ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




แนะ 18 เทคนิค ปราบ "เด็กดื้อ" อย่างได้ผล

แนะ 18 เทคนิค ปราบ "เด็กดื้อ" อย่างได้ผล

ว่ากันว่าเด็กในช่วง 2-12 ปี จะซนและดื้อมากที่สุด พ่อแม่พูดอะไรก็ไม่เชื่อฟัง ไม่ยอมทำตาม ยิ่งถ้าบอกว่า "อย่า" เด็กก็จะยิ่งอยากทำสิ่งนั้นมากขึ้น ยิ่งบังคับมากเท่าใด เด็กก็จะต่อต้าน และอยากเอาชนะมากเท่านั้น
       
       ในเรื่องนี้ ผศ.นพ.ปราโมทย์ สุคนิชย์ จิตแพทย์เด็กและวัยรุ่น โรงพยาบาลมนารมย์ ให้ข้อมูลว่า การที่เด็กดื้อ หรือซนเกิดจากปัจจัยหลาย ๆ อย่าง เช่นที่ตัวของเด็กเอง เพราะเด็กที่เกิดมาแต่ละคนย่อมไม่เหมือนกัน ต่างมีพื้นฐานทางด้านอารมณ์ที่แตกต่างกันไปด้วย คือว่าตามลักษณะธรรมชาติของเด็กบางคนอาจจะมีจังหวะจะโคนของตัวเอง พื้นฐานโดยทั่วไปก็จะแตกต่างกัน แต่เด็กที่ดื้อจะมีลักษณะที่เลี้ยงยากสักหน่อย มักมีอารมณ์ที่หุนหันพลันแล่น ไวต่อสิ่งเร้า มีการกินการนอนที่ไม่เป็นเวลา ซึ่งตรงนี้แต่ละคนก็จะมีพื้นฐานทางด้านอารมณ์ของตัวเองอยู่
       
       อีกสาเหตุหนึ่งที่ทำให้ "เด็กดื้อ" จิตแพทย์ท่านนี้บอกว่า เป็นเรื่องของวัย เพราะโดยปกติแล้ว ในช่วง 1-3 ปี เด็กจะมีความเป็นตัวของตัวเองสูง เมื่อเขาสามารถก้าวเดินได้ เป็นธรรมดาที่จะต้องอยากทำนู้นทำนี่ สำรวจไปทั่ว เพราะเขายังไม่เข้าใจอย่างแท้จริงว่าสิ่งแวดล้อมที่เขาเห็นอยู่นั้นคืออะไร และเด็กๆในวัยนี้มักจะคิดว่าตัวเองสำคัญที่สุด ถ้าหากว่าพ่อแม่ผู้ปกครองจัดการไม่ถูกต้อง อาจจะส่งผลทำให้เด็กดื้อต่อเนื่องยาวนานถึงระดับอนุบาลหรือประถมศึกษาได้
       
       ทั้งนี้ ผศ.นพ.ปราโมทย์ ให้ข้อแนะนำสำหรับผู้ปกครองในการช่วยแปลี่ยนแปลงพฤติกรรมและช่วยทำให้เด็กเชื่อฟังมากขึ้นด้วยวิธีการ "ทำดีมีรางวัล" โดยการตั้งกฎและให้คะแนนกับเด็กเพื่อนำไปสู่การให้รางวัล ซึ่งมี 18 วิธี ดังนี้
       
       1. แนะนำโปรแกรมในแง่บวก เช่น ควรบอกเด็กว่า อยากช่วยให้เขาทำงานได้ทัน ไม่ต้องถูกว่าหรือบ่น เป็นต้น
       
       2. ทำรายการสิ่งที่เขาต้องปฏิบัติ ไม่ให้ยาวเกินไป ไม่จุกจิกเกินไป
       
       3. ทำรายการรางวัลให้เยอะเข้าไว้ (มากกว่า 15 รางวัล) เช่น ดูหนัง เล่นเกมส์ ดูโทรทัศน์ ให้เขามีโอกาสได้รางวัลทันทีจากสิ่งในชีวิตประจำวัน และควรรวมการเพิ่มค่าขนมให้เด็กไว้ในรางวัลเสมอ
       
       4. ให้เด็กมีสิทธิได้รับเกือบทุกวัน อย่างน้อย 1 ใน 3 ของรางวัลที่ตั้ง
       
       5. ใช้เหรียญรางวัลหรือนับคะแนนดี หากเด็กอายุต่ำกว่า 4 ขวบ ไม่ควรใช้วิธีสะสมนี้ เด็กอายุ 4-7 ปี ให้สะสมเหรียญแทนคะแนน ส่วนเด็กอายุ 7 ปี ขึ้นไป ให้เก็บสะสมแต้มลงสมุดเหมือนเงินฝากดีกว่า
       
       6. ให้เหรียญหรือแต้มเท่าไหร่ดี สำหรับเด็กอายุ 4-6 ปี ควรให้ 1-5 เหรียญต่อรายการพฤติกรรม ส่วนสำหรับเด็กอายุ 7-10 ปี ใช้ 5-25 เหรียญหรือคะแนนต่อรายการ และสำหรับเด็กที่มีอายุมากกว่า 10 ปี ให้ 10 - 200 เหรียญ แต่อย่าจริงจังกับจำนวนเหรียญแต่ละครั้งเกินไป

       7. รายการที่เป็นกิจวัตร ควรได้ทำทุกวัน รายการประจำวันควรได้รางวัล 2 ใน 3 ของรางวัลทั้งวัน ส่วนที่เหลืออีก 1 ใน 3 อาจมาจากรายการพิเศษ เช่น หากคะแนนเต็ม 30 คะแนนต่อวัน ควรได้ 20 คะแนนจากงานประจำ และสามารถแลกรางวัลในชีวิตประจำวันได้ เช่น ได้ดูโทรทัศน์เพิ่ม ส่วนอีก 10 คะแนนที่เหลือ ค่อยมาช่วยคำนวณว่ากว่าจะได้รางวัลใหญ่จะใช้เวลาเท่าใด
       
       8. ให้โบนัส ถ้าตั้งใจดี ใส่ลงในข้อสุดท้ายของรายการตัวโตๆ ว่า "ตั้งใจและพยายาม" และ "โบนัส" ของเด็กว่า ไม่ใช่แค่ทำเสร็จให้ได้รางวัล แต่ถ้าพยายามและตั้งใจด้วย ผลงานดี ไม่บ่น ก็มีรางวัลพิเศษให้ด้วยการเพิ่มเหรียญตามแต่ที่พ่อแม่เห็นสมควร ช่วยให้ทั้งพ่อแม่และเด็กเห็นความสำคัญกับความพยายามและความตั้งใจ นอกไปจากความสำเร็จ
       
       9. เด็กมีโอกาสแลกรางวัลประจำ จะทำให้เด็กอยากได้ อยากทำ
       
       10. ให้เหรียญต่อเมื่อไม่ต้องเตือนซ้ำซาก พูดครั้งแรกก็ทำ แต่ถ้าต้องเตือนซ้ำก็อดได้ ถ้าเขาไม่ทำเลย เขาไม่มีโอกาสได้รางวัลในสัปดาห์แรก แต่ถ้าเฉยในสัปดาห์ที่ 2 เขาจะถูกปรับ
       
       11. ให้เหรียญเมื่อทำดีได้ไม่อั้น เมื่อไรที่เด็กทำดี แม้จะไม่มีปรากฏในรายการ โดยเฉพาะเมื่อเด็กอาสาทำเอง พ่อแม่ควรฉวยโอกาสทำเป็นเรื่องใหญ่ ให้รางวัลทันที
       
       12. พยายามงดการปรับในช่วงสัปดาห์แรกๆ ซึ่งมักเกิดขึ้นเมื่อพ่อแม่เห็นว่าการให้รางวัลล่อใจเด็กมากเกินไปแล้วเด็กไม่ทำตาม จึงแก้ปัญหาด้วยการขู่หรือปรับเด็ก ซึ่งไม่ควรทำเพราะเด็กจะรู้สึกว่าโปรแกรมนี้เป็นการลงโทษมากกว่า

ขอบคุณภาพประกอบข่าวจากรพ.มนารมย์
       13. เมื่อต้องปรับให้ใช้กฎ 2:1 หลังจากสัปดาห์แรกไปแล้ว พ่อแม่จะเริ่มปรับหากเด็กไม่ทำตามที่บอก ซึ่งควรเริ่มดังนี้ เมื่อหลังจากพ่อแม่พูดแล้ว 10 วินาที หากเด็กยังไม่มีท่าทีขยับจะทำ ก็จะถูกเตือนว่าจะอดได้เหรียญ และหากต้องสั่งครั้งที่สอง จะถูกปรับเหรียญจากบัญชีสะสมของเขา และหากต้องสั่งครั้งที่สามก็ควรแยกเด็กออกไปอยู่ในมุมสงบ ไม่มีสิ่งกระตุ้น (time-out) เมื่อเริ่มลงโทษปรับ พ่อแม่ควรใช้กฎ 2:1 คือ เหรียญรางวัลที่เด็กจะได้จากการทำดีควรเป็น 2 เท่า ของที่ถูกปรับไปใน 24 ชั่วโมง ถัดมา ทั้งนี้เพื่อคงแรงจูงใจกับเด็ก ให้เด็กเห็นว่าเราอยากให้เขาทำดี มากกว่าการลงโทษเมื่อผิด
       
       14. พ่อแม่ควรระวังการเข้าสู่วังวนของการลงโทษ ซึ่งมักต่อเนื่องจากเมื่อพ่อแม่เริ่มลงโทษปรับ เด็กจะโกรธต่อต้าน พ่อแม่ควรลงโทษปรับเพียง 2 ครั้ง ถ้ามีกิริยาไม่ดี ก็เพิกเฉย แล้วส่งเด็กไป time-out แทน
       
       15. พ่อแม่ควรมีจำนวนเหรียญรางวัลต่ำสุดในแต่ละวัน เนื่องจากพ่อแม่บางคน "หวง" รางวัลเกินไป และยังกระตุ้นให้พ่อแม่คอยมองหาพฤติกรรมดีๆ ของเด็กอยู่เรื่อยๆ ด้วย
       
       16. ถ้าไม่ได้หรือไม่มีสิทธิ์ได้ คือ เมื่อเด็กได้เหรียญสะสมไม่ถึงขั้นที่จะได้ของหรืออภิสิทธิ์บางอย่าง ก็ไม่ควรให้ แม้จะอาละวาดเพียงใด หรือต่อรองเพียงใด พยายามรักษาระบบไว้
       
       17. ปรับปรุงรายการรางวัลทุก 2-3 สัปดาห์ โดยเฉพาะถ้าเห็นว่ารางวัลบางอย่างไม่ได้รับความสนใจจากเด็กเลย ควรหาสิ่งใหม่ที่จูงใจกว่ามาใส่แทน
       
       18. เก็บสะสมคะแนนเพื่อออกจากระบบโปรแกรมนี้ พ่อแม่ควรใช้ระบบสะสมรางวัลอย่างเคร่งครัดอยู่ 6-8 สัปดาห์ ถ้าทำได้ดีจริง เด็กจะเริ่มเคยชินกับการปฏิบัติตัวเหล่านี้ เราอาจเริ่มถอนรายการพฤติกรรมบางอย่างออก โดยชมเขาว่าที่ผ่านมาเขาทำดีมาก แต่เรายังจะสังเกตเขาอยู่ห่างๆ และเพื่อดึงแรงจูงใจของเด็กไว้ ภายในหนึ่งปี พ่อแม่ควรปรับปรุงโปรแกรมทั้งรายการพฤติกรรม และรางวัลหลายๆ ครั้ง
       
       ทั้งหมดเป็นเคล็ดลับการช่วยให้ระบบทำดีมีรางวัล ได้ผลยิ่งขึ้น ซึ่งก็คงเหมือนการปรุงอาหาร แต่ละบ้านคงมีวิธีปรุงให้รสชาติถูกปากสมาชิกครอบครัวต่างๆ กันไป ซึ่งขั้นตอนเหล่านี้จะช่วยเด็กได้จริง เชื่อว่าจากเด็กที่ซุกซนไม่เชื่อฟังจะกลายเป็นเด็กน่ารักยอมเชื่อฟังและอยู่ในกฎกติกาขึ้นอีกเป็นกอง




แพทย์ วิสัญญี เภสัชกร ยาแผนปัจจุบัน การดูแลผู้ป่วย สาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ

ควรทานยาปฏิชีวนะให้ครบ
ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
โรคฉี่หนู
อย่ากินแอปเปิ้ลไซเดอร์ถ้าไม่รู้ 4.5 ข้อนี้ article
ผิวดำง่ายมากเกิดจาก 6 ข้อนี้ article
กินอาหารแล้วอ้วนจริงหรือ article
เอ็นข้อศอกอักเสบ เกิดจากอะไร? article
เจาะลึกกระบวนการ 'ทดลองยาในคน' article
กว่าจะเป็นยา ต้องผ่านขั้นตอน อะไรบ้าง? article
5 โรคร้ายรักษาง่ายๆด้วย ข้าวกล้อง article
เคล็บลับนอนหลับง่ายๆโดยไม่ต้องใช้ยา article
5 อาหารไขมันสูงยิ่งกินยิ่งผอม article
มือชา รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
กระดูกพรุน รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
เท้าปุก คืออะไร? รักษาอย่างไร? article
กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
ปวดหลังร้าวลงขา นั่งไม่ได้ รักษาอย่างไร? article
โรคท้องผูก ลำไส้ทำงานอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
การรับมือกับโรคมะเร็ง article
โรคหลอดเลือดหัวใจในหนุ่มสาว article
การจัดการโรคไตเรื้อรัง และสิ่งที่เชื่อผิดๆ article
น้ำดื่มบำรุงไต ไม่อยากฟอกไตต้องดู article
5 ความเชื่อผิดๆที่ทำให้ลดน้ำหนักไม่มีวันสำเร็จ article
7 วิธีควบคุมความดันโดยไม่ต้องพึ่งยา article
3 เทคนิคลดความอ้วน “#ไม่ต้องออกกำลังกาย” article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน