ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




การพยาบาลก่อนผ่าตัด

การพยาบาลก่อนผ่าตัด

การพยาบาลผู้ป่วยก่อนผ่าตัด
       การพยาบาลก่อนผ่าตัด จะเน้นที่การให้บริการพยาบาลและประเมินการพยาบาล ดังนั้นพยาบาลจึงควร มีข้อมูลของผู้ป่วยแต่ละคน ดังนี้วัตถุประสงค์ของการผ่าตัด อาจเป็นการวินิจฉัยหรือจำแนกระยะของโรคหรือเป็นการรักษา หรือประคับประคองแต่ละ วัตถุประสงค์ จะมีผลต่อผู้ป่วยในด้านพฤติกรรมและการแสดงออกที่แตกต่างกันทำผ่าตัดอะไร เพื่อวางแผนเตรียมการพยาบาลก่อนผ่าตัดได้ เช่น การเตรียมลำไส้ การพิจารณาอาหารเสริม การเตรียม อุปกรณ์ไปพร้อมผู้ป่วย เช่น สายปัสสาวะและท่อระบายของเสีย เป็นต้นพื้นภูมิความรู้ของผู้ป่วยและญาติ เกี่ยวกับการวินิจฉัยโรค การผ่าตัด และแผนการรักษา ผู้ป่วยและครอบครัวควรได้รับ การบอกเล่า และยอมรับข้อมูลดังกล่าว ซึ่งจะมีผลต่อความร่วมมือในกระบวนการรักษาและพยาบาลต่อไป หากผู้ป่วยและญาติยังไม่ได้รับการบอกเล่า พยาบาลควรชี้แจงและให้ข้อมูลดังกล่าวพร้อมสังเกตพฤติกรรมของผู้ป่วยแต่ละราย และวางแผนการ พยาบาลลดปัญหาให้ครอบคลุมทุกปัญหา ได้แก่
            1. การลดความวิตกกังวล  นอกจากผู้ป่วยจะมีความเปลี่ยนแปลงทางด้านร่างกายแล้วผู้ป่วยจะมีความผันแปรทางด้านจิตใจและอารมณ์ โดยมีการแสดงออกทั้งที่รู้สึกตัวและไม่รู้สึกตัว อาจแสดงอาการซึมเศร้า เก็บกด ไม่สนใจ ต่อสิ่งแวดล้อมรอบตัว หรืออาจแสดง อาการ เพื่อปิดบังความรู้สึกที่แท้จริงในด้านตรงข้ามหรือก้าวร้าว โกรธฉุนเฉียว ทั้งนี้ความ เปลี่ยนแปลงของพฤติกรรมดังกล่าว มีพื้นฐานมาจาก ความกลัว ได้แก่ ความเจ็บกลัวการสูญเสียอวัยวะ กลัวความพิการ กลัวการ ดมยา กลัวผู้ใกล้ชิดรังเกียจ กลัวถูก ทอดทิ้ง และกลัวตาย เป็นต้น การช่วยเหลือผู้ป่วย คือ การพูดปลอบโยน แสดงความเห็นใจ มีความจริงใจที่จะช่วยเหลือ ให้คำปรึกษา (counseling) และให้ข้อมูลที่ถูกต้องเหมาะสมแก่ผู้ป่วยและญาติเป็นรายๆ

กิจกรรมการพยาบาลเพื่อ ลดความวิตกกังวล ก่อนผ่าตัด
     1. ประเมินสภาวะจิต อารมณ์ และลดความวิตกกังวล โดย
         - สนใจรับฟังปัญหาของผู้ป่วย
         - กระตุ้นให้ผู้ป่วยได้ระบายสิ่งที่ตนยังวิตกกังวล
          - ซักถามความเข้าใจเกี่ยวกับความรู้เรื่องโรค หรือภาวะความเจ็บป่วยและการรักษาของแพทย์
          - อธิบายให้ความรู้ เพิ่มเติมในสิ่งที่ยังเข้าใจผิด
          - อธิบายพอสังเขปและตอบข้อซักถามผู้ป่วยทุกครั้งที่ส่งไปตรวจวินิจฉัยต่าง ๆ
          - ปรึกษาจิตแพทย์ในรายที่มีปัญหาทางสุขภาพจิต
     2. สอนผู้ป่วยก่อนผ่าตัด
          - สอนการหายใจและการไออย่างมีประสิทธิภาพ
          - แนะนำให้รู้จักหน่วยไอซียู เจ้าหน้าที่และเวลาเยี่ยม
          - แนะนำให้รู้จักเครื่องมือเครื่องใช้ เฝ้าสังเกตอาการเปลี่ยนแปลงข้างเตียง เครื่องที่ติดตัว
ภายหลังผ่าตัด
          - อธิบายความจำเป็นที่ผู้ป่วยอาจถูกรบกวนเวลานอน เนื่องจากต้องเฝ้าระวังสังเกตอาการ
และบันทึกสัญญาณชีพเป็นระยะสม่ำเสมอ
          - ให้ความมั่นใจกับผู้ป่วยว่าจะได้รับยาแก้ปวดเมื่อจำเป็น
     3. บอกให้ทราบถึงอาจมีความจำเป็นต้องผูกข้อมือหรือแขนผู้ป่วยอย่างหลวมๆ ในระยะแรก
ภายหลังการผ่าตัด เพื่อป้องกันการดึงสายท่อระบายหรือสายสวนวัดแรงดันหลุดเลื่อน
     4. อธิบายขั้นตอนการเตรียมร่างกายที่ผู้ป่วยจะได้รับคืนก่อนวันผ่าตัด เช่น โกนขน ทำความสะอาด งดน้ำ งดอาหาร และยาก่อนเข้าห้องผ่าตัด
     5. แนะนำผู้ป่วยให้งดสูบบุหรี่ เพื่อป้องกันภาวะแทรกซ้อน
     6. บันทึกข้อแนะนำ และการสอนที่ผู้ป่วยได้รับ พร้อมทั้งเปรียบเทียบพฤติกรรม และระดับ
ความเข้าใจภายหลังการสอน

2. การเตรียมความพร้อมของร่างกาย เพื่อให้ผู้ป่วยมีความพร้อม ที่สุดก่อนการผ่าตัด และได้รับผลกระทบน้อยที่สุด

3. การให้ความรู้ ความไม่รู้เป็นสาเหตุของความวิตกกังวล พยาบาลจึงเป็นบุคคลกลุ่มแรกที่จะช่วยลดช่องว่าง ของผู้ป่วย เกี่ยวกับความไม่รู้ได้ดีที่สุด การตอบคำถามทุกๆข้อของผู้ป่วยและญาติ การไขข้อข้องใจเกี่ยวกับการผ่าตัด เป็นวิธีการ ลดปัญหา ด้านต่างๆของผู้ป่วยได้เป็นอย่างดี ผู้ป่วยสามารถวางแผนด้านครอบครัว ค่าใช้จ่าย การลางาน การเปลี่ยนอาชีพและอื่นๆ ได้ซึ่งเป็น ผลดีต่อการให้ความร่วมมือตลอดการรักษาพยาบาล ซึ่งจะเป็นการประเมินระดับคุณภาพของการบริการพยาบาลได้ เป็นอย่างดี

การพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัด
       การพยาบาลหลังผ่าตัด จะขึ้นกับชนิดของโรค ชนิดของการผ่าตัด การรักษาที่เคยได้รับ และสภาวะความ ต้องการ ด้านร่างกายและจิตใจประกอบกัน
ความต้องการด้านร่างกาย ผู้ป่วยระยะหลังผ่าตัด (Immediate post operation) นับตั้งแต่ออกจากห้องพักฟื้นหรือหน่วยพยาบาลพิเศษ จำเป็นต้องระมัดระวังผลกระทบด้านร่างกาย ได้แก่ การช่วยให้อวัยวะต่างๆสามารถทำหน้าที่ได้อย่างปกติ ิมากที่สุด เช่น ระบบหัวใจ ระบบทางเดินหายใจ ระบบไหลเวียน โภชนาการ การขับถ่าย ความสมดุลของของเหลวและอิเล็คโทรลัยท์ การทำงานของไต การพักผ่อนนอนหลับ ความรู้สึกสบาย การหายของแผล การเคลื่อนไหว และการออกกำลังกาย

              ความต้องการด้านจิตใจ ขณะที่ผู้ป่วยเพิ่งฟื้นจากการดมยา มักจะถามคำถามดังนี้ เป็นมะเร็งหรือเปล่า หมอผ่าตัดออกได้หมด หรือไม่ มะเร็งแพร่กระจายหรือยัง หมอตัดขา แขน เต้านม มดลูก ลำไส้หรือเปล่า คำถามเหล่านี้ยังไม่สมควรตอบจนกว่าผู้ป่วย จะรู้สึกตัวและมีสติดีแล้ว ศัลยแพทย์ผู้ทำผ่าตัดจะให้ข้อมูลต่างๆแก่ผู้ป่วยได้ขณะตรวจเยี่ยมอาการในแต่ละครั้ง การผ่าตัดอาจ มีผลกระทบต่อ หน้าที่การงาน และชีวิตสมรสอันเป็นสาเหตุที่ทำให้จิตใจและอารมณ์ไม่มั่นคงมีการเปลี่ยนแปลงได้ง่าย หรือที่เรียกว่ากายป่วย จิตก็ป่วยด้วย อันจะมีผลต่อพฤติกรรมการแสดงออก และความไม่ร่วมมือในการรักษาพยาบาล วิธีการช่วยเหลือ ผู้ป่วยต้องอาศัยความร่วมมือจากหลายๆฝ่ายด้วยกัน คือ ทีมสุขภาพ โดยมีพยาบาล เป็นผู้ดำเนินการและประสานงาน

กิจกรรมการพยาบาลเพื่อ ลดความวิตกกังวล ภายหลังการผ่าตัด
     1. ควรแจ้งให้ผู้ป่วยทราบว่า เขาได้รับการผ่าตัดแล้ว พร้อมทั้งบอกวัน เวลา และสถานที่ ให้ผู้ป่วยทราบ
     2. ถ้าอาการทั่วไปคงที่ ควรให้ญาติเข้าเยี่ยมได้และแนะนำให้ญาติเรียกชื่อผู้ป่วยและสัมผัสตัวผู้ป่วยเพื่อเป็นกำลังใจ
     3. ถ้าผู้ป่วยรู้สึกตัวดี ทบทวนในสิ่งที่แนะนำและสอนให้ผู้ป่วยทราบก่อนการผ่าตัด เพื่อคลายความวิตกกังวล และช่วยฟื้นคืนสภาพได้เร็ว

การวินิจฉัยการพยาบาลผู้ป่วยหลังผ่าตัด
1. ภาพลักษณ์เปลี่ยนแปลง: / จากการผ่าตัด
การพยาบาล
       - กระตุ้นผู้ป่วยให้นึกถึงการรักษาสุขภาพและดูแลตัวเอง ให้ความช่วยเหลือด้วยการรับฟังความคิดเห็น การแสดงความรู้สึกในการสูญเสียอวัยวะ และ ให้ข้อคิดเห็นที่เสียอวัยวะเพื่อรักษาชีวิตไว้ ส่งเสริมให้ยอมรับสภาพที่แท้จริงและมีทัศนคติที่ดีต่อภาพลักษณ์ที่ เปลี่ยนแปลงไป

2. สัมพันธภาพที่มีปัญหาของครอบครัวผู้ป่วย
การพยาบาล
       - ให้เวลาและโอกาสญาติเพื่อระบายความรู้สึกให้ข้อมูลและตอบคำถามต่างๆแก่ญาติเพื่อลด ปัญหาด้านอารมณ์ในการรับรู้การวินิจฉัยการรักษา และการพยากรณ์โรค

3. สัมพันธภาพที่มีปัญหาของผู้ป่วย : เมื่อทราบว่าชีวิตความเป็นอยู่เปลี่ยนแปลง
การพยาบาล
       - หาเวลาพบปะเพื่อให้ผู้ป่วยได้ระบายความคิด ความรู้สึกจากการรับรู้การวินิจฉัย และการพยากรณ์โรคช่วยเหลือให้กำลังใจในการปรับตัวกับความเปลี่ยนแปลงของร่างกายรวมทั้งพฤติกรรมและสัมพันธภาพที่ผู้ป่วยแสดงออกมา

4. ภาวะร่างกายขาดน้ำ / จากการผ่าตัด /จากการระบายของของเหลวออกจากร่างกาย (tube drains) / จากการอาเจียน /จากภาวะร่างกายที่ไม่สามารถรับหรือดูดซึมของเหลวได้
การพยาบาล
       - บันทึก I/O
       - บันทึกผล electrolytes
       - บันทึก urine specific
       - บันทึก Hb และ Hct
       - บริหารอาหารและน้ำทางเส้นเลือดดำตามแผนการรักษา
       - บริหารยาแก้คลื่นไส้อาเจียนตามแผนการรักษา

5. ภาวะร่างกายขาดน้ำ จากการผ่าตัด 15 % - 20 % ของปริมาณเลือด ที่สูญเสียระหว่างผ่าตัด
การพยาบาล
       - Bed Rest
       - จำกัดกิจกรรม
       - บันทึกสัญญาณชีพทุก 5 - 15 นาที
       - บริหารยาเพื่อควบคุมการทำงานของหัวใจ
       - บริหารยาทางเส้นเลือดดำ
       - บันทึก I/O
       - สังเกตสีของผิวหนัง อุณหภูมิของร่างกาย ความตึงของผิว
       - บันทึก Blood gas
       - บริหารการให้ Oxygen
       - บันทึกผล Lab

6. ภาวะการณ์แลกเปลี่ยน gas ผิดปกติ / จาก thrombus emboli
การพยาบาล
       - สังเกตสัญญาณของ - pulmonary emboli
       - chest pain
       - dyspnea
       - tachypnea


7. ภาวะติดเชื้อ / จากโรคหรือการรักษาในอดีต / จากแผลผ่าตัด / จากการปัสสาวะไม่ออกหลังการผ่าตัด
การพยาบาล
       - ป้องกันปัจจัยเสี่ยงต่างๆ
       - ทำ C/S และบันทึกผล
       - บันทึกสัญญาณชีพ (ชีพจรสูง และการมีไข้ต่ำๆเป็นระยะ)
       - สังเกตสิ่งขับหลั่งจากร่างกายที่ผิดปกติ
       - สังเกตการขาดน้ำ และความสมดุลของอีเล็คโทรลัยท์
       - สังเกตการเปลี่ยนแปลงของ WBC
       - ล้างมือก่อนและหลังให้การพยาบาล
       - ระมัดระวังการติดเชื้อจากผู้มาเยี่ยม
       - เปลี่ยนท่านอนบ่อยๆและบริหารปอด
       - สังเกตสิ่งผิดปกติบริเวณแผล เช่น บวม แดง ปวด
       - เปลี่ยน dressing
       - สังเกตจำนวน สี sp.gr. และกลิ่นของปัสสาวะ
       - บริหารยาปฏิชีวนะตามแผนการรักษา
       - ดูแลให้ได้รับสารน้ำเพียงพอ
       - สังเกตอาการปวดปัสสาวะ

8. ความสามารถในการแข็งตัวของเลือดผิดปกติ จากการไม่เคลื่อนไหวของร่างกายหลังผ่าตัด
การพยาบาล
       - สังเกตความผิดปกติของน่อง
       - ปวดน่อง  กดเจ็บ เส้นเลือดดำขยายใหญ่กว่าเดิม ปลายแขน ขา บวม

9. ขาดความรู้ในการปฏิบัติตัวและดูแลสุขภาพ
การพยาบาล
        - ทุกครั้งที่ให้การพยาบาล พยายามให้ความรู้ และแนะนำการปฏิบัติตัวแก่ผู้ป่วยแต่ละขั้นตอน
 และสังเกตการยอมรับด้านต่างๆของผู้ป่วยด้วยการวินิจฉัยทางการพยาบาล การพยาบาล

10. ความสามารถในการเคลื่อนไหวร่างกาย / จากการตัดขา
การพยาบาล
       - ให้ความช่วยเหลือ ฟื้นฟูสภาพ และกำหนดระยะทางในการฝึกหัดเดิน ด้วยการใช้อุปกรณ์ เช่น walker ไม้ค้ำ รถนั่ง ให้พยายามช่วยตัวเองให้มากที่สุด ป้องกันอุบัติเหตุจากสิ่งกีดขวาง
       - กระตุ้น และส่งเสริมการออกกำลังกาย และ การพักผ่อนให้เพียงพอ
       - ดูแลให้อาหารเสริม และอาหารทดแทนอย่างพอเพียง
       - ให้ความรู้ผู้ป่วยและญาติเกี่ยวกับอาการปวดขาข้างที่ถูกตัด ซึ่งเกิดขึ้นได้กับผู้ที่ถูกตัดขา ("PHANTOM" PAIN)

11. ภาวะร่างกายไม่ได้รับสารอาหารเพียงพอ / จากการผ่าตัดที่มีผลต่อการรับประทาน / จากการผ่าตัดที่มีผลต่อ การดูดซึมของสารอาหาร
การพยาบาล
       - เฝ้าระวังภาวะ protein calory malnutrition
       - บวม
       - ต่อมสีผมไม่ผลิตสี
       - เส้นผมหลุดร่วงง่าย
       - กล้ามเนื้อปวกเปียก
       - เป็นโรคผิวหนัง
       - ดูแลด้านโภชนาการให้เหมาะสม
       - ดูแลความสะอาดของช่องปาก
       - บรรเทาอาการปวดเพื่อสามารถรับประทานอาหารได้ 

       - จัดอาหารให้น่ารับประทาน ให้ญาติร่วมมือโดยการนำอาหารที่ผู้ป่วยชอบมาให้รับประทานบ่อยๆ
       - ปรึกษาโภชนาการเพื่อกำหนดอาหารที่เหมาะสม
       - บริหารการให้สารอาหารทางเส้นเลือดดำ
       - ดูแลให้อาหารทางสายยาง
       - แนะนำผู้ป่วยและญาติเกี่ยวกับอาหารก่อนจำหน่ายกลับบ้าน

12. อาการปวด / จากการผ่าตัด / จากภาวะแทรกซ้อนและการรักษา
การพยาบาล
       - บันทึกเกี่ยวกับอาการปวด
       - ตำแหน่ง / ลักษณะ
       - pain score ความถี่  หายได้จากยาบรรเทาปวด  ไม่หายหลังรับยาบรรเทาปวด
       - การเคลื่อนไหว
       - ภาวะอารมณ์
       - อาการปวดขณะตื่น/หลับ ประเมินการบรรเทาอาการปวดที่ได้ผลดี เช่น จากการเปลี่ยนท่านอน จากการคลาย ผ้าปิดแผล จากยาบรรเทาปวดที่เคย ใช้ได้ผล
       - บริหารยาบรรเทาอาการปวดตามแผนการรักษา
       - บันทึกข้อมูลของอาการปวด โดยละเอียด




แพทย์ วิสัญญี เภสัชกร ยาแผนปัจจุบัน การดูแลผู้ป่วย สาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ

ควรทานยาปฏิชีวนะให้ครบ
ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
โรคฉี่หนู
อย่ากินแอปเปิ้ลไซเดอร์ถ้าไม่รู้ 4.5 ข้อนี้ article
ผิวดำง่ายมากเกิดจาก 6 ข้อนี้ article
กินอาหารแล้วอ้วนจริงหรือ article
เอ็นข้อศอกอักเสบ เกิดจากอะไร? article
เจาะลึกกระบวนการ 'ทดลองยาในคน' article
กว่าจะเป็นยา ต้องผ่านขั้นตอน อะไรบ้าง? article
5 โรคร้ายรักษาง่ายๆด้วย ข้าวกล้อง article
เคล็บลับนอนหลับง่ายๆโดยไม่ต้องใช้ยา article
5 อาหารไขมันสูงยิ่งกินยิ่งผอม article
มือชา รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
กระดูกพรุน รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
เท้าปุก คืออะไร? รักษาอย่างไร? article
กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
ปวดหลังร้าวลงขา นั่งไม่ได้ รักษาอย่างไร? article
โรคท้องผูก ลำไส้ทำงานอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
การรับมือกับโรคมะเร็ง article
โรคหลอดเลือดหัวใจในหนุ่มสาว article
การจัดการโรคไตเรื้อรัง และสิ่งที่เชื่อผิดๆ article
น้ำดื่มบำรุงไต ไม่อยากฟอกไตต้องดู article
5 ความเชื่อผิดๆที่ทำให้ลดน้ำหนักไม่มีวันสำเร็จ article
7 วิธีควบคุมความดันโดยไม่ต้องพึ่งยา article
3 เทคนิคลดความอ้วน “#ไม่ต้องออกกำลังกาย” article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน