ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




'การควบคุมและหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้จากไร้ฝุ่น' article

 

'การควบคุมและหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้จากไร้ฝุ่น'

วันอาทิตย์ ที่ 28 สิงหาคม 2554 เวลา 0:00 น. เดลินิวส์

 

 

เด็กเล็กและเด็กอ่อน มีความไวและอ่อนไหวต่อปฏิกิริยาภูมิแพ้อย่างมาก เพราะภูมิต้านทานตามธรรมชาติยังไม่แข็งแรง  โดยเฉพาะในเด็กที่ไม่ได้ดื่มน้ำนมมารดา ด้วยเหตุใดก็ตาม ประกอบการใช้พรม ติดผ้าม่าน มีน้องแมว น้องสุนัขเป็นสัตว์เลี้ยง ดูจะเป็นเทรนเพิ่มมากขึ้น ส่งผลให้ทุกโรงพยาบาลมีผู้ป่วยเด็กโรคภูมิแพ้ เข้า ๆ ออก ๆ ทำการรักษาอยู่เป็นประจำ และมีจำนวนมากเพิ่มขึ้นการพบแพทย์ ตรวจร่างกาย วินิจฉัยโรคเป็นเรื่องซ้ำซาก รวมทั้งการรักษาต่อเนื่องเป็นภาระแก่คุณพ่อ คุณแม่ ผู้ปกครองเป็นอย่างมาก ประเด็นสำคัญที่ควรตระหนักคือ วิธีปกป้องและป้องกัน ควบคุมและหลีกเลี่ยงไม่ให้เกิดโรคนี้หรือจับอาการภูมิแพ้

วิธีการควบคุมและหลีกเลี่ยงสารก่อภูมิแพ้จากไรฝุ่น

1. การคลุมเครื่องนอน
   
2. การซักล้าง
   
3. การดูดฝุ่น
   
4. การใช้เครื่องฟอกอากาศ
   
5. การปรับสภาพแวดล้อมในบ้าน

การคลุมเครื่อง นอน

เป็นวิธีที่มีประ สิทธิภาพ และใช้กันอย่างแพร่หลายช่วยให้ผู้ป่วยลดการสัมผัสสารก่อภูมิแพ้จากไรฝุ่นได้ ทำให้อาการของโรคภูมิแพ้ทุเลาลง และวิธีการใช้งานยังสะดวกในชีวิตประจำวัน

ผ้าคลุมกันไรฝุ่นสามารถป้องกันไรฝุ่นได้อย่างไร

*ไรฝุ่นจะอาศัยอยู่ในเครื่องนอน ได้แก่ ที่นอน หมอน ผ้านวม ดังนั้น ผ้าคลุมนี้จึงช่วยป้องกันไม่ให้ไรฝุ่นออกมาภายนอก และไม่ให้ฟุ้งกระจายในอากาศทำให้เราสูดดมเข้าไป

*วิธีใช้คือ สวมคลุมที่นอน หมอน ก่อนสวมทับด้วยปลอกหมอน หรือผ้าปูที่นอนที่เคยใช้ปกติประจำวันควรเลือกซื้อผ้าคลุมกันไรฝุ่นแบบไหนดี

*ควรเลือกซื้อผ้าคลุมกันไรฝุ่นชนิดเนื้อผ้าทอแน่น โดยที่รูระหว่างเส้นใยผ้าเล็กพอที่จะป้องกันตัวไรฝุ่น หรืออุจจาระของไรฝุ่นได้

*โดยทั่วไปตัวเต็มวัยของไรฝุ่นมีขนาดประมาณ 300 ไมครอน และอุจจาระของไรฝุ่นมีขนาดประมาณ 10-40 ไมครอน

เนื้อผ้าชนิดทอแน่นสามารถป้องกันตัวไรฝุ่น

และอุจจาระของไรฝุ่นไม่ให้ออกจากหมอนหรือที่นอนได้

การซักล้าง

เป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพ เนื่อง จากสารก่อภูมิแพ้จากไรฝุ่นจัดเป็นสารก่อภูมิแพ้ที่สามารถละลายได้ในน้ำ การซักล้างด้วยน้ำที่อุณหภูมิใด ๆ ก็ตาม สามารถกำจัดฝุ่นและสารก่อภูมิแพ้จากไรฝุ่นได้เป็นส่วนใหญ่ แต่ไม่สามารถทำลายตัวไรฝุ่นได้ ดังนั้น การซักล้างด้วยน้ำที่อุณหภูมิ 55-60 องศาเซลเซียส เป็นเวลาอย่างน้อย 30 นาที จะสามารถทำลายตัวไรฝุ่นได้ โดยควรทำเป็นประจำทุก ๆ 2 สัปดาห์

การดูดฝุ่น

เป็นวิธีปฏิบัติที่น่าจะได้ผลดี แต่การดูดไรฝุ่นที่มีชีวิตค่อนข้างทำได้ยาก เนื่องจากตัวไรฝุ่นสามารถยึดเหนี่ยวกับเส้นใยผ้าไว้ได้อย่างเหนียวแน่น

เครื่องดูดฝุ่นที่มี High filtration system (HEPA filter) น่าจะได้ผลดีกว่าเครื่องดูดฝุ่นธรรมดา เพราะสามารถดักจับสารก่อภูมิแพ้ไม่ให้ฟุ้งกระจายในขณะดูดฝุ่น

อย่างไรก็ดี การดูดฝุ่นจะทำให้เกิดการฟุ้งกระจายของสารก่อภูมิแพ้ทุกชนิด ดังนั้น จึงควรเปิดหน้าต่างและสวมผ้าปิดปากและจมูกในขณะดูดฝุ่น

การใช้เครื่องฟอกอากาศ

การฟอกอากาศแต่เพียงอย่างเดียวยังไม่สามารถพิสูจน์ได้ว่ามีประสิทธิภาพในการลดปริมาณของสารก่อภูมิแพ้ แต่ก็ไม่มีข้อเสียในการใช้เนื่องจากสารก่อภูมิแพ้จากไรฝุ่น เป็นสารที่มีอนุภาคขนาดใหญ่ (มากกว่า 10-40 ไมครอน) จะฟุ้งกระจายเมื่อมีแรงมากระทบที่นอน และจะตกลงภายใน 5 นาที ดังนั้นการใช้เครื่องฟอกอากาศดักจับในระยะห่างจึงได้ผลน้อย แต่สารก่อภูมิแพ้ประเภทอื่น ๆ เช่น ละอองเกสรและเชื้อราจะมีอนุภาคขนาดเล็กทำให้สามารถลอยตัวในอากาศได้นาน จึงสามารถขจัดได้ดี

การปรับสภาพแวดล้อมในบ้าน

*พรมเป็นแหล่งสะสมที่สำคัญของสารก่อภูมิแพ้ในบ้าน ซึ่งในปัจจุบัน พบว่ายังไม่มีวิธีใดที่มีประสิทธิภาพในการขจัดสารก่อภูมิแพ้ในพรมให้หมด ไปได้จากการเอาพรมออก

*การเช็ดถูด้วยผ้าเปียกจะสามารถขจัดสารก่อภูมิแพ้จากไรฝุ่นได้มากกว่าการเช็ดถูด้วยผ้าแห้ง

*การจัดห้องนอนให้โล่งโปร่ง แสงแดดส่องถึง ไม่ควรมีมุมของรกหรือกองหนังสือ ที่เป็นแหล่งสะสมฝุ่น เฟอร์นิเจอร์ ผ้าม่าน ของใช้ของเด็กเล่นและตุ๊กตาไม่ควรเป็นชนิดมีเส้นใย

*การติดตั้งเครื่องปรับอากาศ เป็นการปรับเปลี่ยนสภาพอากาศภายในบ้าน ห้องนอน หรือห้องพัก โดยการลดระดับความชื้นและอุณหภูมิในห้องนั้น ซึ่งเชื่อว่าช่วยให้สภาพไม่เหมาะสมกับการเจริญเติบโตของ ไรฝุ่น

ข้อมูลจาก นายแพทย์ปรีดา สง่าเจริญกิจ กุมารแพทย์โรคภูมิแพ้และวิทยาภูมิคุ้มกัน โรงพยาบาลพญาไท 1 / http://www.phyathai.comมูลนิธิโรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา ในพระราชูปถัมภ์ สมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯ สยามบรมราชกุมารี ร่วมกับ กองทัพบก จัดรายการการกุศล สายธารศรัทธาสู่ สถาบันจิตเวชศาสตร์สมเด็จเจ้าพระยา (โรงพยาบาลสมเด็จเจ้าพระยา, หลังคาแดง) 122 ปี ขอเชิญชมรายการการกุศล ทางสถานีวิทยุโทรทัศน์กองทัพบก ในวันพุธที่ 7 กันยายน 2554 เวลา 22.35-00.20 น. ร่วมบริจาคเพื่อหารายได้สมทบทุนสร้างอาคารผู้ป่วย จัดซื้ออุปกรณ์การแพทย์ครุภัณฑ์ต่าง ๆ และสมทบทุน “กองทุนสมเด็จพระบรมราชินีนาถ ในรัชกาลที่ 9” เพื่อผู้ป่วยจิตเวชยากไร้.

นายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์




แพทย์ วิสัญญี เภสัชกร ยาแผนปัจจุบัน การดูแลผู้ป่วย สาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ

ควรทานยาปฏิชีวนะให้ครบ
ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
โรคฉี่หนู
อย่ากินแอปเปิ้ลไซเดอร์ถ้าไม่รู้ 4.5 ข้อนี้ article
ผิวดำง่ายมากเกิดจาก 6 ข้อนี้ article
กินอาหารแล้วอ้วนจริงหรือ article
เอ็นข้อศอกอักเสบ เกิดจากอะไร? article
เจาะลึกกระบวนการ 'ทดลองยาในคน' article
กว่าจะเป็นยา ต้องผ่านขั้นตอน อะไรบ้าง? article
5 โรคร้ายรักษาง่ายๆด้วย ข้าวกล้อง article
เคล็บลับนอนหลับง่ายๆโดยไม่ต้องใช้ยา article
5 อาหารไขมันสูงยิ่งกินยิ่งผอม article
มือชา รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
กระดูกพรุน รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
เท้าปุก คืออะไร? รักษาอย่างไร? article
กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
ปวดหลังร้าวลงขา นั่งไม่ได้ รักษาอย่างไร? article
โรคท้องผูก ลำไส้ทำงานอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
การรับมือกับโรคมะเร็ง article
โรคหลอดเลือดหัวใจในหนุ่มสาว article
การจัดการโรคไตเรื้อรัง และสิ่งที่เชื่อผิดๆ article
น้ำดื่มบำรุงไต ไม่อยากฟอกไตต้องดู article
5 ความเชื่อผิดๆที่ทำให้ลดน้ำหนักไม่มีวันสำเร็จ article
7 วิธีควบคุมความดันโดยไม่ต้องพึ่งยา article
3 เทคนิคลดความอ้วน “#ไม่ต้องออกกำลังกาย” article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน