ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




ทุกจังหวัดเฝ้าระวังไข้หวัดใหญ่ จับตาใกล้ชิด"ไอโอวา 2011" article

เตือนทุกจังหวัดเฝ้าระวังไข้หวัดใหญ่ จับตาใกล้ชิด"ไอโอวา 2011"
 
 

นายแพทย์ไพจิตร์ วราชิต ปลัดกระทรวงสาธารณสุข เปิดเผยว่า ในช่วงฤดูหนาวทุกปี ประชาชนจะป่วยเป็นไข้หวัดกันมาก
 
เนื่องจากสภาพอากาศแห้ง และเชื้อไวรัสเจริญเติบโตได้ดีกว่าฤดูกาลอื่นๆ กระทรวงสาธารณสุขได้เตือนประชาชนทุกปี ในปีนี้ได้ให้สำนักงานสาธารณสุขจังหวัดทั่วประเทศเฝ้าระวังโรคจากภัยหนาว โดยเฉพาะ ไข้หวัดใหญ่ ไข้หวัดนก และให้เพิ่มเติมการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่ไอโอวา 2011 ซึ่งเป็นเชื้อที่พัฒนามาจากไข้หวัดใหญ่ 2009 มีรายงานเริ่มตรวจพบในประเทศสหรัฐอเมริกาในช่วง 3-4 เดือนที่ผ่านมา

อย่างไรก็ตามแม้ไม่มีรายงานพบผู้ป่วยจากไข้หวัดใหญ่ไอโอวา 2011 ในประเทศไทยก็ตาม แต่เป็นเรื่องที่กระทรวงสาธารณสุขให้ความสำคัญ

ได้ตั้งคณะทำงาน 1 ชุดติดตามสถานการณ์โรคไข้หวัดใหญ่ไอโอวา 2011 อย่างใกล้ชิด โดย
ร่วมมือทางวิชาการด้านด้านสาธารณสุขระหว่างไทยกับสหรัฐอเมริกา และเครือข่ายการเฝ้าระวังโรคไข้หวัดใหญ่ขององค์การอนามัยโลกด้วย เพื่อเป็นประโยชน์ในระบบการเฝ้าระวัง การป้องกันโรค และการดูแลผู้ป่วย จากการติดตามสถานการณ์การแพร่ระบาดไข้หวัดดังกล่าว ในสหรัฐอเมริกา พบว่ายังไม่น่าวิตก สถานการณ์ยังไม่รุนแรง พบผู้ป่วย 18 ราย ไม่พบการระบาดในวงกว้าง ไม่มีรายงานเสียชีวิต และรักษาได้ด้วยยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์และซานามิเวียร์


นายแพทย์ไพจิตร์กล่าวต่อว่า มาตรการเฝ้าระวัง การดูแลผู้ป่วยโรคไข้หวัดใหญ่ของไทย ขณะนี้เรามีความพร้อมทั้ง 3 ด้าน
 
คือยารักษา การตรวจยืนยันเชื้อทางห้องปฏิบัติการ และบุคลากรทางการแพทย์มีประสบการณ์ในการดูแลผู้ป่วยที่เป้นมาตรฐานเดียวกันทั่วประเทศ ซึ่งขณะนี้ได้สำรองยาต้านไวรัสโอเซลทามิเวียร์ และซานามิเวียร์ ซึ่งรักษาได้ทั้ง 2โรค ในโรงพยาบาลทุกแห่งอย่างเพียงพอ และใช้รักษาได้ผลดี ไม่มีปัญหาเชื้อดื้อยา   


อย่างไรก็ดี ประชาชนทุกคนไม่ว่าจะฉีดวัคซีนป้องกันไข้หวัดใหญ่มาแล้วและกลุ่มที่ไม่ได้ฉีด ขอให้ป้องกันการติดเชื้อไข้หวัดใหญ่

โดยล้างมือบ่อยๆ หลังจากสัมผัสสิ่งของสาธารณะที่ใช้ร่วมกันบ่อยๆเช่นปุ่มลิฟต์ บันไดเลื่อน ลูกบิดประตู เป็นต้น ออกกำลังกาย พักผ่อนให้เพียงพอ สำหรับประชาชนทั่วไป หากป่วยเป็นไข้หวัดใหญ่ คือมีอาการไข้สูง หนาวสั่น ปวดเมื่อยตามตัว ไอแห้งๆ เจ็บคอ ขอให้หยุดงานหรือหยุดเรียนจนกว่าหายเป็นปกติ หลีกเลี่ยงการคลุกคลี ใช้สิ่งของร่วมกับผู้อื่น สวมหน้ากากอนามัย ผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง รับประทานอาหารได้ สามารถดูแลรักษาตัวเองที่บ้าน โดยกินยาพาราเซตามอลเพื่อลดไข้ ดื่มน้ำมากๆ รักษาร่างกายให้อบอุ่น นอนหลับพักผ่อนให้เพียงพอ ไข้จะค่อยๆลดลง อาการจะดีขึ้นเรื่อยๆ ให้ใช้กระดาษทิชชูหรือผ้าเช็ดหน้าปิดปากและจมูกทุกครั้งที่ไอหรือจาม ล้างมือบ่อยๆ และสวมหน้ากากอนามัยเมื่อจำเป็นต้องอยู่กับผู้อื่น เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อไปติดคนอื่น


 แต่หากยังมีไข้สูง ไข้ไม่ลดลงใน 2-3  วันหรืออาการไม่ดีขึ้น เช่น ทานอาหารไม่ได้ หายใจลำบาก หอบเหนื่อย อาเจียนมาก ซึม ขอให้รีบพบแพทย์ รวมถึงผู้ที่มีโรคประจำตัวเรื้อรัง เช่น โรคปอด หอบหืด โรคเบาหวาน โรคไตวาย โรคหัวใจ รวมทั้งเด็กเล็ก ผู้สูงอายุ หญิงตั้งครรภ์ คนอ้วน และผู้มีภูมิต้านทานต่ำ ขอให้รีบพบแพทย์ทันทีที่มีอาการคล้ายไข้หวัดใหญ่เพื่อรับการตรวจรักษา


ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: หนังสือพิมพ์มติชน




แพทย์ วิสัญญี เภสัชกร ยาแผนปัจจุบัน การดูแลผู้ป่วย สาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ

ควรทานยาปฏิชีวนะให้ครบ
ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
โรคฉี่หนู
อย่ากินแอปเปิ้ลไซเดอร์ถ้าไม่รู้ 4.5 ข้อนี้ article
ผิวดำง่ายมากเกิดจาก 6 ข้อนี้ article
กินอาหารแล้วอ้วนจริงหรือ article
เอ็นข้อศอกอักเสบ เกิดจากอะไร? article
เจาะลึกกระบวนการ 'ทดลองยาในคน' article
กว่าจะเป็นยา ต้องผ่านขั้นตอน อะไรบ้าง? article
5 โรคร้ายรักษาง่ายๆด้วย ข้าวกล้อง article
เคล็บลับนอนหลับง่ายๆโดยไม่ต้องใช้ยา article
5 อาหารไขมันสูงยิ่งกินยิ่งผอม article
มือชา รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
กระดูกพรุน รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
เท้าปุก คืออะไร? รักษาอย่างไร? article
กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
ปวดหลังร้าวลงขา นั่งไม่ได้ รักษาอย่างไร? article
โรคท้องผูก ลำไส้ทำงานอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
การรับมือกับโรคมะเร็ง article
โรคหลอดเลือดหัวใจในหนุ่มสาว article
การจัดการโรคไตเรื้อรัง และสิ่งที่เชื่อผิดๆ article
น้ำดื่มบำรุงไต ไม่อยากฟอกไตต้องดู article
5 ความเชื่อผิดๆที่ทำให้ลดน้ำหนักไม่มีวันสำเร็จ article
7 วิธีควบคุมความดันโดยไม่ต้องพึ่งยา article
3 เทคนิคลดความอ้วน “#ไม่ต้องออกกำลังกาย” article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน