ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




"การนอน" ของลูกนั้น..สำคัญไฉน article

"การนอน" ของลูกนั้น..สำคัญไฉน

29 ธันวาคม 2554 12:05 น.

เมื่อพูดถึงการนอนของลูก เชื่อว่าพ่อแม่หลาย ๆ ท่านคงมีคำถามเกี่ยวกับการนอนของลูกกันอยู่ไม่น้อย เช่น เด็กควรนอนวันละกี่ชั่วโมง ควรปลุกให้ดื่มนมตามเวลาหรือไม่ เด็กจะนอนได้ทั้งคืนโดยไม่ตื่นมากินนมตอนอายุเท่าไร แล้วทำไมเด็กเล็ก ๆ บางคนตื่นบ่อยและโยเยตอนกลางคืน หรือไม่ยอมนอน ต้องอุ้มกล่อมหรือป้อนนมทุกครั้ง
       
       คำถามเหล่านี้ ทีมงาน Life & Family มีคำแนะนำดี ๆ จาก พญ.ศุภรัตนา คุณานุสนธิ์ กุมารแพทย์ โรงพยาบาลเวชธานีมาคลายข้อสงสัยกัน โดยปัญหาการนอนของเด็กตั้งแต่วัยขวบปีแรกจนถึงเด็กโตนั้น เป็นปัญหาที่พบได้บ่อย ๆ ประมาณ 1 ใน 5 ถึง 1 ใน 4 ของเด็กวัยก่อน 3 ปีแรกจะพบว่ามีอาการหลับยากและมักตื่นกลางดึกบ่อย ๆ เด็กวัย 3-5 ปี มักกลัวความมืด กลัวเสียงดัง กลัวการนอนคนเดียว ช่วงวัย 10 ปีแรกอาจพบว่ามีการฝันร้าย หรือตื่นกลัวตอนกลางคืน และพบบ่อยที่สุดในช่อง 5-7 ปี ซึ่งพบประมาณร้อยละ 1-4
       
       สำหรับการนอนหลับจะแบ่งเป็น 2 ช่วง คือ REM (Rapid eye movement) และ NREM (Non-rapid eye movement) สำหรับระยะการนอนหลับช่วง REM Sleep การหลับจะเป็นแบบตื้น ๆ ร่วมกับการกรอกตาไปมาอย่างรวดเร็ว กล้ามเนื้อจะผ่อนคลาย ชีพจรและการหายใจอาจไม่สม่ำเสมอ ความฝันจะเกิดในช่วงนี้ ส่วน NREM Sleep ชีพจรและการหายใจจะช้าลง สม่ำเสมอ การเคลื่อนไหวลำตัวจะน้อยที่สุด เป็นช่วงที่อวัยวะต่าง ๆ ได้หยุดพักมากที่สุด REM Sleep ในเด็กแรกเกิดจะเกิดประมาณร้อยละ 50 ของการนอนและลดลงอายุ 5 ปีจะเท่ากับผู้ใหญ่คือ ร้อยละ 20-25 ของการนอนหลับทั้งหมด
       
       ส่วนระยะเวลาการนอนหลับจะแตกต่างกันในแต่ละอายุ ทารกแรกเกิดนอน 16-17 ชั่วโมงต่อวัน เด็กอายุ 4-6 เดือน สามารถนอนติดต่อกันได้ถึง 5 ชั่วโมง และเด็กควรจะหลับได้ด้วยตัวเอง อายุ 1 ปี เด็กจะนอนวันละประมาณ 14 ชั่วโมง อายุ 2 ปี จะนอนวันละ 13 ชั่วโมง และส่วนใหญ่มักไม่นอนตอนเช้า พออายุ 3-5 ปี ส่วนใหญ่จะนอนตอนบ่าย 1 ครั้ง และร้อยละ 75 ของเด็กอายุ 5 ปี ไม่ต้องการนอนกลางวัน
       
       ปัญหาการนอนของเด็กที่พบบ่อย ๆ คือ หลับยาก มักต้องให้พ่อแม่ช่วยอุ้มกล่อม หรือติดดูดนมก่อนหลับ เด็กเหล่านี้ไม่ได้ถูกฝึกให้นอนได้ด้วยตัวเอง โดยธรรมชาติของเด็กเล็กต้องตื่นรู้สึกตัวเป็นพัก ๆ ขณะหลับอยู่แล้ว แต่พ่อแม่มักตอบสนองต่อเด็กมากเกินเหตุ ด้วยการเข้าไปอุ้ม กล่อม หรือให้ดูดนมทุกครั้งที่เด็กร้อง ทำให้เด็กติดและไม่สามารถหลับได้ด้วยตัวเอง
       
       ทั้งนี้ พ่อแม่หลาย ๆ ท่านอาจมีคำถามตามมาว่า ควรจะให้เด็กนอนด้วย หรือให้เด็กนอนคนเดียวตามวัฒนธรรมตะวันตก ในเรื่องนี้คุณหมอให้คำแนะนำว่า แล้วแต่ความสะดวกของแต่ละครอบครัว แต่มีการศึกษาหลายแหล่งที่แสดงให้เห็นว่า เด็กที่นอนร่วมกับผู้ใหญ่จะมีโอกาสตื่นกลางดึกมากกว่าเด็กที่ปล่อยให้นอนตามลำพังคนเดียวถึง 2-3 เท่า ยิ่งเด็กที่ดูดนมแม่และนอนกับแม่ยิ่งตื่นกลางดึกบ่อยมากกว่าเด็กที่นอนคนเดียว

       สำหรับเด็กที่มีปัญหาการนอนตั้งแต่ขวบปีแรก และไม่ได้รับการแก้ไขมักพบว่า ปัญหาจะดำเนินต่อไปเมื่อเด็กโตขึ้น ดังนั้นสิ่งสำคัญ คือ ต้องฝึกให้เด็กเล็กรู้จักนอนหลับได้ด้วยตัวเอง โดยจัดช่วงเวลาให้เด็กได้งีบ และนอนหลับตามตารางที่แน่นอนและสม่ำเสมอ ที่สำคัญควรให้เด็กนอนบนเตียงตั้งแต่เริ่มผ่อนคลาย หรือง่วง ไม่ใช่ช่วงที่เด็กหลับไปแล้ว เพื่อให้เด็กรู้จักปรับตัวและบังคับตัวเองให้หลับได้ตั้งแต่เล็ก ๆ โดยไม่ต้องดูดนม ไม่ต้องอุ้มเขย่า และไม่สนใจเสียงร้องที่อาจมีขึ้นก่อนเด็กหลับ เพื่อให้ความทรงจำสุดท้ายของเด็กก่อนที่จะหลับ คือการนอนได้ด้วยตัวเอง ถ้าเด็กตื่นและร้องหานม ควรใจแข็ง ประวิงเวลาให้นานที่สุดก่อนจะยอมให้เด็กดูดนมอีกครั้ง
       
       อย่างไรก็ดี การเล่นกับเด็กมากเกินไปในช่วงเย็นหรือช่วงค่ำ อาจทำให้เด็กเล็ก ๆ วัย 8-9 เดือนขึ้นไปนอนยาก หรือตื่นมาร้องกวนตอนดึก การแก้ปัญหาเด็กนอนดึกคือ ค่อย ๆ ขยับเวลาตื่นให้เร็วขึ้น 15 นาที เพื่อให้เด็กรู้สึกง่วงเร็วขึ้น รวมถึงสามารถจัดตารางตื่น และเข้านอนได้ตามเวลาที่ต้องการ นอกจากนี้การอ่านนิทานหรือเล่าเรื่องเบา ๆ ก่อนนอนจะช่วยให้เด็กหลับได้เร็วขึ้น
       
       ดังนั้น การนอนของลูกเป็นเรื่องที่คุณพ่อคุณแม่จะมองข้ามไม่ได้อีกต่อไป เพราะการนอนหลับอย่างมีคุณภาพจะส่งผลดีต่อการเรียนรู้ สมาธิ ความจำ และการตัดสินใจ มีผลต่อพัฒนาการทางอารมณ์ ส่งเสริมระบบภูมิคุ้มกันให้สมบูรณ์ สังเกตได้จากโรคภูมิแพ้จะกำเริบมากขึ้นหากนอนน้อย นอกจากนี้ โกรทฮอร์โมน (Growth hormone) ซึ่งเป็นฮอร์โมนช่วยเร่งความสูงของเด็ก ๆ จะหลั่งได้ดีในช่วงกลางดึกที่เด็กหลับสนิทระยะหนึ่ง (NREM Sleep stage 3 และ 4) หากเด็กนอนน้อยจะกระทบต่อการหลั่งโกรทฮอร์โมน และอาจมีผลต่อศักยภาพในด้านความสูงของเด็กได้




แพทย์ วิสัญญี เภสัชกร ยาแผนปัจจุบัน การดูแลผู้ป่วย สาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ

ควรทานยาปฏิชีวนะให้ครบ
ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
โรคฉี่หนู
อย่ากินแอปเปิ้ลไซเดอร์ถ้าไม่รู้ 4.5 ข้อนี้ article
ผิวดำง่ายมากเกิดจาก 6 ข้อนี้ article
กินอาหารแล้วอ้วนจริงหรือ article
เอ็นข้อศอกอักเสบ เกิดจากอะไร? article
เจาะลึกกระบวนการ 'ทดลองยาในคน' article
กว่าจะเป็นยา ต้องผ่านขั้นตอน อะไรบ้าง? article
5 โรคร้ายรักษาง่ายๆด้วย ข้าวกล้อง article
เคล็บลับนอนหลับง่ายๆโดยไม่ต้องใช้ยา article
5 อาหารไขมันสูงยิ่งกินยิ่งผอม article
มือชา รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
กระดูกพรุน รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
เท้าปุก คืออะไร? รักษาอย่างไร? article
กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
ปวดหลังร้าวลงขา นั่งไม่ได้ รักษาอย่างไร? article
โรคท้องผูก ลำไส้ทำงานอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
การรับมือกับโรคมะเร็ง article
โรคหลอดเลือดหัวใจในหนุ่มสาว article
การจัดการโรคไตเรื้อรัง และสิ่งที่เชื่อผิดๆ article
น้ำดื่มบำรุงไต ไม่อยากฟอกไตต้องดู article
5 ความเชื่อผิดๆที่ทำให้ลดน้ำหนักไม่มีวันสำเร็จ article
7 วิธีควบคุมความดันโดยไม่ต้องพึ่งยา article
3 เทคนิคลดความอ้วน “#ไม่ต้องออกกำลังกาย” article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน