ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




สัตว์ทดลองหน้าที่ที่ต้องแบกรับความเจ็บปวดแทนมนุษย์

สัตว์ทดลองหน้าที่ที่ต้องแบกรับความเจ็บปวดแทนมนุษย์

ในยุคปัจจุบันนั้นถือได้ว่าสัตว์ทดลองได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวงการวิทยาศาสตร์ไปแล้ว !! ที่นี่ท่านเคยสงสัยมั้ยว่า ทำไมถึงต้องเป็นหนูตะเภา..เป็นสัตว์อื่นได้อีกหรือไม่.. และผู้ทำการทดลองจะต้องมีจรรยาบรรรการในการใช้สัตว์ทดลองนั้นอย่างไรบ้าง..

ทำไมต้องเป็น หนูตะเภา

สัตว์ทดลองกับวิทยาศาสตร์ในยุคปัจจุบันมีความสนิทชิดเชื้อกันจนแทบจะแยกไม่ออก สัตว์ทดลองได้กลายเป็นส่วนหนึ่งของวงการวิทยาศาสตร์ ทำหน้าที่เป็นกองหน้าผู้บุกเบิกวิทยาการความรู้ใหม่ๆพร้อมนักวิทยาศาสตร์ ยอมสละชีพก่อนการทดลองต่างๆจนประสบความสำเร็จ นักวิทยาศาสตร์ยกให้สัตว์ทดลองเป็นอาจารย์ใหญ่ของตน

             ตามหลักฐานที่มีปรากฏพบว่าได้มีการนำหนูมาใช้ในการทดลองตั้งแต่ปีพ.ศ. 2164 โดย  2 นักวิทยาศาสตร์ชาวอิตาเลียนคือ Theophilus Muller และ Johannes Faber ได้ทดลองโดยผ่าตัดหนูเพื่อทำการศึกษาถึงอวัยวะ ภายใน

             หลังจากนั้นได้มีการนำหนูมาใช้ในการทดลองบ่อยขึ้น เช่นการนำหนูมาเลี้ยงในห้องทดลอง เพื่อศึกษาอิทธิพลของการขาดอาหารและออกซิเจนต่อคุณภาพชีวิตของหนู  หรือการนำไข่ของพยาธิตัวตืดมาให้หนูกิน หลังจากนั้นพบว่าหนูเป็นมะเร็งตับภายในเวลา 6 เดือน   คุณประโยชน์ที่ได้จากการทดลองจากหนูเกิดขึ้นอย่างมากมายไม่ว่าจะเป็นศึกษาสาเหตุ และการรักษาโรคความดัน,การปลูกถ่ายอวัยวะ โรคเยื่อสมองอักเสบ โรคผิวหนัง โรคกระเพาะ โรคตับ และโรคไขกระดูก

            สำหรับในประเทศไทยจากบันทึกของนายแพทย์เมืองทอง แขมมณีที่จัดพิมพ์ในหนังสืออนุสรณ์คณะสัตวแพทยศาสตร์ จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย เมื่อปี พ.ศ. 2514 ซึ่งเขียนเล่าไว้ว่า มีการใช้สัตว์ทดลองครั้งแรกที่โรงพยาบาลศิริราช ในปี พ.ศ. 2432 แต่กว่าจะเริ่มมีการใช้อย่างจริงที่สถานเสาวภาเวลาก็ลุล่วงมาจนถึงปี พ.ศ.2460 นับได้ว่าเป็นประวัติศาสตร์ยุคบุกเบิกของงานสัตว์ทดลองในประเทศไทย(อ้างจาก สุวรรณเกียรติ สว่างคุณ :ประวัติศาสตร์งานสัตว์ทดลองอันยาวนานกับผลงานในปัจจุบันของงานสัตว์ทดลองในจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย)


ภาพจาก
http://www.ubi.chiangmai.ac.th


               จากหลักฐานดังกล่าวแสดงว่าสัตว์ทดลองเริ่มเข้ามาเกี่ยวข้องกับงานทดลองของนักวิทยาศาสตร์ไทยมาเกือบ 120 ปีมาแล้ว แต่กระนั้นการตื่นตัวเกี่ยวกับสัตว์ทดลองในไทยเริ่มต้นขึ้นอย่างจริงจังเมื่อประมาณ 30 กว่าปีที่แล้วนี้เอง โดยในปี พ.ศ.2514 จุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย มหาวิทยาลัยเกษตรศาสตร์และ มหาวิทยาลัยมหิดล ได้ลงนามบันทึกความเข้าใจ เรื่องศูนย์เลี้ยงสัตว์ทดลองระหว่าง 3 มหาวิทยาลัยขึ้นและมอบหมายให้ มหาวิทยาลัยมหิดลเป็นผู้ดำเนินการโดยใช้สถานที่ที่วิทยาเขตศาลายาเป็นที่ก่อตั้ง ศูนย์เลี้ยงสัตว์ทดลอง โดย มหาวิทยาลัยมหิดลได้ดำเนินการตามขั้นตอนจนได้รับความเห็นชอบจากคณะ กรรมการเศรษฐกิจและสังคมแห่งชาติให้จัดตั้งโครงการศูนย์สัตว์ทดลองในปีพ.ศ.2517 และได้รับความเห็นชอบจากทบวง มหาวิทยาลัย ให้เป็น สำนักสัตว์ทดลองแห่งชาติ ในปี พ.ศ. 2530 ซึ่งเป็นส่วนราชการที่อยู่ในสังกัดของมหาวิทยาลัยมหิดล


หน่วยงานนี้ถือว่าเป็นหน่วยงานหลักเกี่ยวกับสัตว์ทดลองของโดยมีหน้าที่

           1.ผลิตสัตว์ทดลองที่มีคุณภาพ ให้ เพียงพอต่อความต้องการใช้ภายในประเทศ เพื่อประโยชน์ในการพัฒนาเกี่ยวกับการวิจัย การทดสอบ การผลิตชีววัสดุ และการสอน ด้านชีวการแพทย์ และวิทยาศาสตร์ชีวภาพ
            2.รับผิดชอบในมาตรฐานการ จัดการ ในการเลี้ยงและการปฏิบัติต่อสัตว์ทั้ง ในส่วนการเพาะขยายพันธุ์และการวิจัย ให้เป็นไปอย่างถูกต้องตามหลักจรรยาบรรณ สากลในการเลี้ยงและการใช้สัตว์ทดลอง

ในส่วนภูมิภาคเองก็มีการจัดตั้งศูนย์สัตว์ทดลองเฉพาะที่ขึ้นเช่น มหาวิทยาลัยขอนแก่น จะรับผิดชอบเพาะเลี้ยงและจัดหาสัตว์ทดลองที่มีคุณภาพให้แก่งานวิจัยในเขตภาคตะวันออกเฉียงเหนือ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ในภาคเหนือ มหาวิทยาลัยสงขลานครินทร์ ในภาคใต้




หนูตะเภา
รูปจาก
http://www.nlac.mahidol.ac.th 


ทำไมต้องเป็น หนูตะเภา


             จริงๆ แล้วนิยามของสัตว์ทดลองไม่ได้จำกัดอยู่แค่กระต่ายหรือหนูตะเภาเท่านั้น แต่หมายรวมถึงสัตว์ทุกประเภทที่นำมาใช้ในการทดลอง ไม่ว่าจะเป็น ช้างม้า วัว ควาย หรือลิงซิมเปียนซี
             เหตุผลสำคัญที่หนูกลายเป็นสัตว์ทดลองอันดับต้นๆ เพราะหนูเป็นสัตว์ที่มีประสาทสัมผัสไว  ในสมัยก่อนชาวเรือมักจะใช้หนูเป็นสัญญาณเตือนภัย เพราะหนูจะสละเรือก่อนเรือล่มเสมอ นอกจากนี้แล้วประสาทสัมผัสของหนูถือว่าไวกว่ามนุษย์หลายเท่านักก่อนจะเกิดแผ่นดินไหวหนูจะวิ่งกันพล่าน ความเหมือนของหนูกับมนุษย์อีกอย่างคือหนูมีจำนวนยีนพอๆ กับมนุษย์ นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าวิวัฒนาการของมนุษย์กับหนูแยกกันเมื่อประมาณ 80 ล้านปี ก่อนหน้านี้   นักวิทยาศาสตร์รวมทั้งนักเรียนนักศึกษาถือกันว่าสัตว์ทดลองเป็นอาจารย์ใหญ่หากไม่มีพวกเขาเหล่านั้นวิทยาการของมนุษย์อาจจะล้าหลังไม่ก้าวหน้าเท่าที่ควรก็เป็นได้ เพราะการนำยา หรือนำเทคโนโลยีต่างๆมาใช้กับมนุษย์โดยตรงออกจะดูเป็นการสุ่มเสี่ยงถึงผลกระทบที่อาจจะตามมา
 
           เมื่อมีการนำสัตว์มาทดลองมากขึ้นคำถามของสังคมที่ตามมาคือการกระทำเหล่านี้เป็นการทรมานสัตว์หรือไม่เพราะเมื่อนำสัตว์มาทดลองแล้วเกิดผลกระทบโรคร้ายเหล่านั้นย่อมเกิดแก่สัตว์ทดลองโดยตรง เป็นชีวิตที่โดนบังคับให้สละด้วยความไม่เต็มใจ เมื่อจะก่อให้เกิดประโยชน์ในสังคมมากมายเพียงใดก็ตาม ในแง่ของทางพุทธศาสนาการกระทำที่ทำให้ชีวิตของสัตว์อื่นล่วงไปก็ย่อมเป็นบาปข้อปาณาติบาต นักวิทยาศาสตร์หรือผู้ทดลองเองก็ตระหนักเห็นถึงโทษภัยในข้อนี้อยู่ดังนั้นจึงพยายามใช้สัตว์ทดลองเท่าที่จำเป็น 
ความเคลื่อนไหวเรื่องสัตว์ทดลองในต่างประเทศถูกหยิบยกมาประเด็นมาช้านานในปี พ.ศ. 2419 ประเทศอังกฤษ เป็นประเทศแรกที่ออกกฎหมายเกี่ยวกับการทารุณกรรมสัตว์ และได้มีปรับปรุงกฎหมายดังกล่าวในปี พ.ศ.2529 ประเทศอังกฤษถือได้ว่าเป็นประเทศที่มีการควบคุมการนำสัตว์มาใช้ทดลองเข็มงวดมากที่สุดประเทศหนึ่ง

             ในปี 2528 ที่นครเจนีวา ประเทศสวิตเซอร์แลนด์ สภาองค์กรระหว่างว่าด้วยวิทยาศาสตร์การแพทย์ (Council for International Organization of  Medical  Science หรือ CIOMS)ได้จัดให้มีการประชุมระหว่างผู้ใช้สัตว์ทดลอง และกลุ่มผู้คัดค้านทั่วโลก  ในการประชุมคราวนั้นได้ผลสรุปเป็นแนวทางในการปฏิบัติในการใช้สัตว์เพื่อในการวิจัยด้านวิทยาศาสตร์การแพทย์  ซึ่งมีหลายประเทศได้นำไปใช้เป็นแนวทางปฏิบัติจนกลายเป็นรูปธรรม เช่น สหรัฐอเมิรกา ออสเตรเลีย แคนาดา
           ส่วนในประเทศไทย มีการผลักดันให้มีพระราชบัญญัติเกี่ยวกับการใช้สัตว์ทดลองมาระยะหนึ่งแต่ยังไม่มีความคืบหน้าเท่าที่ควร ในปัจจุบันมีเพียงจรรยาบรรณในการใช้สัตว์ทดลองของสภาวิจัยสภาวิจัยแห่งชาติซึ่งถือว่าเป็นสภาบันหลักเกี่ยวกับงานวิจัยของไทยเท่านั้นที่ออกมาเพื่อวางแนวทางของการใช้สัตว์ทดลองมาใช้งานอย่างเหมาะสม ซึ่งพอจะสรุปสาระสำคัญได้ดังนี้ (อ้างจากจรรยาบรรณการใช้สัตว์ สภาวิจัยแห่งชาติ)


จรรยาบรรณการใช้สัตว์

            1    ผู้ใช้สัตว์ต้องตระหนักถึงคุณค่าของชีวิตสัตว์  ผู้ใช้สัตว์ต้องใช้สัตว์เฉพาะกรณีที่ได้พิจารณาถี่ถ้วนแล้วว่าเป็นประโยชน์และจำเป็นสูงสุดต่อการพัฒนาคุณภาพชีวิตของมนุษย์และสัตว์ และ/หรือความกล่าวหน้าทางวิชาการและได้พิจารณาอย่างถี่ถ้วนแล้วว่าไม่มีวิธีการอื่นที่เหมาะสมกว่า
           2    ผู้ใช้สัตว์ต้องตระหนักถึงความแม่นยำของผลงานโดยใช้สัตว์จำนวนน้อยที่สุด  ผู้ใช้สัตว์จะต้องคำนึงถึงคุณสมบัติทางพันธุกรรมของสัตว์ที่นำมาใช้  ให้สอดคล้องกับวัตถุประสงค์และเป้าหมายของการใช้สัตว์ เพื่อให้เกิดจำนวนการใช้สัตว์น้อยที่สุด  และได้รับผลงานที่ถูกต้องแม่นยำที่สุด
           3    การใช้สัตว์ป่าต้องไม่ขัดต่อกฎหมายและนโยบายการอนุรักษ์สัตว์ป่า  การนำสัตว์ป่ามาใช้ ควรกระทำเฉพาะกรณีที่มีความจำเป็นต่อการศึกษาวิจัย โดยไม่สามารถใช้สัตว์อื่นทดแทนได้ และการใช้สัตว์ป่านั้นจะต้องไม่ขัดต่อกฎหมายและนโยบายการอนุรักษ์สัตว์ป่า
           4    ผู้ใช้สัตว์ต้องตระหนักว่าสัตว์เป็นสิ่งมีชีวิตเช่นเดียวกับมนุษย์  ผู้ใช้สัตว์ต้องตระหนักว่า  สัตว์มีความเจ็บปวดและมีความตอบสนองต่อสภาพแวดล้อม  เช่นเดียวกับมนุษย์  จึงต้องปฏิบัติต่อสัตว์ด้วยความระมัดระวังทุกขั้นตอน นับตั้งแต่การขนส่ง  การใช้วัสดุอุปกรณ์ในการเลี้ยงสัตว์ การจัดการสภาพแวดล้อมของสถานที่เลี้ยง เทคนิคในการเลี้ยง และการปฏิบัติต่อสัตว์ โดยไม่ให้สัตว์ได้รับความเจ็บปวดความเครียดหรือความทุกทรมาน
           5 ผู้ใช้สัตว์ต้องบันทึกข้อมูลการปฏิบัติต่อสัตว์ไว้เป็นหลักฐานอย่างครบถ้วน ผู้ใช้สัตว์ต้องปฏิบัติต่อสัตว์ตรงตามวิธีการที่เสนอไว้ในโครงการ  และต้องจดบันทึกไว้เป็นหลักฐานอย่างละเอียด ครบถ้วนพร้อมจะเปิดเผยชี้แจงได้ทุกโอกาส



รูปจาก
http://www.evolution.in.th


                ถือเป็นหลัก 5 ข้อสำคัญที่นักวิจัยต้องคำนึงถึงเสมอเมื่อมีการนำสัตว์มาใช้ทดลอง แม้จรรยาบรรณดังกล่าวจะเป็นเพียงแนวทางในการปฏิบัติไม่มีสภาพบังคับอย่างกฎหมายทั่วไปแต่หากได้รับความร่วมมือร่วมใจจากนักวิจัยดีแล้วเชื่อแน่ว่าย่อมเกิดผลดีต้องการนำสัตว์มาใช้ทดลอง


               แน่นอนว่ายังไงสัตว์ทดลองยังคงมีความจำเป็นในวงการวิทยาศาสตร์ นอกจากจะสามารถหาวิธีการทดแทนมาใช้โดยไม่ต้องนำสัตว์เข้ามาเกี่ยวข้องกับการทดลอง และน่ายินดีที่ไม่นานมานี้มีข่าวปรากฎออกมาว่า Jonathan Dordick แห่งสถาบัน Rensselaer Polytechnicได้คิดค้น ชิพสี่เหลี่ยมเล็กๆ นำมาใช้ทดลองแทนการใช้สัตว์ทดลอง โดยในชิพดังกล่าวจะบรรจุเซลล์และเอนไซม์ของมนุษย์ลงไป แม้ชิพตัวนี้ยังใช้การได้ไม่ดีนักแต่ก็นับเป็นการเริ่มต้นที่ดีสำหรับการผลิตวิทยาการเพื่อนำมาใช้ทดลองแทนการนำสัตว์มาใช้ทดลองโดยตรง

พอกันทีกับหนูทดลอง นักวิทย์เจอตัวแทนแล้ว

Troy,N.Y. – หนูทดลองในอนาคตจะไม่มีหนวดและหางอีกแล้ว หรือบางทีมันจะไม่เหมือนหนูซักกะนิดเดียว



เนื่องมาจากสหภาพยุโรปจะประกาศห้ามการใช้สัตว์ทดลองในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอาง ทางบริษัทเหล่านั้นจึงต้องมองหาสิ่งที่จะมาแทนสัตว์ทดลอง ซึ่งสิ่งที่จะมาแทนนั้นเป็นชิพไฮเทครูปสี่เหลี่ยมเล็กๆ จากการคิดค้นของ Jonathan Dordick แห่งสถาบัน Rensselaer Polytechnic



ชิพนี้จะรูปร่างคล้ายๆ สไลด์ที่ใช้ส่องกับกล้องจุลทรรศน์ธรรมดา แต่ว่ามันจะมีจุดสีขวาเล็กๆ จำนวนหลายร้อยจุดที่จะใส่เอาเซลล์และเอนไซม์ของมนุษย์ลงไป ซึ่งจะจำลองปฏิกิริยาของคนต่อสารที่จะเป็นสารพิษต่อเซลล์ นั่นก็คือเราไม่จำเป็นต้องใช้หนูทดลองในการทดลองในการทดลองยาใหม่ๆ หรือว่าครีมลดรอยเหี่ยวย่นอีกแล้ว



Dordick และวิศวกรเคมีเพื่อนร่วมงานของเขา Douglas Clark ประกาศจะนำชิพของพวกเขาเข้าสู่ตลาดผ่านบริษัท Solidus Bioscience ภายในปีหน้า โดยหวังว่าการทดลองในห้องทดลองทั่วไปจะถูกและมีประสิทธิภาพกว่ากว่าการใช้สัตว์ทดลอง



ไม่มีใครคาดว่าการใช้ชิพจะแทนการใช้สัตว์ทดลองได้ในเร็ววันนี้ แต่การช่วยตรวจหาสารพิษจะช่วยลดการตายของสัตว์ทดลองลงได้



Dordick กล่าวว่า “สุดท้าย เราจะใช้สัตว์ในการทดลองน้อยลง”



การทดลองทางการแพทย์ตั้งแต่วัคซีนโปลิโอจนกระทั่งหัวใจเทียมล้วนแต่เป็นหนี้บุญคุณเหล่าสัตว์ทดลองทั้งหลาย ตั้งแต่หนู, กระต่าย, สุนัข, ลิง และหมู ซึ่งหนูมักจะถูกใช้ในการตรวจหาสารพิษขององค์ประกอบทางเคมี



Taylor Bennett ที่ปรึกษาของนักวิจัย National Association for Biomedical Researchers กล่าวว่า การใช้สัตว์ทดลองยังมีบทบาทสำคัญในการทดลองผลิตภัณฑ์ยาใหม่ๆ ว่าปลอดภัยและมีผลในการรักษาคน และการทดลองโดยใช้สัตว์ยังจำเป็นในการขออนุญาตกับองค์การอาหารและยาในการทำการทดลองโดยการรักษาจริงในคนอีกด้วย



“เรายังไม่สามารถใช้เทคโนโลยีกับคนไข้ได้ โดยไม่ผ่านการทดลองกับสัตว์เสียก่อน”



การทดลองในสัตว์อาจใช้เวลานานและนักวิจัยยังสงสัยกันอยู่ว่าการตอบสนองของสัตว์ทดลองจะสามารถนำไปคาดการณ์กับการตอบสนองในคนได้หรือไม่



ตอนนี้ สังคมยังมีการเรียกร้องให้หยุดการทดลองที่สร้างความเจ็บปวดให้กับสัตว์ทดลองโดยเฉพาะอย่างยิ่งการทดลองลิปสติกและอายชาโดว์ และมีการเดินขบวนประท้วงให้หยุดใช้สัตว์ทดลองขึ้น ส่งผลให้ทางสหภาพยุโรปออกกฎหมายห้ามการใช้สัตว์ทดลองในผลิตภัณฑ์เครื่องสำอางในเดือนมีนาคมปี 2009



John Bailey ประธานที่ปรึกษาของคณะกรรมการดูแลสุขภาพของผู้บริโภคกล่าวว่าทางบริษัทเครื่องสำอางได้มีการลดการใช้สัตว์ทดลองลงไปอย่างมาก แต่ก็ยังมีการทดลองในสัตว์สำหรับสูตรเครื่องสำอางใหม่ๆ



ดร. Alan Goldberg ผู้อำนวยการของศูนย์ทดแทนสัตว์ทดลองของมหาวิทยาลัยจอห์น ฮอปกิ้น กล่าวว่า ทางเลือกใหม่ๆ ในการทดแทนสัตว์ทดลองเช่น การใช้ผิวหนังสังเคราะห์หรือการจำลองด้วยคอมพิวเตอร์มีประสิทธิภาพในการทดลองในห้องทดลอง



“ไม่ต้องสงสัยเลยว่ามันจะเป็นแผนสำคัญแห่งอนาคตอย่างแน่นอน” ดร. Goldberg กล่าว



Baily เห็นด้วยว่าในการทดลองในห้องทดลอง ชิพจะมีประโยชน์มาก แต่ว่าจะทำการปรับปรุงก่อนที่บริษัทจะมีความมั่นใจกว่านี้และเขายังเสริมอีกว่าชิพยังมีข้อจำกัดในการประเมินความเสี่ยงบางอย่าง เช่น การหาถึงปริมาณสารที่ได้รับแล้วเสี่ยงที่จะเป็นมะเร็ง



ชิพที่ Dordick และ Clark ประกอบด้วยแผ่นสไลด์ 2 แผ่น แผ่นแรกเรียกว่า Metachip ประกอบด้วยจุดเล็กๆ ที่บรรจุเอนไซม์จากตับมนุษย์เอาไว้ ส่วนชั้นที่สองเรียกว่า DataChip ซึ่งใส่เซลล์ต่างๆ แยกตามการทดลอง เช่น เซลล์กระเพาะปัสสาวะ, ตับ, ไต, หัวใจ, ผิวหนัง หรือปอด ซึ่งเป็นเซลล์ที่ทำการเพาะเลี้ยงมา แล้วนำมาประกบกัน ซึ่งจะจำลองการทำงานของร่างกายคนเรานั่นเอง



ถ้าเซลล์ตายหรือหยุดการเจริญเติบโต นั่นหมายความว่ามีความเป็นไปได้ที่จะมีสารพิษอยู่



บริษัท Solidus ได้รับเงินทุนวิจัยจากรัฐ 3 ล้านดอลลาร์ และรวมถึงการรับรองจากสถาบันสุขภาพแห่งชาติและกองทุนวิทยาศาสตร์ ซึ่งทาง Dordick คาดว่าจะสามารถผลิตชิพสำหรับบริษัทยาและเครื่องสำอางได้ภายในปี 2009



Goldberg เชื่อว่าปัจจุบันมีความก้าวหน้าทางการทดลองในห้องทดลองมาก และมีแนวโน้มว่าจะมีการใช้สัตว์ทดลองน้อยลงใน 10 ปีที่ผ่านมา แต่ว่าเขายังเชื่อว่าสักวันหนึ่งเหล่าหนูทดลองจะกลายเป็นของโบราณไป



“ในอนาคตอันใกล้ผมคาดว่ามันน่าจะเป็นไปได้ เนื่องจากตอนนี้เรากำลังพัฒนาไปทีละขั้น” เขากล่าว




การเป็นหนี้ เป็นทุกข์ในโลก

บุกค้นโรงงานปุ๋ยเถื่อนเมืองกาญจน์ ยึดของกลางมูลค่ากว่า 10 ล้านบาท
เฟซบุ๊กทดสอบการปลดล็อก ID ด้วยวิธีสแกนใบหน้า
เปิดโรดแมพ5ปีนวัตกรรมชาติ ยกระดับ‘สมุนไพร-ยานไร้คนขับ’
เทคโนโลยี AR และ VR และ 360 องศา
อียูการันตี“แล็บไทย”มาตรฐานโลก
ลืม Wi-Fi ได้เลย และเตรียมพบกับอินเทอร์เน็ต Li-Fi
รถที่ถูกที่สุดในโลก “TATA NANO 2016” ถูกสุด 50,000 บาท
มีอะไรลึกลับบ้าง? เมื่อ 'เฟซบุ๊ก' ประกาศเปิดสำนักงานในไทย!
วิธีปิด OneDrive บน Windows 10 ป้องกันเปลืองเน็ต
′นิสสัน ลีฟ′ รถไฟฟ้าไร้มลพิษ 100% ′โอกาส-ตัวเลือก′ที่คนไทยจะได้ใช้รถรักษ์สวล.
สุดสร้างสรรค์, ทีมนักศึกษาชิลีร่วมสร้างจักรยานคันแรกของโลกที่ไม่สามารถขโมยได้ (คลิป)
ฮือฮา พบ "ปูอวกาศ" ในภาพถ่ายจากดาวอังคาร !!
รายได้ไตรมาส 2 กูเกิล เกินคาด
สุดอัศจรรย์..วันที่โลกต้องจารึก! ไกล 3 พันล้านไมล์ก็ไปถึง ยานนิว ฮอไรซันส์พิชิตดาวพลูโต
Microsoft คอนเฟิร์ม ผู้ที่ใช้งานตัว Preview จะได้รับ Windows 10 ของแท้ไปเลยฟรีๆ !!
สมาร์ทโฟนแอนดรอยด์รุ่นแรกของค่าย BlackBerry (โค้ดเนม Praque) จะเปิดตัวในเดือนสิงหาคม article
สุดเจ๋ง!! นักวิทยาศาสตร์ไขปริศนา “สามเหลี่ยมเบอร์มิวด้า” ได้แล้ว article
โทรศัพท์มือถือ เต็มไปด้วยเชื้อโรค article
′สสวท′ผุดเกมคณิตพิชิตเงินล้านสอน ป.5-6 ดาวน์โหลดได้เลย article
หิมะเทียม เร่งการเกิดสนิม article
แบตฯสำรองไฮเทค เล็กพริกขี้หนู article
ตู้เย็นนาโน article
วิธีใช้ wi-fi สาธารณะอย่างปลอดภัย article
Yahoo ยุติบริการ 'Yahoo Directory' จุดเริ่มต้นของบริษัท
มาทำความรู้จักกับ…..เห็ดโต่งฝนกันเถอะ
ขู่ปิดถนน ทั่วประเทศ 3ก.ย. ม็อบยางเดือด!
ทำความเข้าใจทีวีอนาคต จากจออนาล็อกสู่ดิจิตอล
ขั้วโลกดาวพุธ 'นาซา' พบ 'น้ำแข็ง-สารอินทรีย์'
เตาเผา กำจัดขยะรูปแบบใหม่...เป็นมิตรกับสิ่งแวดล้อม ครั้งแรกในกรุง article
เผยไอโฟน5บางสุดขีด
Ubi-Camera ถ่ายรูปด้วยนิ้วมือ
ระบบดูแลผู้สูงอายุผ่านมือถือ
ไอซีทีเปิดแอพพลิเคชั่นรับสงกรานต์
VoiceTV ระงับให้บริการบน iOS ชั่วคราว
สมาร์ทโฟนหม้อหุงข้าว
เครื่องพิมพ์สแกน3มิติ
สวทช.เปิดศูนย์นวัตกรรมพิมพ์อัจฉริย
สำรวจโลกประหลาด
พลิกการศึกษา-พัฒนาแล้วนะจ๊ะ article
ฉลาดใช้ประฏิวัติแนะนำให้มีไว้ติดตัวจ้า!! article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน