ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




"นิธิ-ประจักษ์-นันทวัฒน์" วิพากษ์ "ประเทศไทย

 

"นิธิ-ประจักษ์-นันทวัฒน์" วิพากษ์ "ประเทศไทยหลังการเลือกตั้ง : วิกฤติหรือโอกาส"

เมื่อเวลา 13.30 น. วันที่ 30 มิ.ย. ที่โรงแรมโกลเด้นทิวลิป ได้มีการจัดเสวนาวิชาการ "ประเทศไทยหลังการเลือกตั้ง : วิกฤติหรือโอกาส" จัดโดยสถาบันศึกษาการพัฒนาประชาธิปไตย โดยมีวิทยากรเข้าร่วมได้แก่ ศ.ดร.นิธิ เอียวศรีวงศ์, ศ.ดร.นันทวัฒน์ บรมานันท์ คณะนิติศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย, อ.ประจักษ์ ก้องกีรติ คณะรัฐศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ และนายจาตุรนต์ ฉายแสง เป็นผู้ดำเนินรายการและร่วมเสวนา

ปรองดองไม่ได้เริ่มที่การหาพระเอก-ผู้ร้าย แต่เป็นการยอมรับ


อ.ประจักษ์ กล่าวในการเสวนาว่า  ในขั้นตอนการพัฒนาประชาธิปไตยที่ทุกประเทศผ่านมานั้น เรายังล้าหลังมาก แม้แต่สิ่งที่เรียกว่าประชาธิปไตยแบบตัวแทน ยังสร้างไม่ได้ในสังคมไทยเพราะ มีสิ่งที่เรียกว่าประชาธิปไตยแบบกดปุ่ม คอยเข้ามาสกัดขวางการเติบโตของประชาธิปไตยแบบตัวแทน


ประชาธิปไตยแบบนี้คือ ประชาธิปไตยแบบที่มีชนชั้นนำแบบเล็กๆ 10-20 คนกำกับให้การเมืองหันเหไปตามอารมณ์ของตัวเองทั้งจากเครื่องมือในและนอกระบบ ทำลายเจตนารมณ์ของประชาชน เลือกตั้งเสร็จ ไม่ว่าใครชนะ ท้ายสุดจะจัดได้หรือไม่ได้ อยู่ได้นานแค่ไหน พ้นจากมือประชาชนแล้ว แต่มีชนชั้นนำที่สามารถใช้กลไกเครืองมือต่างๆ เข้ามาแทรกแซงได้ทำให้เจตนารมณ์ประชาชนเป็นโมฆะ

 

โดยสรุป การเลือกตั้งมีความหมายมากขึ้นเรื่อยๆ แต่ชนชั้นนำกลับทำลายความสำคัญ ดูหมิ่น และทำให้กระบวนการเลือกตั้งเป็นเรื่องไร้สาระและไร้ความหมายทั้งที่เป็นการเลือกตั้งที่คนจำนวนมากเข้าร่วม ในกระบวนการนี้ไม่ใช่แค่ 4 วินาที แต่มีหลายฝ่ายเข้ามาร่วมในกระบวนการ มีการแข่งขันที่สร้างสรรค์บ้างหรือไม่สร้างสรรค์ แต่เป็นกระบวนการที่เปิดโอกาสให้คนเข้าไปมีส่วนร่วมมากกว่าวิธีการอื่นๆซึ่งอาจไม่สะท้อนเจตนารมณ์ของประชาชน นานวันเข้าคนไทยก็ใช้กลไกนี้มากขึ้น การเลือกตั้งไม่ใช่แค่พื้นที่ของชนชั้นนำ แต่ประชาชนเริ่มเรียนรู้ที่จะใช้พื้นที่ในการเรียกร้อง ต่อรอง ส่งเสียง ใช้อำนาจได้ แต่ประชาธิปไตยแบบการกดปุ่ม ที่เกิดจากการที่ผลการเลือกตั้งออกมาไม่สบอารมณ์คนบางกลุ่มนั้น ตนเองคิดว่าเป็นอันตรายต่อความสงบสุข เพราะหมายความว่า คนบางกลุ่มกำลังปฏิเสธเสียงของคนหลายสิบล้านคน


หนทางระยะยาวคิดว่า มีทางออกทางเดียวซึ่งไม่ใช่ระหว่างพรรคการเมืองด้วยกัน แต่จะต้องทำอย่างไรที่พลังทางสังคมจะช่วยกดดันให้ชนชั้นที่ปฏิเสธผลการเลือกตั้งให้เข้ามาเล่นการเมืองภายใต้กติกา ซึ่งอย่างน้อยก็ไม่ทำให้เกิดวิกฤตและภาวะที่ไม่ปกติ ขอให้แค่ระบบประชาธิปไตยแบบตัวแทนได้ทำงานบ้าง ให้การเลือกตั้งทำงาน เมื่อใครมาเป็นรัฐบาลกระบวนการตรวจสอบก็จะเกิดเป็นธรรมดาอยู่แล้ว เราก็สู้กัน ตรวจสอบภายใต้กฎตามรัฐธรรมนูญ แต่อย่างน้อยให้ก้าวข้ามพ้นภาวะที่คนกลุ่มเล็กๆมากดปุ่มให้ผลเป็นไปตามใจโดยไม่ฟังเสียงประชาชน


การป้องกันการแทรกแซงการเลือกตั้งต้องพยายามทำให้การเลือกตั้งโปร่งใส ยุติธรรมมากที่สุด ซึ่งจะป้องกันไม่ให้มีคนอ้างว่าเกิดการทุจริต ใครก็ตามที่ออกมาประท้วงจะขาดความชอบธรรม แต่ถ้าเกิดมีเหตุที่เชื่อได้ว่ามีการแทรกแซง คิดว่าตรงนี้จะเป็นชนวน ให้คนอ้างคัดค้านผลการเลือกตั้ง แต่ตอนนี้สังคมไทยส่งสัญญาณชัดจากทุกภาคส่วน ทุกคนชี้ว่าต้องการให้ทุกฝ่ายยอมรับและไม่ต้องการให้มีการแทรกแซงไม่ว่าด้วยอำนาจใดๆ  ซึ่งฝ่ายที่คิดจะแทรกแซงนั้นลำบากที่จะฝืนฉันทามติของสังคม


ประเด็นเรื่องการปรองดองคิดว่า ถ้าสังคมไทยเป็นต้นไม้ แล้วมีพิษอยู่ ต้องถอนพิษ แต่คิดว่าเราเดินมาถึงจุดที่ว่าทุกคนมีส่วนทำให้ต้นไม้นี้เป็นพิษ รวมทั้งปัจเจกเองที่เข้าไปมีส่วนร่วมในความขัดแย้ง ไม่สามารถชี้นิ้วที่สถาบันใดแห่งหนึ่งว่าเป็นความผิด ซึ่งถ้าชี้ได้ก็ไม่ต้องมีปรองดอง ถ้าเห็นร่วมว่ามีคนผิดกลุ่มเดียวก็แค่เอากลุ่มนั้นมาลงโทษแล้วขจัดออกไป แต่ที่ยากเพราะวิกฤติที่เกิดนี้เป็นเรื่องที่ทุกฝ่ายต้องรับผิดชอบจึงต้องปรองดอง จุดเริ่มต้นของการปรองดองคือ การยอมรับว่ามีส่วนในความขัดแย้ง


"เนลสัน แมนเดล่า เริ่มต้นด้วยการปรองดองด้วยการไม่ยกตัวเองว่าเป็นพระเอก แต่เริ่มบอกว่าเขาผิดด้วย เขามีส่วนด้วย ฝ่ายตรงข้ามก็ต้องยอมรับและแมนเดล่าก็เรียกร้องให้เข้ามาร่วมด้วย ซึ่งถ้าเป็นภาพพระเอก ผู้ร้าย มีขาว-ดำ ก็ไม่มีทางปรองดองได้ แต่แน่นอนว่า ตรงนี้ไม่ได้บอกว่าผิดเท่ากัน ต้องดูไปตามเนื้อผ้า กรณีไหนใครผิดก็ดูไปตามนั้น"


อ.ประจักษ์ กล่าวเสริมว่า ในสังคมเราใช้ผู้เชี่ยวชาญกันหมดแต่ยังไม่เห็นผลชัดเจน เราต้องเห็นใจท่าน บางคนเป็นกรรมการหลายชุด ปัญหาคือจะไม่ให้ประชาชนธรรมดาเข้ามามีส่วนร่วมในกระบวนการเหล่านั้นบ้างหรือ ในกรณีแคนาดา มลรัฐโคลัมเบีย เคยตั้งประชาชนที่ไม่ใช่ผู้เชี่ยวชาญ มีการคัดสรร ได้ประชาชนมา 160 คน และเชิญผู้เชี่ยวชาญมาให้ความเห็น นำเสนอสิ่งต่างๆ กับสภาประชาชน และจัดทำข้อเสนอออกมา ซึ่งท้ายที่สุดแล้ว ถูกนำโยนกลับไปให้ทำประชามติอีกที นี่จึงเป็นกระบวนการที่ผู้เชี่ยวชาญ ผู้มีส่วน และคู่ขัดแย้งได้มีส่วนร่วมตัดสินใจ ความสงบในสังคมไม่ต้องมองไกล วันเลือกตั้งขอให้เป็นไปอย่างยุติธรรมและผลการเลือกตั้งได้รับการยอมรับ โดยไม่มีการกดปุ่ม นี่จึงเป็นหนทางการแก้ไขความขัดแย้งอย่างสันติ

 

 

 

การเมืองแบบเก่า เลือกตั้งหรือรัฐประหารก็ไม่ได้แก้วิกฤตการเมืองที่แท้จริง!


ด้าน ดร.นิธิ กล่าวว่า  เรื่องเกี่ยวกับวิกฤตทางการเมืองความผิดหรือถูกอาจไม่ได้อยู่ที่ตัวบุคคลเพียงคนเดียว ที่ตนเข้าใจคือ เมื่อไหร่ที่พูดถึงวิกฤตคือภาวะที่ไม่สามารถใช้วิธีการเก่าแก้ปัญหาได้ วิกฤตทางการเมือง แค่ชนชั้นนำยอมรับผลการเลือกตั้งนั้นคิดว่าไม่พอ เพราะวิกฤตการเมืองไทยมาจากเรื่องที่ซับซ้อนกว่าคนทะเลาะกัน หรือคนมีสีต่างกัน กระบวนการเก่าคิดว่าจะไม่ช่วยให้ประเทศไทยหลุดจากวิกฤตรวมทั้งการเมืองแบบตัวแทน หากเฉพาะตัวการเมืองเองยังไม่ปรับเปลี่ยนนั้น ถามว่าประเทศไทยจะหยุดวิกฤตได้หรือไม่ ตนคิดว่าไม่


วิกฤตต้องไม่ดูแคบๆแค่ความแตกร้าวในสังคมไทย กลุ่มคนชนชั้นนำก็แตกกันด้วย ทั้งหมดเหล่านี้เป็นอาการของวิกฤต ตัวมันเองไม่ใช่วิกฤต เป็นอะไรที่ซับซ้อนอยู่ข้างล่าง ทั้งนี้ คิดว่าวิกฤตที่เกิดขึ้น เกิดจากความเปลี่ยนแปลงที่เกิดขึ้นมาในไทยตั้งแต่พ.ศ. 2475 เรื่อยมาสังคมค่อยๆเปลี่ยน ช้าบ้าง เร็วบ้าง ปัจจุบันเรากลายเป็นคนไทยอาศัยในเขตเมืองมากกว่าครึ่ง ไม่ว่าจะนิยามอย่างไรก็ตาม การเมืองในกระบวนการเก่าไม่ว่าจะมีหรือไม่มีรัฐประหารก็แก้ไม่ได้


ยกตัวอย่าง กำลังแรงงานส่วนใหญ่ของไทย นั้นเราไม่ได้อยู่ในเกษตร แต่เป็นในภาคการผลิตและบริการเป็นส่วนใหญ่ ตัวเลขห่างกันเกือบสิบล้านคน การผลิตในไทยไม่ว่าจะเป็นด้านใด ถูกทำให้เป็นการผลิตเชิงพาณิชย์มาก ในภาคการเกษตร พอผลิตเชิงพาณิชย์เต็มตัวก็ขาดทุนมากขึ้น เพราะต้นทุนการผลิตด้านการเกษตรสูงขึ้นมาก เนื่องจากเข้าไม่ถึงทรัพยาการการผลิต ชาวนาที่ผลิตข้าวเต็มตัวไม่มีแม้แต่ที่ดินของตัวเอง เช่าที่ดิน คนที่ให้เช่าก็ขยับราคาเช่าตามราคาข้าว เมื่อไม่มีทุนหมุนการผลิต ก็ต้องกู้อย่างเช่นเอาเงินมาซื้อปุ๋ย ไม่มีเครื่องมือการผลิตอื่นๆ รวมทั้งแรงงานก็มี คนหนุ่มสาวไม่อยู่ในที่นา


เหล่านี้ต้องแก้ปัญหาด้วยการปฏิรูปที่ดิน การเกษตร สาธารณสุข การศึกษา เพื่อทำให้คนพร้อมออกจากท้องนา เข้าสู่ภาคบริการโดยมีอำนาจต่อรอง  ซึ่งเป็นเรื่องของคนหลาย 10 ล้านที่เป็นวิกฤตสำหรับคนเหล่านั้น โดยที่การเมืองไทยไม่ว่ารัฐประหารหรือเลือกตั้ง ไม่ได้สะเทือนต่อการเปลี่ยนแปลงจนถึงวันนี้

 


ในขณะเดียวกันคิดว่า ปัจจุบัน สังคมไทยผ่านการปฏิวัติข่าวสาร ข้อมูล ใครก็ตามที่จะปิดกั้นข่าวของคนนั้น ถือเป็นมนุษย์หิน ประเทศจีนยังทำไม่ได้ ไทยไม่ต้องพูดถึง แค่คนชั้นกลางในต่างจังหวัดเอง การยอมให้เกิดวิทยุชุมนุมในต่างจังหวัดเกิดผลมากพอสมควร


การที่มีคนจำนวนมากเข้ามาชุมนุมในเมืองหลวง มีผู้คิดว่าคนเหล่านี้จน กรอบ คนที่มาในภาพของเสื้อแดงอาจอ้างว่าจน แต่จริงๆ แล้วไม่จนเท่าคน 6 ล้านคนที่มีฐานะยากจนจริงๆ ในประเทศไทย คนเหล่านี้ได้รับข่าวสาร ไม่ได้มาเพราะถูกหลอก สังคมได้รับการปฏิวัติข่าวสารแล้วไม่ใช่แบบเก่าอีกต่อไป


แรงงานส่วนใหญ่อยู่ในภาคอุตสาหกรรมและบริการมากกว่าชาวนา ที่น่าตกใจคือ คนเหล่านี้พออยู่พอกินเพราะทำงานวันละ 12 ชั่วโมง จึงมีคนที่เป็นแรงงานแล้วอ่านหนังสือไม่ออก การที่รัฐเปิดให้เรียนฟรีก็ไม่เรียนเพราะไม่มีเวลา ต้องทำโอที การจ่ายค่าแรงทุกวันนี้ไม่อยากให้มองแค่ค่าแรงรายวัน ตราบเท่าที่ต้องทำงาน 12 ชั่วโมงเพื่อให้มีรายได้พอการพัฒนาคนเหล่านี้ก็เป็นเรื่องยาก


อีกเรื่องคือ เรื่องรายได้และทรัพย์สิน อัตราเงินเดือนของคนไทยมีความต่างกันมากที่สุดในหมู่ประเทศอาเซียน บัญชีเงินฝากในธนาคารหลายล้านบัญชี 80 เปอร์เซ็นต์มีเงินไม่เกิน 50,000 บาทในธนาคาร หากจำตัวเลขไม่ผิดมีเพียงแค่ 5 เปอร์เซ็นต์ที่มีงานฝากมากกว่าจำนวนดังกล่าว ฉะนั้นถ้าถามว่าการเลือกตั้งเป็นคำตอบหรือไม่ บอกได้เลยว่าไม่ใช่วิธีที่จะแก้วิกฤตเหล่านี้หากไม่มีคนสนใจ


แต่ทั้งนี้ ไม่ได้หมายความว่าการเลือกตั้งไม่มีความสำคัญ โดยเฉพาะช่วงนี้ ตั้งแต่ปีพ.ศ.  2549 สิ่งที่คิดว่าหายไปคือ "อาญาสิทธิ์" หรือความชอบธรรม อำนาจที่คนยอมรับว่าเราไม่ชอบหน้าคนอื่น แต่ยอมรับว่าคนนั้นมีอำนาจตามกฎหมาย หรือ วัฒนธรรมอะไรก็แล้วแต่นั้น "ต้องมี" ตั้งแต่การรัฐประหารปี 49 ถ้าเราไม่ชอบทักษิณแต่ต้องยอมรับ เพราะได้รับการเลือกตั้งมา เราค่อยๆทำลายอาญาสิทธิ์ไปทีละอย่าง เวลานี้เหลืออะไรที่เป็นที่ยอมรับ เลิกนับถือครู, พระ หรืออื่นๆก็ถูกทำลายหมด ด้วยเหตุนี้ ความปรองดองต้องเริ่มสถาปนาอาญาสิทธิ์ที่คนยอมรับ สิ่งที่คนเห็นตรงกันว่ายอมรับผลการเลือกตั้งนั้นเป็นจุดเริ่มต้นที่ดี เป็นอาญาสิทธิ์ในการยอมรับ แล้วสร้างรัฐบาลที่เป็นที่ยอมรับของทุกฝ่ายได้ แม้ว่าจะไม่เป็นที่ชอบขี้หน้าของทุกฝ่ายก็ตาม


"ในเรื่องความปรองดอง คิดว่าถึงทุกวันนี้ เวลาพูดเรื่องนี้กำลังพูดถึงการปรองดองในการเมืองแบบชนชั้นนำ ถ้าทักษิณได้รับเงื่อนไขที่พอจะลงมานั่งโต๊ะเจรจากับคู่ค้านได้ ทุกอย่างก็จบกัน การเกี้ยเซียะ เป็นส่วนหนึ่งของการเมืองชนชั้นนำไทยตลอดมา แต่คิดว่า มันไม่ได้เป็นจุดปรองดองในตอนนี้ จนกว่าจะกลับไปแก้วิกฤตข้างต้นได้ ถึงแม้ว่าทักษิณจะกลับมาเมืองไทยด้วยการเกี้ยเซียะกับอำนาจของชนชั้นนำที่เหลืออยู่ ถามว่าคนไทยจะอยู่กันโดยรักใคร่หรือไม่  "จะรักคนที่มีที่ดินเป็นหมื่นไร่ มีเงินฝากเป็นพันล้าน แต่ไม่รู้จะเอาเงินที่ไหนจ่ายค่าเทอมลูก ผมรักไม่ลง"


โดยสรุป อย่าเพิ่งหวังว่าจะเกิดโอกาสอะไรที่เป็นประโยชน์ต่อคนส่วนใหญ่จากการเลือกตั้ง แต่ไม่ได้หมายความว่าการเลือกตั้งไม่สำคัญ แค่อย่าฝากเอาไว้ที่การเลือกตั้งอย่างเดียว แต่คิดว่าต้องสร้างกลุ่มประชาสังคมที่เป็นผู้ผลักดันการเคลื่อนไหวให้นักการเมืองเข้ามาสนใจ เสนอแก้ปัญหาที่ช่วยแก้วิกฤติที่แท้จริงของสังคมไทย


ดร.นิธิกล่าวเสริมเรื่องผลการเลือกตั้งว่า คิดว่าถ้าสมมติมีการลากคอไปเจรจาในค่ายทหารก็ทำลายความชอบธรรมของตัวเอง แต่ใช้วิธีการเจรจาเบื้องหลังจ่ายค่าตอบแทน ก็เป็นการทำลายเช่นกัน ส่วนการเคลื่อนไหวทางการเมืองบนท้องถนนนั้น หากไม่มีรัฐประหารก็คงจะซาลงเอง

 

จัดการภาษี สวัสดิการ และชำแหละรัฐธรรมนูญปี 50 


ดร. นันทวัฒน์ กล่าวว่า หลังการเลือกตั้งต้องยอมรับผล รวมไปถึงคิดให้ดีว่าการปรองดองมีขอบข่ายมากแค่ไหน และเมื่อเลือกตั้งแล้วบทบาทของพรรคเล็กควรต้องดำเนินการตรวจสอบพรรคร่วม รวมไปถึงต้องมีการตรวจสอบที่เข้มแข็ง 

ด้านการนิรโทษกรรม ในประเด็น "การตัดสิทธิทางการเมือง" คิดว่า น่าจะมีความเป็นไปได้มากกว่า ส่วนเรื่องความเป็นไปได้ของการ "คืนเงิน" เป็นเรื่องซับซ้อนและยากมากกว่า 

ในส่วนประเด็นหลังเลือกตั้ง จะเป็นวิกฤตหรือโอกาส คิดว่าในฐานะนักกฎหมายมองว่าปัญหาอาจเกิดจากฎหมายเป็นหลัก คิดว่าควรเอารัฐธรรมนูญ ปี 50 มาขึงพืด เอามาดูกันใหม่ รัฐธรรมนูญต้องเป็นสิ่งที่แรกที่ต้องปรับ การเขียนที่ดูเรื่องโครงสร้างแบบระบบเดิมๆไม่ได้แล้ว 

การหาเสียงอาจต้องมีการกำหนดทิศทางข้างหน้าว่าเราจะเป็นรัฐสวัสดิการแบบถ้วนหน้าหรือไม่ หรือเป็นแบบรัฐสวัสดิการเฉพาะกลุ่ม ตามรายได้ซึ่งเป็นไปตามสภาพสังคม รัฐธรรมนูญ ในทางปฏิบัติเท่าที่ควรเป็นควรพูดถึงเรื่องสวัสดิการที่จะให้ประชาชนได้ครบ เพราะไม่อย่างนั้นพรรคการเมืองก็จะแย่งเอามาเป็นผลงานในการหาเสียง

สิ่งหนึ่งที่ประเทศไทยเป็นรัฐสวัสดิการไม่ได้ เนื่องจากตั้งแต่ปี 2549 เป็นต้นมามีแต่ความพยายามที่จะพูด แต่ไม่มีความพยายามที่จะทำ อีกอย่างก็คือว่า จะเอาเงินมาจากไหน มันมีรูปแบบจำนวนมากที่ต่างประเทศใช้กัน ไม่ว่าจะเป็นการเก็บภาษีมรดก เก็บภาษีที่ดินที่เกินจากการประกอบอาชีพ รัฐควรกำหนดภาษีให้ชัดเจนเพื่อจัดเก็บภาษีเหล่านั้น แล้วนำมาจัดทำเป็นสวัสดิการ เมื่อมีสวัสดิการที่ดี คิดว่าปัญหาบ้านเราก็จะแก้ได้ส่วนหนึ่ง แม้จะมีความต่างในเรื่องเงินเดือนของแต่ละคน แต่สวัสดิการพื้นฐานแล้วทุกคนก็ควรจะได้ ส่วนการเก็บภาษีก็ค่อนข้างยากในรัฐบาลที่เป็นนายทุน รัฐบาลใหม่ต้องกล้า เราแค่พยายาม แต่ไม่มีอะไรเกิดขึ้น

"ในทางนิติศาสตร์ ถ้าทุกอย่างเป็นไปตามกฎกติกาที่ถูกต้องไม่มีใครตุกติก ตรงนี้คิดว่าต้องยอมรับ ผมค่อนข้างชัดว่า หลายๆครั้งเราไม่ชอบบุคคล หรือพรรค ถ้าไปดูในต่างประเทศเขาก็อยู่ในสภาพเดียวกัน ประชาชนก็รวมตัวหากระบวนการตรวจสอบ แล้วไปรอการเลือกตั้งครั้งหน้า ระหว่างทางก็ตรวจสอบนโยบาย สิ่งที่ติดกันบนป้ายข้างถนนนั้นจะเป็นสิ่งที่พิสูจน์ได้ว่าพรรคการเมืองหาเสียงให้แค่ได้เป็นรัฐบาลหรือทำให้ประชาชนได้ตามแบบที่พูด"





ข้อคิดมุมมอง เชื่อหรือไม่ สาระน่ารู้ เรื่องจริง หรือหลอกลวง (พุทธวจน การเป็นหนี้เป็นทุกข์ในโลก)

ข้อควรระวังในการซื้อของออนไลน์ article
ซื้อของออนไลน์โปรดระวัง article
5 สุดยอด SELF-TRANSFORM เปลี่ยนตัวเองให้ตื่นเช้า เป็นที่รัก ตัดสินใจเด็ดขาด article
‘กฎ 20 วินาที’ ใช้ความขี้เกียจให้เป็นประโยชน์ article
ไม่ต้องฉลาดกว่าใคร เอาแค่ ‘ฉลาดกว่าตัวเอง’ ก็พอ article
เกิดมาต้นทุนต่ำ ก็รวยได้ ทำแบบนี้ article
อาชีพ ที่ทำรายได้สูงสุด ในปี2021 article
ใครเป็นคน ลิขิตชีวิตคุณ article
4 คุณสมบัติที่บ่งชี้ว่าคุณมี "วุฒิภาวะ" article
4 วิธี "ดึงดูดเงินเข้ามาในชีวิต" article
4 สิ่งที่ควรจำ เพื่อจะทำให้ "สำเร็จ" article
เหตุผลที่ทำให้คุณเป็นคนไม่มั่นใจ article
ทำตัวยังไง ? ให้มีเสน่ห์ article
27 ข้อคิด ในชีวิต 27 ปี article
จะเริ่มรับรู้คุณค่าในตัวเองอย่างไร จากที่ Low Self-Esteem มาทั้งชีวิต article
กลับมารักตัวเองอย่างไรหลังผูกชีวิตติดกับคนอื่น? จัดการความรู้สึกเมื่อถูกทักว่าอ้วน? article
ถ้าสมองสั่งให้รักเงิน จะทำให้อย่างไรมีความสุขนอกจากการใช้เงินบ้าง article
วิธีแก้ท้อที่ดีที่สุด article
5 soft skills ที่เป็นที่ต้องการที่สุดในยุคนี้ article
วิธีเด็ดสลัดอารมณ์หรือความคิดที่เราไม่ชอบ article
คิดจะ “ฆ่าตัวตาย” มีทางออกที่ง่ายกว่านั้นเยอะ article
เลิกกันแล้วยังเกลียดชัง~ระวังลูกจะมีปัญหา!!! article
สังคมเลว...เพราะคนดีท้อแท้!!! article
เปลี่ยนคำพูดธรรมดาให้มีคุณค่าทางใจ article
บอกข้อผิดพลาดโดยไม่ยั่วโมโหอีกฝ่าย article
การโน้มน้าวใจแบบไม่กดดัน สบายใจทั้งเขาและเรา article
เคล็ดลับความมั่นใจคือ "เห็นคุณค่าในตัวเอง" article
4 สิ่งที่ควรจำ เพื่อจะทำให้ "สำเร็จ" article
5 สิ่ง "ทรงคุณค่าที่คนธรรมดาก็ทำได้" article
20 อย่างที่แสดงว่าคุณเติบโตแล้ว และกำลังมีชีวิตที่ดี article
คำถามสำคัญคือ “จะลงมือเมื่อไรดี” article
เอาชนะตัวเอง article
ถ้าอยากมีความสุขขึ้น อย่าพูดแบบนี้ article
ใครติดโซเชียลจนไม่ได้ทำสิ่งที่ควรทำ..แก้ได้ article
คนแบบนี้ยังไงก็มีความสุข article
ทำดีเอาหน้า อย่างนี้ก็ได้หรอ ! article
ถ้าฝึกนิสัยนี้ ยังไงก็ไม่ ล้มเหลว article
เด็กรุ่นใหม่ ไม่มีสมาธิ จริงหรือ ? article
ความรัก article
อิสระภาพกับการตามใจ article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน