ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




"รกฝังลึก"..ภาวะอันตรายที่คุณแม่ควรรู้! article

"รกฝังลึก"..ภาวะอันตรายที่คุณแม่ควรรู้

นพ.วรชัย ชื่นชมพูนุท
       ปฏิเสธไม่ได้ว่า ในการคลอดลูกแต่ละครั้งนั้น คุณแม่หลาย ๆ ท่านมักจะให้ความสนใจไปที่เจ้าตัวเล็กว่าจะครบสามสิบสองหรือไม่ แต่น้อยคนนักที่จะตระหนักถึงภาวะอันตรายที่เกิดจากรกอย่าง "รกฝังลึก" ซึ่งเรื่องนี้ก็มีความสำคัญที่ไม่ควรมองข้ามเช่นกัน
       
       เกี่ยวกับเรื่องนี้ นพ.วรชัย ชื่นชมพูนุท สูติ-นรีแพทย์ ศูนย์สุขภาพสตรี โรงพยาบาลบีเอ็นเอช อธิบายให้ทีมงาน Life & Family ฟังว่า ในการตั้งครรภ์ที่ปกติ การฝังตัวของรกจะไม่ฝังลึกลงไปถึงชั้นกล้ามเนื้อของผนังมดลูก อย่างมากที่สุดก็ไม่เกินชั้นเยื่อบุโพรงมดลูกเท่านั้น และเมื่อมีการคลอด รกก็จะลอกหลุดออกมาได้ง่าย พร้อมกับชั้นบนของเยื่อบุโพรงมดลูกที่จะลอกหลุดออกมาด้วย แต่ในคุณแม่บางคน รกจะฝังตัวลึกเข้าไปถึงชั้นกล้ามเนื้อมดลูก และบางรายอาจจะฝังตัวลึกมากจนทะลุชั้นกล้ามเนื้อมดลูกออกมา จนถึงด้านนอกของมดลูกเลยก็มี
       
       "การวางตัวของรกโดยทั่วไปแล้วจะวางอยู่บนกล้ามเนื้อมดลูก แต่มีบางกรณีที่รกแทนที่จะฝังตัวอยู่แค่ผิวกล้ามเนื้อ แต่กลับฝังลึกเข้าไปถึงกล้ามเนื้อ หรือบางรายทะลุไปถึงผนังของมดลูกเลยก็มีเหมือนกัน ซึ่งปัญหาก็คือ หลังคลอด รกก็จะไม่คลอดออกมาด้วย รกก็จะติดอยู่ ทำให้เกิดปัญหาการติดเชื้อ เกิดปัญหาของการเสียเลือดมากหลังคลอดได้" สูติ-นรีแพทย์อธิบายเสริม
       
       สำหรับสาเหตุของรกฝังลึกนั้น สูติ-นรีแพทย์รายนี้ บอกว่า เกิดจากคุณแม่ที่เคยขูดมดลูกมาก่อน และผ่านการคลอดมาแล้วหลายครั้ง หรือได้รับการผ่าตัดคลอดหลังจากผ่ามาแล้ว 1-2 ครั้ง เพราะการผ่าตัดคลอดจะทำให้เกิดแผลที่ผนังมดลูก ในรายที่แผลเป็นที่เกิดจากการผ่าตัดไม่สมานกันจนแต่ละชั้นติดกันสนิทเหมือนเดิม ถ้ารกไปฝังตัวที่บริเวณดังกล่าวก็อาจทำให้ฝังลึกกว่าปกติได้

ขอบคุณภาพประกอบจากอินเทอร์เน็ต
       นอกจากปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวข้างต้นแล้ว คุณแม่ที่มีภาวะรกเกาะต่ำ มีความเสี่ยงที่จะเกิดรกฝังลึกได้เช่นกัน
       
       "มีข้อมูลทางการแพทย์พบว่า 10 เปอร์เซ็นต์ของรกที่เกาะต่ำ ส่วนหนึ่งจะเป็นรกฝังลึกด้วย หมายความว่า ใน 100 คนที่รกเกาะต่ำ จะมี 10 คนเสี่ยงต่อการเกิดรกฝังลึกได้ และที่น่ากังวลไปกว่านั้นคือ ถ้าในกรณีที่เคยผ่าตัดคลอดมาแล้ว เมื่อตั้งครรภ์ท้องต่อไปเกิดมีภาวะรกเกาะต่ำร่วมด้วย โอกาสเกิดรกฝังลึกจะเพิ่มเป็น 30 เปอร์เซ็นต์ หรือ 1 ใน 3 เลยทีเดียว"
       
       เมื่อถามต่อไปถึงวิธีการป้องกัน สูติ-นรีแพทย์ท่านนี้ บอกว่า ไม่สามารถบอกได้แน่ชัด แต่ถ้าคุณแม่มีปัจจัยเสี่ยงดังกล่าวข้างต้นก็จะทำให้คุณหมอตระหนัก และเตรียมรับมือกับรกฝังลึกได้ทันท่วงที ซึ่งการผ่าตัดเอามดลูกออกพร้อมกับรกที่ยังค้างอยู่ เป็นวิธีการรักษาที่ดีที่สุด
       
       "การทำอัลตร้าซาวด์ก็พอบอกได้นะ แต่ถ้าเช็กแล้วทุกอย่างปกติดี หลังคลอดแล้วเกินครึ่งชั่วโมง รกไม่ยอมคลอดออกมา เป็นไปได้ที่จะรกจะฝังแน่น และฝังลึกจนต้องใช้วิธีล้วงรกออกมา แต่บางครั้งก็มีปัญหาดึงออกไม่หมด ซึ่งรกที่ค้างอยู่ในมดลูกจะขัดขวางทำให้มดลูกหดรัดตัวได้ไม่ดี และทำให้โพรงมดลูกไม่สามารถยุบขนาดลงได้ เลือดที่ออกจากโพรงมดลูกจึงไม่ลดปริมาณลงตามไปด้วย ส่งผลให้เลือดไหลและมีโอกาสเสียเลือดมาก ตรงนี้ขึ้นอยู่กับแพทย์ที่ทำคลอดว่าจะมีวิธีจัดการอย่างไรเพื่อไม่ให้เสียเลือดมาก บางทีอาจจะต้องตัดมดลูกออกก็มีเหมือนกัน"
       
       อย่างไรก็ตาม ภาวะรกฝังลึก พบได้ไม่บ่อยนัก แต่ถ้าเกิดปัญหาขึ้นมา อาจทำให้เกิดอันตราย หรือเสี่ยงต่อการที่ทำให้คุณแม่เสียเลือดระหว่างคลอดได้ค่อนข้างมาก ดังนั้นจึงเป็นเรื่องที่คุณแม่ควรตระหนัก และให้ความสำคัญ




แพทย์ วิสัญญี เภสัชกร ยาแผนปัจจุบัน การดูแลผู้ป่วย สาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ

ควรทานยาปฏิชีวนะให้ครบ
ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
โรคฉี่หนู
อย่ากินแอปเปิ้ลไซเดอร์ถ้าไม่รู้ 4.5 ข้อนี้ article
ผิวดำง่ายมากเกิดจาก 6 ข้อนี้ article
กินอาหารแล้วอ้วนจริงหรือ article
เอ็นข้อศอกอักเสบ เกิดจากอะไร? article
เจาะลึกกระบวนการ 'ทดลองยาในคน' article
กว่าจะเป็นยา ต้องผ่านขั้นตอน อะไรบ้าง? article
5 โรคร้ายรักษาง่ายๆด้วย ข้าวกล้อง article
เคล็บลับนอนหลับง่ายๆโดยไม่ต้องใช้ยา article
5 อาหารไขมันสูงยิ่งกินยิ่งผอม article
มือชา รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
กระดูกพรุน รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
เท้าปุก คืออะไร? รักษาอย่างไร? article
กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
ปวดหลังร้าวลงขา นั่งไม่ได้ รักษาอย่างไร? article
โรคท้องผูก ลำไส้ทำงานอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
การรับมือกับโรคมะเร็ง article
โรคหลอดเลือดหัวใจในหนุ่มสาว article
การจัดการโรคไตเรื้อรัง และสิ่งที่เชื่อผิดๆ article
น้ำดื่มบำรุงไต ไม่อยากฟอกไตต้องดู article
5 ความเชื่อผิดๆที่ทำให้ลดน้ำหนักไม่มีวันสำเร็จ article
7 วิธีควบคุมความดันโดยไม่ต้องพึ่งยา article
3 เทคนิคลดความอ้วน “#ไม่ต้องออกกำลังกาย” article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน