ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




กว่าจะเป็นมะเร็งตับ! ต้องรู้ก่อนสาย article

กว่าจะเป็นมะเร็งตับ! ต้องรู้ก่อนสาย

 

 

'เงิน' อาจจะไม่สามารถซื้อสุขภาพอันแข็งแรงกลับคืนมาได้ หากโรคภัยร้ายคุกคามในระยะรุนแรงไปแล้ว เช่นกรณี 'สตีเฟน จ็อบส์' อดีตซีอีโอของแอปเปิล ผู้คิดค้นและบุกเบิกอุปกรณ์ไอทีทันสมัย และมหาเศรษฐีคนหนึ่ง แม้จะมีทรัพย์สินกว่า 7 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ ก็ยังต้องลาโลกไปในวัยเพียง 56 ปี ด้วยโรคมะเร็งตับ

เมื่อกล่าวถึงโรคมะเร็งตับแล้ว ในงานสัมมนาของบริษัทโรช แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคตับได้พูดคุยอย่างเข้ากระแสกับข่าวการสูญเสียคนดังอย่าง สตีเฟน จ็อบส์ โดย รศ.นพ.ทวีศักดิ์ แทนวันดี สาขาวิชาโรคระบบทางเดินอาหาร ภาควิชาอายุรศาสตร์  คณะแพทยศาสตร์ศิริราชพยาบาล  มหาวิทยาลัยมหิดล เผยว่า ไวรัสตับอักเสบ บี  ถือเป็นสาเหตุสำคัญของโรคตับอักเสบเรื้อรัง ตับแข็ง ตับวาย และโรคมะเร็งตับ

นอกจากนี้ยังเป็นที่รู้จักกันว่า เป็นเพชฌฆาตเงียบ เนื่องจากระยะการดำเนินโรค(ชนิดเรื้อรัง)กินเวลานานหลายปี ซึ่งระหว่างนั้นจะไม่ปรากฏอาการผิดปกติให้ผู้ป่วยรู้ตัวได้เลย โดยเฉพาะในไทย มีผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ บี 3.5 ล้านรายในปัจจุบัน ขณะที่โรคมะเร็งตับซึ่งเป็นปลายทางการพัฒนาโรคของไวรัสตับอักเสบ บีนั้น คร่าชีวิตคนไทยเป็นอันดับ 1 ของกลุ่มโรคมะเร็ง

เหตุที่ทำให้โรคไวรัสตับอักเสบ บี สร้างความสูญเสียได้มาก เพราะคนส่วนใหญ่ไม่ทราบว่า โรคดังกล่าวติดต่อได้ง่ายกว่าเชื้อเอชไอวีถึง 50-100 เท่า โดยติดต่อได้หลายช่องทาง อาทิ จากมารดาสู่ทารกในระหว่างตั้งครรภ์หรือตอนคลอด ติดต่อทางเลือดจากการได้รับเลือดที่ปนเปื้อนเชื้อ ทางเพศสัมพันธ์ การใช้ของใช้ส่วนตัวร่วมกัน เช่น แปรงสีฟัน มีดโกน กรรไกรตัดเล็บ และการติดเชื้อเพราะใช้เครื่องมือที่ไม่สะอาดในการทำฟัน สัก หรือเจาะตามร่างกาย

จากการติดต่อที่ง่ายและไม่รู้ตัวของโรคไวรัสตับอักเสบ บี นั้น รศ.นพ.ทวีศักดิ์ จึงเตือนให้ทุกคนควรตรวจหาเชื้อไวรัสร้ายดังกล่าว โดยวิธีการตรวจที่แนะนำคือ การวัดปริมาณเปลือกของไวรัสตับอักเสบ บี หรือเอส-แอนติเจน (HBsAg) ซึ่งโดยทั่วไปจะค่าใช้จ่ายในการตรวจอยู่ที่หลักร้อย และทราบผลได้ภายในไม่กี่ชั่วโมง ทั้งนี้ หากผลการตรวจชี้ว่าเป็นโรคไวรัสตับอักเสบ บี ก็จะได้เข้าสู่ขั้นตอนการรักษาซึ่งมีทั้งการรับประทานยาและการฉีดยาอย่างต่อเนื่อง
   
ด้าน  รศ.นพ.ธีระ พิรัชวิสุทธิ์ ผู้เชี่ยวชาญด้านโรคตับ ผอ.สถาบันโรคระบบทางเดินอาหารและตับ โรงพยาบาลสงขลานครินทร์ อัพเดตวิธีการรักษาโรคไวรัสตับอักเสบ บี ที่สอดรับกับแนวคิดการรักษาเฉพาะบุคคล (Personalised Healthcare) ว่า ขณะนี้มีวิธีใหม่ใช้รักษาโรคไวรัสตับอักเสบ บี ด้วยยาในกลุ่มเพ็คอินเตอร์เฟอรอน (peginterferon) เป็นหลัก ใช้ต่อเนื่องระยะ 48 สัปดาห์ จะมีประสิทธิภาพต่อสู้กับโรคสองแนวทางคือ การต่อสู้กับไวรัสโดยตรง และในเวลาเดียวกันจะช่วยเสริมสร้างระบบภูมิคุ้มกัน กระตุ้นให้ระบบภูมิคุ้มกันเข้าจัดการกับเชื้อโรค

สำหรับวิธีรักษาด้วยยากลุ่มเพ็คอินเตอร์เฟอรอนนั้น รศ.นพ.ธีระ เผยว่า เหมาะสมที่จะใช้กับผู้ป่วยไวรัสตับอักเสบ บี ที่มีอายุมาก ผลตรวจเปลือกของไวรัสตับอักเสบ บี เป็นบวก มีค่าเอนไซม์ในเซลล์ตับสูงกว่าปกติ 2 เท่า และที่พบว่าจำนวนไวรัสชนิดนี้มีมากเกิน 1 พันล้านตัว

เมื่อการแพทย์คิดหาวิธีที่ดีในการตรวจและรักษาโรคไวรัสตับอักเสบ บี อย่างนี้แล้ว หากไม่อยากป่วยตายด้วยโรคมะเร็งตับไปอีกราย คนรักษ์สุขภาพทั้งหลายคงไม่ละเลยตรวจหาความผิดปกติของตับ.

ทีมเดลินิวส์ออนไลน์
takecareDD@gmail.com




แพทย์ วิสัญญี เภสัชกร ยาแผนปัจจุบัน การดูแลผู้ป่วย สาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ

ควรทานยาปฏิชีวนะให้ครบ
ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
โรคฉี่หนู
อย่ากินแอปเปิ้ลไซเดอร์ถ้าไม่รู้ 4.5 ข้อนี้ article
ผิวดำง่ายมากเกิดจาก 6 ข้อนี้ article
กินอาหารแล้วอ้วนจริงหรือ article
เอ็นข้อศอกอักเสบ เกิดจากอะไร? article
เจาะลึกกระบวนการ 'ทดลองยาในคน' article
กว่าจะเป็นยา ต้องผ่านขั้นตอน อะไรบ้าง? article
5 โรคร้ายรักษาง่ายๆด้วย ข้าวกล้อง article
เคล็บลับนอนหลับง่ายๆโดยไม่ต้องใช้ยา article
5 อาหารไขมันสูงยิ่งกินยิ่งผอม article
มือชา รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
กระดูกพรุน รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
เท้าปุก คืออะไร? รักษาอย่างไร? article
กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
ปวดหลังร้าวลงขา นั่งไม่ได้ รักษาอย่างไร? article
โรคท้องผูก ลำไส้ทำงานอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
การรับมือกับโรคมะเร็ง article
โรคหลอดเลือดหัวใจในหนุ่มสาว article
การจัดการโรคไตเรื้อรัง และสิ่งที่เชื่อผิดๆ article
น้ำดื่มบำรุงไต ไม่อยากฟอกไตต้องดู article
5 ความเชื่อผิดๆที่ทำให้ลดน้ำหนักไม่มีวันสำเร็จ article
7 วิธีควบคุมความดันโดยไม่ต้องพึ่งยา article
3 เทคนิคลดความอ้วน “#ไม่ต้องออกกำลังกาย” article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน