ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




การดูแลหลังคลอดแบบแผนไทย

การดูแลหลังคลอดแบบแผนไทย

 

 

โดย : ธนวันต์ ศรีอมรรัตนกุล 
         พยาบาลวิชาชีพ 6 กลุ่มงานวิชาการพยาบาลอนามัยชุมชน วิทยาลัยพยาบาลบรมราชชนนี กรุงเทพ

 

         การดูแลหลังคลอดแบบแผนไทยนี้ จะเริ่มทำตั้งแต่มารดาหลังคลอดออกจากโรงพยาบาล ซึ่งขั้นตอนการเตรียมไม่ยุ่งยาก อุปกรณ์ต่าง ๆ สามารถหาได้ในบ้านหรือในชุมชนเอง ขึ้นอยู่กับการเลือกใช้วิธีของการดูแลหลังคลอดแบบแผนไทย โดยมารดาหลังคลอด 1 คน อาจจะใช้เพียง 1-2 วิธีเท่านั้น ดังต่อไปนี้

1. การอบสมุนไพร

การอบสมุนไพรไทยหลังการคลอด เป็นวิธีการที่จะทำให้ร่างกายได้ขับของเสียออกทางผิวหนัง ช่วยขับน้ำคาวปลา ช่วยให้ผิวพรรณสดชื่น แจ่มใส สะอาด สำหรับผู้ที่คลอดปกติ จะทำการอบได้เมื่อครบกำหนด 7 วัน และสำหรับผู้ที่คลอดโดยการผ่าคลอด จะอบได้เมื่อครอบหลังคลอด 30 วัน

ตัวยาในการอบรมสมุนไพร มีดังนี้ คือ ไพล ขมิ้นอ้อย ขมิ้นชัน ตะไคร้ ใบมะกรูด และผิวมะกรูด ใบหญ้าคา ใบพลับพลึง ว่านน้ำ ว่านชักมดลูก ว่านมหาเมฆ ว่านนางคำ ใบเปล้าหลวง ขิง ใบช้าพลู ใบส้มป่อย

วิธีอบ ควรอบวันละประมาณ 20 นาที และอบสมุนไพรทุก ๆ วันจนครบ 7 วัน

2. การประคบสมุนไพร

        เป็นวิธีการที่ช่วยทำให้แผลฝีเย็บแห้งดีและลดการอักเสบ และลดการคัดของเต้านม ทั้งยังช่วยลดอาการปวดเมื่อยกล้ามเนื้อ หลังคลอดบุตร 7 วัน สามารถประคบด้วยลูกประคบ ซึ่งมีตัวยาหลักดังนี้ ไพล ตะไคร้ ขมิ้นอ้อย ขมิ้นชัน ผิวมะกรูด เถาขมิ้นอ่อน ใบส้มป่อย ใบมะขาม การบูร

        วิธีประคบ ใช้ลูกประคบ 3 ลูก ใช้นั่งทับ 1 ลูก อีก 2 ลูก ใช้ประคบตามร่างกายและเต้านมประคบทุกวันจนนมหายคัด หลังจากประคบอาจใช้น้ำที่เหลือจากการอบสมุนไพร ทิ้งไว้ให้พออุ่นแล้วอาบให้หมดแล้วจึงอาบน้ำอุ่น ๆ ล้างอีกครั้งหนึ่ง

3. การนั่งถ่าน

         เป็นการใช้ความร้อนและควันจากการเผาไหม้ของตัวยาสมุนไพร เพื่ออบบริเวณช่องคลอด ซึ่งช่วยสมานแผลจากการคลอดบุตร ส่วนประกอบในตัวยามีดังนี้ ผิวมะกรูดแห้ง เหง้าว่านน้ำ ว่านนางคำ ไพล ขมิ้นอ้อย ชานหมาก เปลือกต้นชลูด ขมิ้นผงและใบหมาก

วิธีการนั่งถ่าน

    1. หั่นตัวยาสมุนไพรให้ละเอียด แล้วนำมาตากแดดให้แห้ง
    2. ก่อเตาไฟเล็ก ๆ และกลบขี้เถ้าให้ร้อนพอทนได้ นั่งเก้าอี้ไม้เจาะรูตรงกลางวางครอบเตาไฟ
    3. เอาตัวยาสมุนไพรโรยบนเตาถ่าน จะเกิดควันจากการเผาไหม้ ตัวยาจะพลุ่งขึ้นมาเอง
    4. มารดาหลังคลอดนั่งบนเก้าอี้ให้ควันและความร้อนเข้าสู่ช่องคลอด ให้มารดาหลังคลอดนั่งถ่านวันละ 1 ครั้ง ๆ ละ ½ ชม. โดยทำภายหลังจากการนาบหม้อเกลือ

4. วิธีนั่งอิฐ

          นำอิฐแดงย่างหรือเผาให้ร้อน แล้วเอาออกมาวางบนวัตถุที่ทนร้อน เอาใบปลีหลวงหรือใบพลับพลึงวางซ้อน ๆ กันหลาย ๆ ชั้น ให้นั่งทับ ค่อย ๆ นั่งลงไปเพราะนั่งทีเดียวจะร้อนมาก มารดาหลังคลอดจะรู้สึกสบาย ร่างกายแข็งแรงเร็ว ห้ามสระผมภายใน 7 วัน หลัง 7 วันจึงสระน้ำอุ่นได้ (วิธีนี้เป็นวิธีพื้นบ้านภาคเหนือ)

          หรือใช้อิฐย่างไฟให้ร้อน นำมาห่อด้วยผ้าขาวม้าตามยาว ม้วนผ้าขาวม้าให้รอบอิฐ นำมาผูกไว้บริเวณตำแหน่งของมดลูกที่หน้าท้อง เพื่อให้ความร้อนผ่านเข้าสู่หน้าท้อง ทำให้มดลูกแข็งแรงขึ้น

5. การอยู่ไฟชุด

           วิธีนี้จะมีไฟชุดสำเร็จรูปเป็นกล่อง ที่สามารถนำความร้อนประมาณ 4 กล่อง ภายในกล่องจะใส่ก้านแท่ง แล้วใส่ลงในผ้าซึ่งตัดเย็บไว้พอดีที่กล่องทั้ง 4 จะวางได้ โดยผ้านั้นจะมีเชือกสำหรับนำมาคาดที่เอว หรือบริเวณที่มีอาการปวด หรือบริเวณหน้าท้อง วิธีนี้ลดอาการปวดมดลูกได้

6. การอยู่ไฟญวณ

           วิธีนี้เราจะใช้ไม้กระดานให้มารดาหลังคลอดนอนแบบไม้กระดาน เช่น เกี่ยวกับการอยู่ไฟกระดาน แต่ต่างกันตรงที่เอาเตาไฟไว้ใต้ไม้กระดานนั้น ในช่วงบริเวณหลังของมารดาหลังคลอด

7. การอยู่ไฟกระดาน

           วิธีนี้คล้าย ๆ กับการอยู่ไฟญวณ แต่ต่างกันตรงที่วิธีนี้เตาไฟจะวางไว้ข้าง ๆ ไม้กระดาน โดยความร้อนจากเตาไฟจะไม่ผ่านหลังโดยตรง

8. การทับหม้อเกลือ

อุปกรณ์ที่ใช้

    1. ผ้าปูสี่เหลี่ยม 1 ผืน
    2. หม้อทะนน (เตรียมไว้ 4 ใบ)
    3. เตาถ่านขนาดให้พอดีกับหม้อ
    4. เกล็ดเกลือ (เติมในหม้อทะนน) ตั้งไฟสุก ๆ ประมาณ 15 นาที
    5. ตัวสมุนไพร เช่น ไพลสด 1 ส่วน ว่านนางดำ ½ ส่วน ว่านชักมดลูก ½ ส่วน การบูร พอประมาณ ใบพลับพลึง และใบละหุ่ง

วิธีทำ

    1. ล้างไพลให้สะอาด ไม่ต้องปอกเปลือก ว่านนางคำและว่านชักมดลูกผสมการบูรลงไป
    2. นำใบพลับพลึงมากางใบออก เอาด้านหน้าวางบนไหล่ 2 ใบ ตั้งฉากกัน วางหม้อเกลือทับใบพลับพลึง ห่อผ้ามัดให้แน่น
    3. ทุกครั้งที่เปลี่ยนหม้อใหม่ ควรเติมตัวยาให้พอดีกับยาที่แห้งไป ถ้ายาแห้งมากให้พรมน้ำ

     

วิธีทับหม้อเกลือ

ท่าที่ 1 นอนหงาย ให้โกยท้องก่อน แล้วจึงนำเอามุมหม้อเกลือวางหมุนไปรอบ ๆ หมุนวน 1 รอบ วางพักหม้อเกลือเหนือหัวเหน่า แล้วหมุนทำใหม่ 5-6 รอบ

ข้อควรระวัง หม้อต้องไม่ร้อนเกินไป เพราะผ้าอาจไหม้ได้ บริเวณใต้อกห้ามวางแรง ๆ เพราะจะทำให้จุกแน่นได้ ต้องโกยลำไส้ก่อนทำทุกครั้ง เพื่อไม่ให้ไส้พอง

ท่าที่ 2 การเข้าตะเกียบ เอาหม้อเกลือวางด้านข้างบริเวณช่องกล้ามเนื้อขาด้านนอก กดไล่ขึ้น-บน ต้นขา บนร่องกล้ามเนื้อหน้าแข็งด้านใน เสร็จแล้วจับตาดูผู้ป่วยให้อยู่ในลักษณะที่สามารถใช้หม้อเกลือกดทับขาด้านในได้ ในลักษณะกด-ยก กด-ยก ซึ่งสามารถช่วยแก้เหน็บชาได้ เสร็จแล้วเปลี่ยนหม้อเกลือใหม่

ท่าที่ 3 นอนตะแคง หลังคลอดจะมีอาการปวดหลังมาก ให้ใช้กรองเกลือกดทับบริเวณช่วงกระเบนเหน็บ ใช้มือซ้ายพยุงสะโพกด้านบน มืออีกข้างหนึ่งจับหม้อ เอวด้านข้างกดทับหนุนไปมาหลายครั้ง ๆ จากนั้นกดไล่ขึ้นตามร่องกระดูกสันหลัง

ท่าที่ 4 ท่านอนคว่ำ เอาหม้อเกลือทับท้องขาใต้ก้น

ข้อควรระวังในการทับหม้อเกลือ

    1. ผู้ป่วยมีไข้
    2. หลังกินอาหาร
    3. มดลูกต้องเข้าอู่ก่อน
    4. ผ่าตัดคลอด ห้ามทับ ต้องรอถึง 45 วัน

ประโยชน์ของการทับ

    1. ช่วยให้มดลูกเข้าอู่ได้สนิทมากขึ้น
    2. ลดไขมันหน้าท้อง แก้อาการปวดเมื่อย
    3. ทำให้น้ำคาวปลาไหลดีขึ้น
    • ให้ทำตอนเช้า ครั้งละ 2 ชั่วโมง ติดต่อกัน 3-5 วัน

          จากการสัมภาษณ์ คุณมนตรา ธีระพจน์ ผดุงครรภ์โบราณ ผู้มีประสบการณ์ทำคลอดกว่า 50 ปี พบว่า ในช่วงของการตั้งครรภ์จะให้มารดาดื่มน้ำเกสรทั้ง 5 (พิกุล บุญนาค สารภี เกล้าบัวหลวง มะลิ) โดยแนะนำให้มารดาต้มดื่มต่างน้ำ ช่วยในการบำรุงโลหิตและบำรุงหัวใจ โดยแนะนำว่า ควรต้มแบบเจือจาง ไม่ควรต้มเข้มข้น เพราะจะทำให้มีอาการท้องผูก เกิดบิดหัวลูก คือ อาการปวดเบ่ง แต่ไม่มีอุจจาระมีแต่ลมออกมา ส่วนในเรื่องการตรวจครรภ์ก่อนคลอด ขึ้นอยู่กับประสบการณ์หมอ โดยการนับช่วงของการหมดประจำเดือนครั้งสุดท้าย หรือการดูรอบยอดมดลูก โดยวัดจากประสบการณ์และสายตาของหมอ การดูทารกดิ้นในครรภ์ ส่วนในการดูแลหลังคลอดนั้น คุณมนตรา ธีระพจน์ กล่าวว่า จะไม่นิยมอยู่ไฟทุกวิธีในมารดาหลังคลอด 1 คน จะใช้เพียง 1-2 วิธีนี้เท่านั้น ขึ้นอยู่กับความสะดวกของมารดาหลังคลอด และตั้งแต่ดูแลมารดาหลังคลอด ไม่เคยมีรายใดที่มีภาวะแทรกซ้อนจากการอยู่ไฟ ซึ่งคุณมนตรา ธีระพจน์ กล่าวว่า ช่วงตรวจครรภ์จะมีวิธีกล่อมท้อง ซึ่งก็คือ การหมุนจัดท่าเด็กให้อยู่ในท่าที่ปกติ พร้อมที่จะคลอด โดยจะรับกล่อมเมื่อครรภ์อายุ 7 เดือนขึ้นไป




แพทย์ วิสัญญี เภสัชกร ยาแผนปัจจุบัน การดูแลผู้ป่วย สาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ

ควรทานยาปฏิชีวนะให้ครบ
ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
โรคฉี่หนู
อย่ากินแอปเปิ้ลไซเดอร์ถ้าไม่รู้ 4.5 ข้อนี้ article
ผิวดำง่ายมากเกิดจาก 6 ข้อนี้ article
กินอาหารแล้วอ้วนจริงหรือ article
เอ็นข้อศอกอักเสบ เกิดจากอะไร? article
เจาะลึกกระบวนการ 'ทดลองยาในคน' article
กว่าจะเป็นยา ต้องผ่านขั้นตอน อะไรบ้าง? article
5 โรคร้ายรักษาง่ายๆด้วย ข้าวกล้อง article
เคล็บลับนอนหลับง่ายๆโดยไม่ต้องใช้ยา article
5 อาหารไขมันสูงยิ่งกินยิ่งผอม article
มือชา รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
กระดูกพรุน รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
เท้าปุก คืออะไร? รักษาอย่างไร? article
กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
ปวดหลังร้าวลงขา นั่งไม่ได้ รักษาอย่างไร? article
โรคท้องผูก ลำไส้ทำงานอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
การรับมือกับโรคมะเร็ง article
โรคหลอดเลือดหัวใจในหนุ่มสาว article
การจัดการโรคไตเรื้อรัง และสิ่งที่เชื่อผิดๆ article
น้ำดื่มบำรุงไต ไม่อยากฟอกไตต้องดู article
5 ความเชื่อผิดๆที่ทำให้ลดน้ำหนักไม่มีวันสำเร็จ article
7 วิธีควบคุมความดันโดยไม่ต้องพึ่งยา article
3 เทคนิคลดความอ้วน “#ไม่ต้องออกกำลังกาย” article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน