ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




สุขภาพปากและฟันกับโรคหัวใจ article

 

สุขภาพปากและฟันกับโรคหัวใจ

วันเสาร์ ที่ 06 สิงหาคม 2554 เวลา 0:00 น. เดลินิวส์

 

 

หลาย ๆ ท่านคงเข้าใจถึงความรุนแรงของโรคหัวใจเป็นอย่างดี โรคชนิดนี้ไม่ได้เกิดเฉพาะผู้ใหญ่หรือผู้สูงอายุเท่านั้น เด็กก็เป็นโรคนี้ได้ตั้งแต่อยู่ในครรภ์มารดา บางรายอาจต้องเสียชีวิตตั้งแต่ยังเด็ก โดยสามารถตรวจพบได้ตั้งแต่แรกเกิด หรือตรวจพบได้เมื่อออกจากโรงพยาบาลไปแล้ว สำหรับเด็กบางรายอาจเป็นโรคหัวใจในภายหลังเมื่อมีอายุหลายปีแล้ว ซึ่งเด็กเหล่านี้จะมีอาการเหนื่อยง่าย ไม่สามารถวิ่งเล่นได้เหมือนเด็กปกติ และต้องพบแพทย์อยู่เป็นระยะ ๆ ทั้งนี้ต้องขึ้นอยู่กับชนิดของโรคหัวใจนั้น ๆ ด้วย

โรคหัวใจในเด็กมีชนิดไหนบ้าง?
   

จากการศึกษาทางระบาดวิทยาในประเทศไทยโรคหัวใจพิการตั้งแต่กำเนิดพบบ่อยที่สุดในวัยเด็กซึ่งมีมากถึง 70–80 เปอร์เซ็นต์ ส่วนโรคหัวใจที่เกิดภายหลังพบประมาณ 20–30 เปอร์เซ็นต์ของโรคหัวใจในวัยเด็กทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นโรคหัวใจชนิดพิการแต่กำเนิดหรือชนิดที่เกิดภายหลัง ผู้ปกครองส่วนใหญ่มักจะให้ความสนใจในการรักษาโรคหัวใจ และอาการเจ็บป่วยด้านอื่นแต่ละเลยการดูแลสุขภาพปากและฟันของเด็กโดยหารู้ไม่ว่าโรคฟันเป็นโรคที่มีผลต่อการติดเชื้อที่หัวใจได้

สุขภาพปากและฟันเกี่ยวข้องกับโรคหัวใจอย่างไร?
   
ภายในช่องปากนอกจากประกอบด้วย ฟัน ลิ้น น้ำลาย ช่วยในการบดเคี้ยวอาหารแล้ว ยังมีเชื้อโรคหลายชนิดซุกซ่อนอยู่โดยเฉพาะเชื้อแบคทีเรียที่มีชื่อว่า สแตรปโตคอคคัส เชื้อแบคทีเรียกลุ่มนี้จะยิ่งพบมากขึ้นในช่องปากที่มีฟันผุ เหงือกบวมอักเสบ ในคนไข้โรคหัวใจถ้ามีบาดแผลในช่องปากเชื้อโรคเหล่านี้จะแทรกซึมเข้าทางบาดแผลไปตามกระแสเลือด ฝังตัวที่ผนังหัวใจเกิดภาวะผนังหัวใจอักเสบได้
   
ภาวะเยื่อบุหัวใจอักเสบจากการติดเชื้อนี้จะมีอาการแสดงคือ มีไข้เรื้อรัง อ่อนเพลีย น้ำหนักลด ปวดข้อ ข้ออักเสบ มีการติดเชื้อกระจายไปตามอวัยวะต่าง ๆ ปัสสาวะปนเลือด ซีด มีจุดเลือดออกตามส่วนต่าง ๆ ของร่างกาย เกิดภาวะหัวใจวาย อาการเหล่านี้ส่วนหนึ่งเกิดจากเด็กไม่ได้รับการดูแลสุขภาพปากและฟันที่ดี ทำให้อาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้

แล้วจะดูแลสุขภาพปากและฟันอย่างไร?

   
การดูแลสุขภาพปากและฟันให้ดีอยู่เสมอในเด็กโรคหัวใจเป็นสิ่งสำคัญที่ผู้ปกครองและคนไข้ต้องใส่ใจดูแลควบคู่ไปกับการรักษาโรคหัวใจด้วย เริ่มตั้งแต่
   
1. การเลือกรับประทานอาหารที่ดีและรับประทานอย่างถูกวิธี
   
2. การทำความสะอาดในช่องปากให้ถูกวิธี

เลือกรับประทานอาหารอย่างไรไม่ทำให้ฟันผุ?
   
นม เป็นอาหารหลักสำหรับทารกแรกเกิด และเป็นอาหารเสริมที่มีคุณค่าอย่างยิ่งสำหรับวัยต่อ ๆ มา แต่ถ้าผู้ปกครองเลี้ยงเด็กด้วยขวดนมอย่างไม่เหมาะสมก็จะทำให้เด็กเกิดฟันผุได้วิธีการป้องกันฟันผุจากการเลี้ยงลูกด้วยขวดนม
   
1. ควรเลี้ยงลูกด้วยนมแม่หรือนมจืด ไม่ควรให้ลูกกินนมที่มีรสหวาน และนมเปรี้ยว นอกจากนี้ ผู้ปกครองยังไม่ควรเติมน้ำตาล น้ำหวาน หรือน้ำผึ้งไปผสมในนม
   
2. ให้เด็กดูดน้ำเปล่าตามทุกครั้งหลังจากดูดนม
   
3. ผู้ปกครองควรทำความสะอาดช่องปากและฟันให้เด็กหลังดูดนมทุกครั้ง
   
4. ไม่ควรให้ลูกดูดนมก่อนนอน ถ้าจะให้ลูกดูดขวดก่อนนอนก็ควรให้ดูดน้ำเปล่า ไม่ควรใช้นม น้ำผลไม้ หรือน้ำหวาน
   
5. การใช้หัวนมหลอกไม่ควรทาด้วยของหวาน เช่น น้ำตาล น้ำเชื่อม น้ำหวาน น้ำผึ้ง
   
6. เมื่อเด็กหัดนั่งได้ควรให้เด็กหัดดื่มจากแก้วแทนขวดนมอาหารว่างที่มีประโยชน์ต่อร่างกายและไม่ทำอันตรายต่อสุขภาพฟันที่ทันตแพทย์แนะนำ มีลักษณะดังนี้
   
1. ควรเป็นอาหารที่ส่งเสริมให้มีการบดเคี้ยวเพื่อกระตุ้นให้มีการหลั่งของน้ำลาย เช่น ปลาหมึกปลาสวรรค์ ถั่วลิสงทอด ถั่วลิสงต้ม ข้าวโพดต้ม
   
2. เมื่อรับประทานแล้ว อาหารนั้นเหลือติดฟันน้อยมากและมีเส้นใยช่วยขัดผิวฟัน เช่น ฝรั่ง สับปะรด ชมพู่ มันแกว แอปเปิ้ล
   
3. มีคุณค่าทางสารอาหารแต่มีแป้งและน้ำตาลต่ำ เช่น ผักสด ผลไม้สด เมล็ดธัญพืช นมจืด
   
วิธีการทำความสะอาดในช่องปากไม่ได้มีแต่การแปรงฟันเท่านั้นยังมีเครื่องมือช่วยทำความสะอาดอีกหลายอย่าง เช่น ผ้าก๊อซ หรือ ผ้าอ้อม ไหมขัดฟัน เป็นต้น

การทำความสะอาดช่องปากในเด็กควรเริ่มตั้งแต่แรกเกิดดังนี้
   
1. ในเด็กที่ฟันยังไม่ขึ้น ควรใช้ผ้าสะอาดชุบน้ำเช็ดบริเวณเหงือก ลิ้น กระพุ้งแก้ม เช้าและก่อนนอนทุกวัน
   
2. สำหรับเด็กที่ฟันขึ้นแล้วในระยะแรก ผู้ปกครองควรแปรงฟันให้จนถึงให้เด็กแปรงเองบ้างและดูจนกระทั่งเด็กสามารถแปรงได้สะอาดเองในที่สุด
   
3. ควรเลือกใช้แปรงที่มีขนาดพอเหมาะ ขนแปรงอ่อนนุ่ม
   
4. เริ่มใช้ยาสีฟันสำหรับเด็ก เมื่อเด็กบ้วนน้ำได้แล้วเพื่อป้องกันการกลืนยาสีฟัน
   
5. ทำความสะอาดช่องปากทุกครั้งหลังรับประทานอาหาร

ควรพาลูกมาพบหมอฟันเมื่อไร?
   
เมื่อฟันน้ำนมซี่แรกขึ้น (อายุประมาณ 6 เดือน) หรืออย่างช้าไม่เกิน 1 ปี ผู้ปกครองควรพาเด็กมาพบทันตแพทย์ แต่สำหรับเด็กโรคหัวใจควรพบทันตแพทย์ครั้งแรกตั้งแต่ฟันน้ำนมซี่แรกขึ้น เพื่อทันตแพทย์จะได้ตรวจ และดูแลด้านทันตกรรมป้องกัน เช่น การให้ฟลูออไรด์เสริมชนิดรับประทานหรือการเคลือบฟลูออไรด์โดยทันตแพทย์ และวางแผนการดูแลตามช่วงอายุอย่างเหมาะสม
   
ในการพบทันตแพทย์ทุกครั้ง ผู้ปกครองควรแจ้งให้ทันตแพทย์ทราบถึงชนิดของโรคหัวใจที่เด็กเป็น เพื่อทันตแพทย์จะได้พิจารณาให้ยาปฏิชีวนะอย่างเหมาะสมก่อนการรักษาทางทันตกรรมที่ต้องมีเลือดออก เพื่อป้องกันการติดเชื้อไปที่ผนังหัวใจ
คำแนะนำในการดูแลสุขภาพช่องปากในเด็กแรกเกิดถึง 6 ปี
   
ในเด็กแรกเกิด : ควรพบทันตแพทย์ครั้งแรกเพื่อรับคำแนะนำการดูแลสุขภาพช่องปากที่ถูกต้อง
   
เด็ก 6 เดือน : ฟันน้ำนมซี่แรกขึ้นให้เริ่มฝึกดื่มนมจากถ้วย (เมื่อเด็กหัดนั่ง) เลิกนมมื้อดึก
   
อายุ1-3 ปี : พบทันตแพทย์ทุก 6 เดือน การนัดพบทันตแพทย์ขึ้นอยู่กับการพิจารณาเป็นกรณีไป
   
อายุมากกว่า 3 ปี : ฟันน้ำนมขึ้นครบ 20 ซี่ ก็จะเริ่มเคลือบฟลูออไรด์โดยทันตแพทย์
   
อายุ 6 ปี : ฟันกรามแท้ซี่แรกขึ้น นัดทันตแพทย์เพื่อปิดหลุมร่องฟันกรามที่ขึ้นใหม่.

ทันตแพทย์หญิงนันทนา ศรีอุดมพร/ทันตแพทย์หญิงศันสนีย์ ดีระลัภนานนท์
คณะแพทยศาสตร์โรงพยาบาลรามาธิบดี มหาวิทยาลัยมหิดล




แพทย์ วิสัญญี เภสัชกร ยาแผนปัจจุบัน การดูแลผู้ป่วย สาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ

ควรทานยาปฏิชีวนะให้ครบ
ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
โรคฉี่หนู
อย่ากินแอปเปิ้ลไซเดอร์ถ้าไม่รู้ 4.5 ข้อนี้ article
ผิวดำง่ายมากเกิดจาก 6 ข้อนี้ article
กินอาหารแล้วอ้วนจริงหรือ article
เอ็นข้อศอกอักเสบ เกิดจากอะไร? article
เจาะลึกกระบวนการ 'ทดลองยาในคน' article
กว่าจะเป็นยา ต้องผ่านขั้นตอน อะไรบ้าง? article
5 โรคร้ายรักษาง่ายๆด้วย ข้าวกล้อง article
เคล็บลับนอนหลับง่ายๆโดยไม่ต้องใช้ยา article
5 อาหารไขมันสูงยิ่งกินยิ่งผอม article
มือชา รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
กระดูกพรุน รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
เท้าปุก คืออะไร? รักษาอย่างไร? article
กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
ปวดหลังร้าวลงขา นั่งไม่ได้ รักษาอย่างไร? article
โรคท้องผูก ลำไส้ทำงานอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
การรับมือกับโรคมะเร็ง article
โรคหลอดเลือดหัวใจในหนุ่มสาว article
การจัดการโรคไตเรื้อรัง และสิ่งที่เชื่อผิดๆ article
น้ำดื่มบำรุงไต ไม่อยากฟอกไตต้องดู article
5 ความเชื่อผิดๆที่ทำให้ลดน้ำหนักไม่มีวันสำเร็จ article
7 วิธีควบคุมความดันโดยไม่ต้องพึ่งยา article
3 เทคนิคลดความอ้วน “#ไม่ต้องออกกำลังกาย” article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน