอย่างชัดเจน ยังไม่เพียงพออีกหรือที่นายอภสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีที่กล่าวอ้างว่า รังเกียจการทุจริตและวางกฎ 9 ข้อให้รัฐมนตรีปฏิบัติ จะแสดงให้เห็นประจักษ์แจ้งในคำกล่าวอ้างดังกล่าว
เพื่อพิสูจน์ว่า มิใช่ปล่อยการกล่าวอ้างลอยๆเพื่อความอยู่รอดทางการเมืองเท่านั้น

 

เปิดหลักฐานเครือข่ายกลุ่มวังน้ำยม เร่งสะสมทุน กินรวบประมูลข้าว

 Shanamy:
เปิดหลักฐานเครือข่ายกลุ่มวังน้ำยม เร่งสะสมทุน กินรวบประมูลข้าว-มันเส้นมูลค่ากว่า15,000 ล้าน
เปิดสายสัมพันธ์ของบริษัทที่เข้าประมูล ข้าว -มันเส้น กับผู้มีอำนาจทางการเมืองอย่างล่อนจ้อน มูลค่ากว่า 15,000 ล้าน ผู้นำรัฐบาลได้แต่ทำตาปริบๆ เรียบร้อยโรงเรียนภูมิใจไทย

กลุ่มวังน้ำยมที่มีนายสมศักดิ์ เทพสุทิน (อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเพราะคณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีคำสั่งการยุบพรรค) เป็นหัวหน้า ได้ร่วมกับกลุ่มนายเนวิน ชิดชอบ จัดตั้งพรรคภูมิใจไทยในช่วงที่มีการพลิกขั้วเข้าร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์จัดตั้งรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อปลายปี 2551

อย่างไรก็ตามทั้งกลุ่มนายเนวิน และกลุ่มนายสมศักดิ์ ได้ขีดเส้นแบ่งอาณาจักรในการครอบครองอำนาจกันอย่างชัดเจน กลุ่มนายเนวินนั้นยึดหัวหาดที่กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงคมนาคม

ขณะที่กลุ่มวังน้ำยมของนายสมศักดิ์ยึดกระทรวงพาณิชย์เป็นฐานที่มั่น และส่งนางพรทิวา นาคาสัย เลขาธิการพรรคภูมิใจไทยเข้ามาเป็นเจ้ากระทรวง

แน่นอนว่า กระทรวงพาณิชย์อุดมด้วยผลประโยชน์มากมายโดยเฉพาะสินค้าเกษตรที่อยู่ในมือของรัฐจำนวนมหาศาลอันเกิดจากรับซื้อตามโครงการแทรกแซงราคาพืชผลสารพัดโครงการ

เมื่อเป็นเช่นนี้ มีหรือที่นักการเมืองมือเก๋าและรู้เส้นทางทำกินเป็นอย่างดีจะปล่อยให้โอกาสหลุดลอย  จึงมีข่าวอื้อฉาวในกระทรวงนี้เป็นระยะๆ

ล่าสุดพบว่า การขายข้าวของรัฐที่ฝากไว้กับองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) จำนวน 1.5 ล้านตันมูลค่าเกือบ 20,000 ล้านบาท  เมื่อเดือนสิงหาคม 2553 และการประมูลมันเส้นในสต็อกของรัฐบาลกว่า  250,251 ตัน มูลค่ากว่า 1,400 ล้านบาทตามนโยบายการจำหน่ายผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังตามโครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลัง ปี 2551/52 เมื่อเดือนมิถุนายน 2553   เครือข่ายกลุ่มวังน้ำยมต้นสังกัดของนางพรทิวา นาคาสัย  เป็นผู้ชนะการประมูลแบบชนิดกินรวบ!!
หนึ่ง  ในการขายข้าวของรัฐที่ฝากไว้องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) จำนวน 1.5 ล้านตัน มูลค่า ประมาณ 20,000 ปรากฎว่า  คณะทำงานดำเนินการระบายข้าวสาร ซึ่งมีนายมนัส  สร้อยพลอย อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ  กระทรวงพาณิชย์ ได้พิจารณาคัดเลือกผู้เสนอซื้อ 4 ราย ได้แก่ บริษัท ไชยพร บริษัท นครหลวงค้าข้าว และบริษัท เอเชียโกลเด้นท์ไรซ์  บริษัท เอ็มที  เซ็นเตอร์เทรด ซึ่งเสนอซื้อข่าวในราคาตันละ 12,000-16,085 บาท  

 ทั้งนี้ 3 บริษัทแรก เป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่และเป็นที่รู้จักในวงการค้าข้าวเป็นอย่างดี ได้ข้าวไปเพียง 4 แสนตัน

ขณะที่ บริษัท บริษัท เอ็มที เซ็นเตอร์เทรด ซึ่งเป็นบริษัทโนเนมระบุตามบริคนห์สนธิว่ามีทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท จัดตั้งเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2551ได้รับข้าวไปถึง 1.1 ล้านตัน ซึ่งมีการอ้างว่า คณะทำงาน คณะทำงานดำเนินการระบายข้าวสาร ซึ่งมีนายมนัส สร้อยพลอยได้อ้างว่า ได้เสนอคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.)ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ลงนามเห็นชอบแล้ว

แต่ผู้อำนวยการ อ.ต.ก.ยังไม่ยอมลงนามในสัญญาเนื่องจากมีผู้ส่งออก 2 รายร้องเรียนมาที่ อ.ต.ก.กล่าวหาว่า การอนุมัติขายครั้งนี้ไม่โปร่งใส และมีการทำผิดขั้นตอนการระบายข้าว คือไม่มีการเผยแพร่หรือแจ้งผู้ประกอบการว่า รัฐจะมีการระบายข้าว แต่หากมีการยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้มีอำนาจการอนุมัติก็จะเรียกเอกชนมาทำสัญญาทันที" นายมนูญรัตน์กล่าว

จากปรากฏการณ์ดังกล่าว ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า บริษัท เอ็มที เซ็นเตอร์เทรด เป็นใครมาจากไหน หากให้บริษัทในลักษณะเช่นนี้กวาดข้าวในสต็อกของรัฐไปอยู่ในมือทั้งหมดจะเกิดการผูกขาดและการทุจริตเช่นเดียวลักษณะกับกรณีการปล่อยให้บริษัท เพรสซิเดนท์ อะกริ เทรดดิ้งกวาดข้าวในสต็อกของรัฐไปถึง 2 ล้านตัน ในยุครัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร(ขณะที่ข้าวในสต็อกของรัฐที่ยังอยู่ในมือองค์การคลังสินค้าหรืออคส. อีกกว่า 4 ล้านตัน)

จากการตรวจสอบข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า พบว่าบริษัท เอ็มที เซ็นเตอร์เทรด ประกอบธุรกิจ ค้าปุ๋ย ค้าข้าว พืชผลทางการเกษตร และปรับปรุงคุณภาพข้าว มีนายจุ้ง เชียง เฉิน  นางสุพรรณี เฉินและ น.ส.ภาวินี จารุมนต์ เป็นกรรมการผู้มีอำนาจ  ถือหุ้นใหญ่โดยบริษัท เม้งไต๋ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัดที่เพิ่งก่อตั้งเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2552

กุญแจสำคัญของกรณีนี้อยู่ที่ น.ส.ภาวินี จารุมนต์ ซึ่งนอกจากจะเป็นกรรมการบริษัท  เอ็มที เซ็นเตอร์เทรดแล้ว ยังเป็นกรรมการในบริษัท เม้งไต๋ อินเตอร์เนชั่นแนล ด้วย

จากการตรวจสอบข้อมูลจากกรมธุรกิจการค้าพบว่า  น.ส.ภาวินี จารุมนต์และครอบครัว"จารุมนต์"เป็นผู้ถือหุ้นและกรรมการบริษัทในกลุ่มของครอบครัว"เทพสุทิน"ของนายสมศักดิ์ เทพสุทินหลายบริษัท  เช่น 

บริษัท ดี แลนด์  เพอร์เฟคที่นายเทิดไท-น.ส.ณัฐธิดา เทพสุทิน  บุตรชายและบุตรสาวของนายสมศักดิ์ เป็นผู้ถือหุ้นและกรรมการบริษัท(ประกอบธุรกิจโรงแรม บาร์ คาราโอเกะ) มีน.ส.ภาวินี จารุมนต์  และนายทรงยศ สำรวยแสง ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นและกรรมการผู้มีอำนาจในบริษัท ซิลเวอร์สยาม ร่วมกับครอบครัวจารุมนต์ถือหุ้นอยู่รายละ 1%

 บริษัท เมก้า แลนด์  ประกอบธุรกิจค้าทอง มีนายเทิดไท เทพสุทินและนายภเชศ จารุมนต์ เป็นกรรมการผู้อำนาจของบริษัท ทั้งนี้ ยังมีนายเทิดไท เทพสุทิน น.ส.ณัฐธิดา เทพสุทิน นางพร เทพสุทิน  เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ น.ส.ธราพัน จารุมนต์ และนายภเชศ จารมนต์ เป็นผู้ถือหุ้น

ขณะเดียวกัน ครอบครัว"เทพสุทิน" ยังจัดตั้ง หจก.เทิดไทฟาร์มซึ่งมีนายเทิดไท-น.ส.ณัฐธิดา เทพสุทิน เป็นหุ้นส่วนใหญ่ะทุนจดทะเบียนกว่า 10 ล้านบาท ธุรกิจที่รู้จักกันดีคือ สนามกีฬาไก่ชนเทิดไท  อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ ซึ่งเป็นสนามชนไก่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

สนามกีฬาแห่งนี้ มีนาย สุนทร จารุมนต์ ซึ่งว่ากันว่า เป็นสามีน.ส.ภาวินี เป็นกรรมการบริหาร ซึ่งในช่วงที่มีการจัด"มหกรรมพัฒนาไก่ชนไทย" เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2552  มีการนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (รมว.มหาดไทย) และหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย (ภท.) เป็นประธานเปิดงาน

นอกจากนั้นยังมี  นายเนวิน ชิดชอบ, นายสมศักดิ์ เทพสุทิน, นายอนุทิน ชาญวีรกูล  มาร่วมงานอย่างพร้อมเพียง

จากข้อเท็จจริงดังกล่าว  ทำให้เห็นสายสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกันอย่างแนบแน่นระหว่างน.ส.ภาวินี จารมนต์ กรรมการผู้อำนาจนามของบริษัท เอ็มที เซ็นเตอร์เทรดได้รับสิทธิการซื้อข้าวถึง 1.1 ล้านตัน มูลค่ากว่า 12,000 ล้านบาท(ผ่านคณะทำงานนายมนัส สร้อยพลอย อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เป็นประธาน)กับครอบครัว"เทพสุทิน"ของนายสมศักดิ์ เทพสุทิน หัวหน้า  กลุ่มวังน้ำยม

 สอง การประมูลมันเส้นในสต็อกของรัฐบาลกว่า  250,251 ตัน มูลค่ากว่า 1,400 ล้านบาทก่อน

เมื่อเดือนมิถุนายน 2553 บริษัท กาญจนาพันธ์ ฟาร์ม จำกัด หนองลังกาฟาร์ม และ ไพรสะเดาฟาร์ม (ในเครือของบริษัท กาญจนาฟาร์ม จำกัด  มีนายวิวัฒน์ -นางบุญยิ่ง นิติกาญจนา ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์  เป็นกรรมการผู้มีอำนาจ และผู้ถือหุ้นใหญ่) เข้าร่วมประมูล มันเส้นล็อตใหญ่กว่า  250,251 ตัน มูลค่ากว่า 1,400 ล้านบาท จากโกดังของรัฐบาลซึ่งเป็นไปตามนโยบายการจำหน่ายผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังตามโครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลัง ปี 2551/52

ปรากฏว่า บริษัททั้ง 3 ราย((จากผู้ยื่นประมูล 7 ราย)ผ่านการพิจารณาจากคณะทำงานดำเนินการระบายผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังที่มีนายมนัส  สร้อยพลอย  อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เป็นประธานคณะทำงาน

จากนั้นเสนอเรื่องให้นางพรทิวา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการด้านการตลาดมันสำปะหลังอนุมัติและนำเสนอ นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายมันสำปะหลัง

จนกระทั่งมีการนำเข้าพิจารณาในคณะรัฐมนตรีให้อนุมัติเมื่อวันที่ 24 สิหงาคม 2553 ที่ผ่านมา

 สำหรับความเป็นมาของ นางบุญยิ่ง นิติกาญจนานั้น คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2553 มีมติแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษานางพรทิวา นาคาสัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

 นางบุญยิ่ง มีสามีชื่อนายวิวัฒน์ นิติกาญจนา อดีต ส.ส.พรรคไทยรักไทย จ.ราชบุรีเขต 2  สังกัดกลุ่มวังน้ำยมที่มีนายสมศักดิ์ เทพสุทิน เป็นหัวหน้ากลุ่ม 

 เมื่อนายสมศักดิ์แยกออกมาตั้งพรรคพรรคมัชฌิมาธิปไตย ได้ให้นายวิวัฒน์ เป็นรองหัวหน้าพรรค(เนื่องจากนายสมศักดิ์ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเพราะคณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีคำสั่งการยุบพรรคไทยรักไทย) มีนางพรทิวา เป็นเลขาธิการพรรค

 ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่นางบุญยิ่ง ภรรยานายวิวัฒน์(ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเพราะศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคมัชฌิมาธิปไตย)ได้รับแต่งตั้งเป็นกุนซือของนางพรทิวา

 จากพฤติการณ์ทั้ง 2 กรณี ชัดเจนว่า มีลักษณะผลประโยชน์ทับซ้อนซึ่งแม้จะยังไม่มีกฎหมายหรือข้อห้ามเป็นความผิดชัดเจน เว้นแต่จะมีการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบหรือพิสูจน์ได้ว่า ผู้มีอำนาจในการพิจารณาอนุมัติมีส่วนรู้เห็น สนับสนุนหรือ บงการในทั้งสองกรณี

 แต่ก็ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า พฤติการณ์ดังกล่าวาเข้าข่าย พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542  เพราะการที่ผู้เข้าประมูลและชนะการประมูลเป็นบริษัทในเครือของของที่ปรึกษารัฐมนตรีและบริษัทที่มีสายสัมพันธ์กับต้นสังกัดของรัฐมนตรีเจ้ากระทรวง  ทำให้อาจมีการ"ฮั้ว"  สมยอมราคาหรือตกลงราคากัน หรือมีการใช้อิทธิพลแทรกแซงการตัดสินของคณะทำงานที่เป็นข้าราชการระดับสูงในกระทรวงพาณิชย์ได้
นอกจากนั้น ยังเห็นชัดว่า ผู้มีอำนาจทั้งในกระทรวงพาณิชย์และในรัฐบาลพยายามปกปิดเรื่องนี้เป็นความลับ จนกระทั่งสื่อมวลชนขุดคุ้ยและนำความจริงมาเปิดเผย  จึงเห็นสายสัมพันธ์ของบริษัทที่เข้าประมูลกับผู้มีอำนาจทางการเมืองอย่างล่อนจ้อน


 

 

 

เส้นทางทำกิน(โกง)ในกระทรวงพาณิชย์ โดยประสงค์ พิสุทธิ์ มติชนรวม9ตอน

ป.ป.ช.ตั้งแท่นฟันมันเส้น-ข้าว พุ่งเป้าชื่อพัวพันนักการเมือง จับตาขยายเวลาขนย้ายข้าว ป.ป.ช.ตั้งแท่นฟันมันเส้น-ข้าว พุ่งเป้าชื่อพัวพันนักการเมือง จับตาขยายเวลาขนย้ายข้าววันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เวลา 08:45:38 น.  มติชนออนไลน์

 

นายอภินันทน์ อิศรางกูร ณ อยุธยา เลขาธิการคณะกรรมการป้องกันและปราบปรามการทุจริตแห่งชาติ (ป.ป.ช.) เปิดเผย "มติชน" ว่าในการประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช. ชุดใหญ่เมื่อปลายสัปดาห์ก่อนมีมติรับทราบข้อร้องเรียนการระบายสินค้าเกษตรในสต๊อครัฐบาลทั้งในการระบายมันเส้นและข้าวแล้ว ที่ประชุมได้มอบหมายให้เจ้าหน้าที่สรุปข้อมูลการร้องเรียนดังกล่าวเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.ชุดใหญ่โดยเร็ว เพื่อจะได้พิจารณาว่าจะตัดสินใจดำเนินการอย่างไรต่อไป

 

รายงานข่าวจาก ป.ป.ช.แจ้งว่า ข้อร้องเรียนเกี่ยวกับการระบายมันเส้นคาดว่าจะเสนอต่อที่ประชุมคณะกรรมการ ป.ป.ช.ชุดใหญ่ภายในวันที่ 12 ตุลาคม ซึ่งสาระสำคัญอยู่ที่ การปรากฏรายชื่อบริษัทเอกชน ในเครือกาญจนากรุ๊ป ซึ่งเป็นบริษัทของนางบุญยิ่ง นิติกาญจนา ที่ปรึกษาของรัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์เข้ามาร่วมเสนอราคาและได้รับอนุมัติให้รับซื้อสินค้าไปเป็นจำนวนหลายแสนตัน ส่วนการระบายข้าว มีสาระสำคัญอยู่ที่การเข้ามาร่วมเสนอราคาของบริษัท เอ็มที เซ็นเตอร์เทรด จำกัด ซึ่งปรากฏว่านางภาวินี จารุมนต์ หนึ่งในกรรมการของบริษัทแห่งนี้ และคนในตระกูลจารุมนต์ มีความเชื่อมโยงกับบริษัทในเครือของคนในตระกูลเทพสุทิน ด้วยการเข้าไปถือหุ้น และนั่งเป็นกรรมการของบริษัทที่มีคนในตระกูลเทพสุทิน เป็นเจ้าของหลายแห่ง 

 

ผู้สื่อข่าว "มติชน" รายงานว่า ขณะนี้ในส่วนของการระบายแป้งมันสำปะหลังให้กับบริษัท China marine shipping agency Lianyungang co., ltd ในแบบรัฐต่อรัฐ หรือจีทูจี ที่คณะกรรมาธิการการพาณิชย์และทรัพย์สินทางปัญญา สภาผู้แทนราษฎร ที่มีนายพฤฒิชัย วิริยะโรจน์ ส.ส.พรรคเพื่อไทย เป็นประธานได้เข้าไปตรวจสอบก็ส่อว่าจะมีความไม่ชอบมาพากลเกิดขึ้น โดยเฉพาะเรื่องสถานะของบริษัทว่า เป็นตัวแทนฝ่ายรัฐบาลจีนหรือไม่ เพราะเบื้องต้นการตรวจสอบข้อมูล แม้ว่ากระทรวงการต่างประเทศจะยืนยันว่าบริษัทดังกล่าวมีสถานะเป็นรัฐวิสาหกิจของจีน แต่จากการตรวจสอบข้อมูลเชิงลึกพบว่าได้รับอนุญาตให้ดำเนินธุรกิจตัวแทนเรือทั้งในและนอกเมืองเหลียนหยุนกั่ง แต่ไม่ได้รับอนุญาตให้นำเข้าแป้งมันสำปะหลังจากรัฐบาลจีนแต่อย่างใด

 

ด้านแหล่งข่าวในวงการค้าข้าวกล่าวว่า หากนางพรทิวา นาคาศัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานคณะกรรมการระบายข้าวในสต๊อครัฐบาลอนุมัติขยายเวลาขนย้ายข้าว 1.9 ล้านตัน จากเพดานสูงสุด 5 เดือน เป็น 18 เดือน ตามที่บริษัท เอ็มที เซ็นเตอร์เทรด จำกัด ร้องขอนั้น ถือว่าเป็นเรื่องไม่ถูกต้อง เพราะก่อนที่จะเสนอซื้อข้าวรัฐ บริษัทต้องตรวจเงื่อนไขแล้วว่าปฏิบัติได้ ไม่ใช่เอามาเป็นข้อต่อรองภายหลัง

 

"ขณะนี้เริ่มมีเอกชนข้าวบางกลุ่มติดตามและเตรียมทำหนังสือถึงนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรีและประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.) เพราะมีผลกระทบต่อราคาข้าวที่ลดลงแล้ว หลังมีกระแสข่าวตันละ 700-1,000 บาท และเป็นช่องโหว่ทำให้บริษัทเอ็มทีฯยกมาเป็นข้ออ้างในการไม่เข้ามาทำสัญญา รัฐจะเสียหายที่ไม่อาจร้องกับบริษัทเอ็มทีฯได้เพราะยังไม่ได้เข้าทำสัญญาซื้อขายข้าวและวางเงินค้ำประกันค่าข้าว และจับตาดูว่านางพรทิวาจะมีทางออกอย่างไร เพราะมีกระแสมาตลอดว่าการอนุมัติขายข้าวนี้ เพราะมีใบสั่งทางการเมืองที่ได้เจรจาแบ่งปันผลประโยชน์ลงตัวแล้ว"

 เปิดใจ รมวพาณิชย์ พรทิวา นาคาศัย ตอบโจทย์ ทุจริต-ขี้โกง-เอื้อพวกพ้อง′

สัมภาษณ์พิเศษโดย สุเมศ ทองพันธ์ / ศศินภา วัฒนวรรณรัตน์
วันที่ 11 ตุลาคม พ.ศ. 2553 เวลา 11:39:32 น.  มติชนออนไลน์


"...ถ้านายกฯรับได้ว่าราคาข้าวจะลง เราไม่ว่าอยู่แล้ว เราปฏิบัติตามนโยบาย เพราะเราไม่มีอำนาจที่จะให้หรือไม่ให้ใคร ทั้งหมดเป็นอำนาจนายกฯ หรือรองนายกฯ ดังนั้น ถ้านายกฯรับได้ว่าราคาข้าวจะต้องร่วง นายกฯก็ต้องรับผิดชอบ..."

มรสุมสินค้าเกษตรที่ถาโถมเข้าใส่ "พรทิวา นาคาศัย" รมว.พาณิชย์
ถือเป็น "มรสุมลูกใหญ่" ที่สาดซัดเข้าใส่แบบไม่ยั้งมือ

เหตุเพราะ "พรทิวา" ถูกมองว่า "เอื้อประโยชน์" ให้กับพรรคพวกเพื่อนพ้อง ในการระบายสินค้าเกษตร

ทั้งจากกรณีการขายมันเส้นล็อตใหญ่กว่า 250,251 ตัน มูลค่ากว่า 1,400 ล้านบาท ให้กับบริษัท กาญจนาพันธ์ ฟาร์ม จำกัด หนองลังกาฟาร์ม และไพรสะเดาฟาร์ม

ซึ่งบริษัทดังกล่าวมี "บุญยิ่ง นิติกาญจนา" ที่ปรึกษา รมว.พาณิชย์ เป็นกรรมการผู้มีอำนาจและผู้ถือหุ้นใหญ่

รวมถึงกรณีการขายข้าวสารในสต๊อคของรัฐบาลเกือบ 2 ล้านตัน มูลค่ากว่า 22,000 ล้านบาท ให้กับบริษัท เอ็มที เซ็นเตอร์เทรด จำกัด ซึ่งพบว่า น.ส.ภาวินี จารุมนต์ เป็นหนึ่งในกรรมการผู้มีอำนาจลงนามของบริษัท เอ็มที อินเตอร์เทรด ซึ่งมีสายสัมพันธ์แนบแน่นกับครอบครัว "สมศักดิ์ เทพสุทิน" แกนนำกลุ่มมัชฌิมา ที่มีสายสัมพันธ์อันแน่นปึ้กกับ "อนุชา นาคาศัย" สามี "พรทิวา"

นี่ไม่ใช่มรสุมลูกแรกที่ รมต.พรทิวาต้องเผชิญ หากแต่ครั้งนี้เป็นมรสุมลูกใหญ่ที่ รมต.พรทิวาเปิดห้องทำงานบนชั้น 11 กระทรวงพาณิชย์ เปิดใจถึงข้อกล่าวหา "โกงกิน-ทุจริตคอร์รัปชั่น-เอื้อประโยชน์พวกพ้อง" รวมถึงอนาคตทางการเมืองของพรรคภูมิใจไทยและของตัวเองในวันที่ฟ้าฝนตกกระหน่ำอย่างหนัก

ทำไมการทำงานแทบทุกเรื่องถึงถูกสังคมตั้งข้อสงสัย ตั้งข้อกังขา ถึงความไม่โปร่งใสและการทุจริตคอร์รัปชั่น

จริงๆ เราก็ไม่ใช่คนใหม่นะ เพราะอยู่ตรงนี้มา 2 ปีแล้ว เรื่องครหาของสังคมมันก็อาจจะมีบ้าง เพราะการอยู่ที่เข้ามานั่งอยู่ในกระทรวงพาณิชย์ มันอยู่ท่ามกลางผลประโยชน์แวดล้อมของกลุ่มคนต่างๆ ซึ่งต้องยอมรับว่ามีทั้งคนได้และคนเสียประโยชน์ คนได้ประโยชน์ก็พอใจ คนสูญเสียประโยชน์ก็พยายามหาข้อที่จะมาโจมตีเรา นี่คือผลประโยชน์ในกระทรวงพาณิชย์ ที่ใครเข้ามานั่งก็ต้องเจอทุกยุคทุกสมัย ใครมาอยู่ก็หลีกเลี่ยงไม่ได้ จึงเป็นเรื่องที่แทบจะเป็นปกติของกระทรวง แต่เมื่อเรามานั่งทำงาน ก็พยายามอย่างเต็มความสามารถ เพื่อรักษาผลประโยชน์ของรัฐให้ได้มากที่สุด

แต่สิ่งที่ปรากฏคือ การขายมันเส้นกว่า 2 แสนตัน ข้าวอีก 1 ล้านตัน ล้วนเป็นบริษัทที่มีที่ปรึกษารัฐมนตรีและคนใกล้ชิดประมูลไปได้ทั้งสิ้น

(ถอนหายใจ)...ต้องยอมรับว่า งานหลักๆ ของกระทรวงพาณิชย์ไปเกี่ยวกับผลประโยชน์มากมาย สินค้าเกษตรก็เป็นส่วนหนึ่งที่อยู่ในความรับผิดชอบ การระบายสินค้าเกษตรนั้นเป็นเรื่องดั้งเดิมที่คนมักจะมองในเชิงลบมาโดยตลอด เป็นอย่างนี้ทุกยุคทุกสมัย เมื่อเราเข้ามาอยู่ ก็คงจะไปว่าเขาไม่ได้ ที่จะมีคนมองเรื่องสินค้าเกษตรในเชิงลบ

แต่โดยหลักของตัวเองที่เข้ามาอยู่ที่นี่ ก็มองว่ากระทรวงพาณิชย์จะต้องทำหน้าที่ของตัวเอง คือการดูแลรักษาตลาด การระบายสินค้าในสต๊อคของรัฐบาล หากจะเก็บให้เน่าคาโกดัง ไม่ยอมขาย ถึงวันหนึ่งเราออกจากตำแหน่งไปก็ต้องถูกเล่นงาน ถูกตั้งกรรมการสอบ เพราะเหล่านี้คือภาษีประชาชน ถ้าไม่ทำก็โดน หรือขณะที่นั่งอยู่ในตำแหน่งไม่ทำ ให้เน่าคาโกดังก็โดน เพราะหน้าที่ของเราคือเข้ามาดูแลภาคตลาดโดยรวม ทั้งการส่งออก การรักษาเสถียรภาพของราคา เป็นหน้าที่โดยตรง คนก็มองนักการเมืองว่ามีแต่จะมาหาประโยชน์ มาระบายสินค้าเกษตร ซึ่งต้องเข้าใจว่านี่คือภาระหน้าที่ที่จะต้องดูแลภาพรวม และทำให้รัฐได้ประโยชน์สูงสุด ทำไมจะต้องมองว่าเป็นเรื่องลบทั้งหมด

แล้วไม่รู้เลยหรือว่า บริษัทที่เข้ามาประมูลมีคนใกล้ชิดระดับที่ปรึกษารัฐมนตรี หรือเพื่อนพ้องถือหุ้นอยู่

(พูดสวนทันที) พูดกันตรงๆ คือ คนที่เป็นรัฐมนตรีคงไม่ได้ลงลึกในรายละเอียด เพราะทุกอย่างผ่านกระบวนการขั้นตอนตามหลักเกณฑ์ ที่มีข้าราชการระดับสูงของกระทรวงกลั่นกรองมาอย่างละเอียดแล้ว เพียงแค่ดูเรื่องราคาว่ารัฐได้ประโยชน์สูงสุดหรือไม่ เพราะมติคณะรัฐมนตรี (ครม.) ชัดเจนว่าให้ระบายสินค้าโดยมองราคาเป็นหลัก ยึดเกณฑ์ราคา ซึ่งจะสังเกตได้ว่า เมื่อเข้า ครม. เขาจะไม่สนใจว่าบริษัทไหน แต่ถ้าราคาได้ก็จะอนุมัติ โดยรัฐได้ประโยชน์สูงสุด ซึ่งเราก็ยึดเป็นแนวทางปฏิบัติ

ตัวรัฐมนตรีไม่สามารถรู้ได้ เพราะไม่ได้ลงในรายละเอียด เพราะไม่ได้เป็นผู้ปฏิบัติ แม้กระทั่งคณะทำงานระบายสินค้า เขาก็จะดูว่าบริษัทไม่ได้ติดแบล๊คลิสต์ของกระทรวง ไม่ได้มีใครลงลึกไปว่าใครเป็นใครขนาดไหนหรอก โดยถือนโยบายรัฐบาล ยึดประโยชน์ของรัฐสูงสุดเป็นแนวทาง ทุกขั้นตอนโปร่งใสตรวจสอบได้ ทุกกระบวนการมีคณะทำงานในการพิจารณาต่อรองซื้อขาย ก่อนส่งมาถึงรัฐมนตรี คืออย่างที่บอกว่าถ้าได้ราคาดี ทุกคนมาตามกรอบถูกต้อง ไม่มีใครผิดอะไรใช่ไหม โอเคผ่าน ก็ส่งต่อไปถึงท่านรองประธานคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.-นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี) หรือผู้ที่เป็นประธาน (นายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ประธาน กขช.) ให้ได้รับทราบถึงข้อเสนอที่ผู้ซื้อเสนอเข้ามา ไม่ว่าจะเป็นข้าว ข้าวโพด มัน กระบวนการจะเหมือนกันหมด สุดท้ายก็จะมีมติว่าเห็นชอบหรือไม่เห็นชอบ ถ้ามองว่าราคาไม่ดีก็ขายไม่ได้อยู่แล้ว แต่ต้องรู้ว่าวัตถุประสงค์หลักคือราคาที่ได้มา ใครจะเป็นอะไรนั้น ไม่สามารถไปรู้ได้ ท่านไตรรงค์ แม้แต่ท่านนายกฯเองก็ไม่รู้เหมือนกัน เพราะในรายละเอียดจะบอกเพียงว่า บริษัทเอประมูลได้ เวลาเสนอเรื่องมาก็จะบอกมีบริษัทเอให้เท่าไร คลังนี้เท่าไร และบริษัทบีเท่าไร บริษัทซีเท่าไร ไม่ได้บอกว่าบริษัทเอมีใครถือหุ้นบ้าง และแต่ละคนมีความเป็นมาอย่างไร

เมื่อรู้ว่าการระบายสินค้าเกษตรถูกมองในภาพลบ ทำไมไม่ตรวจสอบไปถึงเบื้องหลังของแต่ละบริษัทก่อนจะให้มีการประมูล

โอ้โห...(หัวเราะ) ระดับรัฐมนตรีคงไม่ได้ลงไปดูขนาดนั้นหรอก เพราะมีหน่วยงานที่เขาเช็คมาตามขั้นตอนอยู่แล้วว่า ราคาที่เสนอมารัฐได้ประโยชน์ บริษัทไม่ติดแบล๊คลิสต์กับกระทรวง ทุกอย่างคือจบ แต่เขาไม่ได้ลงไปว่าบริษัทนี้ใครถือหุ้นเท่าไหร่ รู้จักกับคนในกระทรวง สนิทสนมกับรัฐมนตรีหรือไม่ ใครจะไปรู้ ที่สำคัญบริษัทเหล่านี้ก็มาค้าขายตามปกติ เข้าตามตรอกออกตามประตู ซึ่งมันก็ไม่ผิด และเราก็ไม่สามารถจะทราบได้ ทางคณะทำงานเขาก็ไม่ทราบว่าใครเป็นใคร

แต่ถ้าพูดแบบแฟร์ๆ ก็คือ เขาก็เป็นคนค้าขายตามปกติ มันเป็นการค้าขาย เราคงไปห้ามใครไม่ได้ อย่างมันเส้นเราขายไปราคาดีมาก เพราะขั้นต่ำตอนนั้นราคาอยู่ที่ 5.50 บาท จนถึง 5.80 บาท เราถามผู้ประกอบการ เขาก็บอกว่ารัฐบาลขายมันได้ราคาดีมากๆ ซึ่งให้เขาซื้อก็ไม่ซื้อเพราะแพง และเป็นการประมูลรายคลัง ที่ทุกคนมีสิทธิอยู่แล้ว เสนอราคามาสิ ทำไมไม่คิดบ้างว่า คนที่เข้ามาเขาอาจจะหวังดีกับกระทรวงพาณิชย์ก็ได้ เพราะราคามันสูงจริงๆ ไม่มีใครกล้ามาประมูล

แต่เมื่อเกิดปัญหา ก็ต้องมีการประมูลใหม่

ก็ต้องประมูลใหม่ แต่ของก็ยิ่งเก่า ยิ่งเก็บ ยิ่งเสียหายไปเรื่อย เพราะนี่เก็บมาสองปีกว่าๆ แล้วด้วยซ้ำ แล้วเวลารัฐเสียหายใครรับผิดชอบ นักวิชาการทั้งหลายที่ออกมาวิจารณ์รับผิดชอบหรือไม่ ตั้งแต่ตอนที่ขายข้าวครั้งก่อน 2 ล้านตัน ที่ตันละ 15,000 บาท 16,000 บาท แต่ปัจจุบันประมาณตันละ 12,000 บาท เงินหายไปตันละ 4,000 บาท มูลค่า 4 พันล้านบาท คูณ 2 ล้านตันเข้าไป เป็น 8 พันล้านบาท ปีหนึ่งเงินรัฐจะหายไป 8 พันล้านบาท เสียค่าเก็บกับค่าดอกเบี้ยอีก 8 พันล้านบาท เท่ากับเงินของรัฐหายไปเฉยๆ 16,000 ล้านบาท ถามว่าเงินรัฐหายไปหมื่นสองหมื่นล้าน คุณรับผิดชอบมั้ย

ถ้าเราจะขายมันเส้นในเวลานี้ รัฐจะสูญเสียผลประโยชน์ไปเท่าไร

มันเส้นถ้าเก็บไว้นานๆ มันจะเสื่อมสภาพ ตามเกณฑ์คือหากเก็บเกิน 6 เดือนก็จะเริ่มเสื่อมสภาพ จะใช้ไม่ได้ จะมีปัญหาเรื่องคุณภาพ เรื่องน้ำหนักตามาทันที ซึ่งอาจจะหายไปสักประมาณ 10 เปอร์เซ็นต์ แทนที่จะมีร้อยตัน ก็อาจจะเหลือสักแปดสิบตัน มันจะหายลงไปเรื่อยๆ นี่คือความเสียหายที่จะเกิดขึ้น แล้วนี่ไม่ใช่แค่ร้อยสองร้อยตัน มันเป็นแสนๆ ล้านๆ ตัน คือดูเงินที่รัฐจะเสียไปเท่าไหร่ มหาศาล ไหนจะค่าโกดัง ค่าเสียโอกาส ซึ่งกระทรวงพาณิชย์จะต้องดูแล แต่กลายเป็นมองกันด้วยการตั้งธงว่าจะมีการทุจริต ไอ้นี่มันทำแล้วมันจะขี้โกง ทุกครั้งก็จะเป็นแบบนี้ ทำให้ขายสินค้าเกษตรไม่ได้แล้ว ก็เกิดขัดกันไปขัดกันมา แต่ก็อย่างที่บอก ทั้งน้ำหนัก ค่าเสื่อมสภาพ ค่าเสียโอกาส คลังสินค้า ดอกเบี้ย สารพัดค่าใช้จ่ายที่เกิดขึ้น รวมถึงตลาดก็จะหายไป พอเราขายของไม่ได้ เขาก็แย่งตลาดไปหมด ถึงบอกว่าความเสียหายมันไม่ใช่แค่นี้ แต่มันกระทบไปหมด อย่าไปคิดว่าแค่ว่ามีวาระซ่อนเร้น จ้องจะโกง จ้องจะทุจริต มองไม่ดีไปเสียทุกอย่าง ทำให้โอกาสทางการค้าก็หายไป รัฐสูญเสียรายได้ เกษตรกรก็ได้รับผลกระทบ

สังเกตหรือไม่ว่าทุกนโยบายที่เสนอออกมา สังคมจะเชื่อทันทีว่าจะต้องมีการทุจริตเกิดขึ้น

ธรรมดา...ใครๆ เขาก็คิดว่าเรารู้เห็นเป็นใจกับบริษัที่ได้รับการประมูล ทั้งๆ ที่เรากล้ายืนยัน เอาคอเป็นประกัน ทุกอย่างต้องเป็นไปตามกระบวนการ ต้องผ่าน ครม.หมด ไม่ใช่ว่าเรามายกเว้นให้ ผ่าน ครม.หมด

หรือพอเป็นยี่ห้อพรรคภูมิใจไทย ก็จะทำให้คนเชื่อเรื่องทุจริตไปด้วย

ถ้าเราพูดกันอย่างนี้ ไม่ว่าจะระดับรองนายกฯไตรรงค์ หรือแม้แต่ท่านนายกฯเองก็ไม่เห็นออกมาพูดสักคำว่ามีการทุจริต ยังไม่เห็นมีคำพูดออกมาเลย เพราะกระบวนการผ่านขั้นตอนที่ถูกต้อง ทุกอย่างต้องผ่าน กขช.หมด กขช.เป็นคนกำหนดราคา ซึ่งท่านนายกฯเป็นประธาน ท่านไตรรงค์เป็นรองประธาน ทุกอย่างต้องผ่านหมด เราไม่ทำเองโดยพลการ ไม่มีวัน เหตุผลเพราะราคามันได้ โอ้โห...ถ้าทุจริตนะป่านนี้โดนยำเละไปแล้ว ไม่มีที่ยืนหรอก

เรื่องมันเส้นยังไม่ทันหาย เรื่องการประมูลข้าว 1 ล้านตัน ก็เป็นมรสุมลูกที่สองที่ซัดเข้าใส่อีก เพราะบอกว่ามีคนใกล้ชิดกลุ่มมัชฌิมาไปตั้งบริษัทมาประมูล

พูดตรงไปตรงมาคือกลุ่มพรรคพวกเรา เขาอาจจะรู้จักข้าราชการ คนในวงการ หรือวิ่งงาน พอเห็นเป็นช่องที่จะค้าขายได้ ก็เชื่อว่าทุกคนคิดอย่างนี้หมด ใครมีช่องก็อยากจะค้าขาย แต่บังเอิญมันกลายเป็นคนที่อยู่ในแวดวงใกล้ชิดกับเรา ซึ่งเราก็ไม่รู้ว่าจริงๆ แล้วพี่สาวของคุณฮง (สุนทร จารุมนต์ ผู้บริหารสนามกีฬาไก่ชนเทิดไท คนสนิทของนายสมศักดิ์ เทพสุทิน หัวหน้ากลุ่มมัชฌิมา) ถือหุ้นบริษัท เอ็มที เซ็นเตอร์เทรด จำกัด และคุณฮงก็ไปถือหุ้นบริษัทนี้ เราก็ไม่รู้ แต่ถามว่าเขามีสิทธิที่จะทำการค้าหรือไม่ เขามีสิทธิ เขาอาจจะสนิทกับข้าราชการบางคน ตอนที่เรามาอยู่ เราจะไปรู้ได้อย่างไร เขาเห็นช่อง คือนักธุรกิจเมื่อไรที่เห็นช่องก็วิ่งกันให้ตีนขวิด แต่เมื่อเขาเข้าตามตรอกออกตามประตู ราคาเป็นไปได้ตามเกณฑ์ แล้วคนที่ออกมาบอกว่า กระทรวงพาณิชย์ขายข้าวไม่มีใครรู้เรื่องเลย มาถึงวันนี้คุณรู้เรื่องเป็นเดือนแล้ว ทำไมคุณไม่เสนอซื้อเข้ามา นั่นแสดงว่าคุณไม่มั่นใจว่าคุณจะทำราคาได้ ไม่มีใครห้ามให้บริษัทอื่นๆ เสนอซื้อ จะมาบอกว่าไม่รู้ว่ามีการขายข้าว เป็นการโกหกแบบหน้าด้านๆ

ท้าเลยว่า บริษัทผู้ค้าข้าวรายใดก็ได้ ถ้ามีตลาดก็เข้ามาซื้อสิ...เราเปิดโอกาส แต่มันกลายเป็นว่าอยากให้กระทรวงพาณิชย์มีปัญหา เพราะเป็นขบวนการที่จะทุบราคาข้าวให้ต่ำลงไปกว่านี้อีก ยืนยันว่าเป็นขบวนการ เพราะมันมีคนได้และคนเสีย รู้ข่าวว่าจะขายข้าวมาเป็นเดือนๆ แล้ว หากมีออเดอร์ ทำไมไม่เสนอซื้อล่ะ นี่คือจ้องจะทุบราคา แล้วยิ่งถ้าบริษัทนี้เกิดปัญหา ซื้อขายกันไม่ได้ ราคาก็จะร่วงทันที ประกอบกับผลผลิตใหม่ก็กำลังจะออกมา เหล่านี้เข้าเกณฑ์ของการทุบราคา วงการค้าข้าวมันล้ำลึกมากๆ

อย่างที่กล่าวหาว่า ซื้อข้าวในราคาหมื่นสอง ไปเร่ขายหมื่นสามกว่า ถามว่าถ้าเป็นพ่อค้า ราคาตลาดแค่หมื่นสองกว่าๆ แต่ไปเร่ขายหมื่นสาม ใครมันจะโง่ซื้อ แค่ตัวเลขมันก็ไม่ได้แล้ว ซึ่งมันเป็นกระบวนการ ผลประโยชน์ของกลุ่มค้าข้าว เหมือนคนที่มีพลัง อยู่ๆ โดนแย่งไป ตลาดก็โดนแย่ง เหมือนคนหวงของแต่ก็อยากได้ราคาที่ต่ำ เหล่านี้คือวิธีการ

แล้วบทสรุปเรื่องข้าวจะเป็นอย่างไรต่อไป

ต้องปล่อยให้เป็นไปตามกระบวนการ แต่ถ้ายกเลิกการประมูลข้าวครั้งนี้ ยืนยันว่าราคาข้าวตกอย่างแน่นอน เพราะตอนนี้คนกลุ่มนี้รอให้มีการยกเลิกการประมูลข้าว เขาต้องการให้เราทนกระแสสังคมไม่ไหว แต่รับรองถ้าเลิก ราคาร่วงแน่ เพราะทุกวันนี้ราคาข้าวไม่ได้ลง มีแต่ขึ้น แต่จะมาทุบกันแบบนี้รับรองราคาร่วงแน่นอน

แต่ในที่สุดเมื่อสังคมบีบ การเมืองกดดัน นายกฯก็อาจสั่งให้ยกเลิกการประมูล

ถ้านายกฯรับได้ว่าราคาข้าวจะลง เราไม่ว่าอยู่แล้ว เราปฏิบัติตามนโยบาย เพราะเราไม่มีอำนาจที่จะให้หรือไม่ให้ใคร ทั้งหมดเป็นอำนาจนายกฯ หรือรองนายกฯ ดังนั้น ถ้านายกฯรับได้ว่าราคาข้าวจะต้องร่วง นายกฯก็ต้องรับผิดชอบ เพราะกระทรวงพาณิชย์เป็นผู้รับนโยบาย เป็นผู้ใต้บังคับบัญชา ให้ทำอะไรก็ต้องทำ เพราะแสดงให้เห็นอยู่แล้วว่าเราไม่มีวาระซ่อนเร้น สิ่งที่คนอื่นมองตรงนี้ควรจะมองภาพรวมดีกว่า ดูราคา ดูเสถียรภาพของตลาด

หากข้าวรอบนี้ขายไม่ได้ ข้าวตลาดใหม่ที่จะออกมาในเดือนธันวาคม ก็จะขายไม่ได้ รับรองได้ว่าทีนี้ข้าวจะร่วงทั้งระบบ รวมถึงนโยบายประกันรายได้ ที่รัฐบาลจะต้องมาจ่ายเพิ่มให้กับการประกันราคาข้าวอีก ซึ่งในปี 2552 ที่ผ่านมา รัฐบาลต้องจ่ายการประกันราคาข้าวไปแล้ว 50,000 ล้านบาท จึงอยากถามว่า ถ้าเกิดอะไรขึ้นใครจะรับผิดชอบ

ยอมรับว่า พอเราเปิดตลาดระบายข้าว ต่างชาติเริ่มรู้ เขาสนใจ มีความเคลื่อนไหวเรื่องของราคา เพราะก่อนหน้านี้มันนิ่ง ไม่มีการสั่งให้ขาย ขายได้ก็ถูกยกเลิกได้ ทำให้ตลาดข้าวนิ่ง รอดูราคา ไม่จำเป็นต้องรีบซื้อ เพราะซื้อไปเก็บก็มีภาระในค่าเก็บรักษา พอเริ่มมีข่าวว่าจะขาย ต่างประเทศก็เข้ามาหา ต้องการให้ขายแบบรัฐต่อรัฐ หรือจีทูจี ราคาก็เคลื่อนไหว ถึงบอกว่าถ้านิ่งไปเรื่อยๆ ไม่มีการเคลื่อนไหว ไม่มีการขาย ราคามันก็นิ่ง ชาวนา เกษตรกร ก็ไม่ได้ประโยชน์ ส.ส.ก็ด่าทุกวันว่าข้าวราคาตก เพราะมันไม่มีความเคลื่อนไหว

หนักใจหรือไม่ที่เรื่องส่วนใหญ่เกิดจากการโดนพิษคนใกล้ตัวทั้งสิ้น

(ถอนหายใจ) ก็ต้องระมัดระวังมากขึ้น คงต้องตรวจสอบให้ละเอียดมากขึ้นว่าใครเป็นใคร แต่จากกรณีมันเส้นและข้าว กล้ายืนยันได้ด้วยราคา และยืนยันว่าเราไม่รู้ แล้วก็ไม่รู้จริงๆ จะเอาไปตัดคอก็ได้

บางครั้งก็น้อยใจเหมือนกันนะ เพราะตลอดระยะเวลาที่ทำงานมา ตัวเลขส่งออก เราลบสถิติเดิม ส่งออกสูงสุดเป็นประวัติศาสตร์ ตั้งเป้าไว้ จะทำยอดส่งออกเพิ่มขึ้น 14% แต่ส่งออกเพิ่มได้ถึง 20% ถือว่าพลิกปากกาเซียน เป็นสิ่งที่เราภูมิใจ อย่างปี 2553 ตั้งแต่เดือนมกราคม-สิงหาคม การส่งออกทุบสถิติในประวัติศาสตร์ ที่มีการส่งออกมากถึง 125,083 พันล้านเหรียญสหรัฐ เราสามารถลบตัวเลขคนอื่นที่ทำไว้ได้ เพื่อให้คนอื่นพยายามลบตัวเลขเราต่อไป แต่ปรากฏว่ากระทรวงพาณิชย์ก็ยังเป็นกระทรวงที่ได้งบประมาณน้อยที่สุด แต่เราก็พยายามใช้ทรัพยากรที่มีอยู่ให้เกิดประโยชน์สูงสุด อย่างปี 2553 ตั้งแต่เดือนมกราคม-สิงหาคม การส่งออกทุบสถิติในประวัติศาสตร์ ที่มีการส่งออกมากถึง 125,083 พันล้านเหรียญสหรัฐ

เป็นช่วงประจวบเหมาะ เพราะทุกกระทรวงที่พรรคภูมิใจไทยดูแลในระยะหลังจะถูกกล่าวหาว่ามีการทุจริต ที่อาจจะโยงไปถึงเป็นเงื่อนไขสำคัญที่จะถูกเขี่ยออกจากพรรคร่วมรัฐบาล

เราไม่ได้ทุจริต (ตอบทันที) แต่ข่าวพอลงก็ไปก็จั่วหัวแล้ว ฉาวโฉ่ (หัวเราะ) ก็ทำให้สังคมเชื่อ เพราะบางคนไม่ได้อ่านในเนื้อหา ดูแค่จั่วหัว อยากบอกว่าสิ่งที่ทำ ทำด้วยความเป็นหน้าที่ ที่จะต้องทำให้ดีที่สุด ไม่มีจิตที่จะคิดทำให้ไม่โปร่งใส เราทำทุกอย่างตามขั้นตอน เพราะถ้ามีทุจริต ไม่โปร่งใส ก็บอกมาว่าอยู่ตรงไหน จะจัดการทันที ไม่ใช่มาโหมกระแส เพราะเราก็ยึดนโยบาย ที่จะต้องทำให้รัฐได้ประโยชน์สูงสุด

ส่วนเรื่องเขี่ยออกจากพรรคร่วมรัฐบาล คงต้องยอมรับว่า การทำงานการเมืองในฐานะพรรคร่วม มันย่อมมีอุปสรรคขวากหนามอยู่บ้าง แต่ลึกๆ ก็ไม่มีอะไรที่เป็นปัญหาจนถึงขนาดพูดคุยกันไม่ได้ และยังไม่มีสัญญาณทำนองนั้นออกมา ความสัมพันธ์ระหว่างภูมิใจไทยกับประชาธิปัตย์ก็ยังดีอยู่

เชื่อว่าจะเป็นรัฐบาลร่วมกันจนครบเทอมหรือไม่

เชื่อว่าถ้าไม่มีอะไรรุนแรง ก็อยู่ครบเทอมแน่

ในฐานะเลขาธิการพรรคภูมิใจไทย มองอย่างไรกับการที่พรรคภูมิใจไทยถูกสร้างภาพให้เป็นผู้ร้ายตลอดเวลา

เมื่อมีพระเอก ก็ต้องมีผู้ร้าย (หัวเราะ) ไม่อย่างนั้นหนังก็คงไม่ครบเครื่อง แต่มันก็เป็นเรื่องธรรมดาของสังคมที่มีการตรวจสอบ และมันก็ไม่ได้มีเฉพาะภูมิใจไทย

เปิดหลักฐานเครือข่ายกลุ่มวังน้ำยม เร่งสะสมทุน กินรวบประมูลข้าว-มันเส้นมูลค่ากว่า15

 จากประชาชาติธุรกิจเปิดสายสัมพันธ์ของบริษัทที่เข้าประมูล ข้าว -มันเส้น กับผู้มีอำนาจทางการเมืองอย่างล่อนจ้อน มูลค่ากว่า 15,000 ล้าน ผู้นำรัฐบาลได้แต่ทำตาปริบๆ เรียบร้อยโรงเรียนภูมิใจไทย กลุ่มวังน้ำยมที่มีนายสมศักดิ์ เทพสุทิน (อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเพราะคณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีคำสั่งการยุบพรรค) เป็นหัวหน้า ได้ร่วมกับกลุ่มนายเนวิน ชิดชอบ จัดตั้งพรรคภูมิใจไทยในช่วงที่มีการพลิกขั้วเข้าร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์จัด ตั้งรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อปลายปี 2551
อย่างไรก็ตามทั้งกลุ่มนายเนวิน และกลุ่มนายสมศักดิ์ ได้ขีดเส้นแบ่งอาณาจักรในการครอบครองอำนาจกันอย่างชัดเจน กลุ่มนายเนวินนั้นยึดหัวหาดที่กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงคมนาคม

 ขณะที่กลุ่มวังน้ำยมของนายสมศักดิ์ยึดกระทรวงพาณิชย์เป็นฐานที่มั่น และส่งนางพรทิวา นาคาสัย เลขาธิการพรรคภูมิใจไทยเข้ามาเป็นเจ้ากระทรวง

 แน่นอนว่า กระทรวงพาณิชย์อุดมด้วยผลประโยชน์มากมายโดยเฉพาะสินค้าเกษตรที่อยู่ในมือของ รัฐจำนวนมหาศาลอันเกิดจากรับซื้อตามโครงการแทรกแซงราคาพืชผลสารพัดโครงการ

 เมื่อเป็นเช่นนี้ มีหรือที่นักการเมืองมือเก๋าและรู้เส้นทางทำกินเป็นอย่างดีจะปล่อยให้โอกาส หลุดลอย  จึงมีข่าวอื้อฉาวในกระทรวงนี้เป็นระยะๆ

 ล่าสุดพบว่า การขายข้าวของรัฐที่ฝากไว้กับองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) จำนวน 1.5 ล้านตันมูลค่าเกือบ 20,000 ล้านบาท  เมื่อเดือนสิงหาคม 2553 และการประมูลมันเส้นในสต็อกของรัฐบาลกว่า  250,251 ตัน มูลค่ากว่า 1,400 ล้านบาทตามนโยบายการจำหน่ายผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังตามโครงการแทรกแซงตลาดมัน สำปะหลัง ปี 2551/52 เมื่อเดือนมิถุนายน 2553   เครือข่ายกลุ่มวังน้ำยมต้นสังกัดของนางพรทิวา นาคาสัย  เป็นผู้ชนะการประมูลแบบชนิดกินรวบ!!

หนึ่ง  ในการขายข้าวของรัฐที่ฝากไว้องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) จำนวน 1.5 ล้านตัน มูลค่า ประมาณ 20,000 ปรากฎว่า  คณะทำงานดำเนินการระบายข้าวสาร ซึ่งมีนายมนัส  สร้อยพลอย อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ  กระทรวงพาณิชย์ ได้พิจารณาคัดเลือกผู้เสนอซื้อ 4 ราย ได้แก่ บริษัท ไชยพร บริษัท นครหลวงค้าข้าว และบริษัท เอเชียโกลเด้นท์ไรซ์  บริษัท เอ็มที  เซ็นเตอร์เทรด ซึ่งเสนอซื้อข่าวในราคาตันละ 12,000-16,085 บาท    ทั้งนี้ 3 บริษัทแรก เป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่และเป็นที่รู้จักในวงการค้าข้าวเป็นอย่างดี ได้ข้าวไปเพียง 4 แสนตัน

ขณะที่ บริษัท บริษัท เอ็มที เซ็นเตอร์เทรด ซึ่งเป็นบริษัทโนเนมระบุตามบริคนห์สนธิว่ามีทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท จัดตั้งเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2551ได้รับข้าวไปถึง 1.1 ล้านตัน ซึ่งมีการอ้างว่า คณะทำงาน คณะทำงานดำเนินการระบายข้าวสาร ซึ่งมีนายมนัส สร้อยพลอยได้อ้างว่า ได้เสนอคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.)ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ลงนามเห็นชอบแล้ว

แต่ผู้อำนวยการ อ.ต.ก.ยังไม่ยอมลงนามในสัญญาเนื่องจากมีผู้ส่งออก 2 รายร้องเรียนมาที่ อ.ต.ก.กล่าวหาว่า การอนุมัติขายครั้งนี้ไม่โปร่งใส และมีการทำผิดขั้นตอนการระบายข้าว คือไม่มีการเผยแพร่หรือแจ้งผู้ประกอบการว่า รัฐจะมีการระบายข้าว แต่หากมีการยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้มีอำนาจการอนุมัติก็จะเรียกเอกชน มาทำสัญญาทันที" นายมนูญรัตน์กล่าว

จากปรากฏการณ์ดังกล่าว ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า บริษัท เอ็มที เซ็นเตอร์เทรด เป็นใครมาจากไหน หากให้บริษัทในลักษณะเช่นนี้กวาดข้าวในสต็อกของรัฐไปอยู่ในมือทั้งหมดจะเกิด การผูกขาดและการทุจริตเช่นเดียวลักษณะกับกรณีการปล่อยให้บริษัท เพรสซิเดนท์ อะกริ เทรดดิ้งกวาดข้าวในสต็อกของรัฐไปถึง 2 ล้านตัน ในยุครัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร(ขณะที่ข้าวในสต็อกของรัฐที่ยังอยู่ในมือองค์การคลังสินค้าหรืออคส. อีกกว่า 4 ล้านตัน)

จากการตรวจสอบข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า พบว่าบริษัท เอ็มที เซ็นเตอร์เทรด ประกอบธุรกิจ ค้าปุ๋ย ค้าข้าว พืชผลทางการเกษตร และปรับปรุงคุณภาพข้าว มีนายจุ้ง เชียง เฉิน  นางสุพรรณี เฉินและ น.ส.ภาวินี จารุมนต์ เป็นกรรมการผู้มีอำนาจ  ถือหุ้นใหญ่โดยบริษัท เม้งไต๋ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัดที่เพิ่งก่อตั้งเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2552

กุญแจสำคัญของกรณีนี้อยู่ที่ น.ส.ภาวินี จารุมนต์ ซึ่งนอกจากจะเป็นกรรมการบริษัท  เอ็มที เซ็นเตอร์เทรดแล้ว ยังเป็นกรรมการในบริษัท เม้งไต๋ อินเตอร์เนชั่นแนล ด้วย

จากการตรวจสอบข้อมูลจากกรมธุรกิจการค้าพบว่า  น.ส.ภาวินี จารุมนต์และครอบครัว"จารุมนต์"เป็นผู้ถือหุ้นและกรรมการบริษัทในกลุ่มของ ครอบครัว"เทพสุทิน"ของนายสมศักดิ์ เทพสุทินหลายบริษัท  เช่น 

บริษัท ดี แลนด์  เพอร์เฟคที่นายเทิดไท-น.ส.ณัฐธิดา เทพสุทิน  บุตรชายและบุตรสาวของนายสมศักดิ์ เป็นผู้ถือหุ้นและกรรมการบริษัท(ประกอบธุรกิจโรงแรม บาร์ คาราโอเกะ) มีน.ส.ภาวินี จารุมนต์  และนายทรงยศ สำรวยแสง ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นและกรรมการผู้มีอำนาจในบริษัท ซิลเวอร์สยาม ร่วมกับครอบครัวจารุมนต์ถือหุ้นอยู่รายละ 1%     บริษัท เมก้า แลนด์  ประกอบธุรกิจค้าทอง มีนายเทิดไท เทพสุทินและนายภเชศ จารุมนต์ เป็นกรรมการผู้อำนาจของบริษัท ทั้งนี้ ยังมีนายเทิดไท เทพสุทิน น.ส.ณัฐธิดา เทพสุทิน นางพร เทพสุทิน  เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ น.ส.ธราพัน จารุมนต์ และนายภเชศ จารมนต์ เป็นผู้ถือหุ้น

ขณะเดียวกัน ครอบครัว"เทพสุทิน" ยังจัดตั้ง หจก.เทิดไทฟาร์มซึ่งมีนายเทิดไท-น.ส.ณัฐธิดา เทพสุทิน เป็นหุ้นส่วนใหญ่ะทุนจดทะเบียนกว่า 10 ล้านบาท ธุรกิจที่รู้จักกันดีคือ สนามกีฬาไก่ชนเทิดไท  อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ ซึ่งเป็นสนามชนไก่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

สนามกีฬาแห่งนี้ มีนาย สุนทร จารุมนต์ ซึ่งว่ากันว่า เป็นสามีน.ส.ภาวินี เป็นกรรมการบริหาร ซึ่งในช่วงที่มีการจัด"มหกรรมพัฒนาไก่ชนไทย" เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2552  มีการนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (รมว.มหาดไทย) และหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย (ภท.) เป็นประธานเปิดงาน

นอกจากนั้นยังมี  นายเนวิน ชิดชอบ, นายสมศักดิ์ เทพสุทิน, นายอนุทิน ชาญวีรกูล  มาร่วมงานอย่างพร้อมเพียง

จากข้อเท็จจริงดังกล่าว  ทำให้เห็นสายสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกันอย่างแนบแน่นระหว่างน.ส.ภาวินี จารมนต์ กรรมการผู้อำนาจนามขอบริษัท เอ็มที เซ็นเตอร์เทรดได้รับสิทธิการซื้อข้าวถึง 1.1 ล้านตัน มูลค่ากว่า 12,000 ล้านบาท(ผ่านคณะทำงานนายมนัส สร้อยพลอย อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เป็นประธาน)กับครอบครัว"เทพสุทิน"ของนายสมศักดิ์ เทพสุทิน หัวหน้า  กลุ่มวังน้ำยม  
สอง การประมูลมันเส้นในสต็อกของรัฐบาลกว่า  250,251 ตัน มูลค่ากว่า 1,400 ล้านบาทก่อน

เมื่อเดือนมิถุนายน 2553 บริษัท กาญจนาพันธ์ ฟาร์ม จำกัด หนองลังกาฟาร์ม และ ไพรสะเดาฟาร์ม (ในเครือของบริษัท กาญจนาฟาร์ม จำกัด  มีนายวิวัฒน์ -นางบุญยิ่ง นิติกาญจนา ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์  เป็นกรรมการผู้มีอำนาจ และผู้ถือหุ้นใหญ่) เข้าร่วมประมูล มันเส้นล็อตใหญ่กว่า  250,251 ตัน มูลค่ากว่า 1,400 ล้านบาท จากโกดังของรัฐบาลซึ่งเป็นไปตามนโยบายการจำหน่ายผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังตาม โครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลัง ปี 2551/52

ปรากฏว่า บริษัททั้ง 3 ราย((จากผู้ยื่นประมูล 7 ราย)ผ่านการพิจารณาจากคณะทำงานดำเนินการระบายผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังที่มีนาย มนัส  สร้อยพลอย  อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เป็นประธานคณะทำงาน

จากนั้นเสนอเรื่องให้นางพรทิวา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการด้านการตลาดมันสำปะหลังอนุมัติและนำเสนอ นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายมันสำปะหลัง
จนกระทั่งมีการนำเข้าพิจารณาในคณะรัฐมนตรีให้อนุมัติเมื่อวันที่ 24 สิหงาคม 2553 ที่ผ่านมา   สำหรับความเป็นมาของ นางบุญยิ่ง นิติกาญจนานั้น คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2553 มีมติแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษานางพรทิวา นาคาสัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์   นางบุญยิ่ง มีสามีชื่อนายวิวัฒน์ นิติกาญจนา อดีต ส.ส.พรรคไทยรักไทย จ.ราชบุรีเขต 2  สังกัดกลุ่มวังน้ำยมที่มีนายสมศักดิ์ เทพสุทิน เป็นหัวหน้ากลุ่ม   เมื่อนายสมศักดิ์แยกออกมาตั้งพรรคพรรคมัชฌิมาธิปไตย ได้ให้นายวิวัฒน์ เป็นรองหัวหน้าพรรค(เนื่องจากนายสมศักดิ์ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเพราะคณะ ตุลาการรัฐธรรมนูญมีคำสั่งการยุบพรรคไทยรักไทย) มีนางพรทิวา เป็นเลขาธิการพรรค   ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่นางบุญยิ่ง ภรรยานายวิวัฒน์(ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเพราะศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรค มัชฌิมาธิปไตย)ได้รับแต่งตั้งเป็นกุนซือของนางพรทิวา  

จากพฤติการณ์ทั้ง 2 กรณี ชัดเจนว่า มีลักษณะผลประโยชน์ทับซ้อนซึ่งแม้จะยังไม่มีกฎหมายหรือข้อห้ามเป็นความผิด ชัดเจน เว้นแต่จะมีการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบหรือพิสูจน์ได้ว่า ผู้มีอำนาจในการพิจารณาอนุมัติมีส่วนรู้เห็น สนับสนุนหรือ บงการในทั้งสองกรณี   แต่ก็ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า พฤติการณ์ดังกล่าวาเข้าข่าย พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542  เพราะการที่ผู้เข้าประมูลและชนะการประมูลเป็นบริษัทในเครือของของที่ปรึกษา รัฐมนตรีและบริษัทที่มีสายสัมพันธ์กับต้นสังกัดของรัฐมนตรีเจ้ากระทรวง  ทำให้อาจมีการ"ฮั้ว"  สมยอมราคาหรือตกลงราคากัน หรือมีการใช้อิทธิพลแทรกแซงการตัดสินของคณะทำงานที่เป็นข้าราชการระดับสูงใน กระทรวงพาณิชย์ได้

นอกจากนั้น ยังเห็นชัดว่า ผู้มีอำนาจทั้งในกระทรวงพาณิชย์และในรัฐบาลพยายามปกปิดเรื่องนี้เป็นความลับ จนกระทั่งสื่อมวลชนขุดคุ้ยและนำความจริงมาเปิดเผย  จึงเห็นสายสัมพันธ์ของบริษัทที่เข้าประมูลกับผู้มีอำนาจทางการเมืองอย่าง ล่อนจ้อน

 

 

ประมูลมันเส้นที่กระทรวงพาณิชย์�เรียกเป็นทุจริตสองมาตรฐาน?                                  

 ปรกตินั้นการระบายสินค้าการเกษตร ซึ่งเป็นหน้าที่ของรัฐบาลที่จะต้องกระทำกับสต็อกที่รับผิดชอบอยู่ ตั้งแต่อดีตเป็นต้นมาแล้วมักมีประเด็นข่าวสารอันไม่ชอบมาพากล... กระทั่งมีการวิจารณ์กันว่าพวกนักการเมืองที่เข้ามารับผิดชอบในกระทรวงพาณิชย์เห็นจะเลี่ยงไม่พ้นที่ต้องหาประโยชน์จากสต็อกสินค้าการเกษตรเหล่านั้น การระบายสินค้าการเกษตรจากสต็อกของรัฐบาลจึงเป็นเรื่องที่ถูกจับตาเฝ้ามองมาแทบทุกยุคสมัยของกระทรวงพาณิชย์ที่ผ่านมาในอดีต?

ในความไม่ชอบมาพากลก็ไม่ได้หมายถึงว่าจะเป็นเจตนาของระดับเสนาบดีเจ้ากระทรวง มีความเป็นไปได้ที่พฤติกรรมของความไม่ชอบมาพากลอาจเกิดจากกลไกปฏิบัติ แม้กระทั่งบุคคลรอบกายนักการเมือง ซึ่งเป็นไปได้สำหรับการอาศัยหรือแอบอ้างอำนาจและหน้าที่เอาไปบิดเพื่อเล่นแร่แปรธาตุจนเป็นผลประโยชน์เข้าพกเข้าห่อ...

ก็เป็นไปได้ที่คนเหล่านั้นยังเล่นบทเป็นตัวลงมือปฏิบัติการแทนนักการเมืองที่อยู่เบื้องหลังอีกทอดหนึ่ง หากพลาดพลั้งอะไรขึ้นมายังมีโอกาสยกสะพานไฟ ทำให้สาวความผิดเข้าไปไม่ถึงผู้ที่สั่งการตัวจริง?

กรณีขายมันเส้นให้กับสองบริษัท โดยที่ประชุม ครม. มีมติเห็นชอบให้จำหน่ายจำนวน 74,200 ตัน ที่จังหวัดกำแพงเพชร ให้แก่ผู้เสนอซื้อสองราย ได้แก่ บริษัท หนองลังกาฟาร์ม จำกัด ปริมาณ 34,700 ตัน ที่ราคาเฉลี่ย 5,500 บาท/ตัน คิดเป็นมูลค่า 191.08 ล้านบาท สำหรับอีกบริษัทคือ บริษัท ไพรสะเดาฟาร์ม จำกัด ปริมาณ 39,500 ตัน ราคาเฉลี่ย 5,500 บาท/ตัน คิดเป็นมูลค่า 217.36 ล้านบาท... นี่เป็นมติของ ครม. เมื่อวันที่ 20 กรกฎาคม 2553 โดยให้กระทรวงพาณิชย์เจรจาต่อรองกับผู้ซื้อทั้งสองรายดังกล่าวในการเพิ่มราคาให้สูงขึ้น เพราะเดิมนั้นทั้งสองบริษัทได้เสนอมาเฉลี่ย 5,264.36 บาท/ตัน ลงท้ายผลจึงออกมาเป็น 5,500 บาท/ตัน

ความเคลื่อนไหวต่างๆน่าจะดูดี มันไม่ได้มีอะไรแตกต่างไปจากราคาประมูลซื้อที่ดินตรงแยกรัชดาฯ ซึ่งสูงขึ้นกว่าราคากลางของคุณหญิงพจมาน ดามาพงศ์ อันเคยเป็นเรื่องโด่งดังเมื่ออดีตตามที่เรารับทราบโดยทั่วกัน เรื่องของการซื้อขายมันเส้นคราวนี้ปัญหามันมาชวนฉงนก็ตรงที่ “พิรุธของทั้งสองบริษัท” ตั้งแต่ประเด็นที่ผู้เสนอซื้อมันเส้นทั้งหมดไม่ได้มีสถานะเป็นบริษัทนิติบุคคล แต่เป็นฟาร์มซึ่งอยู่ในเครือของบริษัท กาญจนาฟาร์ม จำกัด

แล้วปรากฏชื่อนายวิวัฒน์ นิติกาญจนา เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ ประเด็นมันร้อนขึ้นมาก็ตรงที่นางบุญยิ่ง นิติกาญจนา ผู้เป็นภรรยา ได้รับการแต่งตั้งจากนางพรทิวา นาคาศัย ให้ดำรงตำแหน่งที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ขณะที่นายวิวัฒน์นั้นเคยสังกัดพรรคมัชฌิมาธิปไตยร่วมกับนายสมศักดิ์ เทพสุทิน แล้วย้ายเข้ามาอยู่กับพรรคภูมิใจไทยพร้อมๆกับนางพรทิวา นาคาศัย...

กรณีนี้รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ให้สัมภาษณ์ว่า “กรณีที่ปรึกษารัฐมนตรีถือหุ้นในบริษัทผู้ชนะการประมูลจึงไม่ทราบเรื่อง และนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ก็มีนโยบายชัดเจนว่าจะดูราคาสินค้าเป็นหลัก ถ้าได้ราคาสินค้าที่ดี จะเป็นใครเข้ามาซื้อก็ไม่สนใจ” นางพรทิวาให้ความเห็นอย่างนั้น เป็นไปเพราะนายกรัฐมนตรีได้ให้แนวทางไปเช่นนั้น ซึ่งถ้าคิดโดยตรรกะนี้ก็ต้องสรุปว่าเรื่องนี้กระทรวงพาณิชย์จัดการไปถูกต้องถ่องแท้แล้ว เป็นความดีความชอบที่ไม่ได้มีอะไรน่าเคลือบแคลงสงสัย เพราะถือว่าผู้ซื้อให้ราคาดี... แต่อย่างไรก็ตาม รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ก็ได้ตั้งกรรมการสอบรายการประมูลมันเส้น 74,200 ตัน ขณะที่ที่ปรึกษาก็ลาออกพ้นหน้าที่ ซึ่งรัฐมนตรีไม่ได้ยับยั้งเอาไว้อีกแล้ว...

กรณีทั้งหมดไม่ได้หมายความว่าจะมีความไม่โปร่งใสต่อการจำหน่ายมันเส้น แต่เป็นประเด็น “ให้ขบคิด” แล้วขบคิดคงต้องตามมาด้วยความกังขา กังขาตั้งแต่ว่าการระบายสินค้าการเกษตรของรัฐบาลย่อมกระทำได้หลายหนทาง แต่วิธีที่ให้พ่อค้าหรือผู้ส่งออกเข้ามาซื้ออย่างลับๆ โดยอ้างเหตุผลเกรงจะกระทบราคาในตลาด ซึ่งความจริงก็ปิดข้อมูลไปได้ไม่นานนัก ถึงที่สุดคงส่งผลกับราคาในตลาดอยู่ดี แล้วที่สำคัญนั้นวิธีการเช่นนี้ถูกตั้งเป้ามองว่ามีผลประโยชน์แอบแฝงอยู่เบื้องหลัง แม้จะเป็นความหวังดีทั้งของรัฐมนตรีหรือในนามมติคณะรัฐมนตรีก็ตาม?

อีกข้อขบคิดเห็นจะเป็นราคาที่สูงขึ้นในการซื้อขายมากกว่าราคาที่เอกชนได้เสนอมาแต่ต้น เปรียบเทียบไปแล้วทำให้นึกถึงเหตุการณ์ครั้งประมูลที่รัชดาฯ ซึ่งเล่นเอา พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร ต้องกลายเป็นผู้ร้ายคดีอาญาที่ต้องล่าข้ามโลก คราวนั้นคุณหญิงพจมานเสนอราคาประมูลสูงกว่าราคากลาง พิจารณาให้ดีๆ ไม่ได้มีอะไรแตกต่างไปจากรายการมันเส้นครั้งนี้ ไอ้ที่แตกต่างเห็นจะเป็นตรงข้อเท็จจริงของเหตุการณ์คนละรัฐบาลเท่านั้น?

 

พาณิชย์กระเตงบริษัทข้าวฉาวเร่ขายโควตา

 นายยรรยง พวงราช ปลัดกระทรวงพาณิชย์ เปิดเผยถึงกรณีบริษัท เอ็มที เซ็นเตอร์เทรด จำกัด ซึ่งกระทรวงพาณิชย์อนุมัติขายข้าวจากสต็อกรัฐบาลเกือบ 2 ล้านตันให้เพียงรายเดียว และนำไปเร่ขายให้ผู้ส่งออกข้าวและโรงสีข้าวในประเทศ ว่ากรณีดังกล่าวไม่น่าจะถือว่าเป็นการกระ ทำความผิด  หากบริษัทสามารถส่งออกข้าวได้ตามระยะเวลาที่กำ หนดในสัญญาซื้อขาย  และตามปริมาณคำสั่งซื้อจากต่างประเทศที่บริษัทนำมาแสดงในช่วงการขอซื้อข้าวจากรัฐบาล

"เงื่อนไขในสัญญาซื้อขายจะระบุระยะเวลาที่จะต้องส่งออกอย่างชัดเจน  ซึ่งหากส่งออกตามนั้นก็ไม่ถือว่ามีความผิดหรือทำผิดเงื่อนไขสัญญา ส่วนวิธีการส่งออกจะทำอย่างไรก็เป็นเรื่องของเขา เช่น  ขายให้ผู้ส่งออกอื่นแล้วขอใบ อนุญาตส่งออกในนามบริษัทนี้ก็ ได้ เป็นวิธีการที่วงการค้าข้าวทำกันเป็นปกติอยู่แล้ว" นายยรรยงกล่าว

สำหรับปัญหาวุ่นวายเกี่ยวกับการขายข้าวในสต็อกรัฐบาลที่กระทรวงพาณิชย์เป็นผู้ดำเนินการ น่าจะเกิดจากผู้ส่งออกที่เคยได้ประโยชน์หรือเคยซื้อข้าวจากรัฐ บาลได้  แต่มาครั้งนี้ไม่สามารถซื้อ แข่งกับรายอื่นได้ จึงเสียประโยชน์ และออกมาให้ข่าวสร้างความเสียหาย

อย่างไรก็ตาม คงไม่ต้องตรวจ สอบใดๆ เพราะยืนยันว่าดำเนินการตามขั้นตอนที่รัฐบาลกำหนดทุก  อย่างและไม่มีเรื่องความไม่โปร่ง ใสแน่นอน

ด้านวงการค้ามันสำปะหลังกำลังจับตาดูการดำเนินการของคณะกรรมการตรวจสอบของกระ ทรวงพาณิชย์ ต่อกรณีการขายมันสำปะหลังในสต็อกรัฐบาลให้กับบริษัท  กาญจนาฟาร์ม  ของนายวิวัฒน์ นิติกาญจนา สามีนางบุญยิ่ง นิติกาญจนา ที่ปรึกษานางพรทิวา นาคาศัย รมว.พาณิชย์ ที่เกิดความไม่โปร่งใส.

 

เปิดหลักฐานเครือข่ายกลุ่มวังน้ำยม เร่งสะสมทุน กินรวบประมูลข้าว


เปิดหลักฐานเครือข่ายกลุ่มวังน้ำยม เร่งสะสมทุน กินรวบประมูลข้าว-มันเส้นมูลค่ากว่า15,000 ล้าน
เปิดสายสัมพันธ์ของบริษัทที่เข้าประมูล ข้าว -มันเส้น กับผู้มีอำนาจทางการเมืองอย่างล่อนจ้อน มูลค่ากว่า 15,000 ล้าน ผู้นำรัฐบาลได้แต่ทำตาปริบๆ เรียบร้อยโรงเรียนภูมิใจไทย

กลุ่มวังน้ำยมที่มีนายสมศักดิ์ เทพสุทิน (อดีตกรรมการบริหารพรรคไทยรักไทย ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเพราะคณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีคำสั่งการยุบพรรค) เป็นหัวหน้า ได้ร่วมกับกลุ่มนายเนวิน ชิดชอบ จัดตั้งพรรคภูมิใจไทยในช่วงที่มีการพลิกขั้วเข้าร่วมกับพรรคประชาธิปัตย์จัดตั้งรัฐบาลอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ เมื่อปลายปี 2551

อย่างไรก็ตามทั้งกลุ่มนายเนวิน และกลุ่มนายสมศักดิ์ ได้ขีดเส้นแบ่งอาณาจักรในการครอบครองอำนาจกันอย่างชัดเจน กลุ่มนายเนวินนั้นยึดหัวหาดที่กระทรวงมหาดไทยและกระทรวงคมนาคม

ขณะที่กลุ่มวังน้ำยมของนายสมศักดิ์ยึดกระทรวงพาณิชย์เป็นฐานที่มั่น และส่งนางพรทิวา นาคาสัย เลขาธิการพรรคภูมิใจไทยเข้ามาเป็นเจ้ากระทรวง

แน่นอนว่า กระทรวงพาณิชย์อุดมด้วยผลประโยชน์มากมายโดยเฉพาะสินค้าเกษตรที่อยู่ในมือของรัฐจำนวนมหาศาลอันเกิดจากรับซื้อตามโครงการแทรกแซงราคาพืชผลสารพัดโครงการ

เมื่อเป็นเช่นนี้ มีหรือที่นักการเมืองมือเก๋าและรู้เส้นทางทำกินเป็นอย่างดีจะปล่อยให้โอกาสหลุดลอย  จึงมีข่าวอื้อฉาวในกระทรวงนี้เป็นระยะๆ

ล่าสุดพบว่า การขายข้าวของรัฐที่ฝากไว้กับองค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) จำนวน 1.5 ล้านตันมูลค่าเกือบ 20,000 ล้านบาท  เมื่อเดือนสิงหาคม 2553 และการประมูลมันเส้นในสต็อกของรัฐบาลกว่า  250,251 ตัน มูลค่ากว่า 1,400 ล้านบาทตามนโยบายการจำหน่ายผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังตามโครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลัง ปี 2551/52 เมื่อเดือนมิถุนายน 2553   เครือข่ายกลุ่มวังน้ำยมต้นสังกัดของนางพรทิวา นาคาสัย  เป็นผู้ชนะการประมูลแบบชนิดกินรวบ!!

หนึ่ง  ในการขายข้าวของรัฐที่ฝากไว้องค์การตลาดเพื่อเกษตรกร (อ.ต.ก.) จำนวน 1.5 ล้านตัน มูลค่า ประมาณ 20,000 ปรากฎว่า  คณะทำงานดำเนินการระบายข้าวสาร ซึ่งมีนายมนัส  สร้อยพลอย อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ  กระทรวงพาณิชย์ ได้พิจารณาคัดเลือกผู้เสนอซื้อ 4 ราย ได้แก่ บริษัท ไชยพร บริษัท นครหลวงค้าข้าว และบริษัท เอเชียโกลเด้นท์ไรซ์  บริษัท เอ็มที  เซ็นเตอร์เทรด ซึ่งเสนอซื้อข่าวในราคาตันละ 12,000-16,085 บาท  

 ทั้งนี้ 3 บริษัทแรก เป็นผู้ส่งออกข้าวรายใหญ่และเป็นที่รู้จักในวงการค้าข้าวเป็นอย่างดี ได้ข้าวไปเพียง 4 แสนตัน

ขณะที่ บริษัท บริษัท เอ็มที เซ็นเตอร์เทรด ซึ่งเป็นบริษัทโนเนมระบุตามบริคนห์สนธิว่ามีทุนจดทะเบียน 10 ล้านบาท จัดตั้งเมื่อวันที่ 20 เมษายน 2551ได้รับข้าวไปถึง 1.1 ล้านตัน ซึ่งมีการอ้างว่า คณะทำงาน คณะทำงานดำเนินการระบายข้าวสาร ซึ่งมีนายมนัส สร้อยพลอยได้อ้างว่า ได้เสนอคณะกรรมการนโยบายข้าวแห่งชาติ (กขช.)ที่มีนายอภิสิทธิ์ เวชชาชีวะ นายกรัฐมนตรี ลงนามเห็นชอบแล้ว

แต่ผู้อำนวยการ อ.ต.ก.ยังไม่ยอมลงนามในสัญญาเนื่องจากมีผู้ส่งออก 2 รายร้องเรียนมาที่ อ.ต.ก.กล่าวหาว่า การอนุมัติขายครั้งนี้ไม่โปร่งใส และมีการทำผิดขั้นตอนการระบายข้าว คือไม่มีการเผยแพร่หรือแจ้งผู้ประกอบการว่า รัฐจะมีการระบายข้าว แต่หากมีการยืนยันเป็นลายลักษณ์อักษรจากผู้มีอำนาจการอนุมัติก็จะเรียกเอกชนมาทำสัญญาทันที" นายมนูญรัตน์กล่าว

จากปรากฏการณ์ดังกล่าว ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า บริษัท เอ็มที เซ็นเตอร์เทรด เป็นใครมาจากไหน หากให้บริษัทในลักษณะเช่นนี้กวาดข้าวในสต็อกของรัฐไปอยู่ในมือทั้งหมดจะเกิดการผูกขาดและการทุจริตเช่นเดียวลักษณะกับกรณีการปล่อยให้บริษัท เพรสซิเดนท์ อะกริ เทรดดิ้งกวาดข้าวในสต็อกของรัฐไปถึง 2 ล้านตัน ในยุครัฐบาล พ.ต.ท.ทักษิณ ชินวัตร(ขณะที่ข้าวในสต็อกของรัฐที่ยังอยู่ในมือองค์การคลังสินค้าหรืออคส. อีกกว่า 4 ล้านตัน)

จากการตรวจสอบข้อมูลจากกรมพัฒนาธุรกิจการค้า พบว่าบริษัท เอ็มที เซ็นเตอร์เทรด ประกอบธุรกิจ ค้าปุ๋ย ค้าข้าว พืชผลทางการเกษตร และปรับปรุงคุณภาพข้าว มีนายจุ้ง เชียง เฉิน  นางสุพรรณี เฉินและ น.ส.ภาวินี จารุมนต์ เป็นกรรมการผู้มีอำนาจ  ถือหุ้นใหญ่โดยบริษัท เม้งไต๋ อินเตอร์เนชั่นแนล จำกัดที่เพิ่งก่อตั้งเมื่อวันที่ 10 กันยายน 2552

กุญแจสำคัญของกรณีนี้อยู่ที่ น.ส.ภาวินี จารุมนต์ ซึ่งนอกจากจะเป็นกรรมการบริษัท  เอ็มที เซ็นเตอร์เทรดแล้ว ยังเป็นกรรมการในบริษัท เม้งไต๋ อินเตอร์เนชั่นแนล ด้วย

จากการตรวจสอบข้อมูลจากกรมธุรกิจการค้าพบว่า  น.ส.ภาวินี จารุมนต์และครอบครัว"จารุมนต์"เป็นผู้ถือหุ้นและกรรมการบริษัทในกลุ่มของครอบครัว"เทพสุทิน"ของนายสมศักดิ์ เทพสุทินหลายบริษัท  เช่น 

บริษัท ดี แลนด์  เพอร์เฟคที่นายเทิดไท-น.ส.ณัฐธิดา เทพสุทิน  บุตรชายและบุตรสาวของนายสมศักดิ์ เป็นผู้ถือหุ้นและกรรมการบริษัท(ประกอบธุรกิจโรงแรม บาร์ คาราโอเกะ) มีน.ส.ภาวินี จารุมนต์  และนายทรงยศ สำรวยแสง ซึ่งเป็นผู้ถือหุ้นและกรรมการผู้มีอำนาจในบริษัท ซิลเวอร์สยาม ร่วมกับครอบครัวจารุมนต์ถือหุ้นอยู่รายละ 1%

บริษัท เมก้า แลนด์  ประกอบธุรกิจค้าทอง มีนายเทิดไท เทพสุทินและนายภเชศ จารุมนต์ เป็นกรรมการผู้อำนาจของบริษัท ทั้งนี้ ยังมีนายเทิดไท เทพสุทิน น.ส.ณัฐธิดา เทพสุทิน นางพร เทพสุทิน  เป็นผู้ถือหุ้นใหญ่ น.ส.ธราพัน จารุมนต์ และนายภเชศ จารมนต์ เป็นผู้ถือหุ้น

ขณะเดียวกัน ครอบครัว"เทพสุทิน" ยังจัดตั้ง หจก.เทิดไทฟาร์มซึ่งมีนายเทิดไท-น.ส.ณัฐธิดา เทพสุทิน เป็นหุ้นส่วนใหญ่ะทุนจดทะเบียนกว่า 10 ล้านบาท ธุรกิจที่รู้จักกันดีคือ สนามกีฬาไก่ชนเทิดไท  อ.บางเสาธง จ.สมุทรปราการ ซึ่งเป็นสนามชนไก่ที่ใหญ่ที่สุดในประเทศไทย

สนามกีฬาแห่งนี้ มีนาย สุนทร จารุมนต์ ซึ่งว่ากันว่า เป็นสามีน.ส.ภาวินี เป็นกรรมการบริหาร ซึ่งในช่วงที่มีการจัด"มหกรรมพัฒนาไก่ชนไทย" เมื่อวันที่ 13 สิงหาคม 2552  มีการนายชวรัตน์ ชาญวีรกูล  รัฐมนตรีว่าการกระทรวงมหาดไทย (รมว.มหาดไทย) และหัวหน้าพรรคภูมิใจไทย (ภท.) เป็นประธานเปิดงาน

นอกจากนั้นยังมี  นายเนวิน ชิดชอบ, นายสมศักดิ์ เทพสุทิน, นายอนุทิน ชาญวีรกูล  มาร่วมงานอย่างพร้อมเพียง

จากข้อเท็จจริงดังกล่าว  ทำให้เห็นสายสัมพันธ์ที่เชื่อมโยงกันอย่างแนบแน่นระหว่างน.ส.ภาวินี จารมนต์ กรรมการผู้อำนาจนามของบริษัท เอ็มที เซ็นเตอร์เทรดได้รับสิทธิการซื้อข้าวถึง 1.1 ล้านตัน มูลค่ากว่า 12,000 ล้านบาท(ผ่านคณะทำงานนายมนัส สร้อยพลอย อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เป็นประธาน)กับครอบครัว"เทพสุทิน"ของนายสมศักดิ์ เทพสุทิน หัวหน้า  กลุ่มวังน้ำยม

 สอง การประมูลมันเส้นในสต็อกของรัฐบาลกว่า  250,251 ตัน มูลค่ากว่า 1,400 ล้านบาทก่อน

เมื่อเดือนมิถุนายน 2553 บริษัท กาญจนาพันธ์ ฟาร์ม จำกัด หนองลังกาฟาร์ม และ ไพรสะเดาฟาร์ม (ในเครือของบริษัท กาญจนาฟาร์ม จำกัด  มีนายวิวัฒน์ -นางบุญยิ่ง นิติกาญจนา ที่ปรึกษารัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์  เป็นกรรมการผู้มีอำนาจ และผู้ถือหุ้นใหญ่) เข้าร่วมประมูล มันเส้นล็อตใหญ่กว่า  250,251 ตัน มูลค่ากว่า 1,400 ล้านบาท จากโกดังของรัฐบาลซึ่งเป็นไปตามนโยบายการจำหน่ายผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังตามโครงการแทรกแซงตลาดมันสำปะหลัง ปี 2551/52

ปรากฏว่า บริษัททั้ง 3 ราย((จากผู้ยื่นประมูล 7 ราย)ผ่านการพิจารณาจากคณะทำงานดำเนินการระบายผลิตภัณฑ์มันสำปะหลังที่มีนายมนัส  สร้อยพลอย  อธิบดีกรมการค้าต่างประเทศ เป็นประธานคณะทำงาน

จากนั้นเสนอเรื่องให้นางพรทิวา รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์ ในฐานะประธานคณะอนุกรรมการด้านการตลาดมันสำปะหลังอนุมัติและนำเสนอ นายไตรรงค์ สุวรรณคีรี รองนายกรัฐมนตรี ในฐานะประธานคณะกรรมการนโยบายมันสำปะหลัง

จนกระทั่งมีการนำเข้าพิจารณาในคณะรัฐมนตรีให้อนุมัติเมื่อวันที่ 24 สิหงาคม 2553 ที่ผ่านมา

 สำหรับความเป็นมาของ นางบุญยิ่ง นิติกาญจนานั้น คณะรัฐมนตรีเมื่อวันที่ 13 มกราคม 2553 มีมติแต่งตั้งให้เป็นที่ปรึกษานางพรทิวา นาคาสัย รัฐมนตรีว่าการกระทรวงพาณิชย์

 นางบุญยิ่ง มีสามีชื่อนายวิวัฒน์ นิติกาญจนา อดีต ส.ส.พรรคไทยรักไทย จ.ราชบุรีเขต 2  สังกัดกลุ่มวังน้ำยมที่มีนายสมศักดิ์ เทพสุทิน เป็นหัวหน้ากลุ่ม 

 เมื่อนายสมศักดิ์แยกออกมาตั้งพรรคพรรคมัชฌิมาธิปไตย ได้ให้นายวิวัฒน์ เป็นรองหัวหน้าพรรค(เนื่องจากนายสมศักดิ์ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเพราะคณะตุลาการรัฐธรรมนูญมีคำสั่งการยุบพรรคไทยรักไทย) มีนางพรทิวา เป็นเลขาธิการพรรค

 ดังนั้น จึงไม่ใช่เรื่องน่าแปลกใจที่นางบุญยิ่ง ภรรยานายวิวัฒน์(ถูกเพิกถอนสิทธิเลือกตั้งเพราะศาลรัฐธรรมนูญสั่งยุบพรรคมัชฌิมาธิปไตย)ได้รับแต่งตั้งเป็นกุนซือของนางพรทิวา

 จากพฤติการณ์ทั้ง 2 กรณี ชัดเจนว่า มีลักษณะผลประโยชน์ทับซ้อนซึ่งแม้จะยังไม่มีกฎหมายหรือข้อห้ามเป็นความผิดชัดเจน เว้นแต่จะมีการใช้อำนาจหน้าที่โดยมิชอบหรือพิสูจน์ได้ว่า ผู้มีอำนาจในการพิจารณาอนุมัติมีส่วนรู้เห็น สนับสนุนหรือ บงการในทั้งสองกรณี

 แต่ก็ทำให้เกิดข้อสงสัยว่า พฤติการณ์ดังกล่าวาเข้าข่าย พ.ร.บ.ว่าด้วยความผิดเกี่ยวกับการเสนอราคาต่อหน่วยงานของรัฐ พ.ศ.2542  เพราะการที่ผู้เข้าประมูลและชนะการประมูลเป็นบริษัทในเครือของของที่ปรึกษารัฐมนตรีและบริษัทที่มีสายสัมพันธ์กับต้นสังกัดของรัฐมนตรีเจ้ากระทรวง  ทำให้อาจมีการ"ฮั้ว"  สมยอมราคาหรือตกลงราคากัน หรือมีการใช้อิทธิพลแทรกแซงการตัดสินของคณะทำงานที่เป็นข้าราชการระดับสูงในกระทรวงพาณิชย์ได้

นอกจากนั้น ยังเห็นชัดว่า ผู้มีอำนาจทั้งในกระทรวงพาณิชย์และในรัฐบาลพยายามปกปิดเรื่องนี้เป็นความลับ จนกระทั่งสื่อมวลชนขุดคุ้ยและนำความจริงมาเปิดเผย  จึงเห็นสายสัมพันธ์ของบริษัทที่เข้าประมูลกับผู้มีอำนาจทางการเมืองอย่างล่อนจ้อน




ประชาชนควรมีส่วนร่วม เลือกตั้งตัวแทน ร่วมบริหารระบบราชการ ทุกหน่วยงาน ชาติเจริญสังคมสงบสุข

ลูกแอ๊ด คาราบาว ได้ยศ ร.ต.ท. แม้เคยพัวพันคดีพรากผู้เยาว์
อวสาน อบต.ชัดเจนแล้ว..
10หน่วยงาน ที่ผู้บริโภคควรรู้ เบอร์โทร การร้องเรียนเรื่องสินค้า
“พลเอกประยุทธ์” ใช้มาตรา 44 ฟัน “ผู้บริหารสถานศึกษา - ขรก.พลเรือน - อปท.” รวม 60 ราย สั่งระงับการทำงานชั่วคราวระหว่างรอผลสอบทุจริต
ลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อย 2559 ได้ที่ไหน เช็กรายละเอียด ใครมีสิทธิ์ลงทะเบียนคนจน ลงทะเบียนคนจนได้ที่ไหนบ้าง เปิดลงทะเบียนผู้มีรายได้น้อยถึงวันที่เท่าไร แล้วใครมีสิทธิ์ มาเช็กกันเลย
อธิบดีราชทัณฑ์คนใหม่ ย้ายผบ.เรือนจำใหญ่ 16 ตำแหน่ง มีผลตั้งแต่บัดนี้เป็นต้นไป
วาทะเด็ด ส.ศิวรักษ์ คลิป
การประชุมสมาชิกวุฒิอาสาธนาคารสมอง จังหวัดกาญจนบุรี ครั้งที่ 3/2559
นายก สั่งทุกหน่วย รับมือพิษพายุฝน ถล่มหนักทุกภาค
รองประธานอนุกรรมาธิการวิสามัญศึกษากลไกปราบปรามทุจริต แฉ มีคลิป คิงเพาเวอร์ขายของปลอดภาษีโดยไม่ต้องใช้พาสปอร์ต
ชาวบ้านแห่เข้าโรงจำนำ เอาเงินจ่ายค่าเทอมลูก โรงจำนำสำรองเงินสด 150 ล้านรับเปิดเทอม
ชาวบ้าน อ.ศรีสวัสดิ์ กว่า 300 คน ชุมนุมร้องอุทยานฯ เขื่อนศรีนครินทร์ ทับที่ทำมาหากิน
รธน.นี้ ประชาชนเดือดร้อนตรงไหนเพราะเหตุใด?
อำนาจทหารเบ็ดเสร็จ ปราบมาเฟียน่าหวาดเสียว-งานล้น หรือตร. เกียร์ว่าง !!
คดีน้ำพริกดัง! ร้องเรียนกรรมการตุลาการ !!! หากตัดสินผิดพลาด!!! เป็นอันตรายต่อผู้พิพากษา!!!
ชงเก็บค่าน้ำสงกรานต์ อ้างให้คนประหยัดน้ำ-ใส่ใจปัญหาภัยแล้ง
ดร.ธานี ชัยวัฒน์ เผยไทยยังคอร์รัปชันระบบพวกพ้อง-อุปถัมภ์
ผู้ชมคิดอย่างไรกับคลิปนี้
แก้กฎหมายใหม่ ด่าศพมีความผิด
นายกฯ ให้โอวาทเด็กยันทุกคนมีเสรีภาพ หากไม่ทำผิดกฏหมาย
ไก่อู ฉะ เพื่อไทย วิจารณ์ปี′59 ศก.ไม่ดี บอกให้รอชมทีเด็ด-เหนือความคาดหมาย ตลอดปี
"สมคิด"ถก"บิ๊กตู่" ออกแพ็กเกจช่วยคนจนตั้งแต่ต้นปีหน้า
“คณิน” เตือน กรธ. ให้คำนึงถึง เสถียรภาพทางการเมือง หวั่นรบ.เลือกตั้งจะกลายเป็น "ลูกไก่ในกำมือ" องค์กรอิสระ ทำงานก็ถูกหาว่าโกง-ไม่ทำงานปชช.ก็ด่า
เสนอสูตรแบบผสมทางรอดประเทศ : เลือกตั้งไม่ตอบโจทย์
'ป๋าเปรม' แรง! กำจัด 'ตัวเวร น่ารังเกียจ ปล้นชาติ’ ออกจากแผ่นดิน
เผยรธน.ใหม่ ไม่มีคปป.แน่ เสร็จแล้วกว่า 60%
'กรธ.' จัดหนักวางกฎเหล็ก 17 ข้อ ห้ามสมัคร ส.ส.
บริสุทธิ์ใจคงไม่ห้าม! บิ๊กป้อม ชี้จับ"ตู่-เต้น"เหตุจ้องโยงการเมือง ยันคสช.ยังปึ้ก!
′ป๋าเปรม′ เปิดพิพิธภัณฑ์ต้านโกง ป.ป.ช. บอก "มีคนโกงไปบวชเป็นพระแล้วหายโกงก็มี"
'ป๋าเปรม' เปิดพิพิธภัณฑ์ต้านโกง แนะปลูกฝังเยาวชน หวังแก้ได้
เศรษฐกิจแย่ว่างงานอื้อ ทำคนเร่ร่อนเมืองกรุงพุ่ง
ชนวนยุบ 7 องค์การมหาชน ตั้งผู้บริหาร "เงินเดือน-โบนัส" สูงลิ่ว
สำนักเลขาฯนายกฯสั่งซื้อรถเบนซ์ S 600 Guard sedan long จาก บ.ดัง 4 คันรวด 78 ล้าน
“บิ๊กตู่“ ขู่ ถ้าไม่สงบพร้อมอยู่ต่อ อาจถึงขั้นปิดประเทศ ลั่น “ละเมิดสถาบัน“ ต้องติดคุก
ใครบอมบ์เว็บไอซีที?‘แก๊งดีดอสF5’หรือ‘เซียนแฮ็กเกอร์’ ใครบอมบ์เว็บไอซีที ? ‘แก๊งดีดอสF5’ หรือ‘เซียนแฮ็กเกอร์’
กลุ่มต้านคสช กิจกรรม ขับไล่คสช
'นก สินจัย' โร่แจ้ง 'ปอท.' ถูกมือดีโพตส์สร้างความเกลียดชัง
คุมตัว "เก่ง การุณ" เข้าปรับทัศนคติ เหตุไม่ปฎิบัติตามเงื่อนไข "คสช."
สมาชิกสภาปฏิรูปแห่งชาติ (สปช.) หนุ่น ต้าน แตก กดหัวประชาชนส่วนใหญ่
ป๋าเปรมย้ำต้านทุจริต อย่าไหว้คนโกง



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน