ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




จาก ฮิโรชิมา สู่ สยาม การรับรู้เรื่องพลังงานปรมาณูในสังคมไทย (เล่มแรก 1 )

ฮีโรซิมาสู่สยามการรับรู้เรื่องพลังงานปรมาณูในสังคไทย                                                             

                                                                

พลังงานปรมาณู หรือนิวเคลียร์ ตามที่เรียกกันได้รับการกล่าวขานกันอย่างมากจากสื่อแขนงต่างๆ นับตั้งแต่เหตุการณ์หลังจากประเทศญี่ปุ่นประสบพิบัติภัยจากสึนามิเมื่อเดือนมีนาคมที่ผ่านมา นอกจากจะสูญเสียชีวิตประชาชนและทรัพย์สินจำนวนมากแล้ว ยังก่อให้เกิดวิกฤติโรงไฟฟ้านิวเคลียร์ที่เสียหายจนยากจะซ่อมแซม ซึ่งสร้างความหวาดกลัวถึงผลกระทบจากการรั่วไหลของกัมมันตภาพรังสีที่มีต่อประชาชนและสิ่งแวดล้อมของโลก สำหรับเมืองไทยแล้ว มีการรับรู้เรื่องพลังงานปรมาณูมากว่า ๕๐ ปีแล้ว โดยบทความนี้จะเป็นการสำรวจการรับรู้เรื่องดังกล่าวในสังคมไทยช่วงประมาณ ๑๐ ปีหลังสงครามโลกครั้งที่ ๒ ยุติลง อันเป็นยุคแรกที่สังคมไทยทราบถึงการมีอยู่ของพลังงานชนิดนี้ และเพื่อให้ทราบถึงปฏิกิริยาจากหน่วยงานที่เกี่ยวข้องในยุคนั้น

                                               พลังงานปรมาณูมาจากไหน  

 พลังงานปรมาณูเกิดจากการแตกตัว (Fission) หรือการหลอมตัว (Fusion) ของกัมมันตรังสีจำนวนเล็กน้อย เช่น ธาตุยูเรเนียม ซึ่งเป็นโลหะที่พบทั่วไปในโลก เมื่อทำให้บริสุทธิ์แล้วจะสามารถนำมาทำเป็นระเบิดนิวเคลียร์ได้ นอกจากนี้ยังมีพลูโตเนียม ได้จากการ เผาŽ ยูเรเนียมในเตาปฏิกรณ์ปรมาณู เมื่อธาตุเหล่านี้แตกตัวหรือหลอมตัวจะสามารถปล่อยพลังงานออกมามหาศาล๑

 กรณีการแตกตัวของธาตุกัมมันตรังสี (Fission) ซึ่งโลกได้ประจักษ์จากเหตุการณ์ที่เมืองฮิโรชิมาและนางาซากิ เมื่อปี พ.ศ. ๒๔๘๘ เกิดจากการที่อนุภาคนิวตรอนวิ่งไปกระทบกับโมเลกุลของยูเรเนียมซึ่งจะทำให้ยูเรเนียมแตกตัวออกเป็น ๒ ส่วน ขณะเดียวกันก็เกิดนิวตรอนใหม่หลายตัว ซึ่งจะวิ่งไปกระทบกับโมเลกุลอื่นของยูเรเนียมก่อให้เกิดเป็นปฏิกิริยาลูกโซ่อย่างรวดเร็ว ทำให้เกิดพลังงานความร้อนมหาศาล ตลอดจนกัมมันตภาพรังสีจำนวนมากขณะระเบิด๒

                                      อาวุธนิวเคลียร์กับสงครามโลกครั้งที่ ๒

อาวุธนิวเคลียร์เป็นผลสำเร็จของการพัฒนาพลังงานปรมาณูมาใช้อย่างทำลายล้าง โลกได้ประจักษ์ถึงความร้ายแรงของพลังงานชนิดนี้จากสงครามโลกครั้งที่ ๒ โดยที่สหรัฐอเมริกาเป็นผู้หยิบยื่นมหันตภัยชนิดนี้ให้กับญี่ปุ่นเนื่องมาจากสถานการณ์ทางการเมืองระหว่างญี่ปุ่น สหรัฐอเมริกา และรัสเซีย

 ในช่วงใกล้สิ้นสุดสงครามโลกครั้งที่ ๒ กองทัพญี่ปุ่นอยู่ในสภาพบอบช้ำจากการพ่ายแพ้แก่ฝ่ายสัมพันธมิตรหลายสมรภูมิบริเวณมหาสมุทรแปซิฟิกติดต่อกัน๓ ระหว่างนั้นสหรัฐอเมริกาได้ยื่นข้อเสนอให้ญี่ปุ่นยอมแพ้แบบไม่มีเงื่อนไขภายใต้ชื่อ คำประกาศแห่งปอตสดัม ซึ่งออกมาในวันที่ ๒๖ กรกฎาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ โดยมีอังกฤษและจีนร่วมกับสหรัฐอเมริกา ส่วนทางฝ่ายญี่ปุ่นได้ขอความช่วยเหลือจากรัสเซียแม้รัสเซียจะแสดงท่าทีปฏิเสธก็ตาม ประกอบกับลัทธิคอมมิวนิสม์เริ่มเป็นที่แพร่หลายในกลุ่มชนชั้นนำของรัฐบาลทั้งนักการเมืองและนักการทหาร อีกทั้งลัทธินี้ยังมิได้ขัดกับอุดมการณ์ความเป็นชาติของญี่ปุ่นแต่อย่างใด และเป็นไปได้ยากที่นายทหารญี่ปุ่นในรัฐบาลจะยอมรับได้เนื่องจากข้อตกลงปอตสดัมยังกำหนดให้บรรดาอาชญากรสงครามต้องถูกลงโทษ ซึ่งก็คือบรรดานายทหารในรัฐบาล ทำให้ข้อตกลงฉบับนี้ไม่ได้รับการยอมรับ ส่งผลให้การเจรจายืดเยื้อไปอีก ๑ สัปดาห์๔ ดังนั้นเพื่อให้สงครามยุติเร็วขึ้น ฮิโรชิมาจึงเป็นเมืองแรกที่ได้รับการทดลองจากสหรัฐอเมริกาเมื่อวันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๘

 ขณะเดียวกันรัสเซียได้แสดงท่าทีที่แท้จริงด้วยการปฏิเสธการเป็นตัวกลางไกล่เกลี่ยยุติสงครามให้กับญี่ปุ่นพร้อมกับขอยกเลิกสัญญาไม่รุกรานกับญี่ปุ่นแล้วหันมาประกาศสงครามแทน๕ เมื่อวันที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ โดยยกกำลังเข้าโจมตีกองทัพกวานตุงของญี่ปุ่นซึ่งประจำการอยู่ที่แผ่นดินจีนในเขตแมนจูเรีย๖ ปฏิกิริยาเช่นนี้ของรัสเซียกลับมีส่วนเร่งรัดให้สหรัฐอเมริกาใช้ระเบิดชนิดใหม่กับเมืองนางาซากิในวันเดียวกัน ทั้งนี้อาจเป็นเพราะสหรัฐอเมริกาไม่ต้องการให้อิทธิพลของรัสเซียมีเหนือญี่ปุ่น (รวมถึงในเขตแมนจูเรียของจีนด้วย) ขณะที่แนวคิดคอมมิวนิสต์จากรัสเซียเริ่มแพร่หลายในกลุ่มชนชั้นนำของรัฐบาลญี่ปุ่นดังกล่าว สหรัฐอเมริกาจึงใช้ชีวิตมนุษย์จำนวนมหาศาลเป็นเครื่องมือเตือนรัสเซียล่วงหน้าถึงนโยบายทางการเมืองของตน หรืออีกด้านหนึ่งก็คือสงครามเย็นอันเป็นสงครามระหว่างอุดมการณ์ของโลกเสรีและค่ายคอมมิวนิสต์เกิดขึ้นโดยสหรัฐอเมริกาช่วงปลายสุดของสงครามโลกครั้งที่ ๒ นั่นเอง

สหรัฐอเมริกาเลือกเมืองที่จะใช้เป็นสถานที่ทดลองอาวุธชนิดใหม่โดยต้องเป็นเมืองที่ยังไม่ถูกทำลายและมีประชากรหนาแน่น ซึ่งในเบื้องต้นมีจำนวน ๕ เมือง คือ เกียวโต ฮิโรชิมา นางาซากิ นิคาตะ และโคคุระ ต่อมาเมืองเกียวโตถูกตัดออกไปจากตัวเลือกเพราะมีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ของญี่ปุ่นและอาจสร้างความแค้นให้กับญี่ปุ่นหากสหรัฐอเมริกาเลือกโจมตีเมืองนี้ ส่วนเมืองนิคาตะก็ไม่ถูกเลือกเช่นกัน เพราะอยู่ในชนบทเป็นแหล่งผลิตข้าวมีประชากรไม่หนาแน่น

 เช้าวันที่ ๖ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ วันที่ท้องฟ้าปลอดโปร่งของเมืองฮิโรชิมา เครื่องบินของกองทัพสหรัฐอเมริกาชื่อ อีนอลา เกย์Ž (Enola gay) บรรทุกระเบิดปรมาณูชื่อ ลิตเติ้ล บอยŽ (Little boy) หนัก ๔ ตัน ใช้ยูเรเนียม 235 เป็นแหล่งพลังงาน มีอานุภาพเทียบเท่าระเบิด TNT หนัก ๑๕,๐๐๐ ตัน มาทิ้งที่เมืองฮิโรชิมาเวลา ๐๘.๑๕ นาฬิกา วิธีปลดระเบิดคือตั้งเวลาให้ระเบิดกลางอากาศเพื่อให้รัศมีแผ่ทำลายวงกว้างมากที่สุด โดยระเบิดจะจุดระเบิดเมื่อทิ้งไปแล้ว ๔๓ วินาที เหนือพื้นดิน ๖๘๐ เมตร มีเป้าหมายอยู่เหนือโรงพยาบาลชิมะกลางกรุงฮิโรชิมา ทำลายพื้นที่ในรัศมีกว่า ๑๐ กิโลเมตร ประชากรกว่า ๖๖,๐๐๐ คน เสียชีวิตทันที อีกประมาณกว่า ๗๐,๐๐๐ คน บาดเจ็บจากรังสีความร้อน และมีการประมาณจำนวนผู้เสียชีวิตในปลายปีเดียวกันอยู่ที่ ๑๔๐,๐๐๐ คน๗

 ต่อมาในวันที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ เมืองนางาซากิก็ได้รับผลจากอาวุธนิวเคลียร์เช่นกันเมื่อเครื่องบินบรรทุกระเบิดปรมาณูชื่อ แฟทแมนŽ (Fat man) หนัก ๔.๕ ตัน ใช้พลูโตรเนียม 239 เป็นแหล่งพลังงาน มีอานุภาพเทียบเท่ากับระเบิด TNT หนัก ๒๑,๐๐๐ ตัน ระเบิดถูกจุดชนวนด้วยวิธีการเดียวกับที่เมืองฮิโรชิมา มีผู้เสียชีวิตทันทีประมาณ ๓๙,๐๐๐ คน บาดเจ็บกว่า ๒๕,๐๐๐ คน และคาดการณ์ว่ามีผู้เสียชีวิตในปีนั้นกว่า ๗๐,๐๐๐ คน ไม่รวมผู้คนอีกนับหมื่นที่ต้องทุกข์ทรมานกับกัมมันตภาพรังสี๘

ความร้ายแรงของอาวุธนิวเคลียร์ครั้งแรกของมนุษยชาติเป็นสิ่งที่เกินความคาดหมายของผู้ประสบภัยจากทั้ง ๒ เมือง ปรากฏความตอนหนึ่งจากหนังสือ บันทึกฮิโรชิมา ของนายแพทย์มิจิฮิโกะ ฮาจิยา ผู้อำนวยการโรงพยาบาลฮิโรชิมา ซึ่งได้รับบาดเจ็บสาหัสจากเหตุการณ์ครั้งนี้ 

 เมื่อวานผู้คนที่ได้รับบาดเจ็บจำนวนมากหนีลงไปในแม่น้ำหลังบ้านอย่างไม่ขาดสาย ผมเองไม่สามารถจะทนมองภาพเหล่านั้นได้ เพราะหน้าตาและมือของแต่ละคนโดนไฟไหม้เสียจนมองไม่รู้ว่าเป็นอะไร นอกจากนั้นบางคนยังหน้าบวมเป่ง แถมผิวหนังลอกออกมาเป็นแผ่น บางคนหนังย้อยลงมาจนเห็นแล้วอยากอาเจียนให้ได้ ฝูงคนที่เดินไปมาตามถนนอยู่ตลอดคืนนั้นคล้ายกับฝูงมดที่กำลังเคลื่อนขบวนทีเดียว เมื่อเช้าขณะที่ผมผ่านมาก็พบผู้ป่วยประเภทเดียวกันอยู่ทั่วไปนอนสุมกันอยู่ตามริมถนน จนบางตอนเดินผ่านไม่ได้เอาทีเดียว อย่าว่าแต่คนและตึกรามบ้านช่องเลย แม้แต่โคมไฟหินก็ยังโดนไหม้นี่ซินึกไม่ถึงเอาจริงๆŽ๙

 ชาวเมืองฮิโรชิมาและนางาซากิล้วนได้รับประสบการณ์โดยตรงจากพิษภัยของระเบิดปรมาณูจากการบาดเจ็บจากความร้อน เช่น แผลพุพอง ผิวหนังไหม้เกรียม และบาดแผลจากการระเบิด ทั้งจากแรงระเบิดโดยตรงและจากสิ่งปรักหักพังของผู้ที่อยู่ในรัศมีการระเบิด เป็นสิ่งที่พบเห็นได้ทันทีภายหลังการทำลายล้างผ่านพ้นไป แต่สิ่งที่ตามมาคือผลระยะยาวจากสิ่งที่เรียกว่า โรคกัมมันตรังสี๑๐ เห็นได้จากบันทึกของ ดร. ทากาชิ นากาอิ นักฟิสิกส์แผนกหัวหน้ารังสีวิทยาของโรงเรียนแพทย์แห่งมหาวิทยาลัยนางาซากิ อาศัยประสบการณ์ด้านรังสีวิทยาถ่ายทอดสาเหตุของอาการเจ็บป่วยของผู้คนจากอาวุธร้ายแรงชนิดใหม่ที่ทำลายล้างเมืองนางาซากิ ว่า

 ผมยังค่อนข้างแน่ใจว่าการได้รับบาดเจ็บอย่างสาหัสเพราะรังสีนิวตรอนเป็นสาเหตุนั้น สามารถเกิดขึ้นได้อย่างแน่นอน และเพราะปฏิกิริยาทางชีวภาพจากนิวตรอนมีความรุนแรงกว่าปฏิกิริยาจากรังสีแกมมามาก ผลที่เกิดกับผู้ป่วยจึงน่าสยดสยองอย่างยิ่ง นอกจากนั้น...ระยะเวลาของการที่ร่างกายฟ้องอาการออกมาก็แตกต่างกันออกไป ทั้งนี้ขึ้นอยู่กับว่าเป็นส่วนไหนที่ได้รับผลกระทบ เพราะแต่ละส่วนของร่างกายมีระยะเวลาก่อนการแสดงอาการไม่เท่ากัน

เป็นเรื่องแย่มากที่เราไม่อาจรู้ว่าเมื่อไหร่และอาการแบบไหนจะเกิดตามมา...ผมหนาวเยือกไปทั่วตัวเมื่อคิดถึงสิ่งเหล่านี้... ระเบิดปรมาณู...! รังสีจากนิวตรอน... และอาการแห่งโรคอะตอมมิก!!Ž๑๑

อาการของ โรคอะตอมมิกŽ หรือโรคกัมมันตรังสี นั้นเป็นเรื่องใหม่ที่ชาวเมืองทั้ง ๒ แห่งต้องเผชิญ และสร้างความแปลกใจให้กับแพทย์ที่ทำการรักษา เพราะผู้ป่วยจำนวนมากเสียชีวิตอย่างไม่ทราบสาเหตุและมักประกอบด้วยอาการ ๕ อย่าง คือ อ่อนเพลีย เบื่ออาหาร คลื่นไส้ ท้องร่วง และอาเจียน ประสบการณ์โดยตรงเช่นนี้ทำให้เกิดกระบวนการค้นคว้าอย่างเร่งด่วนท่ามกลางซากปรักหักพัง โดยเฉพาะที่เมืองฮิโรชิมา มีการชันสูตรศพผู้เสียชีวิตในช่วงปลายเดือนสิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ จนกระทั่งมีการออก แถลงการณ์เกี่ยวกับโรคปรมาณูŽ โดยโรงพยาบาลฮิโรชิมา กล่าวถึงสาเหตุของการเสียชีวิตที่สำคัญจากกัมมันตรังสีคือ จำนวนเม็ดโลหิตขาวลดลงและมีภูมิต้านทานต่ำ พร้อมกันนั้นยังได้เสนอวิธีการรักษาเบื้องต้นด้วยการรักษาความสะอาดของบาดแผลให้ดี นอกจากนี้ในต้นเดือนกันยายนของปีเดียวกันก็มีการบรรยายถึงพิษภัยและสาเหตุของโรคกัมมันตรังสีจากบรรดานายแพทย์ที่ศึกษาผู้ป่วยจากกัมมันตรังสี โดยใช้ซากอาคารที่หลงเหลือจากการทำลายล้างเป็นเวทีทางวิชาการ๑๒

 ขณะที่ญี่ปุ่นได้รับประสบการณ์จากพิษภัยของปรมาณูโดยตรง ในทางตรงกันข้ามสังคมไทยกลับรับรู้เรื่องนี้น้อยมาก โดยเฉพาะช่วงเดือนแรกของเหตุการณ์ที่ฮิโรชิมา เห็นได้จากสังคมไทยรับรู้เหตุการณ์นี้หลังผ่านมาแล้วถึง ๓ วัน คือ วันที่ ๙ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ หนังสือพิมพ์ไทยใหม่จึงได้เผยแพร่ข่าวความพินาศของเมืองฮิโรชิมาโดยอาศัยแหล่งข่าวจากญี่ปุ่นอีกทอดหนึ่ง อีกทั้งท่าทีของรัฐบาลก็มิได้ใส่ใจกับปัญหาความร้ายแรงของมหันตภัยชนิดนี้ เมื่อมีการนำประเด็นระเบิดปรมาณูจากหน้าหนังสือพิมพ์วันเดียวกันมาตั้งกระทู้ในสภาผู้แทนราษฎรโดย ร้อยโทประจวบ มหาขันธ์ (ส.ส. อุดรธานี) ถามต่อ นายควง อภัยวงศ์ นายกรัฐมนตรีขณะนั้น ซึ่งท่านนายกฯ ชี้แจงว่าไม่มีข้อมูลและไม่สามารถให้คำตอบได้ พร้อมกับแสดงทัศนะของตนว่า เมื่อตูมเข้ามาก็แหลกละเอียดไปหมด จะรู้ได้อย่างไรว่าอะไรเป็นอะไร ถ้ามันมาอยู่เป็นก้อนก็รู้ แต่นี่มันตูมแล้วหาตัวไม่ได้Ž๑๓

 ท่าทีของรัฐบาลยังปรากฏต่อมาในวันที่ ๑๓ สิงหาคม พ.ศ. ๒๔๘๘ เมื่อญี่ปุ่นประกาศสงบศึกเนื่องจากระเบิดปรมาณู ขณะเดียวกันข่าวการทิ้งระเบิดปรมาณูที่เมืองนางาซากิเพิ่งมาถึงประเทศไทย ที่ประชุมคณะรัฐมนตรีจึงอภิปรายเรื่องเหตุการณ์ระเบิดปรมาณูของเมืองทั้ง ๒ แห่ง แต่ประเด็นหลักกลับเป็นการแสดงความไม่พอใจต่อรัฐบาลญี่ปุ่นที่ยุติสงครามโดยไม่ได้แจ้งไทยในฐานะพันธมิตรทราบก่อน โดยมิได้กล่าวถึงผลเสียหายต่อชีวิตและทรัพย์สินของผู้คนจากอานุภาพของระเบิดปรมาณูแต่อย่างใด รวมทั้งหนังสือพิมพ์ที่ออกในระยะใกล้เคียงกันก็มุ่งเสนอข่าวของระเบิดปรมาณูในด้านที่เป็นผลประโยชน์กับมนุษยชาติมากกว่าผลร้ายแรงจากการทำลายล้าง

 การแสดงออกของรัฐบาลและสื่อในข้างต้นนั้นเป็นไปตามสถานการณ์ทางการเมืองและประสบการณ์ทางสังคมของยุคสมัย เพราะรัฐบาลไทยกังวลกับสถานะทางการเมืองหลังจากพันธมิตรคือญี่ปุ่นที่ประกาศยุติสงคราม ซึ่งสร้างความวิตกให้กับภาครัฐอย่างมาก ประกอบกับสังคมไทยมิได้มีประสบการณ์โดยตรงจากการทำลายล้างเช่นเดียวกับญี่ปุ่นมาก่อน รวมไปถึงการขาดเทคโนโลยีของการเสนอภาพข่าวที่ล้าสมัยทำให้คนไทยขาดการรับรู้ถึงความร้ายแรงของระเบิดปรมาณู อีกทั้งทิศทางการนำเสนอข่าวต้องมีการคัดเลือกก่อนนำมาเผยแพร่โดยสัมพันธ์กับสถานการณ์ทางการเมืองของโลก เมื่อญี่ปุ่นแพ้สงครามแล้ว แหล่งข่าวจึงมาจากฝ่ายสัมพันธมิตรที่ชนะสงคราม๑๔




ภัย ชีวิตและทรัพย์สินต่างๆ อย่าประมาท เกิดง่าย ดำรงค์ชีวิตยาก การเกิดเป็นทุกข์ในโลก (ระวังๆๆๆๆๆๆๆ

มาแล้ว! 'พายุโมลาเบ' เข้าไทยวันนี้ อีสานโดนก่อน เตือนทั่วไทยฝนตกหนัก 28-30 ต.ค.63 article
ผู้ว่าฯแจ้งเตือนชาวโคราช 14 อำเภอ ต้องระบายน้ำเขื่อนลำพระเพลิง-ลำตะคอง รับมือพายุโมลาเบ article
เตือนใช้เครื่องทำน้ำอุ่นระบบแก๊ส ต้องเปิดพัดลมระบายอากาศ หลังพบคนวูบคาห้องน้ำ 3 รายที่ภูทับเบิก article
เตือนรับมือไต้ฝุ่น 'โมลาเบ' ทั่วไทยฝนตกหนัก 28-30 ต.ค.63 article
ฝุ่น PM 2.5 คัมแบ็ค! เตือนชาวกรุงรับมือ ค่าฝุ่นพุ่งเกินมาตรฐาน ตั้งแต่เช้าตรู่ article
เตือนไวรัส RSV ระบาดหนักกว่าโควิด เด็กป่วยเพียบ ยิ่งอายุน้อยยิ่งรุนแรง article
เตรียมรับมือพายุลูกใหม่ 'โมลาเบ' เตือนอีสานอาจเจอฝนตกหนัก 29-31 ต.ค.63 article
เตือนภัย หญิงเร่ร่อนสุดแสบ ขโมยอาหารทะเลหน้าร้าน ชาวบ้านแฉพฤติกรรมสุดเอือม article
ลุยโค่นต้นตีนเป็ดริมถนน ส่งกลิ่นเหม็น ทำชาวบ้านป่วยทางเดินหายใจ article
รีบซักผ้า! ช่วงนี้ไทยฝนลดลง ก่อนพายุ 'โซเดล' มาถล่มอีกลูก 25-26 ต.ค.นี้ article
ปีนี้หนาวเร็ว! อุตุฯจ่อประกาศไทยเข้าสู่ฤดูหนาวสัปดาห์นี้ ชี้ 22-26 ต.ค. อุณหภูมิลดอีก 2-3 องศา article
หนุ่มอุ้มหมานั่ง จยย. หมาตกใจโดดหนี เจ้าของคว้าพลาดตก จยย. ถูกรถพ่วงเหยียบร่างทั้งคนและสุนัข article
อุตุฯชี้ไทยมีฝนลดลง แต่ยังตกหนักในบางพื้นที่ภาคใต้ article
ภาคกลาง-ตะวันออก เจอน้ำท่วมหนัก สระแก้ววิกฤตสุดในรอบ 8 ปี article
ไม่ใช่ไฝ! คันมือไม่หาย มีจุดดำๆนึกว่าไฝ สุดสะพรึงที่แท้เป็นเห็บเกาะหลายวัน article
มากับฝน! สยองฝูงปลิงควายอาละวาดดูดเลือดชาวบ้านทั้งชุมชน article
ผู้ว่าสั่งล็อกดาวน์ 2 ชุมชนในแม่สอด หลังครอบครัวเมียนมาติดโควิดเพิ่มอีก 3! article
โคราชวิกฤต อ่างเก็บน้ำลำตะโง่แตก-น้ำใกล้ล้นเขื่อนลำตะคอง พ่อเมืองแจ้งด่วน 11 อำเภอรับมือวิกฤตน้ำ article
เตือนโควิดระบาดหนักในฤดูหนาว ติดเชื้อทั่วโลกใกล้ 40 ล้านคน article
5 กลลวง ชวนเล่นพนันออนไลน์ article
เตือน! "ลานีญา" รุนแรง ไทยเตรียมรับพายุ 5 ลูก ถล่ม article
เล็งเปิด 4 จว. รับนักท่องเที่ยวกลุ่มเสี่ยงต่ำกักตัวโควิด-19 article
บช.น.แนะเลี่ยง 5 เส้นทางหลัก ชุมนุม 14 ต.ค.นี้ - เตรียมกำลัง-เครื่องกีดขวาง สกัดม็อบบุกทำเนียบ article
ชาวบ้านพังงาผวา! เจอจระเข้ 4 ตัวว่ายข้ามคลอง ฝากหลักฐานเป็นรอยเท้าไว้ริมตลิ่ง article
อีก 2 กม.จะถึงวัด...จากงานบุญเป็นงานศพ ฟังเสียงผู้รอดชีวิต เหตุรถไฟชนรถบัสกฐิน ดับแล้ว 18 เจ็บระนาว article
ฮือจี้ปิดด่านแม่สอด ผวาโควิดเมียนมา อย่าเห็นแก่การค้า หลังคนขับรถบรรทุกติดเชื้อ 2 ราย article
อึ้ง! ซื้อชาไทยตลาดนัดสันกำแพง แช่ตู้เย็นข้ามคืน กลายเป็นยางยืดหนืดกินไม่ได้ article
หมาจรจัดวิ่งไล่กัดเด็กในโรงเรียน เจ็บ 6 คน ชาวบ้านเดินผ่านก็โดน จนท.เข้าจับหมาแล้ว article
เตรียมแจ้งข้อหา ม.5 ข่มขืนรุ่นน้อง ม.1 ในรร. แม่ใจสลาย ลั่นเอาเรื่องถึงที่สุด พบเคยก่อเหตุทำอนาจาร article
เสื่อม! ยายแท้ๆพาหลานค้ากาม อ้างหาเงินใช้หนี้ แม่สุดเจ็บปวดต้องแจ้งจับแม่ตัวเอง article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน