ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




วิจัยพบ อาหารขยะทำสมองลูกด้อยพัฒนา article

วิจัยพบ อาหารขยะทำสมองลูกด้อยพัฒนา

ขอบคุณภาพจากเดลิเมล
       คงไม่ผิด หากคุณในฐานะพ่อแม่ดูรายการช่องสารคดีที่พาทัวร์โรงงานผลิตโดนัท ไอศกรีม บิสกิต หรืออาหารขยะสารพัดเมนูแล้วมองว่า อาหารเหล่านั้นถูกผลิตภายใต้กระบวนการที่ได้มาตรฐาน สะอาด ถูกอนามัย และสามารถซื้อหามาให้คนในครอบครัว โดยเฉพาะลูก ๆ รับประทานได้อย่างสะดวกใจ
       
       แต่งานวิจัยชิ้นหนึ่งจากซีกโลกตะวันตก ซึ่งเป็นจุดกำเนิดของอาหารขยะเหล่านั้นก็ได้ออกมาตบหน้าบรรดาผู้ผลิตอาหารจังค์ฟู้ดเหล่านี้อย่างแรง เมื่อข้อมูลจากงานวิจัยระบุว่า การให้เด็ก ๆ ที่อายุไม่ถึง 3 ขวบ รับประทานอาหารที่เต็มไปด้วยน้ำตาลและไขมันเหล่านั้นจะมีส่วนทำให้กระบวนการพัฒนาของเซลล์สมองด้อยประสิทธิภาพลง และอาจทำให้เด็กมีไอคิวต่ำกว่าเพื่อน ๆ ในวัยเดียวกัน
       
       ผู้ปกครองยุคโลกาภิวัฒน์อาจต้องอ่านข่าวนี้อย่างตั้งใจ เมื่อขนมกรุบกรอบ อย่างมันฝรั่งทอด บิสกิต หรืออาหารจานด่วนจากต่างประเทศอย่างพิซซ่ากลายเป็นตัวการทำให้ไอคิวของเด็ก ๆ ลดลง
       
       โดยงานวิจัยชิ้นนี้ได้นำระดับไอคิวของเด็กที่ได้รับประทานอาหารดังที่กล่าวมาข้างต้นตั้งแต่อายุน้อย ๆ (ไม่เกิน 3 ขวบ) มาเปรียบเทียบกับเด็กที่ได้รับประทานแต่อาหารที่มีประโยชน์ เช่น ผัก ผลไม้ และอาหารที่ทำเองในบ้านพบว่า เด็กกลุ่มแรกมีไอคิวต่ำกว่าเด็กกลุ่มที่สองอย่างน้อย 5 แต้ม และแม้ว่าพ่อแม่จะปรับอาหารให้ดีขึ้นในภายหลัง ก็อาจสายเกินไปที่จะเยียวยาเสียด้วย เพราะกระบวนการพัฒนาของสมองนั้น ในช่วง 3 ขวบปีแรกถือเป็นช่วงที่สำคัญที่สุดของชีวิตเลยทีเดียว
       
       งานวิจัยชิ้นนี้เป็นผลงานของมหาวิทยาลัย Bristol ถือเป็นงานวิจัยชิ้นแรกที่วิจัยเกี่ยวกับภาวะโภชนาการและประสิทธิภาพของสมองของเด็ก โดยงานวิจัยชิ้นนี้ชี้ให้เห็นว่า อาหารที่มีประโยชน์เป็นสิ่งจำเป็นมากสำหรับการพัฒนาของสมองในช่วง 3 ปีแรกแห่งชีวิต ซึ่งถือเป็นช่วงที่สมองเจริญเติบโตอย่างรวดเร็วที่สุด
       
       การให้เด็ก ๆ ในวัยดังกล่าวรับประทานแต่อาหารที่เต็มไปด้วยไขมัน น้ำตาล ไม่เพียงแต่จะทำให้สมองของเด็กเติบโตได้น้อยกว่าที่ควรจะเป็น แต่ยังทำให้เด็กขาดวิตามิน และสารอาหารอื่น ๆ ที่จำเป็นต่อการพัฒนาสมองด้วย
       
       โดยการวิจัยชิ้นนี้เป็นการติดตามผลระยะยาวของเด็กกว่า 14,000 คนที่เกิดในช่วงต้นของยุค 1990 ผู้เป็นพ่อแม่ของเด็กต้องตอบแบบสอบถามเกี่ยวกับอาหาร และเครื่องดื่มที่ให้เด็กบริโภคในช่วงอายุ 3, 4, 7 และ 8 ขวบ ซึ่งจากแบบสอบถามสามารถแบ่งกลุ่มอาหารที่เด็ก ๆ รับประทานได้เป็น 3 กลุ่ม ได้แก่ กลุ่มแรกคือ อาหารที่มีไขมันและน้ำตาลสูง, กลุ่มสองคือ อาหารแบบดั้งเดิม มีผักและเนื้อสัตว์เป็นหลัก และกลุ่มที่สามคือ อาหารเพื่อสุขภาพ เน้นการรับประทานสลัด ผัก ผลไม้
       
       ดร. พอลลีน เอ็มเม็ทท์ และ ดร. เคท นอร์ธสโตน สองนักวิจัยจากโครงการดังกล่าวเผยว่า ภาวะโภชนาการบกพร่องนั้นจะส่งผลต่อการพัฒนาของสมอง และจะไม่สามารถแก้ไขได้ แม้ว่าจะมีการปรับปรุงเมนูอาหารให้เด็กแล้วก็ตาม เนื่องจากทีมวิจัยพบว่า ในกลุ่มเด็กที่ได้รับประทานอาหารไม่มีประโยชน์นั้น เมื่อพวกเขามีอายุ 8 ขวบ มีอยู่ 20 เปอร์เซ็นต์มีระดับไอคิวต่ำกว่าเด็กกลุ่มที่ได้รับประทานอาหารที่มีประโยชน์ถึง 5 คะแนน
       
       "เมื่อพวกเด็ก ๆ อายุ 3 ขวบไปแล้ว การพัฒนาของสมองก็จะลดน้อยลง ซึ่งอาจหมายความว่า อาหารที่เด็ก ๆ รับประทานเข้าไปหลังจากช่วงนั้นอาจไม่สามารถเปลี่ยนแปลงอะไรได้มากแล้ว"
       
       ดร.เอ็มเม็ทท์ยังกล่าวด้วยว่า อาหารในกลุ่มที่ 2 - 3 นั้น (กลุ่มสองเนื้อสัตว์และผัก กลุ่มสาม เน้นผัก ผลไม้) สามารถช่วยให้เด็กมีระดับไอคิวที่ดี ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ พวกเด็ก ๆ ได้รับประทานผักสด เนื้อสัตว์ต่าง ๆ เช่นปลา และอาหารที่ทำเองในบ้านซึงมีปริมาณไขมันไม่สูง เมื่อเทียบกับกลุ่มจังค์ฟู้ดนั่นเอง




แพทย์ วิสัญญี เภสัชกร ยาแผนปัจจุบัน การดูแลผู้ป่วย สาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ

ควรทานยาปฏิชีวนะให้ครบ
ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
โรคฉี่หนู
อย่ากินแอปเปิ้ลไซเดอร์ถ้าไม่รู้ 4.5 ข้อนี้ article
ผิวดำง่ายมากเกิดจาก 6 ข้อนี้ article
กินอาหารแล้วอ้วนจริงหรือ article
เอ็นข้อศอกอักเสบ เกิดจากอะไร? article
เจาะลึกกระบวนการ 'ทดลองยาในคน' article
กว่าจะเป็นยา ต้องผ่านขั้นตอน อะไรบ้าง? article
5 โรคร้ายรักษาง่ายๆด้วย ข้าวกล้อง article
เคล็บลับนอนหลับง่ายๆโดยไม่ต้องใช้ยา article
5 อาหารไขมันสูงยิ่งกินยิ่งผอม article
มือชา รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
กระดูกพรุน รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
เท้าปุก คืออะไร? รักษาอย่างไร? article
กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
ปวดหลังร้าวลงขา นั่งไม่ได้ รักษาอย่างไร? article
โรคท้องผูก ลำไส้ทำงานอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
การรับมือกับโรคมะเร็ง article
โรคหลอดเลือดหัวใจในหนุ่มสาว article
การจัดการโรคไตเรื้อรัง และสิ่งที่เชื่อผิดๆ article
น้ำดื่มบำรุงไต ไม่อยากฟอกไตต้องดู article
5 ความเชื่อผิดๆที่ทำให้ลดน้ำหนักไม่มีวันสำเร็จ article
7 วิธีควบคุมความดันโดยไม่ต้องพึ่งยา article
3 เทคนิคลดความอ้วน “#ไม่ต้องออกกำลังกาย” article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน