ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




เตือนภัย : อันตรายจากภาชนะหุงต้ม ในครัว

เตือนภัย : อันตรายจากภาชนะหุงต้ม ในครัว
 
 

 ในยุคที่ผู้คนตื่นตัวในเรื่องของสุขภาพ สิ่งหนึ่งที่ทำให้คนเราหวาดผวากันมากคือ สารพิษปนเปื้อนที่มากับอาหาร แต่สารพิษส่วนหนึ่งที่เราได้รับ อาจเกิดขึ้นจากภาชนะในครัวเรือนที่ใช้กันอยู่ทุกวัน


          เมื่อหลายปีที่แล้วนักวิจัยได้เตือนผู้บริโภคว่า อะลูมิเนียมอาจมีส่วนที่ทำให้เกิดโรคสมองเสื่อมอัลไซเมอร์ ทำให้ผู้บริโภคพากันโยนหม้อ กระทะที่ทำจากอะลูมิเนียมทิ้งเป็นจำนวนมาก แต่ข้อมูลการวิจัยในปัจจุบันพบว่า อะลูมิเนียมที่ละลายออกมาปนในอาหารมีปริมาณเพียงเล็กน้อย ซึ่งไม่ก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพ  ดังนั้นการใช้ภาชนะอะลูมิเนียมหุงต้มอาหารจึงค่อนข้างปลอดภัย


           ภาชนะที่ทำจากสเตนเลส เป็นภาชนะที่นิยมใช้รองลงมา สเตนเลสมีส่วนผสมของโลหะหลายชนิด เช่น นิกเกิล โครเมียม เหล็ก และโมลิบเดนัม  จากการวิจัยพบว่าภาชนะเครื่องครัวที่ทำจากสเตนเลส อาจให้ประโยชน์ต่อร่างกาย เพราะสเตนเลสมีส่วนผสมของโครเมียมและธาตุเหล็ก ซึ่งเป็นแร่ธาตุที่จำเป็นต่อร่างกาย เมื่อนำมาใช้หุงต้มก็จะมีธาตุเหล่านั้นออกมาปะปนในอาหารเพียงเล็กน้อย จึงไม่เป็นอันตรายต่อร่างกาย แต่กลับให้ประโยชน์ต่อผู้ที่ขาดโครเมียมและธาตุเหล็ก


           แต่ขณะเดียวกัน สารนิกเกิลอาจเป็นสาเหตุทำให้เกิดอาการของผิวหนังได้ ในผู้ที่แพ้นิกเกิล  อย่างไรก็ตาม นิกเกิลจะละลายออกมาในอาหารที่เครื่องปรุงมีฤทธิ์เป็นกรด เช่น การใช้น้ำส้มสายชูหรือซอสมะเขือเทศ  สำหรับคนที่มีอาการแพ้สารนิกเกิล ก็อาจจะเลือกใช้ภาชนะสเตนเลสที่เคลือบสารอีนาเมลซึ่งเป็นสารเคมีที่ไม่ก่อให้เกิดปฏิกิริยากับอาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรด


           ภาชนะที่ทำมาจากทองแดง ตอบสนองต่อความร้อนได้ดี แต่ถ้านำมาปรุงอาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรดจะสามารถละลายทองแดงออกมาได้ ทองแดงจะเป็นธาตุที่สำคัญต่อร่างกายในการช่วยสร้างเม็ดเลือดแดง การได้รับทองแดงในปริมาณเล็กน้อยไม่ได้ก่อให้เกิดปัญหาต่อสุขภาพ แต่ถ้าร่างกายได้รับการสะสมทองแดงในปริมาณมากเกินระดับที่ควรมีในเลือด จะทำให้เกิดอาการท้องเสียและอาเจียนจากทองแดงเป็นพิษได้ เพื่อป้องกันปัญหานี้ภาชนะที่ทำจากทองแดง จึงได้รับวิวัฒนาการขึ้นมาด้วยการเคลือบดีบุก แต่ดีบุกที่เคลือบไว้ก็จะมีการเสื่อมไปตามอายุการใช้งาน ฉะนั้นเมื่อใช้ไปนาน ๆ ก็ควรจะมีการเปลี่ยนใหม่  


           ภาชนะที่เคลือบสารเทฟลอน สารชนิดนี้ช่วยป้องกันการติดของอาหาร ทั้งยังทำความสะอาดง่าย และช่วยลดปริมาณไขมันในการปรุงอาหารได้ด้วย เพราะภาชนะหากไม่เคลือบเทฟลอนจะต้องใช้น้ำมันมากขึ้นเวลาผัดหรือทอด เพื่อไม่ให้อาหารติดกระทะ อนึ่งหากมีการลอกหลุดของสารที่เคลือบปะปนกับอาหาร ก็จะไม่เกิดอันตรายต่อผู้บริโภค เนื่องจากเป็นสารที่ไม่เป็นพิษ ร่างกายไม่สามารถดูดซึมเข้าไปได้และจะถูกขับถ่ายออกมา


          ภาชนะเซรามิก ภาชนะชนิดนี้มีส่วนผสมของสารตะกั่วอยู่ หากมีอยู่ในปริมาณที่มากเกินไปจะเป็นอันตรายได้ เมื่อนำไปใส่อาหารโดยเฉพาะอย่างยิ่งอาหารที่มีฤทธิ์เป็นกรด  รวมทั้งมีข้อเตือนว่าไม่ควรใช้ภาชนะประเภทนี้กับกาแฟร้อน ชาร้อน ซุปมะเขือเทศ และน้ำผลไม้เพราะจะทำให้สารตะกั่วละลายออกมาได้


          สารตะกั่วเป็นอันตรายต่ออวัยวะและระบบต่าง ๆ ของร่างกาย เช่น ตับ ไต ระบบสืบพันธุ์ ระบบหมุนเวียนโลหิตหัวใจ ระบบภูมิต้านทาน  และระบบย่อยอาหาร สารตะกั่วจะถูกดูดซึมเข้าไปสะสมอยู่ในอวัยวะต่าง ๆ โดยเฉพาะในกระดูกจะสะสมปนกับแคลเซียม เพราะร่างกายไม่สามารถจะแยกระหว่างสารตะกั่วและแคลเซียมได้ ถ้าสารตะกั่วสะสมในปริมาณมากจะทำให้เกิดพิษได้ ถ้าเกิดขึ้นในเด็กสารตะกั่วจะทำลายเซลล์สมอง ทำให้สมรรถภาพในการเรียนรู้เสียไป ยับยั้งการเจริญเติบโตทำให้ร่างกายแคระแกรน และตายในที่สุด

    
         ฉะนั้น เพื่อความปลอดภัยโดยเฉพาะอย่างยิ่งสำหรับหญิงตั้งครรภ์ ไม่ควรใช้ภาชนะเซรามิกบรรจุเก็บรักษาอาหาร หรือแม้กระทั่งเครื่องดื่มในชีวิตประจำวัน 

ข้อแนะนำเพื่อความปลอดภัยในการใช้ภาชนะ
  
         หลีกเลี่ยงการเก็บรักษาอาหารเป็นเวลานาน ๆ ในภาชนะหุงต้ม เมื่อปรุงอาหารเสร็จแล้ว อาหารที่เหลือควรเก็บไว้ในภาชนะพลาสติกหรือภาชนะที่ทำด้วยแก้ว 
    
        ทำความสะอาดภาชนะตามคำแนะนำของผู้ผลิต หลีกเลี่ยงการขัดถูที่จะทำให้ผิวหน้าของภาชนะถลอกหรือหลุดลอก   
พลาสติกในครัวเรือนปลอดภัยเพียงใด ? 
     
          สารเคมีที่สลายจากพลาสติกสามารถผ่านเข้าไปในอาหารได้ ไม่ว่าจะถูกความร้อนหรือไม่ แต่ความร้อนและแสงจะเร่งกระบวนการให้เกิดเร็วขึ้น คำถามที่ตามมาคือ สิ่งเหล่านั้นก่อให้เกิดปัญหาสุขภาพในอนาคตได้หรือไม่ โดยเฉพาะอย่างยิ่งสารประเภทที่ทำลายฮอร์โมน  สารประเภทนี้จะรบกวนหรือยับยั้งการทำงานของฮอร์โมนธรรมชาติในร่างกาย ลดปริมาณอสุจิ ทำให้เด็กเป็นสาวเร็วกว่าอายุที่ควรและเพิ่มความเสี่ยงของโรคมะเร็ง

      
         พลาสติกที่สลายตัวสามารถที่จะผ่านเข้าไปปะปนกับอาหาร พบได้มากในภาชนะใช้ใส่อาหารซื้อกลับบ้าน อาหารที่บรรจุในภาชนะประเภทนี้เป็นเวลานาน จะมีกลิ่นและรสของพลาสติกชนิดนี้ติดมาด้วย


          อาหารประเภทที่เป็นกรด จะดูดซึมสารพลาสติกได้ดีกว่าอาหารชนิดที่เป็นด่างหรือกรดต่ำ ความร้อนสูง ๆ เช่น จากเตาไมโครเวฟ และความเย็นจากตู้เย็นสามารถเพิ่มปริมาณการดูดซึมสารพลาสติกเข้าไปในอาหารได้ 


          แม้แต่พลาสติกที่ใช้กับเตาไมโครเวฟก็อาจก่อให้เกิดอันตรายได้ อันตรายที่มักเกิดขึ้นคือ ผู้บริโภคมักใช้ภาชนะพลาสติกที่ไม่ได้ระบุว่า ใช้กับตู้อบไมโครเวฟอุ่นอาหาร ทำให้พลาสติกละลายเข้าไปในอาหารและยังทำลายรสชาติของอาหารที่อุ่น

ข้อแนะนำสำหรับการใช้ผลิตภัณฑ์พลาสติก

- เวลาอุ่นอาหารในตู้อบไมโครเวฟ เลือกภาชนะที่ทำจากแก้วหรือเซรามิคแก้ว หลีกการเลี่ยงการใช้ภาชนะพลาสติก แม้จะระบุว่าปลอดภัยในการใช้กับไมโครเวฟ  
          
- ไม่ใช้พลาสติกห่ออาหารในการปรุงหรืออุ่นอาหารในตู้อบไมโครเวฟ
- อาหารประเภทเนื้อสัตว์ หรือซีสใช้วัสดุประเภทโฟลีเอ็ทธีลีนห่อเพราะไม่มีสารพลาสติก หรือถ้าจะให้ดีไปกว่านั้นห่อด้วยแผ่นอะลูมิเนียมฟอยล์หรือกระดาษไข 
- อาหารที่เหลือ เก็บไว้ในภาชนะประเภทที่ทำด้วยแก้ว 
- ภาชนะพลาสติกที่เก่าชำรุดไม่ควรนำมาใช้ต่อ



เตาไมโครเวฟ
       
            สิ่งที่ผู้บริโภคต้องระวังในการใช้เตาไมโครเวฟ คือ ภาชนะที่ใช้ใส่อาหารประเภทโลหะ กระดาษอะลูมิเนียม นมบรรจุในกล่องกระดาษที่บุด้านในด้วยอะลูมิเนียม จานชามที่มีขอบเป็นโลหะเงินหรือโลหะทอง ไม่ควรใช้กับเตาไมโครเวฟ โลหะ เช่น ลวดที่ใช้มัดถุงพลาสติกควรแกะออก มิฉะนั้นอาจทำให้เกิดการติดไฟ และอาจเกิดไฟไหม้ภายในตู้อบไมโครเวฟได้ 


สารรังสีที่รั่วจากเตาไมโครเวฟ มีอันตรายเพียงใด
          ปริมาณของสารรังสีที่รั่วจากตู้อบไมโครเวฟค่อนข้างต่ำ และไม่อยู่ในเกณฑ์ที่จะก่อให้เกิดอันตราย สิ่งที่แม่บ้านควรระวังเป็นพิเศษ คือ เมื่อวัสดุตามขอบประตูชำรุดหรือหากมีรอยร้าวและรอยแตก เศษอาหารติดอยู่ตามขอบตู้ทำให้ประตูปิดไม่สนิท หรือ การชำรุดของตู้เนื่องจากการขนย้าย หรือเกิดเปลวไฟภายในตู้ จะทำให้มีปริมาณรังสีรั่วมากกว่าระดับปกติซึ่งเป็นอันตรายได้


        สำหรับผู้ป่วยโรคหัวใจที่ใส่เครื่องควบคุมระบบการทำงานของหัวใจ (pacemakers) โดยเฉพาะรุ่นเก่าซึ่งไม่สามารถจะป้องกันการรบกวนของคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า จากตู้อบไมโครเวฟเหมือนเครื่องควบคุมรุ่นใหม่ ควรอยู่ห่างจากตู้อบไมโครเวฟประมาณ 5 ฟุต และพบแพทย์ทันทีเมื่อมีอาการผิดปกติ




ภัย ชีวิตและทรัพย์สินต่างๆ อย่าประมาท เกิดง่าย ดำรงค์ชีวิตยาก การเกิดเป็นทุกข์ในโลก (ระวังๆๆๆๆๆๆๆ

มาแล้ว! 'พายุโมลาเบ' เข้าไทยวันนี้ อีสานโดนก่อน เตือนทั่วไทยฝนตกหนัก 28-30 ต.ค.63 article
ผู้ว่าฯแจ้งเตือนชาวโคราช 14 อำเภอ ต้องระบายน้ำเขื่อนลำพระเพลิง-ลำตะคอง รับมือพายุโมลาเบ article
เตือนใช้เครื่องทำน้ำอุ่นระบบแก๊ส ต้องเปิดพัดลมระบายอากาศ หลังพบคนวูบคาห้องน้ำ 3 รายที่ภูทับเบิก article
เตือนรับมือไต้ฝุ่น 'โมลาเบ' ทั่วไทยฝนตกหนัก 28-30 ต.ค.63 article
ฝุ่น PM 2.5 คัมแบ็ค! เตือนชาวกรุงรับมือ ค่าฝุ่นพุ่งเกินมาตรฐาน ตั้งแต่เช้าตรู่ article
เตือนไวรัส RSV ระบาดหนักกว่าโควิด เด็กป่วยเพียบ ยิ่งอายุน้อยยิ่งรุนแรง article
เตรียมรับมือพายุลูกใหม่ 'โมลาเบ' เตือนอีสานอาจเจอฝนตกหนัก 29-31 ต.ค.63 article
เตือนภัย หญิงเร่ร่อนสุดแสบ ขโมยอาหารทะเลหน้าร้าน ชาวบ้านแฉพฤติกรรมสุดเอือม article
ลุยโค่นต้นตีนเป็ดริมถนน ส่งกลิ่นเหม็น ทำชาวบ้านป่วยทางเดินหายใจ article
รีบซักผ้า! ช่วงนี้ไทยฝนลดลง ก่อนพายุ 'โซเดล' มาถล่มอีกลูก 25-26 ต.ค.นี้ article
ปีนี้หนาวเร็ว! อุตุฯจ่อประกาศไทยเข้าสู่ฤดูหนาวสัปดาห์นี้ ชี้ 22-26 ต.ค. อุณหภูมิลดอีก 2-3 องศา article
หนุ่มอุ้มหมานั่ง จยย. หมาตกใจโดดหนี เจ้าของคว้าพลาดตก จยย. ถูกรถพ่วงเหยียบร่างทั้งคนและสุนัข article
อุตุฯชี้ไทยมีฝนลดลง แต่ยังตกหนักในบางพื้นที่ภาคใต้ article
ภาคกลาง-ตะวันออก เจอน้ำท่วมหนัก สระแก้ววิกฤตสุดในรอบ 8 ปี article
ไม่ใช่ไฝ! คันมือไม่หาย มีจุดดำๆนึกว่าไฝ สุดสะพรึงที่แท้เป็นเห็บเกาะหลายวัน article
มากับฝน! สยองฝูงปลิงควายอาละวาดดูดเลือดชาวบ้านทั้งชุมชน article
ผู้ว่าสั่งล็อกดาวน์ 2 ชุมชนในแม่สอด หลังครอบครัวเมียนมาติดโควิดเพิ่มอีก 3! article
โคราชวิกฤต อ่างเก็บน้ำลำตะโง่แตก-น้ำใกล้ล้นเขื่อนลำตะคอง พ่อเมืองแจ้งด่วน 11 อำเภอรับมือวิกฤตน้ำ article
เตือนโควิดระบาดหนักในฤดูหนาว ติดเชื้อทั่วโลกใกล้ 40 ล้านคน article
5 กลลวง ชวนเล่นพนันออนไลน์ article
เตือน! "ลานีญา" รุนแรง ไทยเตรียมรับพายุ 5 ลูก ถล่ม article
เล็งเปิด 4 จว. รับนักท่องเที่ยวกลุ่มเสี่ยงต่ำกักตัวโควิด-19 article
บช.น.แนะเลี่ยง 5 เส้นทางหลัก ชุมนุม 14 ต.ค.นี้ - เตรียมกำลัง-เครื่องกีดขวาง สกัดม็อบบุกทำเนียบ article
ชาวบ้านพังงาผวา! เจอจระเข้ 4 ตัวว่ายข้ามคลอง ฝากหลักฐานเป็นรอยเท้าไว้ริมตลิ่ง article
อีก 2 กม.จะถึงวัด...จากงานบุญเป็นงานศพ ฟังเสียงผู้รอดชีวิต เหตุรถไฟชนรถบัสกฐิน ดับแล้ว 18 เจ็บระนาว article
ฮือจี้ปิดด่านแม่สอด ผวาโควิดเมียนมา อย่าเห็นแก่การค้า หลังคนขับรถบรรทุกติดเชื้อ 2 ราย article
อึ้ง! ซื้อชาไทยตลาดนัดสันกำแพง แช่ตู้เย็นข้ามคืน กลายเป็นยางยืดหนืดกินไม่ได้ article
หมาจรจัดวิ่งไล่กัดเด็กในโรงเรียน เจ็บ 6 คน ชาวบ้านเดินผ่านก็โดน จนท.เข้าจับหมาแล้ว article
เตรียมแจ้งข้อหา ม.5 ข่มขืนรุ่นน้อง ม.1 ในรร. แม่ใจสลาย ลั่นเอาเรื่องถึงที่สุด พบเคยก่อเหตุทำอนาจาร article
เสื่อม! ยายแท้ๆพาหลานค้ากาม อ้างหาเงินใช้หนี้ แม่สุดเจ็บปวดต้องแจ้งจับแม่ตัวเอง article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน