ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล (พินิจ-พิจารณ์)

ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล (พินิจ-พิจารณ์)

 

ปีนี้คณะกรรมการกาชาดระหว่างประเทศ ณ กรุงเจนีวา สวิสเซอร์แลนด์ ได้ประกาศชื่อผู้ได้รับรางวัล"เหรียญฟลอเรนซ์ ไนติงเกล" เมื่อ 12 พฤษภาคม พ.ศ.2554 ซึ่งมีพยาบาลสภากาชาดไทยรวมอยู่ด้วย 5 คน ดังนั้นในวันพฤหัสบดีที่ 16 มิถุนายน สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชการี อุปนายิกา ผู้อำนวยการสภากาชาดไทย จึงได้พระราชทาน"เหรียญฟลอเรนซ์ ไนติงเกล" แก่พยาบาล 5 คือ

1) นางอุษา ราชปรีชา หัวหน้าพยาบาล ฝ่ายการพยาบาล รพ.จุฬาลงกรณ์ 2) นางสาวสมสิริ อนงคณะตระกูล ผู้ชำนาญการพิเศษพยาบาล 7 งานบริการทางการแพทย์ สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย 3)นางสาวภาวิณี อยู่ประเสริฐ หัวหน้าฝ่ายบรรเทาทุกข์และผู้ประสบภัย สำนักงานบรรเทาทุกข์และประชานามัยพิทักษ์ สภากาชาดไทย 4)นางสาวเพ็ญศิริ เมฆโหรา หัวหน้ากลุ่มงานอบรมปฐมพยาบาล ศูนย์ฝึกอบรมปฐมพยาบาลและสุขภาพอนามัย สภากาชาดไทย 5) ดร.กำไลรัตน์ เย็นสุจิตร อาจารย์ภาควิชาการพยาบาลอนามัยชุมชนและจิตเวช วิทยาลัยพยาบาล สภากาชาดไทย ซึ่งผมขอแสดงความยินดีอย่างจริงใจอีกครั้งหนึ่ง ต่อทั้ง 5 ท่าน

ฟลอเรนซ์ ไนติงเกล เป็นใครมาจากไหน? ผมคิดว่าทุกๆ คนคงเคยได้ยินชื่อ Florence Nightingale แล้วทั้งนั้น และคงทราบว่ าเป็นพยาบาลชื่อดัง แต่คิดว่ามีน้อยคนที่ทราบรายละเอียดเกี่ยวกับพยาบาลผู้นี้ ผมจึงขอนำประวัติของท่านมาให้พวกเราทราบพอเป็นสังเขปดังต่อไปนี้

Florence Nightingale เกิดที่เมือง Florence ประเทศอิตาลี แต่คุณพ่อเป็นชาวอังกฤษ นามว่า Edward William Nightingale(ค.ศ.1794-1874) มารดาเป็นชาวฝรั่งเศสชื่อ Frances (Fanny) (นามสกุลเดิมสมิท-Smith, 1789-1880) ทั้ง 2 อยู่ในกรุงลอนดอน แต่ตอนที่ภรรยาท้องแก่เดินทางไปพักผ่อนที่เมือง Florence จนเกิด Florence Nightingale ที่นั่นเมื่อ 12 พฤษภาคม พ.ศ.2363(เสียชีวิต 13 สิงหาคม 2453)

สมัยนั้นงานพยาบาลถูกรังเกียจว่า เป็นอาชีพชั้นต่ำ มีภาพลักษณ์ทางลบ เต็มไปด้วยผู้หญิงยากไร้ที่แขวนชีวิตไว้กับการติดตามไปรักษาให้กับกองทัพ ถูกมองว่าต้องอยู่กับความสกปรก สิ่งที่น่ารังเกียจและยิ่งตอกย้ำจากภาพที่ผู้ประกอบอาชีพยุคนั้นมักติดเหล้า ติดบุหรี่ ในปี ค.ศ.1844 เมื่อ Florence Nightingale อายุ 24 ปี เธอตัดสินใจจะเป็นพยาบาล โดยครอบครัวคัดค้านหนัก และเธอยังปฏิเสธการแต่งงานกับผู้มีตระกูลคือ Richard Monckton Milne's, the First Baron Houghton เพราะเกรงจะเป็นอุปสรรคต่อการเป็นพยาบาลของเธอ

ชื่อเสียงของ Florence Nightingale มาดังมากช่วงสงคราม Crimean ในวันที่ 21 ตุลาคม ค.ศ.1854 Florence และพยาบาลอาสาสมัครอีก 38 คนถูกส่งไปที่ Ottoman Empire ที่ๆทหารอังกฤษตั้งค่าย ช่วงนี้เองที่ Florence ถูกตั้งชื่อเล่นว่า "the Lady with the Lamp" เพราะเดินถือตะเกียงดวงเดียวไปตรวจทหารที่บาดเจ็บคนเดียว ขณะที่เจ้าหน้าที่อื่นๆพักผ่อนหมดแล้ว Florence ได้พิสูจน์ว่า ทหารที่ตายนั้นส่วนใหญ่ตายจากสภาวะที่สกปรก มากกว่าจากการสู้รบ

Florence Nightingale ได้เปิดโรงเรียนสอนพยาบาลที่ St.Thomas' Hospital ในปี 1860 (ต่อมาเป็นKing's College) เธอเป็น"มารดา"ของการเรียนการสอนพยาบาลแบบสมัยใหม่ นอกจากเป็นพยาบาลแล้ว Florence ยังเป็นนักเขียน นักสถิติอีกด้วย เธอเขียน'Notes on Nursing', 'Notes on Hospitals', 'Notes on Matters Affecting the Health, Efficiency and Hospital Administration of the British Army', และ 'Suggestions for Thought to Searchers after Religious Truth' (829 หน้า!)

Florence Nightingale ได้รางวัลมากมาย เช่น Royal Red Cross ในปี 1883 จาก Queen Victoria, Order of Merit (หญิงคนแรก) ในปี 1907, ในปี 1908 ได้ 'Honorary Freedom of the City of London' และยังมีอนุสาวรีย์ของเธอใน London and Derby

จึงถือได้ว่า Florence Nightingale เป็น "มารดา" ของพยาบาลอย่างแท้จริง

นพ.พินิจ กุลละวณิชย์




แพทย์ วิสัญญี เภสัชกร ยาแผนปัจจุบัน การดูแลผู้ป่วย สาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ

ควรทานยาปฏิชีวนะให้ครบ
ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
โรคฉี่หนู
อย่ากินแอปเปิ้ลไซเดอร์ถ้าไม่รู้ 4.5 ข้อนี้ article
ผิวดำง่ายมากเกิดจาก 6 ข้อนี้ article
กินอาหารแล้วอ้วนจริงหรือ article
เอ็นข้อศอกอักเสบ เกิดจากอะไร? article
เจาะลึกกระบวนการ 'ทดลองยาในคน' article
กว่าจะเป็นยา ต้องผ่านขั้นตอน อะไรบ้าง? article
5 โรคร้ายรักษาง่ายๆด้วย ข้าวกล้อง article
เคล็บลับนอนหลับง่ายๆโดยไม่ต้องใช้ยา article
5 อาหารไขมันสูงยิ่งกินยิ่งผอม article
มือชา รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
กระดูกพรุน รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
เท้าปุก คืออะไร? รักษาอย่างไร? article
กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
ปวดหลังร้าวลงขา นั่งไม่ได้ รักษาอย่างไร? article
โรคท้องผูก ลำไส้ทำงานอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
การรับมือกับโรคมะเร็ง article
โรคหลอดเลือดหัวใจในหนุ่มสาว article
การจัดการโรคไตเรื้อรัง และสิ่งที่เชื่อผิดๆ article
น้ำดื่มบำรุงไต ไม่อยากฟอกไตต้องดู article
5 ความเชื่อผิดๆที่ทำให้ลดน้ำหนักไม่มีวันสำเร็จ article
7 วิธีควบคุมความดันโดยไม่ต้องพึ่งยา article
3 เทคนิคลดความอ้วน “#ไม่ต้องออกกำลังกาย” article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน