ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




ฉลากยา อย่ามองข้าม

ฉลากยา อย่ามองข้าม

 เวลาที่เราได้รับยา หลายๆ คนอาจสงสัยว่าคำแนะนำบนฉลากยานั้นสำคัญอย่างไร และการปฏิบัติที่ถูกต้องตามฉลากยานั้นเป็นอย่างไร เช่น กินยาก่อนอาหารหมายถึงก่อนอาหารกี่นาที กินยาหลังอาหารต้องรับประทานหลังอาหารกี่นาที ถ้าลืมกินยาต้องทำอย่างไร และถ้าเราไม่ปฏิบัติตามคำแนะนำนั้นจะมีผลอย่างไร แน่นอนว่าคำแนะนำบนฉลากยาเหล่านั้นล้วนมีเหตุผลทั้งสิ้น และมีวิธีปฏิบัติตามคำแนะนำที่ถูกต้องดังนี้

การกินยาก่อนอาหาร

ปกติแนะนำให้กินยาก่อนอาหารประมาณ 30 นาที ถึง 1 ชั่วโมง หรือหลังอาหารมื้อล่าสุด 2 ชั่วโมง ซึ่งเป็นช่วงที่กระเพาะว่างเนื่องจากอาหารจะลดการดูดซึมยา ทำให้ยาออกฤทธิ์ไม่ดีหรือไม่ได้ผล ตัวอย่างเช่น ยารักษาโรคติดเชื้อบางชนิด เช่นDicloxacillin, Cloxacillin , Azithromycin เป็นต้น ยาเบาหวานบางชนิดเพื่อหวังผลต่อมื้ออาหาร เช่น Glibenclamide เป็นต้น ยาป้องกันอาการคลื่นไส้อาเจียน เช่น ยา Metoclopramide, Domperidone เป็นต้น


การกินยาหลังอาหาร

โดยทั่วไปควรกินยาหลังอาหาร 15-20 นาที แต่ยาบางชนิดอาจต้องรับประทานพร้อมอาหาร หรือหลังอาหารทันทีเนื่องจากยาทำให้เกิดการระคายเคืองต่อเยื่อบุกระเพาะได้ เช่น ยาแก้ปวดลดการอักเสบกลุ่ม NSAIDs เช่น Ibuprofen, Naproxen, Diclofenac, Mefenamic acid เป็นต้น

กินยาต่อเนื่องจนยาหมด

ยาบางชนิดเมื่ออาการดีขึ้นก็หยุดยาได้ แต่ยาสำหรับรักษาโรคติดเชื้อ จำเป็นต้องกินยาต่อเนื่องเพื่อให้แน่ใจว่ายาได้ทำลายเชื้อก่อโรคหมดแล้ว ระยะเวลาที่กินขึ้นกับชนิดความรุนแรงของโรคและดุลยพินิจของแพทย์ ยาบางชนิดต้องกินต่อเนื่องเพื่อควบคุมอาการให้เป็นปกติ ได้แก่ ยาลดความดันโลหิต ยาเบาหวาน และยาสำหรับรักษาโรคแผลในทางเดินอาหาร เป็นต้น


ยาที่กินแล้วอาจทำให้ง่วงนอน

ผลข้างเคียงของยาบางชนิดอาจทำให้ง่วงซึมจึงต้องระวังเมื่อขับรถ หรือทำงานเกี่ยวกับเครื่องจักร และห้ามดื่มสุราหรือเครื่องดื่มที่มีแอลกอฮอล์ เนื่องจากอาจเสริมฤทธิ์ของยาจนเกิดอันตรายได้ เช่น ยาแก้แพ้สำหรับบรรเทาอาการคัน ผื่นแดง หรือลดน้ำมูก เช่น Chlorpheniramine, Hydroxyzine หรือยาคลายเครียด เช่น Diazepam, Alprazolam เป็นต้น


หลีกเลี่ยงอาหารที่มีผลต่อยา

ยาบางชนิดประสิทธิภาพลดลงเมื่อกินร่วมกับนม แคลเซี่ยม ยาลดกรด เช่น Ciprofloxacin, Levofloxacin, Ofloxacin, Norfloxacin เป็นต้น จึงต้องกินยาโดยเว้นช่วงห่างจากอาหารประเภทดังกล่าวอย่างน้อย 2 ชั่วโมง ผลไม้บางชนิดเช่น grapefruit มีคุณสมบัติเป็นตัวยับยั้งเอนไซม์ที่จะไปทำลายยา จึงทำให้ระดับยาสูงขึ้นจนอาจเกิดผลข้างเคียงจากยาได้ ยาที่ grapefruit มีผลต่อระดับยา เช่น Simvastatin เป็นต้น
ดังที่กล่าวมาข้างต้น เป็นคำแนะนำที่เราพบบ่อยๆ บนฉลากยา แต่หากท่านมีข้อสงสัยอื่นๆ เกี่ยวกับการใช้ยา ปรึกษาเภสัชกรโดยตรงได้ที่ ศูนย์บริการข้อมูลข่าวสารด้านยา รพ.เวชธานี โทร 02-7340000 ต่อ 1220 เวลาทำการ ทุกวัน 09.00 – 17.00 น.

 

 




แพทย์ วิสัญญี เภสัชกร ยาแผนปัจจุบัน การดูแลผู้ป่วย สาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ

ควรทานยาปฏิชีวนะให้ครบ
ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
โรคฉี่หนู
อย่ากินแอปเปิ้ลไซเดอร์ถ้าไม่รู้ 4.5 ข้อนี้ article
ผิวดำง่ายมากเกิดจาก 6 ข้อนี้ article
กินอาหารแล้วอ้วนจริงหรือ article
เอ็นข้อศอกอักเสบ เกิดจากอะไร? article
เจาะลึกกระบวนการ 'ทดลองยาในคน' article
กว่าจะเป็นยา ต้องผ่านขั้นตอน อะไรบ้าง? article
5 โรคร้ายรักษาง่ายๆด้วย ข้าวกล้อง article
เคล็บลับนอนหลับง่ายๆโดยไม่ต้องใช้ยา article
5 อาหารไขมันสูงยิ่งกินยิ่งผอม article
มือชา รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
กระดูกพรุน รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
เท้าปุก คืออะไร? รักษาอย่างไร? article
กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
ปวดหลังร้าวลงขา นั่งไม่ได้ รักษาอย่างไร? article
โรคท้องผูก ลำไส้ทำงานอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
การรับมือกับโรคมะเร็ง article
โรคหลอดเลือดหัวใจในหนุ่มสาว article
การจัดการโรคไตเรื้อรัง และสิ่งที่เชื่อผิดๆ article
น้ำดื่มบำรุงไต ไม่อยากฟอกไตต้องดู article
5 ความเชื่อผิดๆที่ทำให้ลดน้ำหนักไม่มีวันสำเร็จ article
7 วิธีควบคุมความดันโดยไม่ต้องพึ่งยา article
3 เทคนิคลดความอ้วน “#ไม่ต้องออกกำลังกาย” article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน