ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




วิธีรับมือลูกน้อย “ท้องเสีย” ในช่วงวิกฤตน้ำท่วม article

วิธีรับมือลูกน้อย “ท้องเสีย” ในช่วงวิกฤตน้ำท่วม

  ในช่วงวิกฤตน้ำท่วม นอกจากจะสร้างความลำบากในการดำรงชีวิตแล้ว โรคภัยไข้เจ็บของเด็กเล็ก ก็เป็นสิ่งที่ผู้ปกครองต้องระมัดระวัง โดยเฉพาะภัยจากอาหารการกิน ที่เป็นเหตุให้เด็กเกิดอาการท้องเสีย
       
       หากเด็กน้อยที่บ้านกำลังเผชิญกับปัญหาท้องเสีย พญ.นิยะดา วิทยาศัย หัวหน้างานโรคระบบทางเดินอาหารและโภชนคลินิก กลุ่มมงานกุมารเวชาศาสตร์ สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) กรมการแพทย์ กระทรวงสาธารณสุข ได้ให้คำแนะนำไว้ดังนี้
       
       อาการถ่ายอุจจาระเหลว 3 ครั้ง หรือเป็นน้ำ 1 ครั้ง หรือเป็นมูกเลือด 1 ครั้งในเวลา 24 ชม.
       
       เป็นปัญหาของเด็กเล็กที่พบได้บ่อยโดยเฉพาะเด็กที่อายุต่ำกว่า 1 ปี เพราะมีโอกาสรับเชื้อง่ายจากการได้รับจากอาหาร-น้ำที่ปนเปื้อน หรือมือตัวเองร่วมกับภูมิต้านทานโรคต่ำ
       ปัญหาใหญ่ของโรคอุจจาระร่วงตามหลังน้ำท่วมคืออหิวาตกโรค ตามด้วยเชื้อบิดและเชื้อแบคทีเรียตัวอื่นที่ปนเปื้อนมาจากอุจจาระ
       
       หัวใจของการรักษาท้องเสียคือ การเริ่มต้นทดแทนการสูญเสียน้ำและเกลือแร่อย่างรวดเร็ว และทันทีในปริมาณที่เหมาะสมด้วยสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ สารละลายน้ำตาลเกลือแร่มีขายทั้งที่ผลิตโดยองค์กรเภสัชกรรม และบริษัทต่างๆ โดยทั่วไปผสม 1 ซองต่อน้ำต้มสุกที่เย็นแล้ว 1 แก้วน้ำหรือ 1 ขวดนม (8 ออนซ์)
       
       ถ้าไม่มีสารละลายน้ำตาลเกลือแร่สำเร็จรูปสามารถทำเองโดยใช้น้ำตาลทราย 2 ช้อนโต๊ะ + เกลือป่นครึ่งช้อนชา + น้ำสะอาด 3 แก้ว หรือ 3 ขวดนม (ขวดละ 8 ออนซ์) หรือน้ำข้าว + เกลือประมาณหยิบมือหรือเค็มพอรับประทานได้ หรือ น้ำมะพร้าว + เกลือ (เค็มพอรับประทานได้) ในเด็กเล็กให้ใช้ช้อนตักป้อนทีละน้อยบ่อยๆ ในเด็กโตใช้จิบทีละน้อยบ่อยๆ ในเด็กโตที่เริ่มกินข้าวแล้วอาจให้เพิ่มอีก 1 มื้อเป็นอาหารอ่อน เช่น ข้าวต้ม โจ๊ก ถ้าไม่มีอะไรจริงๆ ใช้น้ำชุป น้ำแกงจืดเติมเกลือเล็กน้อยก็พอไช้ได้
       
       ปริมาณสารละลายน้ำตาลเกลือแร่
       
       - อายุน้อยกว่า 2 ปีให้ครั้งละ 2-3 ออนซ์ (1/4 – 1/2 แก้วน้ำ) โดยให้ทุกครั้งที่มีการถ่ายอุจจาระเป็นน้ำ ให้โดยใช้ช้อนตักป้อนทีละน้อย
       - อายุ 2 - 10 ปี ครั้งละ ½ - 1 แก้วน้ำ (3-6 หรือ 8 ออนซ์)
       - อายุ 10 ปีขึ้นไปดื่มมากเท่าที่ดื่มได้

       อาหารที่ควรให้
       
       - เด็กเล็กที่เลี้ยงด้วยนมมารดาให้นมมารดาต่อไปให้เด็กดูดนมบ่อยขึ้นกว่าปกติ
       - เด็กที่เลี้ยงด้วยนมผสมให้ชงในอัตราส่วนปกติแต่ลดปริมาณที่กินต่อมื้อลงและชดเชยด้วยสารละลายน้ำตาลเกลือแร่
       - เด็กโตให้อาหารอ่อนที่ย่อยง่ายเป็นข้าวต้ม โจ๊ก โดยอาจต้องเพิ่มให้บ่อยกว่าปกติ
       
       ถ้าเด็กสามารถดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่และกินอาหารและนมได้ถึงแม้จะยังถ่ายอยู่แต่เด็กไม่อ่อนเพลีย ดูสดใสขึ้น แสดงว่าทดแทนการสูญเสียน้ำและเกลือแร่ด้วยสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ทัน และพอเพียงก็ให้ดื่มต่อไปจนกว่าจะหยุดถ่าย แต่ถ้าอาการไม่ดีขึ้นใน 2-3 วัน หรือมีข้อบ่งชี้อื่นๆ ควรพบแพทย์เพื่อให้การรักษา
       
       อาการหรือข้อบ่งชี้ที่ควรนำเด็กไปพบแพทย์ มีดังนี้
       
       1.ถ่ายอุจจาระเป็นมูกหรือมูกเลือด
       2.ไข้สูง หรือชัก
       3.อาเจียนบ่อย
       4.ท้องอืด
       5.หอบลึก
       6.ไม่ยอมดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่ทุกชนิดและ/หรือไม่ยอมดื่มนมหรือกินอาหาร
       7.ดื่มสารละลายน้ำตาลเกลือแร่แล้วแต่เด็กยังดูเพลีย, ซึม
       8.ถ่ายอุจจาระเป็นน้ำบ่อย (มากกว่า 10 ครั้งต่อวัน)
       
       แนวทางการป้องกันการเกิดการระบาดของโรคอุจจาระร่วงในภาวะน้ำท่วม
       
       1.จัดหาน้ำดื่มน้ำใช้และอาหารที่สะอาด ทำความสะอาดภาชนะที่ใช้ใส่อาหาร สำหรับขวดนมและจุกนมถ้าเป็นไปได้ควรหาโอกาส ต้มจนน้ำเดือดอย่างน้อย 10 นาที
       2.หาภาชนะใส่สิ่งขับถ่ายที่ปิดมิดชิดและกำจัดอย่างถูกวิธี ไม่ขับถ่ายลงน้ำ
       3.หมั่นล้างมือให้สะอาดโดยเฉพาะอย่างยิ่งหลังจากการขับถ่ายและก่อนการปรุงอาหารหรือการเติมขวดนมหรือขวดน้ำให้เด็ก
       4.จัดหาผงละลายน้ำตาลเกลือแร่ไว้ติดบ้านเพื่อใช้ดื่มทดแทนในภาวะที่เกิดโรคอุจจาระร่วงเพื่อเป็นการป้องกันและชดเชย ภาวะขาดน้ำ และสมดุลเกลือแร่ในร่างกาย
       ในภาวะน้ำท่วมเป็นระยะเวลานานการเกิดโรคอุจจาระร่วงเป็นสิ่งที่หลีกเลี่ยงได้ยาก ความรู้เบื้องต้นในหลักสุขอนามัย จึงเป็นหัวใจสำคัญในการป้องกันการเกิดการระบาดและลดอัตราการเจ็บป่วยรวมทั้งความรุนแรงของโรคอุจจาระร่วง
       
       ////////////////
       ในภาวะวิกฤตน้ำท่วม สถาบันสุขภาพเด็กแห่งชาติมหาราชินี (รพ.เด็ก) ได้เปิดสายด่วน Call Center เปิดสายให้คำแนะนำเกี่ยวกับปัญหาทางสุขภาพและอุบัติภัยในเด็ก ในภาวะวิกฤตน้ำท่วม โดยบุคลากรทางการแพทย์ โทร. 0-2354-8346


 




แพทย์ วิสัญญี เภสัชกร ยาแผนปัจจุบัน การดูแลผู้ป่วย สาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ

ควรทานยาปฏิชีวนะให้ครบ
ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
โรคฉี่หนู
อย่ากินแอปเปิ้ลไซเดอร์ถ้าไม่รู้ 4.5 ข้อนี้ article
ผิวดำง่ายมากเกิดจาก 6 ข้อนี้ article
กินอาหารแล้วอ้วนจริงหรือ article
เอ็นข้อศอกอักเสบ เกิดจากอะไร? article
เจาะลึกกระบวนการ 'ทดลองยาในคน' article
กว่าจะเป็นยา ต้องผ่านขั้นตอน อะไรบ้าง? article
5 โรคร้ายรักษาง่ายๆด้วย ข้าวกล้อง article
เคล็บลับนอนหลับง่ายๆโดยไม่ต้องใช้ยา article
5 อาหารไขมันสูงยิ่งกินยิ่งผอม article
มือชา รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
กระดูกพรุน รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
เท้าปุก คืออะไร? รักษาอย่างไร? article
กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
ปวดหลังร้าวลงขา นั่งไม่ได้ รักษาอย่างไร? article
โรคท้องผูก ลำไส้ทำงานอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
การรับมือกับโรคมะเร็ง article
โรคหลอดเลือดหัวใจในหนุ่มสาว article
การจัดการโรคไตเรื้อรัง และสิ่งที่เชื่อผิดๆ article
น้ำดื่มบำรุงไต ไม่อยากฟอกไตต้องดู article
5 ความเชื่อผิดๆที่ทำให้ลดน้ำหนักไม่มีวันสำเร็จ article
7 วิธีควบคุมความดันโดยไม่ต้องพึ่งยา article
3 เทคนิคลดความอ้วน “#ไม่ต้องออกกำลังกาย” article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน