ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




ข้อคิดปัญหาต่อมธัยรอยด์legendnews

รู้ทันรู้ไวปัยเรย

ต่อมธัยรอยด์คืออะไร

ต่อมธัยรอยด์เป็นต่อมไร้ท่อที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในร่างกาย มีรูปร่างคล้ายปีกผีเสื้ออยู่บริเวณหลอดลมใต้กล่องเสียง มีหน้าที่สร้างธัยรอยด์ฮอร์โมน ซึ่งมีความจำเป็นอย่างยิ่งต่อการดำรงชีวิตของร่างกาย โดยมีผลต่อการเผาผลาญพลังงานในร่างกาย

ต่อมธัยรอยด์เป็นพิษคืออะไร

ภาวะที่ต่อมธัยรอยด์สร้างฮอร์โมนออกมามากกว่าปกติ เป็นผลทำให้ร่างกายมีการเผาผลาญพลังงานมากเกินไปส่งผลให้เกิดอาการผิดปกติต่าง ๆ และอาจพบอาการผิดปกติทางตาร่วมด้วย โดยมีอาการตาแห้งระคายเคือง ตาแดงมองเห็นภาพซ้อน มีการบวมรอบหนังตา ตาโปน (เฉพาะในรายที่มีอาการทางตามาก) นอกจากนั้นผู้ป่วยบางรายอาจมีอาการผิดปกติทางผิวหนังโดยผิวหนังจะนูนบวมพบบ่อยบริเวณหน้าแข้ง

อาการของโรคต่อมธัยรอยด์เป็นพิษ
 
ใจสั่น รู้สึกหัวใจเต้นเร็วและแรงหากมีหัวใจเต้นผิดจังหวะ
 
เหนื่อยง่ายกล้ามเนื้ออ่อนแรง เช่น บริเวณต้นแขนต้นขา
 
หิวบ่อย รับประทานอาหารจุ แต่กลับมีน้ำหนักลดลง
 
ขี้ร้อน เหงื่อออกมาก
 
เครียด กังวล หงุดหงิดง่ายกว่าปกติ
 
นอนไม่หลับ มือสั่น ต่อมธัยรอยด์โต

สาเหตุการเกิดโรคต่อมธัยรอยด์เป็นพิษ

ปัจจุบันยังไม่ทราบสาเหตุที่แน่นอนของโรคนี้ แต่อาจมีสาเหตุทางพันธุกรรมและสิ่งแวดล้อมร่วมด้วย สาเหตุที่พบบ่อยที่สุดคือ โรคเกรฟ (Graves’ disease) จะมีอาการเปลี่ยนแปลงของระบบภูมิคุ้มกันภายในร่างกาย มีการสร้างสารซึ่งกระตุ้นการทำงานของต่อมธัยรอยด์ทำให้สร้างฮอร์โมนเพิ่มขึ้น เป็นผลให้เกิดอาการของโรค
การวินิจฉัยโรคต่อมธัยรอยด์เป็นพิษ

จากลักษณะอาการทางร่างกายและการตรวจเลือดพบระดับธัยรอยด์ฮอร์โมนสูง
การรักษาโรคต่อมธัยรอยด์เป็นพิษ
     
1. การรักษาโดยการรับประทานยา
     
เพื่อลดการสร้างฮอร์โมนของต่อม
ธัยรอยด์ มักเลือกรักษาผู้ป่วยเด็ก สตรีตั้งครรภ์ ผู้ป่วยที่อาการไม่รุนแรง ระยะเวลาในการรักษา 2 ปี ผู้ป่วยควรได้รับการเจาะเลือดและตรวจเป็นระยะเวลาห่าง 2-3 เดือน การหายขาดร้อยละ 30-50 ผลข้างเคียงที่พบบ่อยได้แก่ ผื่นคัน รสขม คลื่นไส้ และภาวะเม็ดเลือดขาวต่ำซึ่งจะแสดงอาการโดยมีการติดเชื้อ ผู้ป่วยมักมีไข้สูงและเจ็บคอมาก มักเกิดในช่วง 3 เดือนแรก หลังรับประทานยา ภาวะนี้พบน้อยมาก หากมีอาการดังกล่าวให้หยุดยาและรีบมาพบแพทย์

2. การรักษาโดยการกลืนน้ำแร่

มักเลือกรักษาในผู้ป่วยสูงอายุ ผู้ป่วยที่มีโรคหัวใจ ในกรณีที่ผู้ป่วยกลับมาเป็นซ้ำ ห้ามให้น้ำแร่รังสีในสตรีมีครรภ์ เมื่อผู้ป่วยทานน้ำแร่เข้าไปรังสีจะไปทำลายเนื้อต่อมธัยรอยด์มีผลทำให้การสร้างฮอร์โมนน้อยลง หลังการรักษาผู้ป่วยควรคุมกำเนิดในช่วง 6 เดือน การรักษาโดยการทานน้ำแร่มักทำเพียงครั้งเดียวหายขาด ผลข้างเคียงที่อาจพบ คือมีโอกาสเกิดภาวะพร่องธัยรอยด์ฮอร์โมนถาวรสูง จากการที่ต่อมธัยรอยด์ถูกทำลายมากกว่าปกติ ซึ่งหากพบภาวะนี้ผู้ป่วยต้องทานยา
ธัยรอยด์ฮอร์โมนทดแทนตลอดชีวิต

3. การผ่าตัด

การรักษาโดยวิธีนี้โอกาสหายสูง อาการดีขึ้นเร็ว ผู้ป่วยจะต้องมีความพร้อมทางร่างกายก่อนผ่าตัด ค่าใช้จ่ายค่อนข้างสูง การผ่าตัดอาจทำลายเส้นประสาทที่ไปเลี้ยงกล่องเสียงทำให้เสียงแหบได้ การผ่าตัดโดยศัลยแพทย์ผู้ชำนาญจะทำให้เกิดผลข้างเคียงน้อยลง




แพทย์ วิสัญญี เภสัชกร ยาแผนปัจจุบัน การดูแลผู้ป่วย สาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ

ควรทานยาปฏิชีวนะให้ครบ
ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
โรคฉี่หนู
อย่ากินแอปเปิ้ลไซเดอร์ถ้าไม่รู้ 4.5 ข้อนี้ article
ผิวดำง่ายมากเกิดจาก 6 ข้อนี้ article
กินอาหารแล้วอ้วนจริงหรือ article
เอ็นข้อศอกอักเสบ เกิดจากอะไร? article
เจาะลึกกระบวนการ 'ทดลองยาในคน' article
กว่าจะเป็นยา ต้องผ่านขั้นตอน อะไรบ้าง? article
5 โรคร้ายรักษาง่ายๆด้วย ข้าวกล้อง article
เคล็บลับนอนหลับง่ายๆโดยไม่ต้องใช้ยา article
5 อาหารไขมันสูงยิ่งกินยิ่งผอม article
มือชา รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
กระดูกพรุน รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
เท้าปุก คืออะไร? รักษาอย่างไร? article
กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
ปวดหลังร้าวลงขา นั่งไม่ได้ รักษาอย่างไร? article
โรคท้องผูก ลำไส้ทำงานอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
การรับมือกับโรคมะเร็ง article
โรคหลอดเลือดหัวใจในหนุ่มสาว article
การจัดการโรคไตเรื้อรัง และสิ่งที่เชื่อผิดๆ article
น้ำดื่มบำรุงไต ไม่อยากฟอกไตต้องดู article
5 ความเชื่อผิดๆที่ทำให้ลดน้ำหนักไม่มีวันสำเร็จ article
7 วิธีควบคุมความดันโดยไม่ต้องพึ่งยา article
3 เทคนิคลดความอ้วน “#ไม่ต้องออกกำลังกาย” article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน