ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




ใช้แสงซินโครตรอนพัฒนา “สเต็มเซลล์” สู้ “มะเร็งตับ” article

ใช้แสงซินโครตรอนพัฒนา “สเต็มเซลล์” สู้ “มะเร็งตับ”

โดย ASTVผู้จัดการออนไลน์

สถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน -อัตราการเสียชีวิตของคนไทยในปัจจุบันจากโรคมะเร็ง พบว่า โรคมะเร็งตับ พบมากเป็นอันดับหนึ่ง การรักษาผู้ป่วยโรคตับที่ไม่ตอบสนองต่อการรักษาทางยา สามารถทำได้โดยการปลูกถ่ายอวัยวะ อย่างไรก็ตามยังมีรายงานถึงผลข้างเคียงและภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นหลังจากการเปลี่ยนถ่ายตับ เช่น ภาวะร่างกายต่อต้านอวัยวะที่ปลูกถ่าย เป็นต้น
       
       นอกจากนั้นยังพบปัญหาการขาดแคลนอวัยวะ ซึ่งมีไม่เพียงพอต่อความต้องการของผู้ป่วย การประยุกต์ใช้เทคโนโลยีสเต็มเซลล์เพื่อการรักษาโรคตับจึงเป็นอีกหนึ่งความหวังที่สำคัญ เพื่อเป็นทางเลือกในการรักษาที่มีประสิทธิภาพ อีกทั้งลดภาวะแทรกซ้อนจากการรักษาที่เกิดขึ้นได้ในอนาคต
       
       รศ. ดร.รังสรรค์ พาลพ่าย ผู้อำนวยการศูนย์วิจัยเทคโนโลยีตัวอ่อนและเซลล์ต้นกำเนิด มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีสุรนารี (มทส.) พร้อมด้วย ดร.กาญจนา ธรรมนู นักวิจัยประจำสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน (องค์การมหาชน) ได้ร่วมกันพัฒนาสเต็มเซลล์จากตัวอ่อนของหนูเพื่อเปลี่ยนแปลงไปเป็นเซลล์ตับ และได้ทำการติดตามกระบวนการเปลี่ยนแปลงเซลล์ในระดับชีวโมเลกุล พร้อมทั้งทดสอบเทคโนโลยีการแยกเซลล์อย่างรวดเร็ว โดยใช้เทคนิคกล้องจุลทรรศน์อินฟราเรด (FTIR microspectroscopy)
       
       รศ.ดร.รังสรรค์ พาลพ่าย กล่าวว่า ปัจจุบันศูนย์วิจัยเทคโนโลยีตัวอ่อน ฯ มทส. ได้ประสบความสำเร็จในการคัดแยกและเพาะเลี้ยงสเต็มเซลล์จากหลายแหล่ง เชน ทั้งสเต็มเซลล์ตัวอ่อน และสเต็มเซลล์ชนิดมีเซ็นไคม์ (mesenchymal stem cells, MSCs) จากหลายแหล่ง เช่นจากเลือด ไขกระดูก เยื่อบุถุงน้ำคร่ำ และเซลล์เนื้อเยื่อไขมัน สำหรับงานวิจัยครั้งนี้ เราให้ความสนใจที่การพัฒนาไปสู่เซลล์ตับ โดยเริ่มต้นพัฒนาเซลล์ต้นแบบจากสเต็มเซลล์ตัวอ่อนของหนูทดลอง ซึ่งเป็นเซลล์ที่ได้จากการปฏิสนธิ และมีศักยภาพสูงที่จะเติบโตเป็นอวัยวะต่าง ๆ
       
       อย่างไรก็ตามในกระบวนการเพาะเลี้ยงสเต็มเซลล์เพื่อกระตุ้นให้พัฒนาเป็นเซลล์ตับนั้น จำเป็นต้องทราบการเปลี่ยนแปลงในระดับเซลล์เดี่ยว (Single cell) เพื่อให้รู้ว่าเกิดการเปลี่ยนแปลงของสารชีวโมเลกุลอย่างไรบ้าง การติดตามการเปลี่ยนแปลงของเซลล์นี้ อาจทำให้เราทราบได้ถึงโอกาสที่จะเกิดความผิดปกติอื่นใด ที่สามารถเกิดขึ้นระหว่างกระบวนการพัฒนาเซลล์ และที่สำคัญ เมื่อเซลล์ถูกการกระตุ้นให้เป็นเซลล์ตับในระยะสุดท้ายแล้วนั้น เซลล์ตับสามารถทำหน้าที่ได้อย่างสมบูรณ์หรือไม่ ซึ่งเทคนิคการวิเคราะห์จากกล้องจุลทรรศน์อินฟราเรดโดยใช้แสงซินโครตรอน สามารถแสดงผลการพัฒนาไปสู่เซลล์ตับได้อย่างชัดเจนเป็นที่น่าพอใจมาก คิดว่าจากนี้ไปจะทดลองในสเต็มเซลล์ตัวอ่อนมนุษย์ (Embryonic Stem Cell) หรือด้วยสเต็มเซลล์ร่างกาย (Adult Stem Cell) ซึ่งจะเป็นประโยชน์ทางการแพทย์ต่อไปในอนาคต
       
       ดร.กาญจนา ธรรมนู เปิดเผยว่า ผลงานติดตามกระบวนการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ในงานวิจัยครั้งนี้พบว่า เทคนิค FTIR microspectroscopy สามารถใช้ในการคัดแยกเซลล์แต่ละประเภทออกจากกันได้อย่างดี โดยชุดข้อมูลจากเซลล์ตับในระยะสุดท้ายสามารถแยกออกจากชุดข้อมูลของเซลล์ในระยะอื่นๆ ที่ระดับความถูกต้อง 96 % นอกจากนี้ยังพบว่า เซลล์ตับระยะเริ่มต้นมีการเปลี่ยนแปลงระดับของไขมันเพิ่มสูงขึ้น และเซลล์ตับระยะสุดท้ายพบการเปลี่ยนแปลงระดับของโปรตีนที่มีโครงสร้างทุติยภูมิชนิดอัลฟาเพิ่มขึ้นอย่างเห็นได้ชัด
       
       สอดคล้องกับการผลิตโปรตีนอัลบูมินที่สูงขึ้นในเซลล์ตับปกติ เพื่อพร้อมในการทำหน้าที่ของเซลล์ตับที่สมบูรณ์ และการติดตามการเปลี่ยนแปลงของเซลล์ระยะต่าง ๆ โดยใช้ เทคนิค FTIR microspectroscopy ยังสามารถนำไปสู่การประยุกต์ใช้ในการสร้างฐานข้อมูลในการตรวจ หรือจัดจำแนกเซลล์ตับที่ถูกต้อง และสมบูรณ์จากเซลล์ตั้งต้นได้รวดเร็วขึ้นกว่าวิธีปกติทั่วไป และช่วยลดข้อจำกัดในของการวิเคราะห์ทางชีวโมเลกุลซึ่งมีค่าใช้จ่ายสูง ซึ่งเทคนิคนี้ใช้เวลาในการตรวจวิเคราะห์สั้นกว่า และมีขั้นตอนการเตรียมตัวอย่างที่ไม่ยุ่งยาก ตัวอย่างไม่จำเป็นต้องผ่านกระบวนการการใช้สารเคมีใด ๆ ซึ่งจะช่วยให้การทำงานของนักวิจัยรวดเร็ว และแม่นยำยิ่งขึ้น
       
       งานวิจัยครั้งนี้ได้รับการเผยแพร่ในวารสารที่ได้รับการยอมรับในระดับนานาชาติ ซึ่งถือว่าเป็นงานวิจัยในระดับแนวหน้าของไทย นอกจากนั้นแล้ว รศ. ดร.รังสรรค์ พาลพ่าย ยังคงทำการวิจัยสเต็มเซลล์ ร่วมกับทางสถาบันวิจัยแสงซินโครตรอน อีกหลายโครงการ โดยเฉพาะโครงการที่สัมพันธ์กับงานวิจัยครั้งนี้ คือการพัฒนาเซลล์ตับจากเยื่อบุถุงน้ำคร่ำ และไขกระดูกของหนู ซึ่งปัจจุบันมีความคืบหน้าของโครงการกว่า 90 % นอกจากนั้นยังมีการพัฒนาสเต็มเซลล์ เพื่อเปลี่ยนไปเป็นเซลล์เป้าหมายชนิดต่าง ๆ เช่น เบต้าเซลล์ที่สามารถผลิตอินซูลินได้ และเซลล์ประสาท ซึ่งคาดว่าจะมีผลงานวิจัยออกมาอย่างต่อเนื่องต่อไป




แพทย์ วิสัญญี เภสัชกร ยาแผนปัจจุบัน การดูแลผู้ป่วย สาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ

ควรทานยาปฏิชีวนะให้ครบ
ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
โรคฉี่หนู
อย่ากินแอปเปิ้ลไซเดอร์ถ้าไม่รู้ 4.5 ข้อนี้ article
ผิวดำง่ายมากเกิดจาก 6 ข้อนี้ article
กินอาหารแล้วอ้วนจริงหรือ article
เอ็นข้อศอกอักเสบ เกิดจากอะไร? article
เจาะลึกกระบวนการ 'ทดลองยาในคน' article
กว่าจะเป็นยา ต้องผ่านขั้นตอน อะไรบ้าง? article
5 โรคร้ายรักษาง่ายๆด้วย ข้าวกล้อง article
เคล็บลับนอนหลับง่ายๆโดยไม่ต้องใช้ยา article
5 อาหารไขมันสูงยิ่งกินยิ่งผอม article
มือชา รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
กระดูกพรุน รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
เท้าปุก คืออะไร? รักษาอย่างไร? article
กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
ปวดหลังร้าวลงขา นั่งไม่ได้ รักษาอย่างไร? article
โรคท้องผูก ลำไส้ทำงานอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
การรับมือกับโรคมะเร็ง article
โรคหลอดเลือดหัวใจในหนุ่มสาว article
การจัดการโรคไตเรื้อรัง และสิ่งที่เชื่อผิดๆ article
น้ำดื่มบำรุงไต ไม่อยากฟอกไตต้องดู article
5 ความเชื่อผิดๆที่ทำให้ลดน้ำหนักไม่มีวันสำเร็จ article
7 วิธีควบคุมความดันโดยไม่ต้องพึ่งยา article
3 เทคนิคลดความอ้วน “#ไม่ต้องออกกำลังกาย” article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน