ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




ฝนตกน้ำท่วมเด็กเสี่ยง 'ปอดบวม' พ่อแม่ช่วยเสริมภูมิ...ป้องกันได้

ฝนตกน้ำท่วมเด็กเสี่ยง 'ปอดบวม' พ่อแม่ช่วยเสริมภูมิ...ป้องกันได้

ปอดบวมเป็นสาเหตุการตายอันดับ 1 ของเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ขวบทั่วโลก และในช่วงนี้เป็นช่วงฝนตกน้ำท่วมถือเป็นอีกปัจจัยหนึ่งที่จะทำให้ยอดผู้ป่วยเพิ่มสูงขึ้น!
   
เนื่องในโอกาส วันปอด บวมโลก (World Pneumonia Day) ที่เพิ่งผ่านพ้นไป อาทิตย์สุขภาพวันนี้ขอนำเสนอสถานการณ์ล่าสุดเกี่ยวกับ “โรคปอดบวม” พร้อมวิธีการป้องกันลูกน้อยให้ห่างไกลจากโรคดังกล่าวให้ผู้อ่านได้รับทราบกัน
   
ศ.พญ.อุษา ทิสยากร นายกสมาคมโรคติดเชื้อในเด็กแห่งประเทศไทย ให้ความรู้ว่า โรคปอดบวมเป็นปัญหาสาธารณสุขที่สำคัญที่คร่าชีวิตเด็กเล็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ ทั่วโลกถึงปีละ 2 ล้านคนหรือคิดเป็นอัตราการเสียชีวิตของเด็กเล็ก 1 คนทุก ๆ 20 วินาที ถึงแม้ว่าโรคปอดบวมจะเป็นโรคที่สามารถป้องกันได้ด้วยวัคซีนในปัจจุบัน แต่อุบัติการณ์การเสียชีวิตก็ยังคงสูงขึ้นจนน่ากลัว ดังนั้นองค์กรพันธมิตรวันปอดบวมโลกจึงร่วมกันรณรงค์วันปอดบวมโลกขึ้นเป็นปีที่ 3 ซึ่งตรงกับวันที่ 12 พฤศจิกายน 2554 มีวัตถุประสงค์เพื่อกระตุ้นให้ทุกประเทศรณรงค์ให้ความรู้ในการป้องกันโรคปอดบวมให้กว้างขวางยิ่งขึ้น พร้อมเร่งลดอุบัติการณ์การเสียชีวิตของเด็กเล็กอย่างเป็นรูปธรรมและต่อเนื่อง
   
สำหรับในประเทศไทยจากข้อมูลการเฝ้าระวังโรคของกระทรวงสาธารณสุขพบว่าตั้งแต่วันที่ 1 มกราคม – 9 พฤษภาคม 2554 พบผู้ป่วยโรคปอดบวม 54,705 คน แบ่งเป็นผู้ป่วยเด็กเล็กที่มีอายุต่ำกว่า 5 ขวบมากที่สุดร้อยละ 40 รองลงมาเป็นผู้สูงอายุที่มีอายุมากกว่า 65 ปีขึ้นไปร้อยละ 29 ซึ่งจะเห็นได้ว่าเพียงไม่กี่เดือนมีผู้เสียชีวิตมากถึงขนาดนี้และยิ่งในปัจจุบันเกิดมรสุมพัดผ่านประเทศไทยทำให้เกิดฝนตกหนัก อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อย รวมทั้งเกิดสภาวะน้ำท่วมอย่างหนัก ถ้าเด็กลงไปเล่นน้ำแล้วเกิดสำลักน้ำอาจทำให้มีสิ่งแปลกปลอมเข้าไปในปอดได้จึงมีโอกาสเสี่ยงที่จะเป็นโรคต่าง ๆ ได้มากขึ้น โดยโรคที่มากับฝน ได้แก่ โรคปอดบวม และโรคระบบทางเดินหายใจต่าง ๆ
   
ด้าน ศ.เกียรติคุณ นพ.ธีรชัย ฉันทโรจน์ศิริ ที่ปรึกษาชมรมโรคระบบทางเดินหายใจและเวชบำบัดวิกฤติในเด็กแห่งประเทศไทย ให้ความรู้ถึงโรคปอดบวมว่า เกิดจากเชื้อหลายชนิด เช่น เชื้อไวรัส เชื้อแบคทีเรีย หรือเชื้อไวรัสและแบคทีเรียร่วมกัน โดยพบว่าโรคปอดอักเสบเกิดจากเชื้อนิวโมคอคคัส เพราะอยู่ใกล้ตัวเรามาก คืออาศัยอยู่ในเยื่อบุโพรงจมูก ลำคอ เมื่อใดที่เยื่อบุถูกทำลายจากการเป็นหวัดเรื้อรังหรือมีน้ำมูกคั่งในโพรงจมูกเป็นเวลานานมีโอกาสที่เชื้อนิวโมคอคคัสจะหลุดเข้าสู่ร่างกายก่อให้เกิดโรคปอดบวม หูชั้นกลางอักเสบ และไอพีดีได้ นอกจากเชื้อแบคทีเรียนิวโมคอคคัสแล้วพ่อแม่ยังต้องระวังเชื้อแบคทีเรียเอ็นทีเอชไอ ซึ่งเป็นสาเหตุของการติดเชื้อรุนแรงในหูชั้นกลางด้วย
   
“เชื้อนิวโมคอคคัส” อาจแพร่กระจายไปยังอวัยวะต่าง ๆ และก่อให้เกิดโรคติดเชื้อรุนแรงในอวัยวะนั้น ๆ ได้ และทำลายระบบต่าง ๆ ที่สำคัญของร่างกายในเวลาไม่กี่วัน เช่น โรคปอดบวมหรือโรคปอดอักเสบ เมื่อเนื้อเยื่อถูกทำลายทำให้ไม่สามารถส่งออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่าง ๆ ของร่างกายได้ หากรุนแรงจะทำให้ระบบหายใจล้มเหลวและเสียชีวิต นอกจากนี้เชื้อดังกล่าวยังสามารถก่อให้เกิดโรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบหรือฝีในสมอง โรคติดเชื้อในกระแสเลือด โรคหูชั้นกลางอักเสบเฉียบพลัน (หูน้ำหนวก) ได้ ดังนั้นพ่อแม่ควรสังเกตอาการของลูกน้อยอย่างใกล้ชิดเมื่อลูกไม่สบาย
   
โดยอาการของโรคปอด บวมในเด็ก เช่น มีไข้ ไอ จาม หายใจถี่และหอบ หายใจลำบากและมีเสียงดังวี้ด ๆ หรือหายใจจนซี่โครงบุ๋ม ถ้าพบว่าเด็กมีไข้ ไอบ่อย หรือหายใจเร็ว ซึ่งพ่อแม่สามารถดูได้จากอัตราการหายใจ ซึ่งในเด็กเล็กอายุน้อยกว่า 1 ขวบหายใจเร็วมากกว่า 50 ครั้งต่อนาทีและเด็กเล็กอายุมากกว่า 1 ขวบ หายใจเร็วมากกว่า 40 ครั้งต่อนาที ให้สงสัยว่าเด็กอาจเป็นโรคปอดอักเสบ ควรรีบพาไปพบแพทย์เพื่อรับการตรวจและการรักษาที่ถูกต้อง   
   
อย่างไรก็ตาม การเสริมสร้างภูมิคุ้มกันให้ลูกน้อยถือเป็นเรื่องสำคัญ ดังนั้นพ่อแม่ควรดูแลลูกน้อยให้มีสุขภาพแข็งแรงด้วยการให้ทารกดูดนมแม่ รับประทานอาหารให้ครบ 5 หมู่ ในช่วงที่อากาศเปลี่ยนแปลงบ่อยควรทำร่างกายให้ลูกน้อยอบอุ่นอยู่เสมอและสอนให้เด็กรู้จักรักษาสุขอนามัยเป็นประจำ โดยเฉพาะการล้างมืออย่างถูกวิธีเป็นประจำจะช่วยลดการติดเชื้อที่สัมผัสติดมากับมือรวมทั้งใส่หน้ากากอนามัย นอกจากนี้ควรหลีกเลี่ยงการพาเด็กเล็กไปในที่ชุมชนและสถานที่แออัดเป็นเวลานาน ๆ หมั่นทำความสะอาดโพรงจมูกลูกน้อยอย่าให้มีน้ำมูกคั่งเป็นเวลานาน
   
ที่สำคัญควรปรึกษาแพทย์เพื่อพิจารณาเสริมภูมิคุ้มกันด้วยการฉีดวัคซีนไอพีดีพลัส ปอด-หูอักเสบ ที่นอกจากจะช่วยลดโอกาสเสี่ยงจากโรคปอดบวม ปอดอักเสบ โรคเยื่อหุ้มสมองอักเสบและโรคติดเชื้อในกระแสเลือดจากเชื้อนิวโมคอคคัสแล้วยังช่วยป้องกันโรคหูชั้นกลางอักเสบที่เกิดจากเชื้อนิวโมคอคคัสและเชื้อเอ็นทีเอชไอได้อีกด้วย
   
สุดท้ายการสังเกตอาการลูกน้อยยามเจ็บป่วยสำคัญยิ่งสำหรับพ่อแม่อย่าปล่อยทิ้งไว้นานจนเด็กมีอาการหอบ หายใจลำบากและมีอาการรุนแรงมากขึ้นเพราะอาจเป็นอันตรายถึงชีวิตได้.

วิธีใช้ 'ผงบำบัดน้ำดื่ม' ให้สะอาดและปลอดภัย

น้ำดื่ม ถือเป็นสิ่งสำคัญอย่างยิ่งยามที่เราต้องประสบอุทกภัย แน่นอนว่าตามห้างสรรพสินค้า หรือร้านค้าสะดวกซื้อย่อมไม่มีขาย หรือไม่ราคาก็แพงจนไม่กล้าซื้อ ขณะที่ใครพอจะมีเงินเก็บคงต้องทุบกระปุกเพื่อไปซื้อเครื่องกรองน้ำมาใช้ แต่ถ้าเงินไม่มีล่ะจะทำอย่างไร วันนี้เคล็ดลับสุขภาพดีมีวิธีใช้ ผงบำบัดน้ำดื่ม ให้สะอาดปลอดภัยด้วยตัวเองมาฝากกันค่ะ
   
ทั้งนี้มูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ร่วมกับบริษัทพรอคเตอร์ แอนด์ แกมเบิล จำกัด (พีแอนด์จี) จัดทำโครงการ “น้ำดื่มปลอดภัย เพื่อผู้ประสบอุทกภัย” ขึ้นโดยมีเซเว่นอีเลฟเว่น เดอะมอลล์ ท็อปส์ เทสโก้ โลตัส สนับสนุนสถานที่ในการเปิดจุดแจกผงบำบัดน้ำดื่มปลอดภัย โดย ภญ.กรรณิการ์ จรัสอุไรสิน ผู้อำนวยการฝ่ายองค์กรสัมพันธ์ พีแอนด์จี ประเทศไทย อธิบายว่า ผงบำบัดน้ำดื่มปลอดภัย หรือเพียว (PUR) เป็นเทคโนโลยีบำบัดน้ำเสียเพื่อการบริโภคในรูปของผงบรรจุซองที่พัฒนาโดยพีแอนด์จีร่วมกับศูนย์ควบคุมและป้องกันโรคแห่งสหรัฐเพื่อบำบัดน้ำเสียที่อยู่ตามแหล่งธรรมชาติให้สะอาดตามมาตรฐานการบำบัดน้ำดื่มปลอดภัยขององค์การอนามัยโลก ซึ่งมีขั้นตอนที่ง่ายสามารถทำได้เอง เพียงนำน้ำจากแหล่งที่หาง่าย 10 ลิตร เติมผงเพียว 1 ซอง คนต่อเนื่อง 5 นาทีแล้วทิ้งไว้ 5 นาทีให้ตกตะกอน จากนั้นใช้ผ้าสะอาดกรองตะกอนออก ใส่ภาชนะทิ้งไว้อีก 20 นาทีเพื่อให้คลอรีนฆ่าเชื้อได้อย่างสมบูรณ์ก็จะสามารถนำน้ำมาดื่มได้
   
ด้าน ศาสตราจารย์ภิชาน ดร.นพ.พิชิต สุวรรณประกร รองประธานมูลนิธิอาสาเพื่อนพึ่ง (ภาฯ) ยามยาก สภากาชาดไทย ให้ความรู้ว่า คุณสมบัติที่โดดเด่นของเพียวคือ 1 ซองสามารถผลิตน้ำสะอาดได้ 10 ลิตรซึ่งเพียงพอต่อการบริโภค 1 คนต่อ 1 สัปดาห์ ช่วยลดอุปสรรคในการหาซื้อน้ำดื่มหรือการขนส่งน้ำดื่มที่มีขนาดและน้ำหนักมาก โดยจะมีการแจกเพียว จำนวน 2 ล้านซองตามจุดต่าง ๆ อย่างไรก็ตามผงเพียวเป็นเทคโนโลยีบำบัดน้ำที่ใหม่สำหรับคนไทย แต่จากประสบการณ์ที่เป็นหมอมามากกว่า 40 ปี ได้พิจารณาและทดสอบจนมั่นใจได้ว่าเพียวสามารถใช้บำบัดน้ำได้ทุกสภาพและน้ำที่ผ่านการบำบัดแล้วก็มีคุณภาพในระดับที่บริโภคได้อย่างปลอดภัย
   
สำหรับ ดร.เกร๊ก ออลกู๊ด ผู้อำนวยการโครงการน้ำดื่มปลอดภัย พีแอนด์จี สหรัฐอเมริกา เล่าว่า ในช่วง 7 ปีที่ผ่านมาพีแอนด์จีได้ร่วมมือกับมูลนิธิในประเทศต่าง ๆ ทั่วโลกและองค์กรบรรเทาสาธารณภัย เช่น ยูนิเซฟ ในการแจกจ่ายผงบำบัดน้ำดื่มปลอดภัยเพียวในพื้นที่ประสบภัยธรรมชาติรุนแรง เช่น พื้นที่ประสบภัยสึนามิในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ พื้นที่ประสบอุทกภัยในฟิลิปปินส์ บังกลาเทศ และพม่า พื้นที่ประสบเหตุแผ่นดินไหวในปากีสถาน จีน อินโดนีเซีย รวมถึงกรณีแผ่นดินไหวใน
เฮติและชิลีด้วย
   
หากผู้ประสบภัยท่านใดสนใจสามารถรับผงบำบัดน้ำดื่มปลอดภัย เพียว (PUR) ได้ฟรี!! ตั้งแต่วันพฤหัสบดีที่ 24 พฤศจิกายน 2554 เป็นต้นไปจนกว่าของจะหมดที่ เซเว่นอีเลฟเว่น ในเขตดอนเมือง บางเขน สายไหม จตุจักร มีนบุรี หนองจอก และลาดกระบัง เดอะมอลล์ สาขาท่าพระ งามวงศ์วาน บางกะปิ และแจ้งวัฒนะ ท็อปส์  ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล เทสโก้ โลตัส ในเขตกรุงเทพฯ และปริมณฑล หรือ สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมถึงสาขาที่เป็นจุดแจก “เพียว”  ได้ที่คอลเซ็นเตอร์ 1712 กด 4.

สรรหามาบอก

- คณะเวชศาสตร์เขตร้อน มหาวิทยาลัยมหิดล  ขอเชิญแพทย์และบุคลากรทางการแพทย์เข้าร่วมประชุมวิชาการนานาชาติด้านโรคเขตร้อน ประจำปี 2554 (Joint International Tropical Medicine Meeting 2011) ในหัวข้อ “One World– One Health” ระหว่างวันที่ 1–2 ธันวาคม 2554 ณ โรงแรมเซ็นทารา แกรนด์ เซ็นทรัลเวิลด์ สอบถามโทร. 0-2306-9125–6 หรือดูรายละเอียดการลงทะเบียนได้ที่  www.jitmm.com
   
- บางกอกโฮลิสติกคลินิก ขอเชิญประชาชนผู้สนใจฟังบรรยายในหัวข้อ “กินอยู่อย่างไร ให้ห่างไกลโรค” พร้อมทั้งข้อแนะนำในการดูแลสุขภาพเชิงป้องกัน ใน วันเสาร์ที่ 3 ธันวาคม 2554 ห้องซากุระ โรงแรมจัสมิน ซอยสุขุมวิท 23 เวลา 08.00-12.00 น. โดยมี ร.ต.ต.นพ.อัญวุฒิ ช่วยวงษ์ญาติ แพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านการแพทย์ผสมผสานและ นพ.จักรกฤษณ์ ภูมิสวัสดิ์ ประธานมูลนิธิเพื่อการพัฒนาการแพทย์ทางเลือก มาให้ความรู้และแนวทางต่าง ๆ ที่จำเป็นต่อการดูแลสุขภาพ สนใจรับฟังการบรรยายได้โดยไม่เสียค่าใช้จ่าย สำรองที่นั่งโทร. 08-6329-5242
   
- หน่วยศัลยศาสตร์ระบบปัสสาวะ ฝ่ายศัลยศาสตร์ โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ ขอเชิญชวนชายไทยผู้รักสุขภาพอายุตั้งแต่ 50 ปีขึ้นไป ร่วมฟังบรรยายเรื่อง “หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดกับโรคต่อมลูกหมาก” และรับการตรวจภาวะต่อมลูกหมากโต, เจาะเลือดตรวจค่า พี เอส เอ เพื่อหาความเสี่ยงของโรคมะเร็งต่อมลูกหมากโดยแพทย์เฉพาะทาง ในวัน จันทร์ที่ 5 ธันวาคม 2554 เวลา 08.00-12.30 น. ณ ตึก ภปร. ชั้น 18 โรงพยาบาลจุฬาลงกรณ์ สำรองที่นั่งได้ตั้งแต่วันนี้ถึงวันที่  4  ธันวาคม  2554 ที่โทร. 0-2938-4450-4




แพทย์ วิสัญญี เภสัชกร ยาแผนปัจจุบัน การดูแลผู้ป่วย สาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ

ควรทานยาปฏิชีวนะให้ครบ
ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
โรคฉี่หนู
อย่ากินแอปเปิ้ลไซเดอร์ถ้าไม่รู้ 4.5 ข้อนี้ article
ผิวดำง่ายมากเกิดจาก 6 ข้อนี้ article
กินอาหารแล้วอ้วนจริงหรือ article
เอ็นข้อศอกอักเสบ เกิดจากอะไร? article
เจาะลึกกระบวนการ 'ทดลองยาในคน' article
กว่าจะเป็นยา ต้องผ่านขั้นตอน อะไรบ้าง? article
5 โรคร้ายรักษาง่ายๆด้วย ข้าวกล้อง article
เคล็บลับนอนหลับง่ายๆโดยไม่ต้องใช้ยา article
5 อาหารไขมันสูงยิ่งกินยิ่งผอม article
มือชา รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
กระดูกพรุน รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
เท้าปุก คืออะไร? รักษาอย่างไร? article
กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
ปวดหลังร้าวลงขา นั่งไม่ได้ รักษาอย่างไร? article
โรคท้องผูก ลำไส้ทำงานอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
การรับมือกับโรคมะเร็ง article
โรคหลอดเลือดหัวใจในหนุ่มสาว article
การจัดการโรคไตเรื้อรัง และสิ่งที่เชื่อผิดๆ article
น้ำดื่มบำรุงไต ไม่อยากฟอกไตต้องดู article
5 ความเชื่อผิดๆที่ทำให้ลดน้ำหนักไม่มีวันสำเร็จ article
7 วิธีควบคุมความดันโดยไม่ต้องพึ่งยา article
3 เทคนิคลดความอ้วน “#ไม่ต้องออกกำลังกาย” article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน