ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




ชีวิตประจำวันกับโรคปวดหลัง

ชีวิตประจำวันกับโรคปวดหลัง

โรคปวดหลัง 
-เกิดขึ้นได้กับคนทุกคน และประชากรช่วงวัยทำงานมากกว่าครึ่ง เคยมีประสบการณ์เกี่ยวกับอาการปวดหลัง
-บางคนหาย บางคนเป็นเรื้อรัง และบางคนจบด้วยการผ่าตัด

โรคปวดหลัง

  • ทำให้เกิดความเจ็บปวด ทุกข์ทรมาน
  • รบกวนการใช้ชีวิตประจำวัน
  • คุณภาพชีวิตลดลง
  • สิ้นเปลืองค่าใช้จ่ายในการรักษา

ชีวิตประจำวันกับโรคปวดหลัง

  • ปัจจุบันผู้คนมักใช้ลักษณะท่าทางในชีวิตประจำวัน โดยไม่ตระหนักถึงโรคปวดหลัง
  • ผู้คนมักตระหนักถึงโรคปวดหลังเมื่อเริ่มเป็นแล้ว
  • แต่ที่จริงแล้ว แนวโน้มต่อการเกิดโรคปวดหลัง ส่วนหนึ่งมาจากท่าทางของการใช้ชีวิตประจำวัน เช่น การนอน การนั่ง การยืน การยกของ การออกกำลังกาย

การนอน

  • การนอนควรทำให้กระดูกสันหลังอยู่ในลักษณะที่ถูกต้อง และผ่อนคลาย
  • การนอนที่ผิดลักษณะ ถึงแม้ไม่ทำให้เกิดอาการปวดหลังทันที่ แต่เมื่อนานมากขึ้นสามารถทำให้เกิดโรคปวดหลังเรื้อรังได้
  • ลักษณะของที่นอนที่ดี คือ ไม่นุ่มหรือยุบตัวมากเกินไป เมื่อนอนแล้วการยุบตัวจะรับกับส่วนโค้งของกระดูกสันหลังอย่างพอเหมาะ

ตื่นนอนในตอนเช้า

  • ยืดเส้นยืดสายก่อนลุก (บิดขี้เกียจ)
  • นอนหงายตัวตรง ยืดแขนขาเหยียดให้สุด
  • ออกกำลังยกขาเบาๆ หมุนข้อเท้า
  • ทำ 2-3 รอบต่อท่า
  • ไม่ควรยืดค้างเกิน 10 วินาที
  • หลีกเลี่ยงท่าที่ทำให้เกิดอาการเจ็บ
  • วิธีลุกจากเตียง ให้พลิกตัวไปด้านที่จะลุกขึ้น ใช้มือยันเตียงลุกขึ้น

กิจวัตรประจำวันในห้องน้ำ

  • ในตอนเช้า อวัยวะของหลังยังไม่ยืดหยุ่น และพร้อมเพียงพอกับการทำงาน ดังนั้นจึงควรระวังเป็นพิเศษ
  • อ่างล้างหน้า ไม่ควรอยู่ต่ำเกินไป
  • การแปรงฟัน การล้างหน้า ควรจะระวังเรื่องการก้มหลังเป็นพิเศษ
  • การแปรงฟันควรใช้มือข้างหนึ่งยันที่อ่างล้างหน้าเพื่อแบ่งน้ำหนักตัว และลดการทำงานของหลัง
  • การลงนั่งหรือลุกจากชักโครก ควรใช้มือยันที่หน้าขา หรือใช้มือพยุงที่หลังไว้
  • กรณีผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีอาการปวดหลัง ถ้าส้วมอยู่ต่ำ พิจารณาการใช้เก้าอี้นั่งถ่าย
  • ที่แขวนกระดาษชำระไม่ควรอยู่ห่างเกินไป และไม่ควรอยู่ทางด้านหลัง
  • หนังสือที่ใช้อ่านขณะนั่งถ่าย ไม่ควรวางอยู่ด้านหลัง

ปกป้องหลังขณะขับรถ

  • ตำแหน่งของที่นั่ง ไม่ควรห่างหรือชิดเกินไป
  • กรณีต้องขับรถเป็นเวลานาน ควรมีการพัก และยืดหลังเป็นระยะ (ท่ายืน ใช้มือจับเอว แอ่นตัวเบาๆ)
  • ระหว่างขับรถเป็นเวลานาน การปรับความเอนของเบาะพิงหลังเล็กน้อยเป็นระยะ จะช่วยลดความเครียดที่เกิดกับหลังได้ (ให้ทำขณะจอด)
  • เบาะพิงหลังควรมีเนินรับกับแผ่นหลังช่วงเอว ถ้าไม่มีอาจใช้ผ้ารองแทนได้
  • การขึ้นลงรถควรหลีกเลี่ยงการเอี้ยวตัวหมุน ควรหมุนสะโพกและตัวไปพร้อมกัน
  • ขณะลงรถควรใช้มือช่วยในการพยุงตัวขึ้น

ปกป้องหลังขณะทำงาน

  • การนั่งทำงาน ต้องอยู่ในท่าที่ไม่บิดลำตัว
  • เก้าอี้นั่งควรเป็นเก้าอี้ที่ออกแบบมาเพื่อรองรับกับส่วนโค้งของหลัง ถ้าไม่มีอาจใช้หมอนใบเล็กหนุน
  • เวลานั่ง ให้ส่วนก้นเข้าไปชิดกับด้านใน เพื่อให้ส่วนหลังสัมผัสกับพนักพิง
  • กรณีไม่มีพนักพิงให้นั่งหลังตรง
  • ระดับของเท้าควรวางให้เข่าสูงระดับเดียวกับสะโพก
  • จัดโต๊ะทำงานให้เหมาะสม
    • ชิ้นงาน หรืองานที่ทำควรอยู่ด้านหน้า
    • งานที่ทำอยู่ระดับที่ก้มศีรษะเพียงเล็กน้อย
    • ถ้าต้องรับโทรศัพท์บ่อย หรือต้องพิมพ์งานพร้อมกับโทรศัพท์ ควรพิจารณาการใช้หูฟังแบบ easy talk
    • วางอุปกรณ์ที่ต้องหยิบบ่อยไว้ใกล้ตัว
  • หลีกเลี่ยงการนั่งหรือยืนนิ่งๆ เป็นเวลานาน ควรมีการเปลี่ยนอิริยาบถเป็นพักๆ
  • กรณีหลีกเลี่ยงการยืนนิ่งๆนานๆ ไม่ได้ ควรมีการพักขา 1 ข้างบน ที่วางเท้าเล็กๆ (สูงจากพื้น 4-6 นิ้ว) 2-3 นาที เป็นพักๆ

อิริยาบถยามพัก

  • ท่านั่ง ไม่ควรนั่งงอหลัง หรือหลังค่อม
  • ถ้านั่งทำงานทั้งวันแล้ว ควรมีการพักในท่านอนคว่ำศอกยันพื้นบ้าง เช่น นอนคว่ำอ่านหนังสือ

ปกป้องหลังยามออกกำลังกาย

  • การออกกำลังกายช่วยให้กล้ามเนื้อหลังได้มีความยืดหยุ่น แข็งแรง และชลอการเสื่อมตามธรรมชาติ
  • เลือกการออกกำลังกายหลายๆแบบ เพื่อให้ได้ประโยชน์หลากหลาย
  • ถ้าไม่เคยออกกำลังกาย หรือเว้นการออกกำลังกายไปนาน ควรปรึกษาผู้เชี่ยวชาญก่อนการออกกำลังกาย
  • หลีกเลี่ยงการออกกำลังกายที่ทำให้เกิดอาการปวดหลัง
ด้วยความปราถนาดีจาก โรงพยาบาลสมิติเวช : http://www.samitivejhospitals



แพทย์ วิสัญญี เภสัชกร ยาแผนปัจจุบัน การดูแลผู้ป่วย สาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ

ควรทานยาปฏิชีวนะให้ครบ
ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
โรคฉี่หนู
อย่ากินแอปเปิ้ลไซเดอร์ถ้าไม่รู้ 4.5 ข้อนี้ article
ผิวดำง่ายมากเกิดจาก 6 ข้อนี้ article
กินอาหารแล้วอ้วนจริงหรือ article
เอ็นข้อศอกอักเสบ เกิดจากอะไร? article
เจาะลึกกระบวนการ 'ทดลองยาในคน' article
กว่าจะเป็นยา ต้องผ่านขั้นตอน อะไรบ้าง? article
5 โรคร้ายรักษาง่ายๆด้วย ข้าวกล้อง article
เคล็บลับนอนหลับง่ายๆโดยไม่ต้องใช้ยา article
5 อาหารไขมันสูงยิ่งกินยิ่งผอม article
มือชา รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
กระดูกพรุน รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
เท้าปุก คืออะไร? รักษาอย่างไร? article
กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
ปวดหลังร้าวลงขา นั่งไม่ได้ รักษาอย่างไร? article
โรคท้องผูก ลำไส้ทำงานอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
การรับมือกับโรคมะเร็ง article
โรคหลอดเลือดหัวใจในหนุ่มสาว article
การจัดการโรคไตเรื้อรัง และสิ่งที่เชื่อผิดๆ article
น้ำดื่มบำรุงไต ไม่อยากฟอกไตต้องดู article
5 ความเชื่อผิดๆที่ทำให้ลดน้ำหนักไม่มีวันสำเร็จ article
7 วิธีควบคุมความดันโดยไม่ต้องพึ่งยา article
3 เทคนิคลดความอ้วน “#ไม่ต้องออกกำลังกาย” article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน