ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




การตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง

การตรวจมะเร็งเต้านมด้วยตนเอง

 

มะเร็งเต้านมเป็นโรคที่สามารถรักษาให้หายขาดได้ ถ้าพบตั้งแต่ระยะแรกเริ่ม การพยากรณ์ของโรคมะเร็งเต้านมขึ้นอยู่กับขนาดของก้อนและระยะที่ตรวจพบ ถ้าตรวจพบว่ามะเร็งยังคงเป็นอยู่เฉพาะที่เต้านมและได้รับการรักษาอย่างถูกต้องทันท่วงที ผู้ป่วยจะมีอัตราการอยู่รอดในระยะ 5 ปี แรกถึงร้อยละ 87 แต่อัตราการอยู่รอดนี้จะลดลงเหลือเพียงร้อยละ 47 ถ้ามะเร็งแพร่กระจายลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองบริเวณรักแร้ นอกจากนั้นขนาดของก้อนมะเร็งเต้านมที่ค้นพบก็มีความสำคัญ ถ้าพบก้อนขนาดเล็กกว่า 2 ซม. ผลการรักษาจะดีมาก ผู้ป่วยสามารถมีชีวิตรอดในระยะ 10 ปี ถึงร้อยละ 80 ถ้าหากขนาดของมะเร็งเต้านมโตมากกว่า 5 ซม. พบว่าอัตราการอยู่รอดในระยะ 10 ปี จะลดลงเหลือเพียงร้อยละ 44 จากสถิติที่ผ่านมาพบว่าผู้ป่วยส่วนใหญ่มาพบแพทย์เมื่อโรคลุกลามไปยังต่อมน้ำเหลืองแล้ว ทั้งๆที่โรคนี้สตรีสามารถตรวจค้นความผิดปกติหรือตรวจพบได้ด้วยตนเอง แต่จากข้อเท็จจริงพบว่าสตรีที้ยังขาดความรู้ความเข้าใจและทักษะการตรวจเต้านม ส่วนใหญ่ไม่เคยตรวจเต้านมด้วยตนเอง

           บทบาทของพยาบาลคือต้องกระตุ้น สนอแนะ และฝึกทักษะให้สตรีสามารถตรวจค้นความปิดปกติของเต้านมได้ด้วยตนเอง โดยเฉพาะสตรีที่มีอายุมากกว่า 30 ปี ขึ้นไปเป็นวัยที่มีความเสี่ยงต่อการเกิดมะเร็งเต้านมสูง ควรตระหนัก ถึงความสำคัญและมีทักษะในการตรวจเต้านมด้วยตนเองเป็นประจำทุกคนโดยตรวจหลังจากมีประจำเดือน 1 สัปดาห์ทุกๆ เดือน

การตรวจเต้านมด้วยตนเองมีทั้งวิธีดูและวิธีคลำ

           เพื่อให้ง่ายต่อการอธิบายลักษณะผิดปกติของเต้านม จึงมีการแบ่งเต้านมออกเป็น สี่ส่วน แต่ละส่วนเรียก Quadrants โดยแบ่งตามเส้นแนวตั้งลากตัดกับแนวนอน ตัดกันที่หัวนม หรืออาจจะระบุตำแหน่งตามหน้าปัทม์นาฬิกา โดยระบุห่างจากหัวนมกี่เซนติเมตร (ดังรูป)

ข้อสังเกตเกี่ยวกับวิธีการดู การดูลักษณะต่าง ๆ ที่มักพบในมะเร็งเต้านมมีดังนี้

  1. รอยบุ๋มของผิวหนัง (Skin dimpling) เป็นอาการแสดงของมะเร็ง ควรตรวจดูในท่าต่าง ๆ ลองกดดู หรือบีบเบา ๆ
  2. รูปร่างของเต้านมผิดปกติ (Abnormal contour) ให้คนไข้ยกแขนสูงขึ้นเหนือศรีษะ ถ้ารูปร่างผิดปกติ ดูให้ละเอียดทั้งส่วนเว้าและส่วนนูนของเต้านม
  3. สีของเต้านมแดง เรียบจนหนา (Paget’s disease = มะเร็งของเต้านมชนิดหนึ่งซึ่งมีลักษณะผิวหนังสีแดง เรียบหนา และผิวหนังหยาบขึ้นจาก Erosion หรือ Ulceration ของหัวนม (Nipple) และลานหัวนม (Areola) ไม่ว่าชนิดใด ให้คำนึงถึงมะเร็ง
  4. การบวมของผิวหนัง (Edema of the skin) ผิวหนังหนาคล้ายเปลือกส้ม (Orange peel) ผิวหนังบวม เกิดจากทางเดินน้ำเหลืองอุดตัน ทำให้ผิวหนังหนา เห็นรูขุมขนชัดเจน มีลักษณะคล้ายเปลือกส้ม ซึ่งมักจะมีการแสดงที่ลานหัวนม (Areola) ก่อน ส่วนใหญ่พบในรายที่เป็นมะเร็ง
  5. หัวนมถูกดึงรั้ง หรือราบลง (Nipple flattening or retraction) Fibrosis จากมะเร็งบริเวณหัวนมจะทำให้หัวนมถูกดึงรั้ง ทำให้เกิดลักษณะใหญ่ขึ้นบางที่ หรือบางที่ราบลง
  6. หัวนมบอด (Nipple inversion) การที่หัวนมบอด อาจพบเป็นความผิดปกติตั้งแต่แรกเกิด แต่ถ้าเกิดขึ้นภายหลังให้คำนึงถึงมะเร็ง
  7. หัวนมเบี่ยงเบนจากเดิม (Nipple deviation) การเกิด Fibrosis จากมะเร็งอาจทำให้ Axis ของหัวนมเปลี่ยน โดยอาจเฉไปด้านที่มีก้อนมะเร็ง

           การตรวจเต้านมด้วยวิธีคลำ ใช้ส่วนปลายนิ้วชี้ นิ้วนาง นิ้วกลาง คลึงรอบ ๆ เต้านม ไม่ควรกดแรงหรือเบาเกินไป เพราะถ้ากดแรงเกินไปจะพบแต่กระดูก ถ้ากดเบาเกินไป จะผิวเผินไม่ถึงก้อน ควรเริ่มคลำที่ส่วนบนด้านนอก (Upper outer qadrants=UOQ) ก่อน เพราะส่วนใหญ่มักพบความผิดปกติที่ UOQ

ข้อสังเกตเกี่ยวกับวิธีคลำ ลักษณะต่าง ๆ ที่มักคลำพบในมะเร็งเต้านม มีดังนี้

    1. ความแข็ง ซึ่งจะเปลี่ยนแปลงตามวัยประจำเดือน การตั้งครรภ์ และการให้นมบุตร
    2. กดเจ็บหรือไม่
    3. มีก้อนหรือถุงน้ำ (Mass หรือ Cyst) หรือไม่ ถ้ามี กลมหรือแบน ขอบผิวของก้อนคลำได้ชัดเจนหรือนิ่มไปหมด ก้อนนั้นเคลื่อนที่ได้หรือไม่ มีจำนวนกี่ก้อน ลักษณะสีผิวบริเวณนั้นเป็นอย่างไร สีคล้ำหรือ ผิวหนังมีรอบดึงรั้ง (Retraction) หรือรอบบุ๋ม (Dimple) หรือผิวหนังเป็นลักษณะบวมมีรูคล้ายผิวส้ม (Peel’s orange)
    4. คลำดู ต่อมน้ำเหลือง (Lymph node) โตหรือไม่ ถ้าโตให้ดูตำแหน่ง จำนวน รูปร่าง ขนาดความแข็ง ความเจ็บ การเคลื่อนไหว การเกาะติดกัน

ต่อมน้ำเหลืองที่รับของเสียจากบริเวณเต้านม และแขน

    1. ถ้ามีรอบบุ๋มหรือสังเกตเห็นไม่ชัดเจน ให้ผู้ป่วยยกแขนขึ้นเหนือศรีษะ หรือท้าวแขน 2 ข้างที่เอว
    2. ถ้ามีสิ่งใด (Discharge) ไหลจากหัวนมให้ใช้ปลายนิ้วกดรอบ ๆ ดูว่า Discharge นั้นออกจากท่อใด Discharge เป็นเลือดมักพบใน Intraductal papilloma
    3. ในรายที่เต้านมใหญ่ (Pendulous) ให้ยืนโน้มตัวมาข้างหน้า มือจับพนักเก้าอี้
สำหรับเพศชาย ดูว่าหัวนมมีก้อน บวม มีแผลหรือไม่ คลำลานนม เพื่อตรวจหาก้อน

ก้อนที่เต้านมจำแนกได้ดังนี้

    1. ถุงน้ำ (Cyst) ลักษณะกลม ค่อนข้างนิ่มถึงแข็ง ยืดหยุ่น ขอบเขตชัดเจน เคลื่อนที่ได้ ส่วนใหญ่จะกดเจ็บ ไม่มีลักษณะหดรั้ง (Retraction sign) อาจพบก้อนเดียวหรือหลายก้อน มักพบในอายุ 30-35 ปี ก้อนจะเล็กลงในวัยหมดประจำเดือน
    2. ก้อนเนื้องอก (Adenofibroma หรือ Benign neoplasm) ลักษณะกลมหรือแบน หรือ Lobular ปกติแข็ง แต่อาจนิ่มได้ มีขอบเขตชัดเจน เคลื่อนที่ได้มาก ปกติกดจะไม่เจ็บ ไม่มีลักษณะหดรั้ง (Retraction sign) ปกติพบก้อนเดียว แต่อาจมีหลายก้อนได้ มักพบในวัยสาวรุ่นถึงอายุ 55 ปี
    3. มะเร็ง (Cancer หรือ Malignant neoplasm) ลักษณะเป็นก้อนแข็ง ขอบเขตไม่ชัดเจน แยกมาจากเนื้อเยื่อรอบ ๆ บางทีติดกับผิวหนัง หรือผนังทรวงอก ปกติกดจะไม่เจ็บ นอกจากเป็นมากจนอักเสบแล้วปกติพบก้อนเดียว แต่อาจพบร่วมกับ Nodule ประเภทอื่น ๆ มักมีลักษณะหดรั้ง (Retraction sign) ส่วนมากพบในวัยกลางคนจึงถึงวัยสูงอายุ (35-80 ปี)

ข้อควรคำนึงเกี่ยวกับมะเร็งเต้านม

    1. สาเหตุ สาเหตุการเกิดโรคยังไม่ทราบแน่นอน แต่พบว่าการคั่งของน้ำนมในเต้านมนาน ๆ และการกด หรือถูกระคายเคืองนาน ๆ อาจเป็นสาเหตุส่งเสริมให้เกิดโรคนี้
    2. มักพบในหญิงที่ไม่มีบุตร หรือมีบุตรแต่ไม่ได้เลี้ยงลูกด้วยนมตนเอง
    3. หญิงที่มีประวัติบุคคลในครอบครัว เช่น มารดา ย่า ยาย ญาติพี่น้อง ป้า น้า อา เป็นมะเร็งเต้านม
    4. อาการเริ่มแรก เริ่มด้วยการมีก้อนเล็ก ๆ ขึ้นที่เต้านมด่อน โดยไม่มีอาการเจ็บปวดใด ๆ
    5. ก้อนโตขึ้นอย่างรวดเร็ว ทำให้เต้านมรูปร่างผิดปกติ อาจใหญ่ บุ๋ม หดรั้ง บางครั้งอาจแข็งตัว แบน หรือดูเล็กลง
    6. มะเร็งจะลุกลามแพร่กระจายจากตำแหน่งที่เกิดไปตามหลอดเลือด น้ำเหลืองสู่ส่วนอื่น ๆ อย่างรวดเร็ว ที่พบบ่อยที่สุดได้แก่ต่อมน้ำเหลืองที่รักแร้จะโตขึ้น
    7. แม้ว่าก้อนที่เต้านมอาจเป็นเนื้องอกชนิดธรรมดา แต่เมื่อพบสิ่งผิดปกติต่าง ๆ ควรพบแพทย์ เพื่อรับการรักษาที่ถูกต้องเสียตั้งแต่แรก




แพทย์ วิสัญญี เภสัชกร ยาแผนปัจจุบัน การดูแลผู้ป่วย สาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ

ควรทานยาปฏิชีวนะให้ครบ
ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
โรคฉี่หนู
อย่ากินแอปเปิ้ลไซเดอร์ถ้าไม่รู้ 4.5 ข้อนี้ article
ผิวดำง่ายมากเกิดจาก 6 ข้อนี้ article
กินอาหารแล้วอ้วนจริงหรือ article
เอ็นข้อศอกอักเสบ เกิดจากอะไร? article
เจาะลึกกระบวนการ 'ทดลองยาในคน' article
กว่าจะเป็นยา ต้องผ่านขั้นตอน อะไรบ้าง? article
5 โรคร้ายรักษาง่ายๆด้วย ข้าวกล้อง article
เคล็บลับนอนหลับง่ายๆโดยไม่ต้องใช้ยา article
5 อาหารไขมันสูงยิ่งกินยิ่งผอม article
มือชา รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
กระดูกพรุน รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
เท้าปุก คืออะไร? รักษาอย่างไร? article
กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
ปวดหลังร้าวลงขา นั่งไม่ได้ รักษาอย่างไร? article
โรคท้องผูก ลำไส้ทำงานอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
การรับมือกับโรคมะเร็ง article
โรคหลอดเลือดหัวใจในหนุ่มสาว article
การจัดการโรคไตเรื้อรัง และสิ่งที่เชื่อผิดๆ article
น้ำดื่มบำรุงไต ไม่อยากฟอกไตต้องดู article
5 ความเชื่อผิดๆที่ทำให้ลดน้ำหนักไม่มีวันสำเร็จ article
7 วิธีควบคุมความดันโดยไม่ต้องพึ่งยา article
3 เทคนิคลดความอ้วน “#ไม่ต้องออกกำลังกาย” article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน