ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




ประวัติสงครามโลกครั้งที่ 1

 

สงครามโลกครั้งที่หนึ่ง (อังกฤษ: World War I หรือ First World War) ซึ่งก่อน ค.ศ. 1939 ถูกเรียกว่า "สงครามโลก" หรือ "มหาสงคราม" (อังกฤษ: Great War) เป็นสงครามครั้งสำคัญที่อุบัติขึ้นโดยมีศูนย์กลางอยู่ในทวีปยุโรประหว่าง ค.ศ. 1914 - 1918 โดยประเทศมหาอำนาจทั้งหมดของโลกเข้าร่วมสงคราม[1] แบ่งออกเป็นฝ่ายสัมพันธมิตร (โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ไตรภาคี) และฝ่ายมหาอำนาจกลาง[2] โดยพบว่ามีทหารมากกว่า 70 ล้านคน ซึ่งในจำนวนนี้เป็นชาวยุโรป 60 ล้านคน ถูกระดมเข้าสู่หนึ่งในสงครามที่ยิ่งใหญ่ที่สุดในประวัติศาสตร์นี้[3][4] ทหารผู้เข้าร่วมสงครามเสียชีวิตมากกว่า 9 ล้านนาย สาเหตุหลักเพราะมีความก้าวหน้าในเทคโนโลยีด้านอำนาจการยิงโดยไม่สอดคล้องกับความก้าวหน้าในความสามารถในการเคลื่อนที่ เป็นสงครามที่มีผู้เสียชีวิตมากที่สุดในประวัติศาสตร์อันดับที่หก[5] ผลจากสงครามทำให้มีผู้เสียชีวิต บาดเจ็บและสูญหาย รวมกันไม่ต่ำกว่า 40 ล้านคน[6]

การลอบปลงพระชนม์อาร์คดยุคฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์แห่งออสเตรีย รัชทายาทแห่งจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี เมื่อวันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1914 โดยกัฟรีโล ปรินซีป เป็นชนวนเหตุใกล้ชิดของสงคราม ส่วนสาเหตุระยะยาวนั้น เช่น นโยบายต่างประเทศแบบจักรวรรดินิยมของมหาอำนาจทั้งหลายในยุโรป อย่างจักรวรรดิเยอรมัน จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี จักรวรรดิออตโตมันจักรวรรดิรัสเซียจักรวรรดิอังกฤษฝรั่งเศสและอิตาลี ก็เป็นสาเหตุสำคัญเช่นกัน การลอบปลงพระชนม์อาร์คดยุคเฟอร์ดินานด์ทำให้ออสเตรีย-ฮังการียื่นคำขาดแก่ราชอาณาจักรเซอร์เบีย[7][8] พันธมิตรทั้งหลายซึ่งก่อตั้งขึ้นมาเมื่อหลายทศวรรษก่อนถูกดึงเข้ามาเกี่ยวข้อง ดังนั้น ภายในเวลาไม่กี่สัปดาห์ มหาอำนาจทั้งหลายจึงอยู่ในสภาวะสงคราม และความขัดแย้งเริ่มขยายลุกลามไปทั่วโลกผ่านอาณานิคมต่าง ๆ

วันที่ 28 กรกฎาคม ความขัดแย้งเปิดฉากขึ้นเมื่อออสเตรีย-ฮังการีรุกรานเซอร์เบีย[9][10] ตามด้วยการรุกรานเบลเยียม ลักเซมเบิร์กและฝรั่งเศสของเยอรมนี และการโจมตีเยอรมนีของรัสเซีย หลังจากการบุกโจมตีกรุงปารีสของเยอรมนีถูกทำให้หยุดชะงัก แนวรบด้านตะวันตกก็กลายสภาพเป็นการสู้รบที่หยุดนิ่งอยู่กับที่ด้วยแนวสนามเพลาะที่เปลี่ยนแปลงน้อยมากกระทั่ง ค.ศ. 1917 ในทางตะวันออก กองทัพรัสเซียสามารถเอาชนะกองทัพออสเตรีย-ฮังการี แต่ถูกบีบให้ถอยกลับโดยกองทัพเยอรมัน แนวรบเพิ่มเติมเปิดฉากขึ้นเมื่อจักรวรรดิออตโตมันเข้าสู่สงครามใน ค.ศ. 1914 อิตาลีและบัลแกเรียใน ค.ศ. 1915 และโรมาเนียใน ค.ศ. 1916 จักรวรรดิรัสเซียล่มสลายลงใน ค.ศ. 1917 และรัสเซียถอนตัวจากสงครามหลังการปฏิวัติเดือนตุลาคมในปีเดียวกัน หลังการรุกตามแนวรบด้านตะวันตกของเยอรมนีใน ค.ศ. 1918 กองทัพสหรัฐอเมริกาเข้าร่วมสงครามและกองทัพสัมพันธมิตรสามารถผลักดันกองทัพเยอรมันกลับไปหลังได้รับชัยชนะติดต่อกันหลายครั้ง เยอรมนีตกลงหยุดยิงเมื่อวันที่ 11 พฤศจิกายน ค.ศ. 1918 ซึ่งเป็นที่รู้จักกันในชื่อ วันสงบศึก

เมื่อสงครามยุติ รัฐจักรวรรดิใหญ่สี่รัฐ อันได้แก่ จักรวรดิเยอรมัน ออสเตรีย-ฮังการี รัสเซียและออตโตมัน พ่ายแพ้ทั้งทางการเมืองและทางทหารและสิ้นสภาพไป เยอรมนีและรัสเซียสูญเสียดินแดนไปมหาศาล ส่วนอีกสองรัฐที่เหลือนั้นล่มสลายลงอย่างสิ้นเชิง แผนที่ยุโรปกลางได้ถูกเขียนใหม่โดยมีประเทศเกิดใหม่หลายประเทศ[11]สันนิบาตชาติถูกก่อตั้งขึ้นด้วยหวังว่าจะป้องกันความขัดแย้งเช่นนี้มิให้เกิดขึ้นอีกในอนาคต ลัทธิชาตินิยมยุโรปเกิดขึ้นหลังสงรามและ

การสื้นสุดของจักรวรรดิรัสเซีย นำไปสู่การก่อตั้ง สหภาพโซเวียต อันเป็นผลมาจากการปฏิวัติรัสเซีย ต่อมา ได้มีการก่อตั้ง สันนิบาตชาติ เพื่อเป็นองค์การระหว่างประเทศที่มีจุดประสงค์เพื่อการแก้ไขปัญหาระหว่างประเทศด้วยวิธีการทางการทูต แต่ทว่าจากลัทธิชาตินิยมที่เกิดขึ้นหลังสงครามและการแตกออกของจักรวรรดิทั้งหลาย ผลสะท้อนจากความพ่ายแพ้ของเยอรมนีและปัญหาของสนธิสัญญาแวร์ซาย เป็นที่ยอมรับกันทั่วไปว่าเป็นปัจจัยในการปะทุของสงครามโลกครั้งที่สอง[12]

 

 

เบื้องหลัง

ในคริสต์ศตวรรษที่ 19 ชาติมหาอำนาจยุโรปได้ประสบปัญหากับการรักษาไว้ซึ่งสมดุลแห่งอำนาจทั่วทั้งทวีปยุโรป ซึ่งเป็นผลมาจากเครือข่ายพันธมิตรทางการเมืองและทหารอันซับซ้อนจนถึง ค.ศ. 1900[2] พันธมิตรทางการเมืองและทหารถือกำเนิดขึ้นใน ค.ศ. 1815 ด้วยพันธมิตรอันศักดิ์สิทธิ์ อันประกอบด้วยปรัสเซีย รัสเซียและออสเตรีย จากนั้น ในเดือนตุลาคม ค.ศ. 1873 นายกรัฐมนตรีเยอรมนี ออตโต ฟอน บิสมาร์ก เจรจาตั้งสันนิบาตสามจักรพรรดิระหว่างพระมหากษัตริย์ของออสเตรีย-ฮังการี รัสเซียและเยอรมนี ความตกลงดังกล่าวล้มเหลวเพราะออสเตรีย-ฮังการีและรัสเซียไม่สามารถตกลงในนโยบายเหนือคาบสมุทรบอลข่าน ทิ้งให้เยอรมนีและออสเตรีย-ฮังการีจัดตั้งพันธมิตรกันสองประเทศใน ค.ศ. 1879 เรียกว่า ทวิพันธมิตร ซึ่งถูกมองว่าเป็นวิธีตอบโต้อิทธิพลของรัสเซียในคาบสมุทรบอลข่านเมื่อจักรวรรดิออตโตมันอ่อนแอลงอย่างต่อเนื่อง[2] ใน ค.ศ. 1882 พันธมิตรนี้ขยายรวมไปถึงอิตาลีและเกิดเป็นไตรพันธมิตร[13]

หลัง ค.ศ. 1870 ความขัดแย้งในยุโรปเบี่ยงเบนไปส่วนใหญ่ผ่านเครือข่ายสนธิสัญญาที่มีการวางแผนไว้อย่างระมัดระวังระหว่างจักรวรรดิเยอรมันกับประเทศที่เหลือในยุโรปด้วยฝีมือของนายกรัฐมนตรีบิสมาร์ค เขาเน้นการทำงานเพื่อยึดรัสเซียให้อยู่ฝ่ายเดียวกับเยอรมนีเพื่อหลีกเลี่ยงสงครามสองแนวรบกับฝรั่งเศสและรัสเซีย เมื่อจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 เสด็จขึ้นครองราชย์เป็นจักรพรรดิเยอรมนี (ไกเซอร์) พันธมิตรของบิสมาร์คค่อย ๆ ถูกลดการให้ความสำคัญลง ตัวอย่างเช่น จักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 ทรงปฏิเสธจะต่อสนธิสัญญาประกันพันธไมตรีกับรัสเซียใน ค.ศ. 1890 อีกสองปีต่อมา มีการลงนามจัดตั้งพันธมิตรฝรั่งเศส-รัสเซียเพื่อตอบโต้อำนาจของไตรพันธมิตร ใน ค.ศ. 1904 สหราชอาณาจักรประทับตราเป็นพันธมิตรกับฝรั่งเศส ซึ่งเรียกว่า ความตกลงฉันทไมตรี และใน ค.ศ. 1907 สหราชอาณาจักรและรัสเซียลงนามในอนุสัญญาอังกฤษ-รัสเซีย ระบบนี้ประสานความตกลงทวิภาคี และก่อตั้งขึ้นเป็นฝ่ายไตรภาคี[2]

เอชเอ็มเอส ดรีตนอท การแข่งขันทางอาวุธกองทัพเรือเกิดขึ้นระหว่างสหราชอาณาจักรกับเยอรมนี

อำนาจทางอุตสาหกรรมและเศรษฐกิจของเยอรมนีเติบโตขึ้นอย่างมากหลังการรวมชาติและการสถาปนาจักรวรรดิใน ค.ศ. 1870 นับตั้งแต่กลางคริสต์ทศวรรษ 1890 เป็นต้นมา รัฐบาลของจักรพรรดิวิลเฮล์มที่ 2 ได้ใช้ฐานนี้ในการจัดสรรทรัพยากรทางเศรษฐกิจเพื่อสร้างกองทัพเรือจักรวรรดิเยอรมันขนานใหญ่ แข่งขันกับกองทัพเรืออังกฤษเพื่อชิงความเป็นเจ้านาวิกโลก[14] ผลที่ตามมาคือ ทั้งสองชาติต่างพยายามแข่งขันผลิตเรือรบขนาดใหญ่ระหว่างกัน ด้วยการปล่อยเอชเอ็มเอส ดรีดนอท ใน ค.ศ. 1906 จักรวรรดิอังกฤษได้ขยายความได้เปรียบเหนือเยอรมนีคู่แข่งอย่างสำคัญ[14] การแข่งขันอาวุธระหว่าอังกฤษและเยอรมนีได้ลุกลามไปยังส่วนที่เหลือของยุโรปในที่สุด โดยประเทศมหาอำนาจทั้งหมดทุ่มเทฐานอุตสาหกรรมของตนในการผลิตยุทโธปกรณ์และอาวุธที่จำเป็นสำหรับความขัดแย้งทั่วทวีปยุโรป[15] ระหว่าง ค.ศ. 1908 และ 1913 ค่าใช้จ่ายด้านการทหารของประเทศในยุโรปเพิ่มขึ้น 50 เปอร์เซนต์[16]

ออสเตรีย-ฮังการีจุดชนวนเร่งให้เกิดวิกฤตการณ์บอสเนีย ค.ศ. 1908-1909 โดยการผนวกบอสเนียและเฮอร์เซโกวีนา ซึ่งเป็นอดีตดินแดนของจักรวรรดิออตโตมัน อย่างเป็นทางการ หลังได้ยึดครองมาตั้งแต่ ค.ศ. 1878 สร้างความโกรธแค้นแก่ราชอาณาจักรเซอร์เบียและประเทศผู้ให้การสนับสนุน และจักรวรรดิรัสเซียซึ่งมีแนวคิดรวมชาติสลาฟ[17] การดำเนินกลยุทธ์ทางการเมืองของรัสเซียในภูมิภาคบั่นทอนเสถียรภาพของสันติภาพควบคู่ไปกับความแตกร้าวที่เกิดขึ้นแล้วในสิ่งที่เป็นที่รู้จักกันว่า "ถังดินปืนแห่งยุโรป"[17]

ใน ค.ศ. 1912 และ 1913 สงครามบอลข่านครั้งที่หนึ่งสู้รบกันระหว่างสันนิบาตบอลข่านและจักรวรรดิออตโตมันที่เสื่อมอำนาจลง สนธิสัญญาลอนดอนอันเป็นผลของสงครามได้ลดขนาดของจักรวรรดิออตโตมันไปอีก สถาปนาอัลเบเนียเป็นรัฐเอกราช ขณะที่เพิ่มดินแดนให้แก่บัลแกเรีย เซอร์เบีย มอนเตเนโกรและกรีซ เมื่อบัลแกเรียโจมตีเซอร์เบียและกรีซเมื่อวันที่ 16 มิถุนายน ค.ศ. 1913 บัลแกเรียก็เสียมาซิโดเนียส่วนใหญ่ให้แก่เซอร์เบียและกรีซ และเสียเซาเทิร์นดอบรูจาให้แก่โรมาเนียในสงครามบอลข่านครั้งที่สองนาน 33 วัน ซึ่งบั่นทอนเสถียรภาพในภูมิภาคยิ่งขึ้นไปอีก[18]

กัฟรีโล ปรินซีปถูกจับกุมทันทีหลังลอบปลงพระชนม์อาร์คดยุคเฟอร์ดินานด์แห่งออสเตรีย

วันที่ 28 มิถุนายน ค.ศ. 1914 กัฟรีโล ปรินซีป นักศึกษาชาวบอสเนียเซิร์บและสมาชิกของบอสเนียหนุ่ม ลอบปลงพระชนม์รัชทายาทแห่งออสเตรีย-ฮังการี อาร์คดยุคฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์แห่งออสเตรีย ในซาราเยโว บอสเนีย[19] อันเป็นจุดเริ่มต้นของการดำเนินกลยุทธ์ทางการทูตระหว่างออสเตรีย-ฮังการี เยอรมนี รัสเซีย ฝรั่งเศสและอังกฤษ เรียกว่า วิกฤตการณ์เดือนกรกฎาคม โดยต้องการยุติการเข้าแทรกแซงของเซอร์เบียในบอสเนีย ออสเตรีย-ฮังการีจึงยื่นคำขาดเดือนกรกฎาคมแก่เซอร์เบีย ซึ่งเป็นข้อเรียกร้องสิบประการซึ่งมีเจตนาทำให้ยอมรับไม่ได้ และเจตนาจุดชนวนสงครามกับเซอร์เบีย[20] เมื่อเซอร์เบียยอมตกลงในข้อเรียกร้องเพียงแปดจากสิบข้อ ออสเตรีย-ฮังการีจึงประกาศสงครามเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม ค.ศ. 1914

จักรวรรดิรัสเซีย ซึ่งไม่ต้องการปล่อยให้ออสเตรีย-ฮังการีกำจัดอิทธิพลของตนในบอลข่าน และเพื่อให้การสนับสนุนชาวเซิร์บที่อยู่ในความคุ้มครองเป็นเวลานานแล้ว จึงออกคำสั่งระดมพลบางส่วนในวันต่อมา[13] เมื่อจักรวรรดิเยอรมันเริ่มระดมพลเมื่อวันที่ 30 กรกฎาคม ค.ศ. 1914 ฝรั่งเศส ซึ่งโกรธแค้นจากการยึดครองอัลซาซ-ลอแรนของเยอรมนีระหว่างสงครามฝรั่งเศส-ปรัสเซีย จึงสั่งระดมพลเช่นกันเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม เยอรมนีประกาศสงครามต่อรัสเซียในวันเดียวกัน[21] สหราชอาณาจักรประกาศสงครามต่อเยอรมนีเมื่อวันที่ 4 สิงหาคม ค.ศ. 1914 หลัง "คำตอบซึ่งไม่น่าพอใจ" ต่อคำขาดของอังกฤษที่เรียกร้องให้เคารพความเป็นกลางของเบลเยียม[22]

วิกฤตการณ์เดือนกรกฎาคมและการประกาศสงคราม

สาส์นประกาศสงครามของจักรพรรดิไกเซอร์ วิลเฮล์มที่ 2 ของจักรวรรดิเยอรมนีในปี 1914

รัฐบาลของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี ซึ่งได้รับการสนับสนุนจากเยอรมนี ได้ยกเอาเหตุผลของการลอบปลงพระชนม์ อาร์คดยุคฟรานซ์ เฟอร์ดินานด์แห่งออสเตรีย เป็นการตั้งคำถามกับเซอร์เบีย เมื่อวันที่ 23 กรกฎาคม ค.ศ. 1914 ออสเตรีย-ฮังการีได้ยื่นคำขาดแก่เซอร์เบียโดยมีความต้องการสิบข้อ ซึ่งบางข้อนั้นเซอร์เบียเห็นว่ารุนแรงเกินไป จึงปฏิเสธคำขาดข้อที่หก เซอร์เบียนั้นไว้ใจว่าตนจะได้รับการสนับสนุนอย่างเพียงพอจากรัสเซีย จึงทำให้เกิดการปฏิเสธคำขาดบางกรณี และหลังจากนั้นก็มีการออกคำสั่งระดมพล จักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการีได้ตอบสนองโดยการประกาศสงครามเมื่อวันที่ 28 กรกฎาคม ในตอนเริ่มต้น กองทัพรัสเซียได้สั่งระดมพลเป็นบางส่วน มุ่งตรงมายังชายแดนของจักรวรรดิออสเตรีย-ฮังการี เมื่อวันที่ 31 กรกฎาคม หลังจากที่กองเสนาธิการทั่วไปของรัสเซียได้ทูลแก่พระเจ้าซาร์ว่า การส่งกำลังบำรุงแก่ทหารเกณฑ์นันเป็นเรื่องที่เป็นไปไม่ได้ จึงได้เปลี่ยนเป็นการระดมพลเต็มขนาดแทน แผนการชลีฟเฟ็นซึ่งมีเป้าหมายที่จะโจมตีสายฟ้าแลบต่อฝรั่งเศสนั้น ไม่สามารถให้รัสเซียสามารถระดมพลได้ นอกจากภายหลังกองทัพเยอรมันได้เข้าโจมตีแล้ว ดังนั้น เยอรมนีจึงประกาศสงครามกับรัสเซียเมื่อวันที่ 1 สิงหาคม และฝรั่งเศสในอีกสองวันต่อมา หลังจากนั้นเยอรมนีก็ได้ฝ่าฝืนต่อความเป็นกลางของเบลเยี่ยมโดยการเดินทัพผ่านเพื่อไปโจมตีกรุงปารีส ซึ่งส่งผลให้จักรวรรดิอังกฤษเข้าสู่สงคราม ด้วยสาเหตุนี้ ห้าในหกประเทศมหาอำนาจของยุโรป จึงเข้ามาพัวพันอยู่ในความขัดแย้งวงกว้างภายในทวีปยุโรปครั้งใหญ่ที่สุดนับตั้งแต่สงครามนโปเลียน[23]

 เส้นทางของสงคราม

 

 

 





“สงคราม ๙ ทัพ” ชี้ชะตาประเทศ ทหารไทยกลัวถูกลงครกโขลก พม่าหิวจนไม่มีแรงเดินกลับ
ประวัติ ศาลท้าวมหาพรหมเอราวัณ
น้ำตกปิตุ๊โกร อำเภออุ้มผาง จังหวัดตาก
กลุ่มอนุรักษ์ฯ จ.ประจวบฯ ค้านถอนทะเบียนพื้นที่ชุ่มน้ำ-หวั่นเปิดช่องอุตสาหกรรมเหล็ก
ตำนานลานประหารดั้งเดิมในประเทศไทย
สะพานข้ามแม่น้ำแคว
’ร้อยเอ็ด’ลุยปฏิรูปการศึกษาเร่งกระจายอำนาจถึงโรงเรียน
ปิด‘พะเนินทุ่ง-แก่งกระจาน’ให้ธรรมชาติฟื้นตัว ล่องเรือแม่น้ำเพชร-ชมเขื่อนยังเปิดให้เที่ยวได้
กฟภ.สานต่อโรดแมปขยะ สร้างนวัตกรรมถังคัดแยกขยะ
อุทยานแห่งชาติเอราวัณ
พระนางเรือล่ม พระนางผู้เป็นที่รักยิ่งของพระพุทธเจ้าหลวง
การส่งเสริมการอ่าน
ผลวิจัยชี้ จบเกียรตินิยม ไม่ช่วยให้ทำงานเก่ง ดนตรี กีฬาสำคัญกว่า
เที่ยว 3 ภูเมืองเลย สัมผัสอัศจรรย์บนยอดภู
วันสถาปนา กรุงเทพมหานคร
อาสาฬหบูชานี้ เที่ยวเมืองโบราณฟรี
แนะนำวิธีเรียนเก่ง article
เด็กไทยสุดเจ๋งติดอันดับ2 แข่งคณิตศาสตร์โลก2015
เที่ยวง่ายๆ ธรรมชาติภูเขาน้ำตกที่ เขื่อนภูมิพล
เล่าเรื่องที่มาของสิงห์หน้าพระธาตุอันเป็นเอกลักษณ์ของดินแดนล้านนา....
ปัญหาการจัดการศึกษาของไทย
ฟังเพลงสากลฮิต 24 ชม article
เพลงลูกทุ่ง article
ฟังเพลงสติง (ฮิต) 24ชม. article
ชวนเที่ยวเมืองเลย กับงานประเพณีบุญหลวง และการละเล่นผีตาโขน
สมศ.เผยผลประเมินการศึกษาไทย 5 ปีล่าสุดไร้คุณภาพ เหตุครูไม่พอ-คุณภาพต่ำ
ให้ไว...ซากูระเมืองไทยบานถึงสิ้นเดือน ม.ค.นี้ ประทับใจดอกนางพญาเสือโคร่ง “ภูลมโล” article
มรดกโลก 5 แหล่งของไทย article
อเมริกาส่งคืนโบราณวัตถุยุคบ้านเชียงกว่า 500 ชิ้นให้ไทย article
งานสัปดาห์สะพานข้ามแม่น้ำแคว 2557 article
เด็กไทยคว้าเหรียญทอง
ประวัติความเป็นมาของจังหวัดกาญจนบุรี
การศึกษาในประเทศไทย
แหล่งโบราณคดีบ้านเชียง ที่อำเภอหนองหาน จังหวัดอุดรธานี article
อุทยานประวัติศาสตร์พระนครศรีอยุธยา article
แหล่งมรดกโลกในไทย article
ตัดนาฏศิลป์จากหลักสูตร ฟังไม่ได้ศัพท์ฯ
"โครงการศึกษาและพัฒนาคุณภาพ/รูปแบบผลิตภัณฑ์ OTOP ของจังหวัดกาญจนบุรี"
สินค้า OTOP GO INTER ภาคตะวันตก
เวทีเสวนา อป.มช. จังหวัดกาญจนบุรีร่วมป้องกันและแก้ไขปัญหาสังคมเยาวชน”
แถลงข่่าว จัดงานกินกุ้งแม่น้ำแม่กลอง 4-5 พ.ค.56
สนง.ขนส่งกจ. เปิดการประมูลหมายเลขทะเบียนรถ หมวดอักษร กต จังหวัดกาญจนบุรี
หนุ่มหล่อกะซวกดับตีปากฉีก! เหตุ'ชู้สาว'
จุฬาฯเวนคืน"21ไร่" อุเทนถวายยื่นทบทวน
วันนักข่าว ชมรมนักข่าว จ.สมุทรสงคราม
คดี ปรส.หมดอายุความ ปี 2556 ทำชาติเสียหาย 8 แสนล้าน
ไอ้โม่งฟัน ผอ.โรงเรียนพยาบาลเจอยิงสวน
ยิงสวน10ไอ้โม่งบุกรร.พยาบาล ดับ1
โจรใต้ ไล่ยิงเมียตชด.ดับ
ปราจีน 2มือปืนบุกยิงเซียนพระเครื่องดับคาห้องเช่า
เทศบาลเมืองกาญจนบุรีจัดพิธียกช่อฟ้าศาลหลักเมือง
เวนคืน 2 ฝั่งแม่น้ำ ตำแหน่งเดิมทุกจุด 11 สะพานข้ามเจ้าพระยา
โจรใต้บึมร้านทองยะลา กวาด4แสน
เจ้าสำนักยันต์ หื่่น ชกท้องข่มขืนดญ. ม.2
รถตู้กรุงเทพ-กาญจน์ ซิ่งชน10ล้อดับ1
ดร.เสรี' เตือน ปชป.อย่าผยองกับชัยชนะต้องล้างภาพดีแต่พูด
รถคันแรกเริ่มเบี้ยวไฟแนนซ์-ผิดเงื่อนไขต้องคืนเงิน
นนทบุรี-โครงการคลายเครียดเพื่อสุขภาพ การกุศล
ครบรอบการก่อตั้งสมาคมนักหนังสือพิมพ์ปีที่ 42
มอบทุนการศึกษา บุตร-ธิดา สนพท.
กำหนดการประชุมใหญ่สามัญประจำปี พ.ส. 2556
90 ปี โรงเรียนวัดหวายเหนียว "ปุญสิริวิทยา"
งานพระธาตุนาดูน บึ้ม!กลางคอนเสิร์ต"โปงลางสะออน"เจ็บเพียบ!
"สุเทพ-มาร์ค"ทวงบุญคุณ"ช่อง3-สรยุทธ"
ผู้สมัครอิสระ เผาโลงประชดโพลชี้นำ
อภิสิทธิ์ ปัดสมรู้ผอ.เขต สวมสิทธิ์ชื่อผี
อภิสิทธิ์ แฉ พท.หวังขยายผลชนะเลือกตั้งผู้ว่าฯ นิรโทษ 'ทักษิณ'!
ดาบตำรวจปืนไว ดวลดับแว้น
6วัยรุ่นไล่ฆ่าปวช. แทงคว่ำ-ชิงจยย.
อ.นิติฯ ตบทอมคว่ำ แค่จอดรถขวางทาง
นักปั่นรอบโลก 2 ผัวเมีย ถูกรถชนตายในไทย
เปิดใจอดีตอาร์เคเค เข้าร่วม"ม.21"
นำร่องสร้าง60สภ. 27กพ.เคาะแจ้งพีซีซีฉ้อโกง
เอแบคแนะกกต.ร่วมมือตร.สกัดวิชามาร ระวังโพลเทียม
สรยุทธจี้ ก.ข.ร. หาตัวการสั่ง ห้ามทำธุรกรรมกับไร่ส้ม
ผบ.ทบลงใต้กำชับจนท.อย่าเผลอ
สตง.ลุยเชือดผู้บริหารเอี่ยวทุจริต อีสท์วอเตอร์ เปิดทาง
นครศรีธรรมราช คลิปเด็กสาวรุมตบเพื่อน ปมแย่งผู้ชาย
สั่งเก็บป้าย 'ชูวิทย์' แฉ ทุจริตโรงพัก ด่วน
พล.อ.เปรม อัญเชิญน้ำหลวงอาบศพ พล.ต.สนั่น
ปัตตานีวอด คนร้ายป่วนไม่เลิก! วางระเบิดเผาห้างไดอาน่ามินิมาร์ท
ลดภาระ LPG ตรึงราคาถึงมีนาคม 2556
โอเน็ต ยกเลิกฟรี 24 คะแนนวิทย์
แทงอาจารย์จุฬา-มุ่งปมขัดแย้งนศ.
นราฯ - จนท.เค้น3ชายสอบโยงถล่มฐานบาเจาะ-ยึดกระบะ
รถแอลพีจีเกิดเหตุบ่อยจ่อเลิกจดทะเบียน หนุนใช้ก๊าซเอ็นจีวี
เอม ฟ้องแหลกแก๊งตำรวจนอกรีต
นราธิวาส-ปัตตานี เคอร์ฟิว24ชม.!
น.ศ.แก้ผ้าประท้วงค้านนำมหาลัยออกนอกระบบ
โจรทุบรถ 'นุ้ย สุจิรา' ไม่รอด พบก่อคดีมาโชกโชน
ภูเก็ต-จับเรือลักลอบขนน้ำมันเถื่อน
ครูมัธยม แยกพ้นสพฐ. ปัญหาเยอะ กระทบ"คุณภาพเด็ก"
จดทะเบียนแรงงานต่างด้าว เส้นตาย 16 มี.ค.
มาครับชาบู ชาวเน็ตถาม พระฉันปิ้งย่าง กลางห้างได้?
ทุจริตสร้างโรงพัก 396 แห่ง สุเทพ เเจงไม่เกี่ยวข้อง
โครงการทางหลวงพิเศษระหว่างเมือง สายกาญจนบุรี - ชายแดนไทย/พม่า (บ้านพุน้ำร้อน)
คดีทายาทกระทิงแดงชนตำรวจตาย 5 เดือน ไม่คืบ
กำนันเป๊าะ หนี 7 ปี ติดคุก 30 ปี
ลำปาง - พายุลูกเห็บถล่มไฟดับทั้งตำบล



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน