ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




เคล็ด (ไม่) ลับให้นม "ลูกแฝด" อย่างไร้กังวล article

เคล็ด (ไม่) ลับให้นม "ลูกแฝด" อย่างไร้กังวล

ขอบคุณภาพจาก jevoisphotography.blogspot.com/
       กล่าวได้ว่า การมีสมาชิกตัวน้อย ๆ เข้ามาเพิ่มสีสันในบ้าน เป็นความสุขของพ่อแม่ทุกคน แต่สิ่งที่ตามมาหลังจากมีลูกที่ยากจะปฏิเสธได้ก็คือ ความเหนื่อย ยิ่งบ้านไหนต้องเลี้ยงลูกแฝดด้วยแล้ว ย่อมเหนื่อย และใช้ความอดทนสูงกว่าบ้านที่มีลูกคนเดียว หรือเลี้ยงลูกทีละคน
       
       
โดยเฉพาะอย่างยิ่ง ช่วงระยะของการให้นมลูก ถือว่าเป็นเรื่องหนักใจของคุณแม่ลูกแฝดไม่น้อย เพราะกังวลในเรื่องการให้นมลูก และกลัวว่าน้ำนมจะไม่เพียงพอต่อลูกทั้งสองคน

       
       ความกังวลดังกล่าวนี้ พญ.สุธีรา เอื้อไพโรจน์กิจ กุมารแพทย์ทารกแรกเกิด โรงพยาบาลบีเอ็นเอช และอนุกรรมการศูนย์นมแม่แห่งประเทศไทย แนะนำผ่านทีมงาน Life & Family ว่า ก่อนอื่น คุณแม่ลูกแฝดควรเตรียมดูแลเต้านม หากคุณแม่เจอปัญหาเรื่อง หัวนมสั้น หัวบอด ดูว่าหัวนมอยู่ในสภาพปกติหรือไม่ ถ้าพบว่าหัวนมสั้นวิธีที่ช่วยได้ โดยการใช้ปทุมแก้ว แล้วก็ใช้ตัวดึงหัวนม (nipple puller) จะช่วยให้หัวนมยื่นออกเมื่อถึงเวลาให้นม เริ่มกระตุ้นได้ตั้งแต่อายุครรภ์ 36 สัปดาห์ ไม่แนะนำให้ทำก่อนเพราะอาจมีปัญหาเรื่องการคลอดก่อนกำหนดได้
       
       "คุณแม่ลูกแฝดต้องเตรียมใจ พอมีลูก 2 คน ก็ให้นมแม่เป็นหลัก ฉะนั้นคุณแม่ควรจะต้องหาทีมงานมาช่วย อาจจะเป็นปู่ ตายาย คุณพ่อ พี่เลี้ยง ทุกคนก็ควรหาโอกาสไปอบรมตามโรงพยาบาลที่เขามีอบรมเรื่องน้ำนมแม่ พยายามให้เขาได้เห็นถึงประโยชน์ แล้วก็มีแรงจูงใจ ที่ทุกคนจะต้องไปแนวทางด้วยกัน ถ้าทุกคนไม่มีความเตรียมพร้อมตรงนี้ ก็อาจจะพบกับอุปสรรค์ได้ อย่างเช่น ลูกร้องไห้เยอะ ลูกตื่นบ่อย ลูกดูดนมบ่อย จนบางทีทีมทางก็อาจจะให้เด็กลองทานนมผงแทนได้ ถ้าเป็นอย่างนั้นแล้วความสำเร็จในการเลี้ยงลูกด้วยนมแม่ก็จะน้อยลง " กุมารแพทย์ทารกแรกเกิด โรงพยาบาลบีเอ็นเอชเผย
       
       นอกจากนี้ แพทย์หญิงสุธีรา ให้คำแนะนำเพิ่มเติมว่า คุณแม่ควรให้ลูกแฝดได้กินนมพร้อมกัน ทุก 2-3 ชั่วโมง และนอนพร้อมกัน เพื่อคุณแม่จะได้เหนื่อยทีเดียว และยังช่วยฝึกให้ลูกได้เช็คตารางการกินและนอนของเขาเองได้อีกด้วย 
       
       อย่างไรก็ตาม ในช่วงที่ให้นมลูกนั้น คุณแม่ควรเตรียมตัวให้พร้อม ด้วยการลุกขึ้นมาอุ้มลูกเข้าเต้า 2 ข้าง แต่จะต้องเป็นท่าฟุตบอล ซึ่งท่าฟุตบอลทำได้ง่าย ๆ คือ หนีบลูกเอาไว้ใต้รักแร้ โดยแม่อุ้มลูกคนหนึ่งไว้ข้างซ้าย ส่วนอีกคนไว้ข้างขวา แต่ถ้าคุณแม่ที่อุ้มลูกสองคนไม่ถนัด อาจจะต้องมีแฝดคุณแม่นั่นก็คือคุณพ่อ หรือผู้ช่วยมาประคองอุ้มลูกแฝดอีกคนไว้ด้วย

ขอบคุณภาพจาก becomingsupermommy.blogspot.com/
       "คุณแม่มือใหม่ อาจจะต้องเหนื่อยหน่อย แต่ในช่วงระหว่าง 2 อาทิตย์แรก หากฝึกบ่อย ๆ ก็จะเกิดความชำนาญ ฉะนั้น ทุกคนจะต้องลงตัวช่วยกันเป็นฝาแฝดคุณแม่ จะทำให้คุณแม่เลี้ยงลูกแฝดได้สำเร็จ" คุณหมอได้กล่าวเสริม
       
       ทั้งนี้ เคล็ดลับช่วยคุณแม่ในการให้น้ำนมลูกแฝด คุณหมอท่านนี้ แนะนำว่า คุณแม่ควรหาโอกาสปั๊มนมเพื่อทำสต็อคเก็บเอาไว้ จะได้ช่วยให้คุณแม่เบาแรงในการให้นม โดยการปั๊มนมแต่ละครั้ง ควรปั๊มนมแบบ 2 เต้า จะช่วยให้มีน้ำนมเยอะกว่า และเร็วกว่าการปั๊มนมทีละข้าง ซึ่งอาจจะใช้เวลาเพียงแค่ 10-15 นาทีเท่านั้น หลังจากปั๊มนมเสร็จ คุณแม่จำเป็นต้องรู้วิธีการเก็บรักษาน้ำนม โดยการนำไปเก็บใส่ตู้แช่ ถ้าเป็นตู้เย็น 2 ประตู จะสามารถเก็บได้ประมาณ 6 เดือน เมื่อนำให้ลูกทานก็แค่เอามาแช่น้ำ โดยไม่ต้องถึงขนาดอุ่น เอาแค่อุณหภูมิปกติก็พอ
       
       ท้ายนี้ พญ.สุธีรา ฝากว่า คุณแม่ที่อยากให้ลูกใช้ขวดนม ควรให้ผ่านเดือนแรกไปก่อน เพราะถ้าให้ลูกใช้ขวดนมในช่วงนี้ ลูกก็จะชอบขวดมากกว่า เวลาให้ดูดเต้าลูกอาจหงุดหงิดและไม่อยากดูดนมจากเต้าก็เป็นได้
       
       ส่วนการดูแลสุขภาพสำหรับคุณแม่ที่เลี้ยงลูกแฝด คุณหมอให้แนวทางง่าย ๆ ดังต่อไปนี้
       
       - กินอาหารให้ครบ 5 หมู่ ทานผัก ผลไม้เยอะ พวกของหวาน ของมัน พยายามหลีกเลี่ยง นมวัวก็ควรหลีกเลี่ยง นมวัวที่แม่กิน ทำให้ลูกเกิดอาการท้องผูกได้
       
       - ในเวลาที่ให้นมก็ควรทำกิจกรรมอื่น ๆ ร่วมไปด้วย เช่น อ่านนิยาย หรือฟังเพลงสบาย ๆ เพราะความเครียดจะส่งผลทำให้น้ำนมไหลออกมาน้อย
       
       รู้อย่างนี้แล้ว การเลี้ยงลูกแฝดด้วยนมแม่ คงจะไม่ใช่ปัญหาอีกต่อไป หรือคุณแม่ลูกแฝดท่านใดมีประสบการณ์ดี ๆ ที่อยากจะแบ่งปัน เข้ามาบอกเล่ากันได้นะคะ เผื่อจะเป็นประโยชน์สำหรับคุณแม่ลูกแฝดท่านอื่น ๆ ที่เข้ามาอ่าน




แพทย์ วิสัญญี เภสัชกร ยาแผนปัจจุบัน การดูแลผู้ป่วย สาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ

ควรทานยาปฏิชีวนะให้ครบ
ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
โรคฉี่หนู
อย่ากินแอปเปิ้ลไซเดอร์ถ้าไม่รู้ 4.5 ข้อนี้ article
ผิวดำง่ายมากเกิดจาก 6 ข้อนี้ article
กินอาหารแล้วอ้วนจริงหรือ article
เอ็นข้อศอกอักเสบ เกิดจากอะไร? article
เจาะลึกกระบวนการ 'ทดลองยาในคน' article
กว่าจะเป็นยา ต้องผ่านขั้นตอน อะไรบ้าง? article
5 โรคร้ายรักษาง่ายๆด้วย ข้าวกล้อง article
เคล็บลับนอนหลับง่ายๆโดยไม่ต้องใช้ยา article
5 อาหารไขมันสูงยิ่งกินยิ่งผอม article
มือชา รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
กระดูกพรุน รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
เท้าปุก คืออะไร? รักษาอย่างไร? article
กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
ปวดหลังร้าวลงขา นั่งไม่ได้ รักษาอย่างไร? article
โรคท้องผูก ลำไส้ทำงานอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
การรับมือกับโรคมะเร็ง article
โรคหลอดเลือดหัวใจในหนุ่มสาว article
การจัดการโรคไตเรื้อรัง และสิ่งที่เชื่อผิดๆ article
น้ำดื่มบำรุงไต ไม่อยากฟอกไตต้องดู article
5 ความเชื่อผิดๆที่ทำให้ลดน้ำหนักไม่มีวันสำเร็จ article
7 วิธีควบคุมความดันโดยไม่ต้องพึ่งยา article
3 เทคนิคลดความอ้วน “#ไม่ต้องออกกำลังกาย” article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน