ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




คณะแพทยศาสตร์ มช. ทุ่ม 90 ลบ. จัดซื้อ 'หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด

มช.ทุ่ม90ล.ซื้อ'หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด'

คณะแพทยศาสตร์ มช. ทุ่ม 90 ลบ. จัดซื้อ 'หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด - Robotic Surgery' มาใช้เป็นแห่งแรกของภาคเหนือ ชี้โอกาสผิดพลาดน้อย ช่วยผู้ป่วยเสียเลือดลดลง การผ่าตัดมีความแม่นยำสูง

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า  เมื่อวันที่ 23 ธ.ค.54  ศ.นพ.บรรณกิจ โลจนาภิวัฒน์ รองคณบดี คณะแพทยศาสตร์ มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ (มช.) เปิดเผยว่า ภาควิชาศัลยศาสตร์ คณะแพทย์ศาสตร์ มช. ได้จัดซื้อหุ่นยนต์ผ่าตัด หรือ Robotic Surgery ซึ่งมีมูลค่าสูงกว่า 90 ล้านบาท จากต่างประเทศมาใช้ ถือเป็นมหาวิทยาลัยแพทย์แห่งแรกของภาคเหนือ ที่นำหุ่นยนต์มาช่วยในการผ่าตัดระบบต่าง ๆ ที่มีความซับซ้อน หุ่นยนต์ผ่าตัดนับเป็นเครื่องมือที่มีเทคโนโลยีทันสมัยที่สุดในปัจจุบันที่ช่วยในการผ่าตัดโรคระบบต่าง ๆ ในมนุษย์ที่มีความซับซ้อน แต่ทำให้การผ่าตัดมีโอกาสผิดพลาดน้อยที่สุด

 ทั้งนี้การนำเอาเทคโนโลยีหุ่นยนต์ผ่าตัดมาช่วยในการผ่าตัดบริเวณที่มีพื้นที่เล็ก และซับซ้อน ทำให้ผลความสำเร็จของการผ่าตัดมากขึ้น แม้เป็นการผ่าตัดในตำแหน่งที่มีความยุ่งยากซับซ้อน แต่สามารถทำให้การผ่าตัดรักษาผู้ป่วยได้สะดวก ปลอดภัย และรวดเร็วยิ่งขึ้น สามารถนำมาใช้ในการผ่าตัดผู้ป่วยหลายระบบ ได้แก่ ศัลยกรรมระบบปัสสาวะ ศัลยกรรมทั่วไป ศัลยกรรมระบบลำไส้ใหญ่ และทวารหนัก สูตินรีเวช

          ศ.นพ.บรรณกิจ กล่าวว่า คณะแพทยศาสตร์ มช.ได้นำเอาหุ่นยนต์ผ่าตัดมาช่วยในการผ่าตัดรักษาผู้ป่วยซึ่งมีการเตรียมทีมโดยการนำทีมงานไปดูงานที่ฮ่องกง และการสัมมนาเรื่องหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด เพื่อเตรียมความพร้อมในการรักษาผู้ป่วย ข้อดีของการใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดคือ แขนกล้องและแขนที่ทำงานคล้ายมือของคน ซึ่งจะช่วยทำให้การผ่าตัดมีความละเอียดมากขึ้น เพราะมองเห็นภาพที่มีความละเอียดสูง และมีกำลังขยาย 10 เท่า ทำให้การผ่าตัดมีความแม่นยำขึ้นอย่างมาก ทำให้ผู้ป่วยจะได้รับประโยชน์ในการผ่าตัด โดยเฉพาะการผ่าตัดในที่แคบ ๆ และจะมีการเสียเลือดน้อยกว่า เมื่อเทียบกับการผ่าตัดปกติผู้ป่วยจะเสียเลือดประมาณ 1- 2 ถุงเป็นอย่างต่ำ เนื่องจากมีความแม่นยำที่สูงยิ่งขึ้น นอกจากนี้ยังมีความเจ็บ และความบอบช้ำของแผลผ่าตัดน้อยกว่า

          "ผู้ป่วยรายแรกในภาคเหนือ ที่ได้รับการผ่าตัดโดยใช้หุ่นยนต์ช่วยผ่าตัด เมื่อวันที่ 6 ธันวาคม 2554 เป็นผู้ป่วยเพศชาย อายุ 61 ปี ป่วยด้วยโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ใช้ระยะเวลาในการผ่าตัด 4 ชั่วโมง ผลการผ่าตัดเป็นที่เรียบร้อย ผู้ป่วยเสียเลือดน้อย ไม่มีภาวะแทรกซ้อน ใช้ยาแก้ปวดจำนวนน้อย และใส่สายปัสสาวะเป็นเวลา 1 อาทิตย์ หลังจากนั้นผู้ป่วยสามารถกลั้นปัสสาวะได้เอง นับว่าเป็นเทคโนโลยีที่คณะแพทยศาสตร์ นำมาใช้ เพื่อให้ลดการเป็ดปวดจากการผ่าตัด ภาวะแทรกซ้อนที่จะเกิดขึ้น และเกิดประโยชน์สูงสุดกับผู้ป่วย"

          ศ.นพ.บรรณกิจ กล่าวอีกว่า สำหรับค่าผ่าตัดด้วยหุ่นยนต์ช่วยผ่าตัดอยู่ประมาณ 3 แสนบาท ไม่รวมค่าใช้จ่ายในการนอนโรงพยาบาลและค่ายาเวชภัณฑ์ เนื่องจากเทคโนโลยีดังกล่าวผูกขาดโดยผู้ผลิตในต่างประเทศเพียงรายเดียว นอกจากนี้แขนของหุ่นยนต์ผ่าตัด 1 แขนที่ควบคุมด้วยระบบคอมพิวเตอร์โดยใช้คนบังคับสามารถใช้ผ่าตัดผู้ป่วยได้ 10 ครั้งต่อ 1 แขน ซึ่งแขนหุ่นยนต์ 1 อัน มีราคาประมาณ 1.5 แสนบาท




แพทย์ วิสัญญี เภสัชกร ยาแผนปัจจุบัน การดูแลผู้ป่วย สาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ

ควรทานยาปฏิชีวนะให้ครบ
ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
โรคฉี่หนู
อย่ากินแอปเปิ้ลไซเดอร์ถ้าไม่รู้ 4.5 ข้อนี้ article
ผิวดำง่ายมากเกิดจาก 6 ข้อนี้ article
กินอาหารแล้วอ้วนจริงหรือ article
เอ็นข้อศอกอักเสบ เกิดจากอะไร? article
เจาะลึกกระบวนการ 'ทดลองยาในคน' article
กว่าจะเป็นยา ต้องผ่านขั้นตอน อะไรบ้าง? article
5 โรคร้ายรักษาง่ายๆด้วย ข้าวกล้อง article
เคล็บลับนอนหลับง่ายๆโดยไม่ต้องใช้ยา article
5 อาหารไขมันสูงยิ่งกินยิ่งผอม article
มือชา รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
กระดูกพรุน รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
เท้าปุก คืออะไร? รักษาอย่างไร? article
กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
ปวดหลังร้าวลงขา นั่งไม่ได้ รักษาอย่างไร? article
โรคท้องผูก ลำไส้ทำงานอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
การรับมือกับโรคมะเร็ง article
โรคหลอดเลือดหัวใจในหนุ่มสาว article
การจัดการโรคไตเรื้อรัง และสิ่งที่เชื่อผิดๆ article
น้ำดื่มบำรุงไต ไม่อยากฟอกไตต้องดู article
5 ความเชื่อผิดๆที่ทำให้ลดน้ำหนักไม่มีวันสำเร็จ article
7 วิธีควบคุมความดันโดยไม่ต้องพึ่งยา article
3 เทคนิคลดความอ้วน “#ไม่ต้องออกกำลังกาย” article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน