ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




ทารกแรกเกิดตัวเหลือง

ทารกแรกเกิดตัวเหลือง

  ภาวะตัวเหลือง เป็นภาวะที่พบได้ค่อนข้างบ่อยในทารกแรกเกิด โดยพบได้ถึง 25-50% ของทารกแรกเกิดทั้งหมดเลยทีเดียว ภาวะตัวเหลืองนี้เกิดจากสารที่มีชื่อว่า บิลิรูบิน (Bilirubin) ซึ่งเป็นสารที่มีสีเหลือง ในทารกปกติ จะมีสารบิลิรูบินนี้จะมีอยู่ในปริมาณที่พอเหมาะ แต่ในทารกที่มีภาวะตัวเหลืองจะมีสารบิลิรูบินในปริมาณที่มากกว่าปกติ โดยจะอยู่ทั้งในกระแสเลือดและแทรกตามเนื้อเยื่อต่างๆทำให้เรามองเห็นว่าทารกมีผิวสีเหลืองขึ้น

         สารบิลิรูบินนี้ ส่วนใหญ่เกิดจากการสลายตัวของฮีโมโกลบินในเม็ดเลือดแดง โดยการสลายตัวของฮีโมโกลบิน 1 กรัม จะได้สารบิลิรูบิน 35 มิลลิกรัม ในระหว่างที่ทารกอยู่ในครรภ์ของมารดา บิลิรูบินของทารกส่วนใหญ่จะผ่านทางรกเข้าสู่ระบบไหลเวียนโลหิตของมารดาและถูกกำจัดที่ตับของมารดา แต่เมื่อคลอดออกมาแล้ว ทารกจะต้องทำการกำจัดบิลิรูบินทางตับของตนเอง

 

ภาวะตัวเหลืองมีหลายชนิด จากหลายสาเหตุต่างกัน...

ภาวะตัวเหลืองแบบปกติ

ในทารกที่ปกติ อาจสามารถสังเกตได้ว่าทารกตัวเหลืองขึ้น โดยมักเริ่มสังเกตได้ตั้งแต่วันที่ 2 - 3 และเห็นชัดเมื่อวันที่ 3 – 4 ซึ่งจะถือเป็นภาวะตัวเหลืองแบบปกติได้ ถ้าระดับบิลิรูบินไม่สูงจนเกินไป (ไม่เกิน 12 mg/dl ในทารกครบกำหนด และ ไม่เกิน 15 mg/dl ในทารกคลอดก่อนกำหนด)

ซึ่งภาวะตัวเหลืองแบบปกติ อาจเกิดจากสาเหตุ ดังนี้..

  1. ปริมาณบิลิรูบินมากขึ้นจากการแตกของเม็ดเลือดแดง เพราะ ทารกแรกเกิดมีเม็ดเลือดแดงมากกว่าผู้ใหญ่ และ เม็ดเลือดแดงมีอายุสั้นกว่า ทำให้มีเม็ดเลือดแดงที่ถูกทำลายเยอะกว่า
  2. มีการดูดซึมของบิลิรูบิน จากลำไส้มีปริมาณมาก จากการที่ได้รับน้ำนมในปริมาณที่น้อย และลำไส้ยังทำงานได้ไม่ดี
  3. ความสามารถในการกำจัดบิลิรูบินของตับยังไม่ดี

ภาวะตัวเหลืองจากนมแม่

ภาวะตัวเหลืองจากนมแม่นี้จะพบในทารกที่เลี้ยงด้วยนมแม่เพียงอย่างเดียว โดยจะพบว่ามีสารบิลิรูบินสูงขึ้นแต่จะค่อยๆลดระดับลงเองเมื่อทารกอายุได้ประมาณ 2 สัปดาห์

ทารกที่มีภาวะตัวเหลืองจากนมแม่นี้ไม่น่ากังวล เพราะจะมีน้ำหนักตัวเพิ่มขึ้น เม็ดเลือดแดงก็ไม่ได้แตกเยอะไปกว่าทารกปกติ และตับก็ยังทำงานเป็นปกติ โดยภาวะตัวเหลืองจากนมแม่นี้ยังไม่ทราบสาเหตุที่ชัดเจน เพียงแต่พบว่าถ้างดนมแม่ ระดับบิลิรูบินจะลดลงอย่างรวดเร็วภายใน 48 ชั่วโมง และถ้ากลับมาให้นมแม่ซ้ำ บิลิรูบินก็มักจะสูงขึ้นแต่สูงขึ้นในปริมาณที่ไม่มากเท่าเดิม

ภาวะตัวเหลืองจากปัญหาการกินนมได้น้อย

ภาวะนี้มักเกิดในช่วงอายุ 2 – 4 วัน โดยเกิดจากการที่ทารกยังดูดนมได้ไม่ดีและปริมาณน้ำนมแม่ยังมีน้อย ทำให้ทารกขาดน้ำและพลังงาน ทำให้มีการดูดซึมบิลิรูบินทางลำไส้มากขึ้น

ภาวะนี้รักษาโดยการให้นมบ่อยขึ้น โดยอาจให้นมทุก 2 – 3 ชั่วโมง จะทำให้บิลิรูบินลดลงได้

ภาวะตัวเหลืองจากการแตกของเม็ดเลือดแดง

ซึ่งเกิดได้จากหลายสาเหตุ เช่น ภาวะเม็ดเลือดแดงแตกจากหมู่เลือดของแม่และของทารกไม่เข้ากัน (Blood group incompatible), มีความผิดปกติของรูปร่างเม็ดเลือดแดง (Spherocytosis หรือ Elliptocytosis), ภาวะพร่องเอนไซม์ Glucose-6-phosphate dehydrogenase (G-6-PD Deficiency) ซึ่งทำให้เม็ดเลือดแดงแตกง่าย, โรคธาลัสซีเมีย (Thalassemia) ภาวะเลือดข้นเกินไป (Polycythemia), ภาวะเลือดออกบริเวณหนังศีรษะ (Cephalhematoma) ซึ่งต้องหาสาเหตุและรักษาที่ต้นเหตุ

ภาวะตัวเหลืองจากการดูดซึมบิลิรูบินทางลำไส้เพิ่มขึ้น

ซึ่งอาจเกิดจาก ทารกดูดนมได้น้อย, ลำไส้ของทารกมีการทำงานที่ลดลง, ทารกกลืนเลือดปริมาณมากเข้าไป, ภาวะลำไส้อุดตันซึ่งทำให้บิลิรูบินตกค้างและถูกดูดซึมมากขึ้น

ภาวะตัวเหลืองจากการกำจัดบิลิรูบินได้น้อยกว่าปกติ

มีหลายสาเหตุเช่นกัน เช่น เกิดจาก ภาวะพร่องเอนไซม์ UDP-Glucuronyl Transferase, ภาวะขาดธัยรอยด์ฮอร์โมนแต่กำเนิด (Congenital Hypothyroidism), ท่อน้ำดีอุดตัน (Obstructive Jaundice), ยาบางชนิด

ภาวะตัวเหลืองจากการสร้างบิลิรูบินมากกว่าปกติ ร่วมกับการขับถ่ายบิลิรูบินน้อยกว่าปกติ

ภาวะที่พบได้บ่อย เช่น ภาวะติดเชื้อในกระแสเลือด (Septicemia), ภาวะติดเชื้อตั้งแต่ในครรภ์มารดา เช่น การติดเชื้อซิฟิลิส (Congenital Syphilis) หรือ หัดเยอรมัน (Congenital German Measles), ภาวะขาดออกซิเจน, ทารกที่แม่เป็นเบาหวาน (Maternal Diabetes), ภาวะหายใจลำบาก (Respiratory Distress Syndrome)

ภาวะตัวเหลืองทำให้เกิดผลเสียอะไร

         ในกรณีที่ระดับบิลิรูบินสูงมาก อาจทำให้เกิดภาวะแทรกซ้อนทางสมอง (Kernicterus) ซึ่งจะทำให้เกิดการชักและมีการทำลายเนื้อสมองอย่างถาวร นอกจากนี้ยังพบว่า 25% มีโอกาสที่จะเกิดภาวะ I.Q. ต่ำ หรือ ความฉลาดลดลงได้ รวมถึงอาจเกิดภาวะการได้ยินผิดปกติ (Sensori neural hearing loss) ได้อีกด้วย

รักษาอย่างไร

         การรักษาภาวะตัวเหลืองนั้น ต้องรักษาตามสาเหตุเป็นหลัก ร่วมกับการลดระดับบิลิรูบินลง โดยการเพิ่มการกำจัดบิลิรูบินออกจากร่างกาย เช่น การส่องไฟรักษา หรือ นำบิลิรูบินออกจากร่างกายโดยตรง เช่น การเปลี่ยนถ่ายเลือด เป็นต้น

         ส่วนภาวะเหลืองจากนมแม่นั้น อาจทำการรักษาโดยการงดนมแม่และให้นมผสมแทนชั่วคราว ประมาณ 24 ชั่วโมง โดยอาจรักษาร่วมกับการส่องไฟด้วยหรือไม่ก็ได้ ซึ่งก็จะพอเพียงที่จะทำให้ระดับบิลิรูบินลดลง หลังจากนั้นสามารถให้นมแม่ต่อไปได้ โดยระดับบิลิรูบินมักไม่สูงขึ้นเท่าเดิม

ป้องกันได้ไหม

         การให้นมทารกอย่างถูกต้อง คือ ต้องให้เร็ว ให้นมตั้งแต่อยู่ในห้องคลอด และ ต้องให้บ่อย คือ ประมาณ 10 – 12 ครั้งต่อวัน โดยไม่ให้น้ำหรืออาหารอื่นเสริม เนื่องจากจะทำให้ทารกกินนมได้น้อยลง การกระตุ้นให้ทารกถ่ายขี้เทา ก็จะช่วยป้องกันภาวะตัวเหลืองในทารกแรกเกิดได้




แพทย์ วิสัญญี เภสัชกร ยาแผนปัจจุบัน การดูแลผู้ป่วย สาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ

ควรทานยาปฏิชีวนะให้ครบ
ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
โรคฉี่หนู
อย่ากินแอปเปิ้ลไซเดอร์ถ้าไม่รู้ 4.5 ข้อนี้ article
ผิวดำง่ายมากเกิดจาก 6 ข้อนี้ article
กินอาหารแล้วอ้วนจริงหรือ article
เอ็นข้อศอกอักเสบ เกิดจากอะไร? article
เจาะลึกกระบวนการ 'ทดลองยาในคน' article
กว่าจะเป็นยา ต้องผ่านขั้นตอน อะไรบ้าง? article
5 โรคร้ายรักษาง่ายๆด้วย ข้าวกล้อง article
เคล็บลับนอนหลับง่ายๆโดยไม่ต้องใช้ยา article
5 อาหารไขมันสูงยิ่งกินยิ่งผอม article
มือชา รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
กระดูกพรุน รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
เท้าปุก คืออะไร? รักษาอย่างไร? article
กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
ปวดหลังร้าวลงขา นั่งไม่ได้ รักษาอย่างไร? article
โรคท้องผูก ลำไส้ทำงานอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
การรับมือกับโรคมะเร็ง article
โรคหลอดเลือดหัวใจในหนุ่มสาว article
การจัดการโรคไตเรื้อรัง และสิ่งที่เชื่อผิดๆ article
น้ำดื่มบำรุงไต ไม่อยากฟอกไตต้องดู article
5 ความเชื่อผิดๆที่ทำให้ลดน้ำหนักไม่มีวันสำเร็จ article
7 วิธีควบคุมความดันโดยไม่ต้องพึ่งยา article
3 เทคนิคลดความอ้วน “#ไม่ต้องออกกำลังกาย” article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน