ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




รักษาสิวด้วยขมิ้น

 

ขมิ้นชัน
 

ชื่อสามัญ / ชื่ออังกฤษ
Turmeric, Curcuma, Yellow Root Zedoary (ขมิ้นอ้อย)
ชื่อวิทยาศาสตร์
ขมิ้นชัน Curcuma longa Linn., ขมิ้นอ้อย Curcuma zedoaria Rosc.
วงศ์
Zingiberaceae
ชื่ออื่น / ชื่อท้องถิ่น
ขมิ้นชัน : ขมิ้น (ทั่วไป) ขมิ้นแกง ขมิ้นหัว ขมิ้นหยวก (เชียงใหม่) มิ้น ขี้มิ้น (ภาคใต้), ขมิ้นอ้อย : ขมิ้น (ทั่วไป) มิ้น ขี้มิ้น (ภาคใต้) ขมิ้นขิ้น ขมิ้นหัวขึ้น ว่านเหลือง ละเมียด
ลักษณะทางพฤกษศาสตร
ขมิ้นทั้งสองชนิด มีลักษณะลำต้นคล้ายคลึงกันมาก เป็นพืชล้มลุก มีลำต้นใต้ดินหรือเหง้า ประกอบด้วยแง่งหลักที่เรียกว่าแง่งแม่ แขนงที่แตกอกมาจากแง่งแม่ถ้ามีลักษณะกลมเรียกว่า หัว แต่ถ้ามีลักษณะยาวคล้ายนิ้วมือเรียกว่า นิ้ว ขมิ้นชันจะมีเหง้าเล็กกว่าขมิ้นอ้อย มีกลิ่นหอม ใบเป็นใบเดี่ยวออกสลับกัน อยู่รวมกันเป็นกอ ซึ่งขึ้นมาจากเหง้า ใบมีลักษณะเรียวยาวปลายใบแหลม ขมิ้นชันมีใบยาวเรียวแหลมกว่าขมิ้นอ้อย ด้านล่างของใบมีเส้นใบเห็นได้ชัดเจน ออกดอกเป็นช่อ โดยแทงออกมาจากเหง้าบริเวณใจกลางกลุ่มใบ ลักษณะช่อดอกคล้ายทรงกระบอก ประกอบด้วยดอกย่อย ซึ่งดอกย่อยของขมิ้นชันมีสีเหลืองอ่อนถูกหุ้มด้วยกลีบเลี้ยงหรือกลีบประดับสีเขียวอมชมพู ส่วนดอกย่อยของขมิ้นอ้อยมีสีขาว มีกลีบเลี้ยงสีชมพูอ่อนๆ พบได้ทุกภาคของประเทศไทย
  สารสำคัญที่พบ
ในเหง้าขมิ้นชันมีน้ำมันหอมระเหย ซึ่งเป็นน้ำมันสีเหลือง มีเซสควิเทอร์พีนคีโทน (Sesquiterpene) โดยมีสารส่วนใหญ่เป็นทูมีโรน (Tumerone) นอกจากนี้ยังมีสารเออาร์-เทอร์มีโรน (ar-Tumerone) อัลฟา-แอทเลนโทน (Alpha-Atlantone) ซิงจิเบอร์รีน (Zingiberene) บอร์นีออล (Borneol) เป็นต้น ส่วนสารสีเหลืองส้มมีชื่อว่า เคอร์คิวมิน (Curcumin) ซึ่งเป็นสารที่มีฤทธิ์ยับยั้งการหลั่งของกรดในกระเพาะอาหาร นอกจากนี้ขมิ้นชันยังประกอบด้วยสารอาหารประเภทโปรตีน คาร์โบไฮเดรต ไขมันและแร่ธาตุ
  สรรพคุณ
1. ช่วยป้องกันในกระเพาะอาหาร เพราะสารเคอร์คิวมินจะกระตุ้นการหลั่งมิวซิน (Mucin) ออกมาเคลือบกระเพาะ โดยต้มผงขมิ้นชันจนได้น้ำข้นๆ ผสมกับน้ำผึ้งพอประมาณ รับประทานเป็นประจำ นอกจากนี้ยังช่วยรักษาแผลเปื่อยในกระเพาะและลำไส้หายเร็วยิ่งขึ้น เนื่องจากมีฤทธิ์ฝาดสมานช่วยห้ามเลือด
2. แก้อาการท้องอืดท้องเฟ้อ โดยตำเหง้าขมิ้นชันสดให้ละเอียด คั้นเอาแต่น้ำและผสมกับน้ำต้มสุกในอัตราส่วน 1 : 2 รับประทานครั้งละ 2 ช้อนโต๊ะ หลังอาหารและก่อนนอน
3. ช่วยย่อยอาหารและบรรเทาอาการแน่นจุกเสียด เพราะสารเคอร์คิวมินมีฤทธิ์ขับน้ำดี โดยกระตุ้นให้ถุงน้ำดีบีบตัวมากขึ้น ซึ่งยังช่วยรักษาโรคนิ่วในถุงน้ำดีได้เช่นกัน
4. น้ำมันหอมระเหยในขมิ้นมีสารสำคัญที่ออกฤทธิ์ยับยั้งการเจริญเติบโตของเชื้อราและเชื้อแบคทีเรีย ซึ่งช่วยรักษาโรคผิวหนัง เช่น แผลสด แผลถลอก แผลพุพอง ผื่นคัน แมลงกัดต่อย โดยใช้เหง้าขมิ้นชันสดตำให้ละเอียดผสมกับเกลือพอกบริเวณที่ปวด
5. รักษาโรคทางเดินหายใจ บรรเทาอาการไอ ขับเสมหะ และช่วยรักษาโรคไขข้ออักเสบ แก้อาการปวดตามข้อ ปวดเข่า โดยใช้เหง้าขมิ้นชันสด ตำให้ละเอียดผสมกับเกลือพอกบริเวณที่ปวด
6. ช่วยระงับกลิ่นตัว โดยใช้ผงขมิ้นทาบริเวณนั้น
7. ช่วยให้ผิวสวยสะอาด โดยใช้ผงขมิ้นถูให้ทั่วตัวหลังอาบน้ำและล้างหน้า แล้วล้างออกด้วยน้ำสะอาด
8. ใช้เป็นส่วนผสมในยาแก้ปวดท้อง ยาลดกรด ขับลม และยาเจริญอาหาร
  ส่วนที่ใช้ประกอบอาหาร
เหง้า แง่ง
  วิธีใช้ในการประกอบอาหาร
ใช้แต่งสีอาหารให้เป็นสีเหลือง เช่น ข้าวหมกไก่ แกงกะหรี่ แกงเหลือง ข้าวเหนียว เนย เนยแข็ง ผงมัสตาร์ด ผักดอง ขนมเบื้องญวน เป็นส่วนผสมของแกงกะหรี่ ซอส
  ข้อสังเกต / ข้อควรระวัง
  1. น้ำมันที่สกัดจากเหง้าขมิ้นแห้ง ใช้เป็นยากำจัดแมลง และฆ่าเชื้อจุลินทรีย์
2. ใช้เป็นสีย้อมผ้าและเครื่องสำอาง
3. ไม่ควรรับประทานขมิ้นเป็นเวลานานๆ อาจทำให้เกิดอาการกระวนกระวาย อาเจียน ถ่ายเป็นเลือด
4. สตรีมีครรภ์อ่อนๆ ไม่ควรรับประทานขมิ้นในปริมาณมากเพราะอาจทำให้แท้งได้
5. หากรับประทานขมิ้นแล้วเกิดอาการแพ้ เช่น ท้องเสีย คลื่นไส้ ปวดหัว ควรหยุดรับประทานทันที

 

ที่มาของข้อมูล http://61.19.145.8/student/web42106/509/509-1826/5kha-min.html

ขมิ้นชัน : สารพันคุณค่าทั้งทา ทั้งกิน
ขมิ้นยังมีสรรพคุณ ในการรักษาพิษแมลงสัตว์กัดต่อย ในสมัยที่ยังเล็กๆ ตอนยุงกัดเป็นตุ่มแดง คุณยายมักจะใช้ปูนกินกับหมากแต้ม เพราะต้องการฤทธิ์แก้พิษของขมิ้น ที่ผสมอยู่ในปูนที่กินกับหมาก และฤทธิ์ของปูนที่ช่วยให้ขมิ้นติดผิวได้ดีขึ้น (ปูนกินกับหมากของคนโบราณ ได้จากการเผาเปลือกหอยจนร้อนจัด สามารถบดเป็นฝุ่นละเอียดสีขาว แล้วเอาไปผสมกับขมิ้นจะให้สีส้ม หรือเรียกเป็นสีเฉพาะว่า สีปูน)

นอกจากนี้ยังนิยมใช้ขมิ้นเป็นเครื่องสำอาง คนในแถบตอนใต้ของเอเชีย และแถบตะวันออกไกล ใช้ขมิ้นทาผิวหน้าทำให้ผิวหน้านุ่มนวล คนมาเลเซียและคนไทยสมัยก่อนจะใช้ขมิ้นในการอาบน้ำ ทำให้ผิวผ่องยิ่งขึ้น วิธีการอาบน้ำด้วยขมิ้นนั้น จะทาขมิ้นหมักไว้ที่ผิวหนังสักพัก แล้วจึงขัดออกด้วยส้มมะขามเปียก นอกจากทำให้ผิวหนังนุ่มนวลแล้ว ขมิ้นยังมีสรรพคุณในการป้องกันการงอกของขน ผู้หญิงอินเดียจึงใช้ขมิ้นทาผิวหนัง เพื่อป้องกันไม่ให้ขนงอก คนพม่าเชื่อว่าถ้าใช้ขมิ้นผสมสมุนไพร ที่ชื่อทาคาน่า ทาผิวเด็กสาวตั้งแต่ยังเล็กๆ จะทำให้เนื้อผิวละเอียด จนมีคำกล่าวในบรรดาชายไทยว่าสาวจะสวยต้อง "ผิวพม่า นัยน์ตาแขก"

ส่วนในการใช้เป็นยารับประทาน เชื่อว่าขมิ้นชันมีสรรพคุณในการกำจัดสารพิษออกจากร่างกาย มีสรรพคุณในการช่วยบรรเทาอาการท้องอืด ช่วยย่อยอาหาร มีสรรพคุณในการบำรุงร่างกายและช่วยบำรุงตับ รักษาระบบทางเดินหายใจที่ผิดปกติ หืด ไอ เวียนศรีษะ รักษาอาการปวดและอักเสบเนื่องจากไขข้ออักเสบ เป็นต้น ปัจจุบันมีการศึกษาเพื่อพิสูจน์สรรพคุณของขมิ้น ตามการใช้แบบโบราณ ก็พบว่ามีสรรพคุณมากมายตามที่เคยใช้กันมา เช่น ขมิ้นชันมีสรรพคุณทำให้แผลหายเร็วขึ้น มีฤทธิ์ลดการอักเสบ ลดปฏิกิริยาภูมิแพ้ เพิ่มภูมิคุ้นกันให้แก่ร่างกาย มีฤทธิ์ฆ่าเชื้อแบคทีเรียที่ทำให้เกิดหนอง มีฤทธิ์ขับน้ำดีช่วยในการย่อยและป้องกันไม่ให้เป็นนิ่วในถุงน้ำดี มีฤทธิ์ขับลม และมีการศึกษาการใช้ขมิ้นชันรักษาโรคกระเพาะในประเทศไทย (โรงพยาบาลศิริราช) พบว่า ได้ผลดีพอควร
สรรพคุณขมิ้นชันในการรักษาสิว

สรรพคุณขมิ้นชันในการรักษาสิว มีวัตถุประสงค์เพื่อทดสอบสรรพคุณในการรักษาสิวเมื่อทาสารละลายขมิ้นชันเปรียบเทียบกับกรณีไม่ทา โดยเลือกตัวอย่างแบบโควต้าในกลุ่มวัยรุ่นที่เป็นสิวกับกลุ่มอายุสูงมา 52 คน 83 คู่หัวสิวเปรียบเทียบด้วยวิธีจับคู่สิวในคนเดียวกัน โดยในแต่ละคู่ของหัวสิวจะมีเม็ดหนึ่งทาด้วยขมิ้นชัน อีกเม็ดหนึ่งไม่ทา ติดตามผลการรักษา 2 สัปดาห์ขึ้นไป ผลปรากฏว่า หัวสิวที่ทาด้วยขมิ้นชันยุบเร็วกว่า หายเร็วกว่า จำนวนหัวสิวหายมากกว่า เมื่อเปรียบเทียบกับไม่ทา การรักษาสิวด้วยขมิ้นชันจึงเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพ ประหยัด และหาได้ง่ายในประเทศ

 ที่มาของข้อมูล www.moph.go.th

ที่บ้านของข้าพเจ้า ใช้ขมิ้นชันในการทาผิวหนังเวลาที่แมลงกัด แล้วเกิดอาการคัน  ทาแล้วหายคันและหายปวดแสบปวดร้อนค่ะ

 

สร้างองค์ความรู้โดย รุ้งตะวัน  ฉิมเอี่ยม   ม.3/2

 




แพทย์ทางเลือก ฝังเข็ม นวดกดจุด สมุนไพร อาหารเพื่อสุขภาพ

ชะพลู ผลวิจัยเผยสรรพคุณสุดเจ๋ง..!!! รักษาอาการโรคเบาหวาน และทำให้สุขภาพดีขึ้นแบบนี้..| Nava DIY
น้ำขิงมะนาว จิบเดียวประโยขน์มหาศาล article
ภญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร บรรยายเรื่อง ป่าเฮ่วหมอง article
7 ประโยชน์ขั้นเทพของ “กระเจี๊ยบเขียว” ที่คุณอาจไม่รู้
ขมิ้นชัน
5 ผักพื้นบ้าน ต้านมะเร็ง
สะระแหน่ ปลูกง่ายโตเร็ว สรรพคุณเพียบ article
จัดการกรดไหลย้อนให้หายขาด
กินผลไม้อย่างไร ให้ได้ประโยชน์สูงสุด article
"ต้นป่าช้าเหงา"สมุนไพรไทยดังไกลไปทั่วโลก article
ก้อนอึ 12 ประเภท ที่จะบ่งบอกได้ว่าสุขภาพของคุณเป็นอย่างไร article
17 อาหารช่วยเผาผลาญไขมัน และช่วยล้างพิษ article
ของดี 9 อย่าง ช่วยทำความสะอาดหลอดเลือด article
กินกล้วยอย่างไร ให้ได้ประโยชน์มากที่สุด article
ฟักข้าว ประโยชน์ของพืชพื้นบ้านลูกจิ๋ว สรรพคุณแจ๋ว
8 สุดยอด ธัญพืช
อินทผลัม อัศจรรย์ผลไม้กลางทะเลทราย สรรพคุณมากมายเกินคาดคิด !!
หวานซ่อน ร้าย
8 วิธีง่ายๆ ป้องกันมะเร้ง
9 อาหาร ที่ควรกินทุกวัน สุขภาพดีห่างไกลหมอ
10 สุดยอดอาหารบำรุงคนท้อง เพื่อพัฒนาการที่ดีของทารกในครรภ์
5 ผลไม้บำรุงเลือด
13 ผักผลไม้และสมุนไพรบำรุงตับ
น้ำใบบัวบก
รู้หรือไม่ พืชชนิดนี้ช่วยฆ่าเซลล์มะเร็งได้ในเวลาเพียง 16 ชั่วโมง รู้เเล้วไปหามากินป้องกันไว้ได้เลย
วิธีเลือกเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ
นวดแก้อาการ-รักษา 31 โรค แก้อาการทุกชนิดแบบเอื้ออาทร
กรมแพทย์แผนไทย เตือน 6โรคห้ามนวดถึงตาย
อันตรายจาก "สมุนไพร" ที่เรา(อาจ)คาดไม่ถึง!
การนวดกดจุดสะท้อนเท้าสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
ชาวพังงาหรรษานอนแช่บ่อน้ำพุร้อนปลายพู่-ต้มไข่กิน เชื่อมีแร่ธาตุบำบัดโรค
ต้องอ่านนะค่ะ ของดี ถ้ายังรักตัวเอง โดย อาจารย์ ไกร มาศพิมล (นักโภชนาการบำบัด) http://youtu.be/TkreU-jK-EU
พังแหร สรรพคุณและประโยชน์ของต้นพังแหรใหญ่ 19 ข้อ
'น้ำเต้าญี่ปุ่น' ขับปัสสาวะ
'ข่อยหยอง' ขับปัสสาวะ
"ตาเสือ’"เปลือกต้นเป็นยาขับโลหิต
“กำยาน”บำรุงหัวใจ คลายเครียด
29 สรรพคุณและประโยชน์ของต้นคว่ำตายหงายเป็น
"สาบเสือ"ใบสดตำพอกปากแผลห้ามเลือด
พิชิตโรคภัย ด้วยดอกไม้ 5 ชนิด ประโยชน์ดีๆที่ไม่ควรมองข้าม



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน