ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




โรคกาฬติดต่อกันได้

โรคกาฬติดต่อกันได้

โรคกาฬโรคเป็นโรคติดต่อเกิดจากเชื้อแบคทีเรียที่ชื่อ Yersinia pestis เกิดจากหมัดหนูที่มีเชื้อกัด เมื่อมีการระบาดของโรคหนูจะตายก่อน หมัดหนูจะกระโดดมายังสัตว์อื่น และกัดทำให้เกิดโรคขึ้นมา การดูแลเรื่องความสะอาด และควบคุมการแพร่พันธ์ของหนูทำให้โรคนี้มีการระบาดน้อยลง

ในอดีตที่ผ่านมามีการระบาดใหญ่ของกาฬโรคสามครั้งที่ตะวันออกกลาง ถึงเมอร์ดิเตอร์เรเนียนในช่วงปีศตวรรษที่5-6 ทำให้มีผู้เสียชีวิตประมาณร้อยละ 50 ครั้งที่สองระบาดที่ยุโรปศตวรรษที่8-14 มีผู้เสียชีวิตร้อยละ 40 ครั้งสุดท้ายระบาดที่ประเทศจีนปี 1855

อาการของโรคกาฬโรคเป็นอย่างไร

โรคกาฬโรคแบ่งออกตามกลุ่มอาการได้สามแบบคือ

  • Bubonic plague เป็นชนิดที่พบบ่อยที่สุด อาการจะแสดงออกหลังจากถูกหมัดหนูกัดแล้ว 2-8 วัน เชื้อโรคจะเคลื่อนไปยังต่อมน้ำเหลืองที่ใกล้ที่สุด จะทำให้ต่อมน้ำเหลืองโตขนาด 1-10 ซม ลักษณะต่อมน้ำเหลืองจะ บวม แดง กดเจ็บ ซึ่งอาจจะปวดมากจนขยับแขนหรือขาไม่ได้ ตำแหน่งที่เกิดมักจะเป็นบริเวณขาหนีบ หรือรักแร้อาการที่สำคัญได้แก่
    • ต่อมน้ำเหลืองโต กดเจ็บ แดง
    • ไข้สูงหนาวสั่น
    • ปวดศีรษะ
    • ปวดกล้ามเนื้อ

 

  • Septicemic plague เป็นชนิดที่เชื้อเข้ากระแสเลือด ภาวะนี้มักจะเป็นโรคแทรกซ้อนจากชนิดต่อมน้ำเหลืองอักเสบ อาการที่สำคัญได้แก่
    • ไข้สูง หนาวสั่น
    • ปวดท้อง คลื่นไส้ และท้องเสีย
    • เลือดออกในปาก จมูก ก้น
    • เกิดภาวะช็อก shock
    • มักจะมีการเน่าของนิ้วที่เกิดจากการขาดเลือด

 

  • Pneumonic plague เป็นชนิดที่พบได้น้อยที่สุด เกิดจากการที่เราสูดเอาเชื้อที่อยู่ในอากาศ เป็นชนิดที่รุนแรงและอาจจะเสียชีวิตได้อย่างรวดเร็ว อาการที่สำคัญ
    • ไข้สูง
    • อ่อนแรง
    • ไอ มีเสมหะ เหนื่อย เจ็บหน้าอก
    • คลื่นไส้อาเจียน

 

การรักษา

  • เมื่อสงสัยว่าจะเป็นโรคนี้จะต้องแยกผู้ป่วยออกจากคนอื่น และแจ้งเจ้าหน้าที่สาธารณสุขให้ทราบ
  • รีบทำการเพาะเชื้อจากเลือด และหนองที่ต่อมน้ำเหลือง
  • ให้ยาปฏิชีวนะก่อนที่จะทราบผลเพาะเชื้อ
  • สำหรับผู้ที่สำผัสกับผู้ป่วยจะต้องกักตัวไว้สังเกตอาการ และให้ยาปฏิชีวนะป้องกัน
  •  

เมื่อไรจะสงสัยว่าเป็นโรคกาฬโรค

  • สัมผัสกับสัตว์ฟันแทะ เช่น หนู กระต่าย กระรอก แมวที่คิดว่าเสียชีวิตจากโรคนี้
  • ถูกหมัดหนุกัด
  • อยู่ในพื้นที่มีการระบาดของโรค
  • สัมผัสใกล้ชิดกับสัตว์ หรือคนที่ป่วยเป็นกาฬโรคปอด
  • ท่องเที่ยวไปในพื้นที่ที่มีการระบาด

สาเหตุของโรค

เกิดจากหมัดหนู ที่มีเชื้อโรคนี้กัดและปล่อยเชื้อเข้าสู่ผู้ที่ถูกกัด

การติดต่อ

เชื้อนี้สามารถแพร่จากสัตว์ไปสู่สัตว์ หรือจากสัตว์ไปสู่คนได้โดยการติดต่อโดยการที่หมัดหนูมีเชื้อโรคกัดคน อ่านที่นี่ นอกจากนี้ยังสามารถติดต่อทางหายใจจากคนหรือสัตว์ที่ป่วยเป็นกาฬโรคปอด

ปัจจัยเสี่ยงของการติดเชื้อ

  • การระบาดมักจะเกิดในที่แออัด และสุขอนามัยไม่ดี มีหนู้หรือขยะมาก
  • มักจะระบาดในช่วงพฤษภาคมถึงตุลาคมเนื่องจากหนูในช่วงนี้จะขยันออกหาอาหาร และคนออกนอกบ้านกันมาก
  • การสัมผัสกับสัตว์ที่เป็นโรค เช่น หนู กระแต กระรอก หรือแมว

โรคแทรกซ้อนที่สำคัญ

  • นิ้วมือนิ้วเท้าเน่าจากการขาดเลือดเนื่องจากลิ่มเลือดอุดตัน คลิกที่นี่
  • เกิดภาวะช็อกอย่ารุนแรง
  • เกิดปอดบวมและหายใจล้มเหลว
  • เกิดโลหิตเป็นพิษ
  • เกิดเยื่อหุ้มสมองอักเสบ
  • เสียชีวิต

การรักษา

หากแพทย์สงสัยว่าคุณเป็นกาฬโรคแพทย์จะรับตัวไว้ในห้องแยกโรค และให้ยาปฏิชีวนะอย่างแรงประมาณ 7- 10 วัน

การป้องกัน

โรคนี้ไม่มีวัคซีน แต่การให้ยาสามารถป้องกันการติดเชื้อได้ หากคุณมีโอกาสเสี่ยงที่จะเกิดโรคดังนี้

  • ใกล้ชิดกับคนป่วยหรือสัตว์ที่ป่วยเป็นโรคนี้
  • ถูกหมัดกัดในพื้นที่มีการระบาดของโรค
  • เมื่อคุณเดินทางเข้าหล่งระบาด

การป้องกันอื่นๆ

การปรับสิ่งแวดล้อม

การปรับปรุงสิ่งแวดล้อมจะช่วยไม่ให้คนถูกหมัดหนูกัด การปรับที่สำคัญได้แก่

  • มีแหล่งที่ทิ้งขยะและมีฝาปิดมิดชิด และมีระบบทำลายขยะ ไม่มีการกองขยะซึ่งเป็นแหล่งอาหารของหนู
  • หนูมักจะพักตามตลาดสด จะต้องไม่ทิ้งขยะ และกำจัดแหล่งที่พักของหนู
  • ไม่สัมผัสสัตว์ป่วยหรือสัตว์ตาย หากจำเป็นให้สวมถุงมือยาว
  • กำจัดหนู กำจัดแหน่งที่พักของหนู ทิ้งขยะให้เรียบร้อย
  • หากมีสัตว์เลี้ยงต้องใช้ยาฆ่าหมัดเป็นระยะ
  • ระวังเด็ก หรือผู้ใหญ่เมื่อออกนอกบ้านโดยเฉพาะในแหล่งที่มีการระบาดไม่ใกล้ชิดกับสัตว์ฟันแทะทั้งหลาย และทายากันหวัด

 




แพทย์ วิสัญญี เภสัชกร ยาแผนปัจจุบัน การดูแลผู้ป่วย สาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ

ควรทานยาปฏิชีวนะให้ครบ
ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
โรคฉี่หนู
อย่ากินแอปเปิ้ลไซเดอร์ถ้าไม่รู้ 4.5 ข้อนี้ article
ผิวดำง่ายมากเกิดจาก 6 ข้อนี้ article
กินอาหารแล้วอ้วนจริงหรือ article
เอ็นข้อศอกอักเสบ เกิดจากอะไร? article
เจาะลึกกระบวนการ 'ทดลองยาในคน' article
กว่าจะเป็นยา ต้องผ่านขั้นตอน อะไรบ้าง? article
5 โรคร้ายรักษาง่ายๆด้วย ข้าวกล้อง article
เคล็บลับนอนหลับง่ายๆโดยไม่ต้องใช้ยา article
5 อาหารไขมันสูงยิ่งกินยิ่งผอม article
มือชา รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
กระดูกพรุน รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
เท้าปุก คืออะไร? รักษาอย่างไร? article
กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
ปวดหลังร้าวลงขา นั่งไม่ได้ รักษาอย่างไร? article
โรคท้องผูก ลำไส้ทำงานอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
การรับมือกับโรคมะเร็ง article
โรคหลอดเลือดหัวใจในหนุ่มสาว article
การจัดการโรคไตเรื้อรัง และสิ่งที่เชื่อผิดๆ article
น้ำดื่มบำรุงไต ไม่อยากฟอกไตต้องดู article
5 ความเชื่อผิดๆที่ทำให้ลดน้ำหนักไม่มีวันสำเร็จ article
7 วิธีควบคุมความดันโดยไม่ต้องพึ่งยา article
3 เทคนิคลดความอ้วน “#ไม่ต้องออกกำลังกาย” article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน