ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




มารู้จักร่างกายของลูกวัย "เบบี้" กันดีกว่า article

มารู้จักร่างกายของลูกวัย "เบบี้" กันดีกว่า

ขอบคุณภาพประกอบจาก http://www.newbiemommy.com
       เมื่อสิ่งมีชีวิตตัวเล็ก ๆ ที่เรียกว่า "ลูก" เกิดมาเป็นสมาชิกใหม่ในบ้าน คุณพ่อคุณแม่มือใหม่ทั้งหลายคงจะเฝ้ามองดูลูกรักอย่างไม่รู้จักเบื่อหน่าย แล้วสำรวจร่างกายด้วยความสนใจใคร่รู้ไปด้วย วันนี้ทีมงาน Life & Family จะพาไปทำความรู้จักร่างกายของเจ้าตัวเล็กวัยแรกเกิดกัน ว่าแต่จะมีส่วนไหนสำคัญอย่างไรบ้างนั้น ไปติดตามกันครับ
       
       ศีรษะ
       
       ศีรษะลูกใหญ่กว่าลำตัวมาก ด้านข้างอาจดูบวม เพราะขณะคลอดกระดูกกะโหลกยังไม่เชื่อมต่อ จึงถูกบีบให้ซ้อนกัน ซึ่งอาการนี้จะยุบหายไปเองใน 2-3 สัปดาห์
       
       กระหม่อม
       
       กลางศีรษะมีกระหม่อมนิ่ม ๆ เป็นจุดที่กระดูกกะโหลกบรรจบกัน แต่ยังเชื่อมกันไม่สนิท จะปิดสนิทเมื่ออายุราว ๆ 18 เดือน ถ้าเห็นกระหม่อมเต้นตุบ ๆ ก็อย่ากังวลจนไม่กล้าสัมผัส ซึ่งสัมผัสได้ครับ แต่เวลาสัมผัสอย่ากดแรงเกินไปเท่านั้นเอง
       
       ผิว
       
       ผิวลูกมีไขเคลือบ ซึ่งช่วยหล่อลื่นเวลาคลอด ช่วยป้องกันการติดเชื้อทางผิว ซึ่งไขจะค่อย ๆ หลุดลอกไปเองใน 1-2 วัน ด้านระบบไหลเวียนของเลือดยังไม่เข้าที่ กลไลการควบคุมเส้นเลือดฝอยยังทำงานไม่ดี บางส่วนขยายตัว บางส่วนตีบ ทำให้ผิวบางส่วนจึงดูซีดเป็นจ้ำสีขาวสลับกับสีคล้ำ ซึ่งเกิดขึ้นระยะสั้น ๆ เท่านั้นก็จะหายไป ส่วนเม็ดขาวเล็ก ๆ ที่ขึ้นเป็นผดผื่นบนใบหน้า เป็นเพราะต่อมไขมันอุดตัน ไม่นานก็จะหายไปเองเช่นกัน
       
       มือเท้า
       
       ปลายมือปลายเท้ามักมีสีเขียวคล้ำ เพราะกลไกการควบคุมเส้นเลือดฝอยยังทำงานไม่เต็มที่ ผิวบางส่วนจึงดูแห้ง และหลุดลอกซึ่งจะหายไปเองในเวลาไม่กี่วัน ส่วนขาอาจดูโก่งไปบ้าง เพราะคุดคู้อยู่ในท้องแม่มานาน
       
       เล็บ
       
       เล็บจะยาว และแหลม คุณแม่อาจเล็มออกบ้างเล็กน้อยแต่อย่าตัดจนสั้นมาก ควรตัดเล็บเวลาลูกหลับ ไม่ควรใช้กรรไกรปลายแหลม เพราะอาจทิ่มถูกนิ้วลูกได้ ดังนั้น ควรใช้ที่ตัดเล็บสำหรับเด็กจะดีกว่า
       
       สำหรับการตัดเล็บ ก่อนตัดต้องทำความสะอาดกรรไกรด้วยแอลกอฮอล์ก่อน จากนั้นล้างมือแม่ให้สะอาด ทาเบบี้ออยล์ของเด็กที่มีส่วนผสมของวิตามินอีบริเวณเล็บลูก เพื่อช่วยให้เล็บลูกนุ่มขึ้น ทำให้การตัดง่ายขึ้นด้วย
       
       สะดือ
       
       สายสะดือจะค่อย ๆ เหี่ยว และหลุดไปเองราว ๆ 10 วันหลังคลอด บางคนอาจมีสะดือจุ่นมาก เวลาร้องจะยิ่งโป่ง เมื่อกล้ามเนื้อหน้าท้องแข็งแรงดี สะดือก็จะไม่โป่งออกมา แต่ถ้าหลัง 1 ขวบแล้วยังโป่งอยู่ควรปรึกษาคุณหมอดีที่สุดครับ
       
       สำหรับการเช็ดสะดือให้ลูกนั้น มีเคล็ดลับง่าย ๆ ดังต่อไปนี้
       
       - หากสายสะดือยังไม่หลุดให้เช็ดทำความสะอาดรอบสะดือหลังอาบน้ำ หรือหลังเช็ดตัวลูกทุกครั้ง
       
       - จับสายสะดือยกให้สูงขึ้น จับปลายเชือกที่ผูกสายสะดือยกขึ้น อีกมือให้ใช้สำลีสะอาดชุบแอลกอฮอล์ 70 เปอร์เซ็นต์ พันไม้สอดเข้าไปเช็ดสะดือให้สะอาดทั้งถึง โดยเช็ดสายสะดือด้านในเบา ๆ ไปถึงโคนสะดือ

ขอบคุณภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
       - ใช้สำลีพันปลายไม้อันใหม่เช็ดขอบสะดือเป็นวงกว้าง และบริเวณรอบสายสะดือให้สะอาดอีกครั้ง โดยไม่ใช้ส่วนที่เช็ดแล้วมาเช็ดซ้ำอีก
       
       - หลังเช็ดสะดือแล้วไม่ควรโรยแป้ง เพราะจะทำให้สะดือแห้งช้า และยังเป็นที่หมักหมมของเชื้อโรค ควรเปิดสะดือลูกให้ถูกอากาศบ่อย ๆ สะดือจะได้ไม่อับชื้น
       
       - ถ้าสายสะดือหลุดแล้ว แต่สะดือยังไม่แห้งสนิท ควรเช็ดทำความสะอาดต่อไปก่อน จนกว่าจะเห็นว่าสายสะดือแห้งสนิทแล้วค่อยเลิกเช็ด
       
       - ถ้าเห็นว่าสะดือของลูกอักเสบ สะดือแดงผิดปกติ หรือสะดือมีหนอง ควรรีบพาลูกไปพบคุณหมอทันที
       
       เต้านม
       
       ทั้งลูกสาว และลูกชายอาจมีเต้านมที่โตกว่าปกติ บางครั้งมีน้ำนมไหลออกมา อย่ากังวลใจนะครับ เพราะอีกไม่นานก็จะหายไปเอง ระหว่างนี้ห้ามบีบออกเชียวครับ เพราะอาจทำให้เกิดการอักเสบจนเป็นฝีได้
       
       ดวงตา
       
       มีน้ำตาที่มีไลโซไซม์ ไว้รักษาดวงตา ทำความสะอาดดวงตา และฆ่าเชื้อโรคให้ลูกอยู่แล้ว ไม่จำเป็นต้องเช็ด รวมทั้งเปลือกตาลูกอาจดูบวมได้ ซึ่งอาการนี้จะยุบหายไปภายใน 2-3 วัน
       
       ใบหู
       
       ควรใช้สำลีซับ ๆ เฉพาะภายนอก ถ้ามองเห็นว่าหูไม่สะอาด ไม่ควรล้วงเข้าไปในรูหู เพราะในหูมีแก้วหู ถ้านำสิ่งใดแยงเข้าไป อาจถูกแก้วหูทะลุได้
       
       ขน
       
       คุณพ่อคุณพ่ออาจเห็นขนอ่อนปกคลุมร่างกาย บางคนมีเพียงบนศีรษะ บางคนคลุมทั่วไหล่ ซึ่งขนอ่อนเหล่านี้จะค่อย ๆ หลุดลอกออกไปภายใน 2-3 สัปดาห์ และขนที่แท้จริงจะงอกขึ้นมาแทนที่ ส่วนสีผมนั้นมักเปลี่ยนไปเมื่อโตขึ้นครับ
       
       รู้แบบนี้แล้ว เรามาดูแลร่างกายเจ้าตัวเล็กเพื่อสุขภาพที่ดีกันครับ




แพทย์ วิสัญญี เภสัชกร ยาแผนปัจจุบัน การดูแลผู้ป่วย สาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ

ควรทานยาปฏิชีวนะให้ครบ
ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
โรคฉี่หนู
อย่ากินแอปเปิ้ลไซเดอร์ถ้าไม่รู้ 4.5 ข้อนี้ article
ผิวดำง่ายมากเกิดจาก 6 ข้อนี้ article
กินอาหารแล้วอ้วนจริงหรือ article
เอ็นข้อศอกอักเสบ เกิดจากอะไร? article
เจาะลึกกระบวนการ 'ทดลองยาในคน' article
กว่าจะเป็นยา ต้องผ่านขั้นตอน อะไรบ้าง? article
5 โรคร้ายรักษาง่ายๆด้วย ข้าวกล้อง article
เคล็บลับนอนหลับง่ายๆโดยไม่ต้องใช้ยา article
5 อาหารไขมันสูงยิ่งกินยิ่งผอม article
มือชา รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
กระดูกพรุน รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
เท้าปุก คืออะไร? รักษาอย่างไร? article
กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
ปวดหลังร้าวลงขา นั่งไม่ได้ รักษาอย่างไร? article
โรคท้องผูก ลำไส้ทำงานอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
การรับมือกับโรคมะเร็ง article
โรคหลอดเลือดหัวใจในหนุ่มสาว article
การจัดการโรคไตเรื้อรัง และสิ่งที่เชื่อผิดๆ article
น้ำดื่มบำรุงไต ไม่อยากฟอกไตต้องดู article
5 ความเชื่อผิดๆที่ทำให้ลดน้ำหนักไม่มีวันสำเร็จ article
7 วิธีควบคุมความดันโดยไม่ต้องพึ่งยา article
3 เทคนิคลดความอ้วน “#ไม่ต้องออกกำลังกาย” article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน