ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




คนชรายอดพุ่ง ลูกคนเดียวยุ่ง article

คนชรายอดพุ่ง ลูกคนเดียวยุ่ง

 

 

สโรทร - วีระชัย

ถ้า​ขอ​พร​ได้​ดัง​ใจ​หวัง หลาย​คน​คง​ขอ​ให้​ตัว​เอง​​อายุยืน​อย่างมี​ความ​สุข แต่​ปัญหา​มี​อยู่​ว่า การ​อายุยืน กับ​สิ่ง​ที่​เรียก​ว่าความ​สุขตาม​อัตภาพ โดย​มาก​มัก​ไม่ค่อย​ไป​ด้วย​กัน

จึง​มี​ผู้​แสวง​หา​หนทาง​ทำ​อย่างไร หรือ​ต้อง​อาศัย​ปัจจัย​แวดล้อม​ใด จึง​จะ​ทำให้​ผู้​สูงอายุ​ชาว​ไทย​ซึ่ง​มีอายุ​ตั้งแต่ 60 ปี​ขึ้น​ไป สามารถ​ใช้​ชีวิต​ใน​บั้นปลาย​ได้​อย่าง​มี​ความ​สุข​กับ​ช่วง​เวลา​ที่​เหลือ

กรม​พัฒนา​สังคม​และ​สวัสดิการ กระทรวง​การ​พัฒนา​สังคมฯ ร่วม​กับ​คณะ​สังคมสงเคราะห์​ศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ จึง​ศึกษา​วิจัย​ใน​เรื่อง​นี้ จน​ได้​คำ​ตอบ แต่​ก็​ยัง​ไม่​วาย​ขมวด​หมายเหตุ​ไว้ เป็น​เพียง​แนวทาง​ที่​จะนำ​ไป​สู่​การ​วาง​กรอบ​นโยบาย​เพื่อ​ใช้​จัด​สวัสดิการ​ที่​เหมาะสม​ให้​ผู้​สูงอายุ​ไทยใน​อนาคต​เท่านั้น

ใน​รายงาน​วิจัย ระบุ​ว่า ปี 2552 ทั่ว​เมือง​ไทย​มี​ประชากร​สูง​วัย (อายุ​ ตั้งแต่ 60 ปี​ขึ้น​ไป) ประมาณ 7,176,819 คน หรือ​ราว 11.54% ของ​ประชากร​ทั้ง​ประเทศ

แบ่ง​เป็น​ผู้​สูงอายุ​วัย​ต้น อายุ​ระหว่าง 60-69 ปี ซึ่ง​ถือ​เป็น​กลุ่ม​ใหญ่​สุด​จำนวน 3,928,736 คน หรือ​ประมาณ 6.32% ของ​ประชากร​ทั้ง​ประเทศ ผู้​สูงอายุ​วัย​กลาง ระหว่าง 70-79 ปี จำนวน 2,347,376 คน หรือประมาณ 3.77% และ​ผู้​สูงอายุ​วัย​ปลาย มีอายุ​ตั้งแต่ 80 ปี​ขึ้น​ไป อีก 900,707 คน หรือ​ประมาณ 1.45%

ที่​น่า​สนใจ​กว่า​นั้น ใน​จำนวน​ผู้​สูงอายุ 7 ล้าน​คน​เศษ​ทั่ว​ประเทศ เมื่อ​ปี 2552 มี​ผู้​ที่​อายุยืน​เกิน​กว่า 1 ศตวรรษ​หรือ 100 ปี​ขึ้น​ไปมากถึง 13,692 คน เป็น​ชาย 5,541 คน หญิง 8,151 คน

คน​เหล่า​นั้น กระจาย​อยู่​ตาม​ภูมิภาค​ต่างๆ ทั้ง​ใน​เมือง​และ​ชนบท 3 จังหวัด​แรก ที่​พบ​มาก​ที่สุด คือ นครศรีธรรมราช 591 คน ยะลา 563 คน และ​ สมุทรปราการ 558 คน

3 จังหวัด ที่​พบ​น้อย​สุด คือ พังงา 20 คน ตราด 15 คน และ​ ภูเก็ต 11 คน

เป็น​ที่​น่า​สังเกต​ผู้​มีอายุ​เกิน​ร้อย​เหล่า​นี้ หลาย​คน​สามารถ​ดำรง​ชีวิต​อยู่ร่วม​กับ​ครอบครัว และ​ชุมชนได้​อย่าง​มี​ความ​สุข​ใน​หลาย​มิติ ทั้ง​ด้าน ​สุขภาพ อารมณ์ หรือ​ จิตใจ

เทียบ​กับ​ผู้​สูงอายุ​ทั่วไป​ส่วน​ใหญ่ ซึ่ง​มีอายุ​ไม่​ถึง 100 ปี​ก็​ลาโลก ในแง่​สุขภาพ มัก​จะ​มี​สภาพ​เสื่อม​ถอย​ของ​สังขาร​ใน​รูป​ต่างๆเสมอ

เช่น 1 ใน 5 ของ​ผู้​สูงอายุ​ทั่วไป มัก​เป็น ต้อกระจก 1 ใน 3 มีอาการ หูตึง (ผู้​สูงอายุ​ชาย​มัก​หูตึงมาก​กว่า​หญิง) และ​เกิน​กว่า​ครึ่ง​ของ​ผู้​สูงอายุ​ทั่วไป มี​ฟัน​ที่​ยัง​สามารถ​ใช้​งาน​ได้​ไม่​ถึง 20 ซี่ หรือ ต้อง​ใช้​ฟันปลอม

ใน​แง่​การ​ช่วยเหลือ​ตน​เอง หรือ​ความ​สามารถ​ใน​การ​ทำ​กิจวัตร​ประจำวัน เช่น สามารถ​กิน​ข้าว อาบ​น้ำ แปรง​ฟัน และ​เคลื่อน​ย้าย​ร่างกาย​ไป​ไหนมาไหน​ได้​เอง โดย​ไม่​ต้อง​พึ่ง​พา​ผู้​อื่น

จาก​การ​ศึกษา​พบ​ว่า ผู้​สูงอายุ​วัย​ปลาย​หรือ​มีอายุ​ตั้งแต่ 80 ปี​ขึ้น​ไป สามารถ​ช่วยเหลือ​ตน​เอง​ได้​น้อย​กว่า​ผู้​สูงอายุ​วัย​กลาง​ถึง 5 เท่า และ​ช่วยเหลือ​ตัว​เอง​ได้​น้อย​กว่า​ผู้​สูงอายุ​วัย​ต้น​ถึง 10 เท่า

การ​บริโภค​อาหาร ผู้​สูงอายุ​ร้อย​ละ 88 ยัง​คง​ทาน​อาหาร​ครบ​วัน​ละ 3 มื้อ ที่​เหลือรับ​ประทาน​เพียง​วัน​ละ 2 มื้อ อาหาร​ที่​รับประทาน​โดย​มาก​เป็น​อาหาร​ รส​จืด เผ็ด และ ​เค็ม เป็นหลัก

ผู้​สูงอายุ​วัย​ต้น​จนถึง​วัย​ปลาย​ทั่ว​ประเทศ​จำนวน​กว่า 7 ล้าน​คนยังคง​เลือก​ดำรง​ตน​เป็น​สิงห์​อม​ควัน หรือ​สูบ​บุหรี่​อยู่​ถึง​ร้อย​ละ 20 โดยที่​ร้อย​ละ 17 สูบ​เป็น​ประจำ

นอกจาก​นั้น เมื่อ​มีอายุ​ตั้งแต่ 80 ปี​ขึ้น​ไป ผู้​สูงอายุ​ชาว​ไทยส่วนใหญ่ แทบ​จะ​ไม่​มี​การ​เคลื่อนไหว​กิจกรรม​ทาง​กาย โดยเฉพาะ​ผู้​สูงอายุ​เพศ​หญิง

ใน​แง่​อารมณ์​หรือ​จิตใจ การ​ที่​ผู้​สูงอายุ​ส่วน​ใหญ่​มีอายุ​ยืน​ยาว ส่วนหนึ่ง​เป็น​เพราะ​เป็น​ผู้​มี​อารมณ์​หรือ​จิตใจ​ดี​เป็น​ทุน​เดิม วิธี​ตรวจสอบ​ง่ายๆว่าผู้สูงอายุ​คน​นั้น​เป็น​คน​อารมณ์​และ​จิตใจ​ดี​หรือ​ไม่ ให้​สังเกต​ว่า​หาก​เป็น​ผู้​ที่​ลูกหลาน​ชอบ​เข้าหา ถือว่า​โอ​เค

ใน​แง่​ความ​สุข คณะ​กรรมการ​พัฒนาการ​เศรษฐกิจ​และ​สังคม​แห่งชาติ หรือ​สภาพัฒน์ ใช้​ตัว​ชี้​วัด​ทาง​ด้าน​สังคม 8 อย่าง เป็น​เครื่องมือประเมินผล​ความ​อยู่ดีกินดี​แบบ​มวล​รวม​ของ​ประเทศ

แต่ สโรทร ม่วง​เกลี้ยง กับ ​วีระ​ชัย วีระ​ฉันทา​ชาติ สอง​นัก​วิจัยซึ่ง​ให้​ข้อมูล​ระบุ​ว่า นิยาม​ความ​สุข​ของ​ผู้​สูงอายุ​ใน​แบบฉบับ​ที่​มี​ความ​เป็น​สากล ควร​ประกอบ​ด้วย​ปัจจัย 6 อย่าง ดังนี้

1. ได้​รับ​การ​ดูแล​จาก​ครอบครัว​หรือ​เครือ​ญาติใน​ด้าน​ปัจจัย​สี่​เป็น​ปกติ​เช่น​เดียว​กับ​สมาชิก​คน​อื่นๆในครอบครัว

2. มี​พื้นที่​ส่วนตัว​ของ​ตน​เอง​ซึ่ง​ตน​เอง​คุ้นเคย สามารถ​ใช้​ประโยชน์ด้าน​ต่างๆได้​ตาม​ที่​ตน​ต้องการ และพึง​พอใจ เป็นต้น​ว่า มี​เตียง​นอนเล่น​อยู่​ที่ชาน​บ้าน หรือ​มี​เตียง​นอน​ใน​จุด​ที่​พึง​พอใจ

3. สามารถ​เข้าถึง​ศา​สน​ธรรม​และ​ศาสนสถาน​ได้ ทั้ง​โดย​การ​มอง​เห็น ทำบุญ สวด​มนต์ ทั้ง​สามารถเดินทาง​ไป​ได้​เอง หรือ​มี​ผู้​พา​ไป

4.​ มี​ลูก​หลาน เครือ​ญาติ หรือ​เพื่อนบ้าน มา​ทักทาย​หรือ​คุย​ด้วย​เป็น​กิจวัตร หรือ​ตาม​แต่​วาระ​โอกาส

5. สามารถ​ทำ​กิจวัตร​ประจำ​วัน​ด้วย​ตน​เอง หรือ​มี​ผู้​ช่วยเหลือ​ในระดับหนึ่ง

6. อยู่​ใน​ครอบครัว​ที่​อบอุ่น มี​ความ​รัก​สามัคคี และ​มี​ความ​สามารถ​ใน​การ​ดำรง​ชีวิต​ครอบครัว

ใคร​อยาก​ให้​บุพการี​สูงอายุ​ของ​ตน มี​ความ​สุข​ตาม​มาตรฐาน​สากล​นิยม ควร​รีบ​ไป​ดำเนิน​การ​จัด​หนัก​ให้​เป็น​ไป​ตาม​นี้

แต่​ใน​สภาพ​ความ​เป็น​จริง ขวากหนาม​เบ้อเริ่ม ซึ่ง​ผู้​สูงอายุ​ใน​เมืองไทย​ส่วน​ใหญ่​มัก​ประสบ ก็​คือ ปัญหา​ความ​ยากจน โดย​ผู้​สูงอายุ​ส่วน​ใหญ่​ของ​ประเทศ​มัก​เป็น​บุคคล​ที่​ยากจน หรือ​ไม่​ก็​มัก​ประสบ​ปัญหา​บุคคล​ใน​ครอบครัว​ที่​จะ​ให้การ​เกื้อ​หนุน​ดูแล​ผู้​สูงอายุ ไม่​มี​ศักยภาพ​เพียงพอ เพราะ​การ​ที่ครอบครัว​ยุค​นี้ นิยม​การ​มี​บุตร​น้อย​คน แถม​บุตร​บาง​คน​ก็​ไม่​สามารถ​พึ่ง​พา​ตน​เอง​ทาง​เศรษฐกิจ​ได้ หรือ​ตัว​เอง​ยัง​เอา​ไม่​รอด

2 นัก​วิจัย​ตั้ง​ข้อ​สังเกต​ไว้​ว่า โดยเฉพาะ​ครอบครัว​ที่​มี​ลูก​คน​เดียวต่อไป​ใน​ภาย​ภาค​หน้า อาจ​มี​แนวโน้ม​ต้อง​รับ​ภาระ​ดูแล​ผู้​สูงอายุ​ซึ่ง​เป็น​บุพการีของ​ตน​พร้อมๆกัน​รวดเดียว 5-6 ราย คือ พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย หนำซ้ำยังอาจ​ต้อง​ไป​แบก​รับ​ภาระ​ดูแล​พ่อ แม่ ปู่ ย่า ตา ยาย​ของ​ทาง​ฝ่าย​คู่​สมรส​อีก​ด้วย

จึง​พอ​ร่าง​เค้าโครง​ภาพ​สังคม​ผู้​สูงอายุ​ไทย​ใน​อนาคต​ได้​ว่า หลาย​ครอบครัว​ที่​ผู้​สูงอายุ​อยู่​ด้วย จะ​มี​ขนาด​เล็ก​ลง แต่​ลูก​หลาน​ต้อง​แบก​รับ​ภาระ​หนัก​กว่า​ใน​อดีต เพราะ​ผู้​สูงอายุ​มี​แนวโน้ม​อายุยืน​ขึ้น แต่​อายุยืน​แบบ​อมโรค จึง​ต้อง​พึ่ง​พา​หรือ​ได้​รับ​การ​ดูแล​จาก​ลูก​หลาน​ระยะ​ยาว

ใน​เมื่อ​โจทย์​ใหม่​ของ​สังคม​ไทย มี​แนวโน้ม​เป็น​เช่น​นั้น​สูง ทางคณะ​ผู้​วิจัย​จึง​ได้​ประเมิน​ความ​จำเป็น​ของ​ผู้​สูง​วัย​ใน​อนาคต เพื่อ​เสนอ​แนะ​ให้​ภาค​รัฐ​จัด​สวัสดิการ​ทาง​สังคม​รอง​รับ​ให้​ตรง​กับ​สภาพ​ปัญหา ความต้องการ และ​ความ​จำเป็น เพื่อ​ให้​ผู้​สูงอายุ​ส่วน​ใหญ่​สามารถ​ดำรง​ชีวิต​อยู่​ได้​อย่าง​มี​คุณภาพ

โดย​เห็น​ว่า​ควร​ใช้​รูป​แบบ​ผสมผสาน​ระหว่าง​ครอบครัว ชุมชน และ​สถาบัน​ใน​แต่ละ​ชุมชน ร่วม​กัน​ดูแล​ผู้​สูงอายุ​ใน​ทุก​ชุมชน แบ่ง​ออก​เป็น​หน่วย​งาน​สนับสนุน หน่วย​งาน​ระดับ​จัดการ และ​หน่วย​งาน​ระดับ​ปฏิบัติการ

ยก​ตัวอย่าง หน่วย​งาน​ระดับ​สนับสนุน ควร​ให้​ทุก​จังหวัด​จัดตั้ง​คณะ​อนุกรรมการ​ผู้​สูงอายุ​จังหวัด มี​ชมรม​ผู้​สูงอายุ หรือ​บ้าน​กึ่ง​วิถี และ​จัดตั้ง​เป็น​ศูนย์​พัฒนาการ​บริการ​ผู้​สูงอายุ

ระดับ​จัดการ จัดตั้ง​โรงเรียน​ผลิต​คน​ดูแล​ผู้​สูงอายุ (พี่เลี้ยง​หรือ​เนิร์ส​เซอ​รี่) มี​กองทุน​สุขภาพ​ตำบล กองทุน​สวัสดิการ​ชุมชน มี​หน่วย​บริการ​ผู้​สูงอายุ โดย​ใช้​งบประมาณ​จาก​องค์กร​ปกครอง​ท้องถิ่น หรือ​ให้​สถาบัน​ทาง​สังคม​ใน​ชุมชน​นั้นๆรับ​ไป​เป็น​ผู้​ดำเนิน​การ

ส่วน​ระดับ​ปฏิบัติการ ควร​ให้​มี​อาสา​สมัคร​ดูแล​ผู้​สูงอายุ ใน​อัตราส่วน 1 คน​ต่อ​ผู้​สูงอายุ 20 คน หรือ​ให้​มี​อาสา​สมัคร​ดูแล​ผู้​สูงอายุ​ระดับ​ผู้เชี่ยวชาญ 1 คน​ต่อ​ผู้​สูงอายุ 10 คน โดย​ดึง​เครือ​ญาติ ลูก​หลาน และ​เพื่อนบ้าน​ของ​ผู้​สูงอายุ​ใน​ชุมชน​นั้น​เข้า​ร่วม​ดูแล​แบบ​สาม​ประสาน เป็นต้น

ปัญหา​เรื่อง​ผู้​สูง​วัย​ใน​สังคม​ไทย​วัน​นี้ ไม่​ใช่​เรื่อง​ไกล​ตัว แต่​ใกล้​ตัว​ระดับ​จ่อ​คอหอย หาก​ไม่​ช่วย​กัน​วาง​แผน​รับมือ​ให้​ดี วัน​ข้าง​หน้า​จะ​มี​ปัญหา​ให้​สาง​กัน​ไม่​จบ.

 

ไทยรัฐออนไลน์

  • โดย ไทยรัฐฉบับพิมพ์
  • 6 ตุลาคม 2554, 05:00 น.

 




ข้อคิดมุมมอง เชื่อหรือไม่ สาระน่ารู้ เรื่องจริง หรือหลอกลวง (พุทธวจน การเป็นหนี้เป็นทุกข์ในโลก)

ข้อควรระวังในการซื้อของออนไลน์ article
ซื้อของออนไลน์โปรดระวัง article
5 สุดยอด SELF-TRANSFORM เปลี่ยนตัวเองให้ตื่นเช้า เป็นที่รัก ตัดสินใจเด็ดขาด article
‘กฎ 20 วินาที’ ใช้ความขี้เกียจให้เป็นประโยชน์ article
ไม่ต้องฉลาดกว่าใคร เอาแค่ ‘ฉลาดกว่าตัวเอง’ ก็พอ article
เกิดมาต้นทุนต่ำ ก็รวยได้ ทำแบบนี้ article
อาชีพ ที่ทำรายได้สูงสุด ในปี2021 article
ใครเป็นคน ลิขิตชีวิตคุณ article
4 คุณสมบัติที่บ่งชี้ว่าคุณมี "วุฒิภาวะ" article
4 วิธี "ดึงดูดเงินเข้ามาในชีวิต" article
4 สิ่งที่ควรจำ เพื่อจะทำให้ "สำเร็จ" article
เหตุผลที่ทำให้คุณเป็นคนไม่มั่นใจ article
ทำตัวยังไง ? ให้มีเสน่ห์ article
27 ข้อคิด ในชีวิต 27 ปี article
จะเริ่มรับรู้คุณค่าในตัวเองอย่างไร จากที่ Low Self-Esteem มาทั้งชีวิต article
กลับมารักตัวเองอย่างไรหลังผูกชีวิตติดกับคนอื่น? จัดการความรู้สึกเมื่อถูกทักว่าอ้วน? article
ถ้าสมองสั่งให้รักเงิน จะทำให้อย่างไรมีความสุขนอกจากการใช้เงินบ้าง article
วิธีแก้ท้อที่ดีที่สุด article
5 soft skills ที่เป็นที่ต้องการที่สุดในยุคนี้ article
วิธีเด็ดสลัดอารมณ์หรือความคิดที่เราไม่ชอบ article
คิดจะ “ฆ่าตัวตาย” มีทางออกที่ง่ายกว่านั้นเยอะ article
เลิกกันแล้วยังเกลียดชัง~ระวังลูกจะมีปัญหา!!! article
สังคมเลว...เพราะคนดีท้อแท้!!! article
เปลี่ยนคำพูดธรรมดาให้มีคุณค่าทางใจ article
บอกข้อผิดพลาดโดยไม่ยั่วโมโหอีกฝ่าย article
การโน้มน้าวใจแบบไม่กดดัน สบายใจทั้งเขาและเรา article
เคล็ดลับความมั่นใจคือ "เห็นคุณค่าในตัวเอง" article
4 สิ่งที่ควรจำ เพื่อจะทำให้ "สำเร็จ" article
5 สิ่ง "ทรงคุณค่าที่คนธรรมดาก็ทำได้" article
20 อย่างที่แสดงว่าคุณเติบโตแล้ว และกำลังมีชีวิตที่ดี article
คำถามสำคัญคือ “จะลงมือเมื่อไรดี” article
เอาชนะตัวเอง article
ถ้าอยากมีความสุขขึ้น อย่าพูดแบบนี้ article
ใครติดโซเชียลจนไม่ได้ทำสิ่งที่ควรทำ..แก้ได้ article
คนแบบนี้ยังไงก็มีความสุข article
ทำดีเอาหน้า อย่างนี้ก็ได้หรอ ! article
ถ้าฝึกนิสัยนี้ ยังไงก็ไม่ ล้มเหลว article
เด็กรุ่นใหม่ ไม่มีสมาธิ จริงหรือ ? article
ความรัก article
อิสระภาพกับการตามใจ article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน