ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




แม่ท้องต้องดื่มนม article

 

แม่ท้องต้องดื่มนม

เวลาแห่งการตั้งครรภ์นั้น ถือเป็นช่วงเวลาแห่งความมหัศจรรย์ในชีวิตของผู้หญิง เพราะเป็นช่วงเวลาที่คุณจะมีโอกาสได้ดูแลอีกหนึ่งชีวิตน้อยๆ ที่กำลังจะถือกำเนิดขึ้น ด้วยการดูแลตัวของคุณเอง ซึ่งเรื่องหนึ่งที่ว่าที่คุณแม่ให้ความสำคัญ ก็คงจะหนีไม่พ้นเรื่องของอาหารการกิน เพราะสิ่งนี้จะเข้าสู่ร่างกายของคุณแม่ และนำไปพัฒนาลูกน้อยในครรภ์โดยตรง การเลือกรับประทานอาหารให้ครบทั้ง 5 หมู่ และเลือกเฉพาะสิ่งที่มีประโยชน์จึงมีความสำคัญ ซึ่งนอกเหนือไปจากอาหารแต่ละมื้อซึ่งว่าที่คุณแม่ต้องพิถีพิถันมากเป็นพิเศษ แล้ว “นม” ก็เป็นเครื่องดื่มที่ขาดไม่ได้ สำหรับว่าที่คุณแม่ เพราะการดื่มนมนั้น ไม่เพียงจะช่วยบำรุงร่างกายของคุณแม่เท่านั้น แต่ยังทำให้ลูกน้อยในครรภ์ได้รับสารอาหารที่จำเป็นต่อพัฒนาการอย่างครบถ้วน อีกด้วย

ทำไมแม่ท้องต้องดื่มนม
     ในช่วงที่กำลังตั้งครรภ์ร่างกายของคุณแม่จะเกิดความเปลี่ยนแปลงอย่างมาก การดื่มนมและรับประทานอาหารที่มีประโยชน์ให้ครบทั้ง 5 หมู่เป็นประจำ จะช่วยซ่อมแซมและบำรุงร่างกายของคุณแม่ได้เป็นอย่างดี นอกไปจากนี้ ขณะที่ตั้งครรภ์แคลเซียมในร่างกายของคุณแม่จะลดลง เนื่องจากถูกดึงไปใช้ในการสร้างเนื้อเยื่อ กระดูก และฟัน ของเจ้าตัวน้อย ดังนั้น หากคุณแม่ดื่มนมวันละหนึ่งกล่อง หรือ 251 กรัม เป็นประจำ ก็จะทำให้ร่างกายได้รับแคลเซียมอย่างเพียงพอสำหรับตัวคุณและลูกน้อยในครรภ์

เลือกนมอย่างไร ได้สารอาหารดีๆ
     ว่าที่คุณแม่หลายๆ ท่านคงพิถีพิถันในทุกๆ เรื่องของชีวิต ไม่เว้นแม้แต่การเลือกดื่มนม ดังนั้น เพื่อให้ได้สิ่งที่ดีที่สุดเพื่อลูกน้อยในครรภ์ คุณควรเลือกดื่มนมที่ให้สารอาหารที่มีประโยชน์อย่างครบถ้วน ซึ่งสารอาหารที่คุณแม่ควรได้รับจากการดื่มนมนั้นมีอะไร และสำคัญอย่างไร เรามีข้อมูลมาฝากค่ะ

  • ดีเอชเอ เป็นกรดไขมันที่มีบทบาทสำคัญต่อพัฒนาการและการทำงานของสมองและจอประสาทตาของลูกในครรภ์  โดยจะเริ่มสะสมดีเอชเอตั้งแต่ทารกยังอยู่ในครรภ์ระยะ 3 เดือนสุดท้าย จนถึงอายุ 18 เดือนหลังคลอด ซึ่งมีการสะสมดีเอชเอที่จอประสาทตาสูงสุดในช่วงสัปดาห์ที่ 36-40 ทารกในครรภ์และทารกแรกเกิดมีความสามารถในการนำกรดไขมันโอเมก้า 3 (สารตั้งต้นของดีเอชเอ) ไปใช้ได้อย่างจำกัด จึงจำเป็นต้องได้รับจากคุณแม่ผ่านทางรกและจากนมแม่แทน คุณแม่จึงต้องเลือกอาหารที่มีกรดไขมันโอเมก้า 3 อย่างเพียงพอ เพื่อลูกน้อยโดยเฉพาะในช่วงตั้งครรภ์และ 3 เดือนแรกของการให้นมทารก
  • โคลีน เป็นองค์ประกอบสำคัญในกระบวนการต่างๆ ของร่างกายแม่และทารก โดยเฉพาะอย่างยิ่งในการพัฒนาสมองระยะแรกของทารก  และเป็นส่วนประกอบสำคัญของเยื่อหุ้มเซลล์และเนื้อเยื่อต่างๆ รวมถึงสารสื่อประสาทที่ใช้ในการติดต่อสื่อสารระหว่างเซลล์ประสาทต่างๆ ซึ่งมีส่วนช่วยในการเสริมสร้างการเรียนรู้และความจำ

สถาบันทางการแพทย์ของสหรัฐอเมริกา (US Institute of Medicine) จึงกำหนดปริมาณโคลีนที่เพียงพอสำหรับทารก เด็ก ผู้ใหญ่ และหญิงตั้งครรภ์ หรือให้นมบุตร นั่นคือ หญิงตั้งครรภ์ 450 มิลลิกรัม/วัน หญิงให้นมบุตร 550 มิลลิกรัม/วัน

  • โฟเลต  มีส่วนสำคัญในการช่วยสร้างเม็ดเลือดแดงในการตั้งครรภ์เดือนแรกๆ คุณแม่จำเป็นต้องได้รับโฟเลตเพื่อช่วยในการสร้างหลอดประสาทและสมองของลูกน้อย
  • วิตามิน บี 12 ช่วยการทำงานของระบบประสาทและสมอง
  • แคลเซียมและฟอสฟอรัส ช่วยให้กระดูกและฟันแข็งแรง
  • วิตามินดี ช่วยในการดูดซึมแคลเซียมและฟอสฟอรัสเข้าสู่ร่างกาย
  • โปรตีน ให้กรดอะมิโนที่ซ่อมแซม และสร้างโปรตีนชนิดต่างๆ  ในร่างกาย
  • ธาตุเหล็ก เป็นส่วนสำคัญของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง
  • ไอโอดีน เป็นส่วนประกอบสำคัญของฮอร์โมนไทรอยด์ ซึ่งทำหน้าที่ควบคุมการเติบโตและพัฒนาร่างกายและสมอง

     เมื่อรู้แล้วว่าการดื่มนมมีประโยชน์ต่อคุณแม่ตั้งครรภ์อย่างไร และในการดื่มนมควรได้สารอาหารอะไรบ้าง ก็ถึงเวลาที่คุณแม่ตั้งครรภ์ทั้งหลายจะต้องหันมาให้ความสำคัญกับการดื่มนมอย่างจริงจัง เพื่อสุขภาพแข็งแรงของคุณและลูกน้อยในครรภ์แล้วล่ะค่ะ...วันนี้คุณดื่มนม แล้วหรือยังคะ?




แพทย์ วิสัญญี เภสัชกร ยาแผนปัจจุบัน การดูแลผู้ป่วย สาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ

ควรทานยาปฏิชีวนะให้ครบ
ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
โรคฉี่หนู
อย่ากินแอปเปิ้ลไซเดอร์ถ้าไม่รู้ 4.5 ข้อนี้ article
ผิวดำง่ายมากเกิดจาก 6 ข้อนี้ article
กินอาหารแล้วอ้วนจริงหรือ article
เอ็นข้อศอกอักเสบ เกิดจากอะไร? article
เจาะลึกกระบวนการ 'ทดลองยาในคน' article
กว่าจะเป็นยา ต้องผ่านขั้นตอน อะไรบ้าง? article
5 โรคร้ายรักษาง่ายๆด้วย ข้าวกล้อง article
เคล็บลับนอนหลับง่ายๆโดยไม่ต้องใช้ยา article
5 อาหารไขมันสูงยิ่งกินยิ่งผอม article
มือชา รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
กระดูกพรุน รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
เท้าปุก คืออะไร? รักษาอย่างไร? article
กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
ปวดหลังร้าวลงขา นั่งไม่ได้ รักษาอย่างไร? article
โรคท้องผูก ลำไส้ทำงานอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
การรับมือกับโรคมะเร็ง article
โรคหลอดเลือดหัวใจในหนุ่มสาว article
การจัดการโรคไตเรื้อรัง และสิ่งที่เชื่อผิดๆ article
น้ำดื่มบำรุงไต ไม่อยากฟอกไตต้องดู article
5 ความเชื่อผิดๆที่ทำให้ลดน้ำหนักไม่มีวันสำเร็จ article
7 วิธีควบคุมความดันโดยไม่ต้องพึ่งยา article
3 เทคนิคลดความอ้วน “#ไม่ต้องออกกำลังกาย” article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน