ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




แนะวิธีดูแลลูกน้อยให้ห่างไกล "ผื่นภูมิแพ้" article

แนะวิธีดูแลลูกน้อยให้ห่างไกล "ผื่นภูมิแพ้"

 

ขอบคุณภาพประกอบจาก happybaby.in.th
       กล่าวได้ว่า "ผื่นภูมิแพ้" เป็นโรคที่ไม่มีพ่อแม่คนใดปรารถนาให้เกิดกับลูก เพราะทำให้เด็กที่อยู่ในช่วงวัย 5 ขวบ ป่วยและมีอาการได้ถึง 80 -90 เปอร์เซ็นต์ ดังนั้นลูกรักของคุณอาจมีความเสี่ยงต่อผื่นภูมิแพ้ได้ หากไม่เตรียมความพร้อม และป้องกันไว้ตั้งแต่เนิ่น ๆ
       
       ความสำคัญนี้ นพ.ธัญธรรศ โสเจยยะ ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนัง ศูนย์ผิวหนังและเลเซอร์ โรงพยาบาลวิภาวดี บอกว่า ด้วยชั้นผิวหนังของลูกรักที่มีความบอบบาง และละเอียดอ่อนมากกว่าผู้ใหญ่ ทำให้ผิวของเด็กเปิดรับต่อสิ่งเร้าทั้งรังสียูวี สารเคมีและสารก่ออาการแพ้ต่าง ๆ ได้ง่ายกว่าผุ้ใหญ่ถึง 3 เท่า ทำให้ผิวพรรณของเด็กเกิดอาการระคายเคืองและแพ้ง่าย โดยเฉพาะโรคผื่นแพ้ผิวหนัง โรคผิวหนังอักเสบ หรือโรคน้ำเหลืองไม่ดีที่ทำให้เด็กมีอาการเห่อครั้งแรกภายในช่วงวัย 1 ปีถึง 50 เปอร์เซ็นต์ และเด็กในช่วงวัย 5 ขวบปีแรกจะมีอาการเห่อของผื่นภูมิแพ้ประมาณ 80-90 เปอร์เซ็นต์เลยทีเดียว
       
       สำหรับสาเหตุของผื่นภูมิแพ้นั้น ยังไม่ทราบสาเหตุแน่ชัด แต่สันนิษฐานว่าอาจมีส่วนเกี่ยวข้องกับกรรมพันธุ์หรือคนในครอบครัวของเด็กมีประวัติโรคภูมิแพ้ เช่น ผิวหนังอักเสบภูมิแพ้ แพ้อากาศ ไอจามบ่อย หรือเป็นหอบหืด และอีกหนึ่งปัจจัยที่ก่อกระตุ้นการเกิดผื่นภูมิแพ้ ได้แก่ สิ่งแวดล้อม เช่น อาหาร ไรฝุ่น สารก่อการระคายเคือง สภาพอากาศที่ร้อนจนทำให้เหงื่อออก มีสารเคมีระคายเคืองผิวหนัง แมลง ขนสัตว์ และเชื้อโรค ทั้งหมดนี้ล้วนทำให้ลูกน้อยที่มีผิวบอบบางอยู่แล้ว เกิดอาการแพ้ได้ง่ายยิ่งขึ้น เริ่มจากผื่นแดงคัน มีตุ่มแดงและตุ่มน้ำใสเล็กๆ อยู่ในผื่นแดงนั้น ส่วนเด็กโตตุ่มจะนูนแดง มีขุยเล็กน้อย มักไม่พบตุ่มน้ำแตกแฉะเหมือนลูกวัยทารก แต่จะมีอาการคันทำให้เกาจนเกิดการติดเชื้อแบคทีเรียได้ ส่วนมากพบบริเวณรอบคอ ข้อพับ ด้านในของแขนและขา
       
       "เราพบว่า 1 ใน 3 ของเด็กที่ป่วยเป็นโรคผื่นภูมิแพ้จะมีอาการของโรคต่อเนื่องจนเข้าสู่วัยผู้ใหญ่ ซึ่งเป็นอุปสรรคต่อการเรียนและการทำงานในอนาคต โดย 50 เปอร์เซ็นค์ของเด็กที่เป็นผื่นภูมิแพ้ มีโอกาสเป็นโรคหอบหืด โดยเฉพาะเด็กเล็กจะมีอาการรุนแรงกว่าเด็กโต และ 2 ใน 3 ของลูกที่ป่วยเป็นโรคผื่นภูมิแพ้ เมื่อโตขึ้นมีโอกาสป่วยเป็นโรคแพ้อากาศร่วมด้วย รวมทั้งมีปัญหาผิวพรรณ ผิวหนังอักเสบ และมีอาการคันเรื้อรัง" แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านผิวหนังรายนี้เผย
       
       ปัจจุบันยังไม่สามารถรักษาให้หายขาดได้ การรักษาจึงทำได้เพียงการบรรเทาผิวหนังที่อักเสบของลูกรักให้กลับมาเป็นผิวหนังปกติ ผิวหนังที่มีสุขภาพดี และป้องกันการเห่อซ้ำของผื่นภูมิแพ้เท่านั้น เช่น หากมีอาการผื่นรุนแรง อาจต้องใช้ยาทาทีมีส่วนผสมของสารสเตียรอยด์ ซึ่งไม่สามารถใช้ต่อเนื่องนาน ๆ ได้ เพราะอาจจะมีผลข้างเคียงต่อลูก เช่น ทำให้ผิวหนังบาง ผิวหนังแตกลาย หรือมีผลต่อระบบต่าง ๆ ในร่างกาย
       
       ดังนั้นคุณพ่อคุณแม่คือคนสำคัญที่จะช่วยปกป้องผิวพรรณที่แสนจะบอบบางของลูกน้อยจากโรคภูมิแพ้ ด้วยเคล็ดลับ Safety Baby ตามแนวทางง่าย ๆ ดังต่อไปนี้
       
       - รักษาความชุ่มชื้นของผิวหนังลูก
       
       - ไม่ควรอาบน้ำอุ่นบ่อยเกินไป เพราะจะทำให้ผิวลูกแห้ง และคันได้ง่าย
       
       - เลือกผลิตภัณฑ์สำหรับผิวลูก และผลิตภัณฑ์ซักผ้าที่ไม่มีส่วนผสมของน้ำหอม หรือมีสารสังเคราะห์ที่ทำให้ผิวลูกระคายเคือง
       
       - ดูแลผิวพรรณลูกให้สะอาด ป้องกันและรักษาผิวแห้งโดยการทามอยซ์เจอไรเซอร์ หรือโลชั่นที่ปราศจากสารเคมีอันตรายหลังอาบน้ำให้ลูก โดยเฉพาะวันที่อาบน้ำอุ่น เนื่องจากน้ำอุ่นจะทำให้ผิวขับไขมันออกมามาก ทำให้ผิวเด็กบางคนที่แห้งอยู่แล้วจะแห้งยิ่งขึ้น
       
       - ทำความสะอาดเสื้อผ้า เครื่องนอนของลูกให้สะอาดอยู่เสมอ โดยทำการซักทุก 1-2 สัปดาห์ ด้วยน้ำร้อน 55-60 องศาเซลเซียส
       
       - ไม่ควรมีสัตว์เลี้ยงอยู่ในบ้าน หรือให้สัตว์เลี้ยงอยู่ใกล้ชิดลูก
       
       - หลีกเลี่ยงปัจจัยที่กระตุ้นการเห่อของผื่นภูมิแพ้ เช่น ฝุ่นละออง ไรฝุ่น ความเครียด ความร้อนหรือความเย็นมากเกินไป รวมทั้งอาหารบางชนิดที่คุณแม่สังเกตได้ว่าอาจทำให้ผื่นลูกเห่อมากขึ้น เช่น นม ไข่ หรือถั่วลิสง
       
       - เลือกเสื้อผ้าที่ทำจากใยธรรมธาติ เช่น ผ้าฝ้าย ผ้าออร์แกนิก คอทตอน 100 % หรือเนื้อผ้าที่สัมผัสแล้วมีความเนียนนุ่มละเอียด รวมไปถึงเสื้อผ้าที่มีการตัดเย็บละเอียดเรียบร้อย ไม่มีตะเข็บ ขอบ หรือด้ายหลุดลุ่ยที่อาจเกี่ยวพันอวัยวะส่วนต่างๆ ของลูก ทำให้ผิวหนังระคายเคือง เกิดการอับชื้น นำไปสู่ผื่นภูมิแพ้ผิวหนังได้
       
       เห็นได้ว่า ผื่นภูมิแพ้ผิวหนังเป็นสิ่งที่เกิดขึ้นได้กับเด็กทุกคน แต่ถ้าหากคุณพ่อคุณแม่รู้เท่าทันและป้องกันตั้งแต่เนิ่น ๆ โอกาสที่จะเกิดก็จะมีน้อยลงครับ

 




แพทย์ วิสัญญี เภสัชกร ยาแผนปัจจุบัน การดูแลผู้ป่วย สาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ

ควรทานยาปฏิชีวนะให้ครบ
ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
โรคฉี่หนู
อย่ากินแอปเปิ้ลไซเดอร์ถ้าไม่รู้ 4.5 ข้อนี้ article
ผิวดำง่ายมากเกิดจาก 6 ข้อนี้ article
กินอาหารแล้วอ้วนจริงหรือ article
เอ็นข้อศอกอักเสบ เกิดจากอะไร? article
เจาะลึกกระบวนการ 'ทดลองยาในคน' article
กว่าจะเป็นยา ต้องผ่านขั้นตอน อะไรบ้าง? article
5 โรคร้ายรักษาง่ายๆด้วย ข้าวกล้อง article
เคล็บลับนอนหลับง่ายๆโดยไม่ต้องใช้ยา article
5 อาหารไขมันสูงยิ่งกินยิ่งผอม article
มือชา รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
กระดูกพรุน รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
เท้าปุก คืออะไร? รักษาอย่างไร? article
กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
ปวดหลังร้าวลงขา นั่งไม่ได้ รักษาอย่างไร? article
โรคท้องผูก ลำไส้ทำงานอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
การรับมือกับโรคมะเร็ง article
โรคหลอดเลือดหัวใจในหนุ่มสาว article
การจัดการโรคไตเรื้อรัง และสิ่งที่เชื่อผิดๆ article
น้ำดื่มบำรุงไต ไม่อยากฟอกไตต้องดู article
5 ความเชื่อผิดๆที่ทำให้ลดน้ำหนักไม่มีวันสำเร็จ article
7 วิธีควบคุมความดันโดยไม่ต้องพึ่งยา article
3 เทคนิคลดความอ้วน “#ไม่ต้องออกกำลังกาย” article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน