ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




ความระงับดับทุกข์

ความระงับดับทุกข์

ความระงับดับทุกข์ ได้แก่ ความดับไปโดยไม่เหลือของความอยากทั้งปวงซึ่งตามปกติความทุกข์มันเกิดได้ มันก็ดับได้ด้วยตัวมันเองอยู่แล้ว แต่ถ้าเราไม่มีปัญญาก็อาจจะเก็บเอาความทุกข์ไว้ในใจนานอาจจะหลายวัน หลายเดือนบางคนเก็บไว้หลายปีทำให้ทุกข์ทรมานแสนสาหัส มันจึงอยู่ที่ระยะเวลาของความทุกข์ว่าเราจะละวางปลดปล่อยออกไปจากจิตได้ทันทีหรือไม่ ? ก็อยู่ที่การได้ฝึกจิตพร้อมอยู่แล้วทั้ง สติ สมาธิ ปัญญา เมื่อเกิดความทุกข์ขึ้นมาจึงสลัดอารมณ์ออกไปได้ทันที หรือ ไม่นานนัก ดังนั้นสิ่งที่เรียกว่า นิโรธ คือความดับทุกข์จึงเป็นสิ่งที่นักปฏิบัติจะต้องทำให้แจ้ง คือทำให้เกิดความรู้แจ้ง ในธรรมชาติแห่งความดับทุกข์ที่หมายถึง ความสิ้นไปแห่งตัณหา คือความอยากทั้ง 3 ชนิด ให้เร็วที่สุดเท่าที่จะเร็วได้ จะทำให้เราไม่เป็นบ้า หรือ วิกลจริตไปเสียก่อนที่ความตายจะมาถึง
ข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ คือ ทางปฏิบัติอันประเสริฐมีอยู่ 8 อย่างได้แก่

1) สัมมาทิฏฐิ คือ ความคิดความเห็นที่ถูกต้อง

2) สัมมาสังกัปปะ คือความคิดไตร่ตรองที่ถูกต้อง

3) สัมมาวาจา คือ การพูดที่ถูกต้อง

4) สัมมากัมมันตะ คือ การกระทำที่ถูกต้อง

5) สัมมาอาชีวะ คือ การประกอบอาชีพที่ถูกต้อง

6) สัมมาวายามะ คือ ความพากเพียรที่ถูกต้อง

7) สัมมาสติ คือ ความระลึกที่ถูกต้อง

8) สัมมาสมาธิ คือ ความตั้งใจมั่นที่ถูกต้อง


ถ้าใครปฏิบัติทำตามนี้ได้ครบทั้งหมด ก็จะเป็นเหตุปัจจัยให้ความทุกข์หมดไปจากจิต ซึ่งเป็นแนวทางของการดำเนินชีวิตที่ประเสริฐดีที่สุด


สัมมาทิฏิฐ คือ ความคิดความเห็นที่ถูกต้องนั้น ได้แก่ความรู้ในเรื่องความทุกข์ เหตุให้เกิดทุกข์ ความดับทุกข์ และข้อปฏิบัติให้ถึงความดับทุกข์ สรุปว่า พุทธธรรมที่แท้จริง คือแนวทางปฏิบัติเพื่อการรู้จักความทุกข์ และความระงับดับทุกข์เท่านั้น มิใช่ลัทธิความเชื่อ หรือการกราบไหว้บูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ หรือลัทธิสร้างบุญบารมีอันเร้นลับ เป็นต้น

สัมมาสังกัปปะ คือ ความคิดไตร่ตรอง หรือความดำริถูกต้องนั้นได้แก่ การดำรงในการออกจากกาม ความดำริในการไม่มุ่งร้ายและความดำริในการไม่เบียดเบียน สรุปว่า เป็นการไม่ติดอยู่ในโลภไม่โกรธ และไม่กลั่นแกล้งฆ่าฟันผู้ใด นั่นแหละคือ ความคิดไตร่ตรองที่ถูกต้อง

สัมมาวาจา คือ การพูดที่ถูกต้องนั้น ได้แก่ การไม่พูดเท็จไม่พูดใส่ร้ายผู้ใด ไม่พูดคำหยาบ และไม่พูดเพ้อเจ้อชนิดที่เชื่อถือไม่ได้สรุปว่า ถ้าผู้ใดเว้นจากการพูดเหล่านั้นเสียได้ ผู้นั้นย่อมเป็นคนที่มีวาจาสะอาด เป็นที่เชื่อถือได้ของมหาชนทั้งปวงและจิตใจของคนผู้พูดอย่างถูกต้องเช่นนั้นก็ย่อมสงบเย็นและมั่นคง เป็นที่ตั้งของความถูกต้องแห่งการกระทำทั้งปวง

สัมมากัมมันตะ คือ การกระทำที่ถูกต้องนั้น ได้แก่การเว้นจากการฆ่าทุกสรรพชีวิต การเว้นจากการลักขโมย และเว้นจากการประพฤติผิดในกาม สรุปคือ ไม่กระทำผิดศีลธรรม

สัมมาอาชีวะ คือ การประกอบอาชีพเพื่อเลี้ยงชีวิตให้ถูกต้องนั้น ได้แก่ การเว้นจากการประกอบมิจฉาชีพ คือ อาชีพทุจริตที่ผิดศีลธรรมหรือ กฎหมายของบ้านเมือง แล้วพยายามประกอบ

อาชีพที่สุจริตให้เป็นปกตินิสัย สรุปว่า ชีวิตเราจะมีความสงบสุขอยู่ในสังคมได้เพราะอำนาจของความซื่อสัตย์สุจริตนั่นเอง

“สัมมาวายามะ” คือ ความพากเพียรที่ถูกต้องนั้น ได้แก่ ความพากเพียร 4 อย่าง คือ

1) เพียรละอกุศล คือ บาปที่เกิดขึ้นแล้ว


2) เพียรป้องกันไม่ให้บาปเกิดขึ้น


3) เพียรสร้างกุศลให้เกิดขึ้น

4) เพียรรักษากุศลที่เกิดขึ้นแล้วให้คงอยู่ และทำให้กุศลเหล่านั้นเจริญยิ่ง ๆ ขึ้นไป

สรุปว่า ความพากเพียรในการปฏิบัติธรรมนั้นแท้จริงมิได้หมายถึง การนั่งสมาธิ หรือ การเดินจงกรมแต่เพียง 2 อย่างเท่านั้น แต่เนื้อหาหรือเป้าหมายที่แท้จริงของความพากเพียรในการปฏิบัติธรรมนั้น คือ จะต้องเพียรละบาป (ความทุกข์) และป้องกันบาป (ความทุกข์) ไม่ให้เกิดขึ้นเพียรสร้างบุญกุศล คือการสร้างคุณงามความดี ทั้งทางกาย วาจา ใจ ให้สะอาดบริสุทธิ์และความเพียรในกาประคับประคอง หรือพัฒนาปรับปรุงบุญกุศลให้เจริญงอกงามยิ่ง ๆ ขึ้นไป

สัมมสติ คือ ความระลึกที่ถูกต้องนั้น ได้แก่ ความระลึกรู้เท่าทันในแก่นแท้ของร่างกาย ในแก่นแท้ของเวทนา คือความรู้สึกดีร้ายสุขทุกข์ หรือไม่สุขไม่ทุกข์ ในแก่นแท้ของจิต คือความรู้สึกนึกคิดของตัวเอง และในแก่นแท้ของธรรม คือ ทุกสรรพสิ่งที่แวดล้อมเราอยู่ ว่าสิ่งทั้งหลายทั้งปวงล้วนแต่เป็นของไม่เที่ยง ไม่มั่นคง มีความแปรปรวนอยู่ตลอดเวลาล้วนแต่เป็นดังนี้จะทำให้เราเป็นทุกข์ โศก ถ้าเราไปยึดติดในมัน และสิ่งเหล่านั้นล้วนแต่ไม่มีแก่นสารตัวตนที่แท้จริง วัตถุประสงค์ที่แท้จริงของการฝึกสติในการระลึกรู้ว่าทุกสิ่งทุกอย่างในโลกนี้มันเป็นอนิจจัง ทุกขัง และอนัตตา ก็เพื่อการมีความเพียรเครื่องเผากิเลสมีสัมปชัญญะมีสติเพื่อถอนความพอใจ และความไม่พอใจในโลกออกให้ได้ นี่คือหัวใจหรือเป้าหมายสูงสุดของการฝึกสติปัฏฐานมิใช่การฝึกสติเพื่อจะรู้ว่าข้างไหนมือขวาหรือมือซ้ายของเรา นั่นถือว่าเป็นสติที่ยังติดอยู่ในสมมติ ยังติดอยู่กับกิริยาการเคลื่อนไหวทางร่างกาย หรือสิ่งที่พบเห็นเป็นตัวตนอยู่ตามสามัญสำนึกของปุถุชนเท่านั้น มิใช่สติที่หมายถึง ความรู้เท่าทันทั่วถึงในทุกสรรพสิ่ง

เพื่อที่จะถอนความยึดมั่นถือมั่น และถอนความพอใจไม่พอใจให้ได้ สรุปว่า สติอย่างหลังนี้จึงเป็นปากทางแห่งปัญญา ความรู้แจ้งแทงตลอดในสรรพสิ่งทั้งปวงโดยมีจุดหมายสูงสุดอยู่ที่ความระงับดับ ทุกข์ นั่นเอง

สัมมาสมาธิ มีจุดสูงสุดสุดท้ายอยู่ที่จตุตถฌาน คือสภาวะแห่งสมาธิที่ไม่มีทุกข์ ไม่มีสุข มีแต่สติเป็นธรรมชาติบริสุทธิ์ เพราะอุเบกขาคือการปล่อยวาง สรุปว่า การที่จิตใจตั้งมั่นอยู่โดยธรรมชาติในการปล่อยวางที่ไม่ทำให้เกิดความยึดมั่นในอัตตา คือ ตัวตนของทุกสรรพสิ่งและทำให้อัตตากลายเป็น

ของว่าง ปราศจากความรู้สึกแห่งความเป็นตัวตนของนักปฏิบัติธรรมในทุกสรรพสิ่งในโลก สมาธิชนิดนี้จึงเป็นฐานของปัญญาความรู้แจ้งแทงตลอดในโลกธาตุทั้งปวง

ปฏิจจสมุปบาท คือ สิ่งที่อิงอาศัยกันแล้วเกิดขึ้นหมายถึง เหตุปัจจัยที่อาศัยกันแล้วทำให้ความทุกข์เกิดขึ้นในจิตใจของคนเราได้ ได้แก่ลำดับขั้นตอนดังนี้คือ เพราะมีอวิชชาคือ ความไม่รู้ จึงเกิดสังขารคือ ความคิดปรุงแต่งว่าวิญญาณมีตัวตนอยู่จริงต่อมา เพราะมีสังขารคือ ความคิดเช่นนั้นเราจึงรู้สึกว่าวิญญบาปเป็นตัวตนของเรา เรามีวิญญาณเป็นตัวตนของเราจริง ๆ ต่อมา เพราะมีวิญญาณเช่นนั้น จึงมีนามรูปคือ ร่างกายที่ยังไม่ตาย และนามคือจิตใจที่ถูกเรายึดมั่นว่าเป็นตัวเราเป็นตัวตนของเรา กล่าวคือขณะแห่งการเกิดขึ้นของร่างกายและผิดใจนี้มันได้เกิดมีความรู้สึกของคนผู้ยึดถือว่าวิญญาณของเรามีตัวตนหรือเป็นตัวตนจริง  ทั้งร่างกายและจิตใจจึงเต็มไปด้วยความยึดมั่นถือมั่นในความเป็นตัวเราของเราต่อมาเพราะมีนามรูปจึงมี สฬายตนะ คือ อายตนะ หรือจุดสัมผัสทั้งภายนอกและภายใน

6 คู่ ซึ่งอายตนะภายในได้แก่ ตา หู จมูก ลิ้น กาย (ผิวหนัง)และใจ ส่วนอายตนะภายนอกได้แก่ รูป เสียง รส สิ่งที่ถูกต้องหรือจับหรือสัมผัสได้ และเหตุการณ์ต่าง ๆ ที่ถูกบันทึกไว้ในความทรงจำภาพในจิตที่เราจะเก็บเอามาปรุงแต่งสัมผัสได้ แม้ในขณะที่ประสาทสัมผัสทางกายกำลังนอนอยู่ ต่อมา เพราะมี

สฬายตนะ (คู่แห่งการสัมผัส 6) จึงมีผัสสะ คือ การสัมผัสทางอายตนะทั้ง 6 ต่อมา เพราะมีผัสสะคือ การสัมผัส จึงมีเวทนาคือ ความรู้สึก สุข ทุกข์ และไม่สุข ไม่ทุกข์ ต่อมาเพราะมีเวทนาจึงมีตัณหา คือ ความอยากทั้ง 3 ประการ ต่อมา เพราะมีตัณหาจึงมีอุปาทานคือความยึดมั่นถือมั่น อธิบายว่า ถ้าคนเราอยากได้สิ่งใดอย่างรุนแรงจริง ๆ แล้ว ก็มักจะนอนไม่หลับและเก็บอารมณ์อยากนั้นไว้ในใจส่วนลึกจนวางมันไม่ลง การวางอารมณ์ไม่ลงนี่เองที่เรียกว่า อุปาทานที่แปลว่า ความยึดมั่นถือมั่น ต่อมา เพราะมีอุปาทาน จึงมีภพซึ่งคำว่า ภพ ในที่นี้หมายถึง สภาวะที่จิตกำลังสับสน และเครียดจัดนั่นเองต่อมา เพราะมีภพจึงมีชาติ ซึ่งแปลว่าความเกิด ในที่นี้ความเกิด หมายถึง ความเกิดแห่งตัวตนของคนผู้เป็นทุกข์ โศกร่ำไรรำพัน เป็นความเกิดของความทุกข์ร้อนในใจรวมทั้งเป็นความเกิดเป็นตัวตนเรา เช่นนาย ก.นางสาว ข. ฯลฯมันเป็นการเกิดทั้งทางร่างกายและจิตใจด้วย เพราะในขณะนั้นจิตของคนเราได้ยึดมั่นว่า ชีวิตนี้คือตัวตนของเรา คือ ชีวิตจิตใจของเราเสียแล้ว ดังนั้น ความทุกข์โศก ร่ำไรรำพัน ทุกข์กายและทุกข์ใจจึงเกิดขึ้นตามเป็นขบวน นี้คือกระแสแห่งปฏิจจสมุปบาทในฝ่ายที่ทำให้เกิดความทุกข์ ซึ่งกฎเกณฑ์อันนี้ พระพุทธเจ้าทรงกล่าวว่า ไม่ว่าพระตถาคดจะเกิดขึ้นหรือไม่เกิดขึ้นก็ตามธรรมชาตินี้ย่อมเป็นอยู่อย่างนั้น มันเป็นปกติธรรมดาของโลกและชีวิตมาทุกยุคทุกสมัยเป็นธรรมชาติความจริงอย่างนั้นเอง





พุทธองค์ แสดงธรรม 84000 ข้อ พระธรรม คือคำสั่งสอนพุทธองค์ พระสงค์นำหลักธรรม เผยแพร่ต่อมวลมนุษย์

รวมคติธรรมคำสอน ของพระพุทธเจ้า article
คน10ประเภทนี้เจอเมื่อไหร่หนีให้ไกล ไม่ควรแม้แต่จะรู้จัก article
อยากมีสุขภาพจิตที่ดี สร้างได้ง่าย ๆ ด้วยตนเอง.. article
เคยสงสัยไหมว่าเราเกิดมาทำไม...อยู่ไปเพื่ออะไร article
นั่งสมาธิเเล้วเกิดการเจ็บปวด มันมาจากไหนควรเเก้อย่างไร article
ปัญญาเกิดขึ้นเมื่อได มันจึงรู้เท่าสิ่งทั้งปวงในโลกอันนี้ article
ผู้ใดมีสัจมีศีล..ได้ชื่อว่าเป็นผู้หมดกรรมหมดเวร article
ให้เตือนสติถามตัวเราเองอยู่เสมอว่า วันเวลาล่วงไปผ่านไป ในบัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่ [ตอนที่2] article
ให้เตือนสติถามตัวเราเองอยู่เสมอว่า วันเวลาล่วงไปผ่านไป ในบัดนี้เรากำลังทำอะไรอยู่ [ตอนที่1] article
ข้อดีของความทุกข์..เวลามีเรื่องไม่ดี มักมีข้อดีซ่อนอยู่ article
ปาฏิหาริย์เกิดได้ทุกนาที สิ่งเดียวนั่น คือการตื่นรู้ทุกลมหายใจเข้าออก ยืน เดิน นั่ง นอนให้ปกติ article
ความโลภไม่อาจนำพามนุษย์ ไปสู่ความสำเร็จ article
คนมีสติ เหมือนมีสิ่งนำโชค ให้พบเจอแต่สิ่งดีๆในชีวิต article
ถ้าเราทุกข์เพราะความรักก็ต้องมาแก้ที่เหตุแห่งทุกข์ หรือตัวปัญหานั้น คือฉัน หรือ เรา article
ธรรมโอวาท ของ พระญาณสิทธาจารย์ หลวงปู่สิม พุทธาจาโร article
การทำจิตให้สงบ โดย หลวงปู่ชา สุภัทโท article
สัจธรรมของความจริง article
ขันธ์ทั้ง 5 คือ ธรรมที่ควรกำหนดรู้ เพื่อความรู้แจ้ง และความสิ้นไปของกิเลสทั้งปวง article
ผู้ใดเห็นปฏิจจสมุปบาท ผู้นั้นชื่อว่าเห็นธรรม (แก่นธรรม) article
นิพพานของพระพุทธเจ้า article
ทางพ้นทุกข์ จิตเห็นผิดเป็นถูกไปเพราะกรรมบังจิต จิตเห็นผิดเป็นถูกก็จะทำความดีได้ยาก article
มีรักและมีชังมันจึงทุกข์ article
ขันธ์ห้าเป็นทุกข์ ใครยึดใครถือไว้ก็หนัก article
การบวชที่ทดแทนคุณบุพการีได้จริง article
เผลอทำผิดศีลเข้า ถ้าไม่ตั้งใจจะผิดศีลไหม article
ทางโลก กับ ทางธรรม นำชีวิตเราไปคนละทางจริงหรือ? article
สละกายบูชาพระพุทธ สละวาจาบูชาพระธรรม สละใจบูชาพระสงฆ์ เรียกว่า “ปฏิบัติบูชา” article
อะไรคือบุญ การละบาปได้นั่นแหละเป็นบุญ article
ทำบุญไม่ละบาป บุญที่ทำจะถึงเรามั้ย ตอนที่ 1 article
ทำบุญไม่ละบาป บุญที่ทำจะถึงเรามั้ย ตอนที่ 2 article
เรื่องเล่ากฎแห่งกรรม article
ให้แสงแห่งธรรมนำทางชีวิต สู่ความสงบสุข article
ศีลบารมี พระธรรมเทศนา หลวงปู่ฝั้น อาจาโร article
ธรรมลิขิต ๑๒ ฉบับ โดย หลวงปู่สิม พุทฺธาจาโร article
ละความเห็นแก่ตัว article
ความสวยงามที่ไม่สวยงาม ไม่มีอะไรคงอยู่ไปตลอด article
ความสงบมีคุณมาก โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี article
ปัญญา ไม่ใช่ความรู้ แต่เป็นการตกผลึกของความรู้ และนำมาใช้ให้เกิดประโยชน์สูงสุดนั้น"หยุดกรรม"ได้จริง article
ธรรมะ คำคม จรรโลงใจ ธรรมะสอนตัวเองระวังตัวเอง ธรรมะไม่ใช่ของขลัง แต่เป็นแนวทางที่ช่วยให้เราพ้นทุกข์ article
คนเราทำบุญเพื่ออะไร ทำไมต้องมีการสะสมแต้มบุญ วิธีสะสมบุญเพื่อนำไปสู่หนทางแห่งการดับทุกข์ที่แท้จริง article
สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์สิ่งนั้นไม่ใช่ตนไม่ใช่ตัว ตอนที่ 1 article
สิ่งใดไม่เที่ยงสิ่งนั้นเป็นทุกข์ สิ่งใดเป็นทุกข์สิ่งนั้นไม่ใช่ตนไม่ใช่ตัว ตอนที่ 2 article
มนุษย์เรามันก็รักสุขเกลียดทุกข์กันทั้งนั้น article
ชีวิตที่มีธรรมเป็นพื้นฐาน ตอน1 article
ชีวิตที่มีธรรมเป็นพื้นฐาน ตอน2 article
เตือนสติได้ดีแท้ ข้อคิดเรื่องความโกรธ จากพระพุทธเจ้า article
ใจนั้นสำคัญไฉน ทำไมพระธรรมทุกบททุกบาทจึงชี้มาที่ใจ article
เเก้ความทุกข์ที่ปลายเหตุ แก้เท่าไรก็ไม่มีที่สิ้นสุด article
การสอนคนให้เป็นคนดี (ตามแบบฉบับของพระพุทธเจ้า) article
ความสุขที่แท้จริงนั้น อยู่ที่ใจที่เกิดจากความพอต่างหาก article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน