ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




สาเหตุ ของโรคแพนิค

 

โรคแพนิค (Panic)

 


ใจสั่นใจหวิว เป็นโรคแพนิคหรือเปล่า
 
 
โรคแพนิก คืออะไร?
โรคแพนิคเป็นโรคที่ผู้ป่วยจะมีความทุกข์ทรมานอย่างมากจากอาการวิตกกังวล ซึ่งสามารถแสดงออกได้หลายอย่าง และอาการนั้นมีความรุนแรงจนรบกวนกับชีวิตประจำวันในด้านต่าง ๆ  ผู้ป่วยโรคแพนิคจะมีอาการตกใจกลัวอย่างรุนแรง (panic attacks) ที่เกิดขึ้นซ้ำ ๆ โดยที่ไม่สามารถควบคุมอาการเหล่านั้นได้



ไม่รู้กลัวอะไร แต่ใจมันหวิว?
อาการหลักของโรคนี้ ได้แก่ อาการตกใจกลัวอย่างรุนแรงหรือที่เรียกว่าอาการแพนิค ที่เกิดขึ้นหลาย ๆ ครั้ง โดยมากจะเกิดขึ้นเองโดยไม่ทราบสาเหตุ และจะมีอาการอยู่สั้นๆประมาณ 5-10นาทีไม่นานเกิน 30 นาที ทำให้ผู้ป่วยกลัวที่จะเกิดอาการซ้ำอีก กังวลกับผลกระทบที่จะเกิดขึ้นจากอาการ หรือกลัวเกิดอาการซ้ำในที่สาธารณะจนหลีกเลี่ยงการออกไปไหนมาไหน จึงมีผลรบกวนกับชีวิตประจำวันในด้านต่าง ๆ
อาการของแพนิคมีได้หลาย ๆ อย่าง ได้แก่ ใจสั่น เหงื่อแตก มือเท้าชา หายใจไม่อิ่มหรือรู้สึกมีก้อนจุกที่คอ แน่นหน้าอก เวียนหัว คลื่นไส้ มวนท้อง มีความรู้สึกภายในแปลกๆ เช่น รู้สึกมึนงงคล้ายจะเป็นลม รู้สึกเหมือนกำลังจะตาย รู้สึกหวิวๆ ลอยๆ คล้ายอยู่ในฝัน โดยที่จะมีอาการหลาย ๆ อย่างดังกล่าวเกิดขึ้นพร้อม ๆ กัน แต่ไม่จำเป็นต้องมีทุกอาการ
โรคแพนิคเกิดจากอะไร
สาเหตุการเกิดโรคแพนิคนั้นมีสมมติฐานที่อธิบายหลายอย่าง ประกอบด้วยสาเหตุทางพันธุกรรม ความไม่สมดุลย์ของสารเคมีในสมอง การเผชิญกับเหตุการณ์ที่กระทบกระเทือนจิตใจในอดีต รวมทั้งความเครียดในปัจจุบัน  ทำให้เกิดสัญญาณหลอก (false alarm) ราวกับว่าร่างกายกำลังเผชิญหน้ากับอันตราย ร่างกายจึงหลั่งสารเคมีและฮอร์โมนบางตัวออกมาในปริมาณที่มากกว่าปกติทำให้เกิดอาการดังกล่าว
 
แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าเป็นโรคทางกายจริงๆหรือเป็นแพนิค
เนื่องจากอาการหลาย ๆ อย่างของโรคแพนิคนั้นสามารถเกิดได้จากโรคทางกายอื่น ๆ เช่นอาการแน่นหน้าอกจากโรคหัวใจหรือโรคปอด อาการใจสั่นหน้ามืดจากภาวะน้ำตาลในเลือดต่ำ หรือเกิดจากผลข้างเคียงของยาบางชนิด รวมทั้งยาเสพติดและคาเฟอีน ดังนั้นเมื่อเกิดอาการขึ้นเป็นครั้งแรก หรือเมื่อไม่แน่ใจในสาเหตุของอาการ ควรพบแพทย์เพื่อได้รับการตรวจวินิจฉัยให้ถูกต้องก่อนว่าอาการไม่ได้เกิดจากสาเหตุอื่น และถ้าไม่แน่ใจหรืออาการเป็นมากขึ้นเรื่อย ๆ อาจต้องมาพบแพทย์ที่หน่วยฉุกเฉินเพื่อตรวจรักษา 
 
เป็นแล้วจะรักษาอย่างไร?
การรักษาโรคแพนิคควรอยู่ในความดูแลของแพทย์ผู้เชี่ยวชาญด้านจิตเวช โดยที่การรักษาจะใช้การผสมผสานระหว่างการให้ยาเพื่อลดอาการแพนิค และให้ยาเพื่อคุมอาการในกรณีที่มีอาการมาก ร่วมกับการรักษาทางจิตสังคม เช่นการทำพฤติกรรมบำบัด การผึกการผ่อนคลาย หรือการทำจิตบำบัด นอกจากนี้ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจรักษาภาวะทางกายหรือจิตเวชอื่น ๆ ที่อาจจะพบร่วมกับโรคแพนิคได้ เช่นโรคหัวใจ โรคซึมเศร้า โรควิตกกังวลชนิดอื่น ๆ   รวมทั้งการติดสุราหรือสารเสพติดอื่น ๆ 
เมื่อรักษาด้วยยาคุมอาการ อาจจะมีความจำเป็นต้องรับประทานยาต่อเนื่องหลายเดือนขึ้นอยู่กับอาการและการตอบสนองต่อยา ผู้ป่วยส่วนใหญ่จะสามารถหยุดยาได้ในที่สุดแต่บางส่วนจะมีอาการกลับมาเป็นซ้ำอีกโดยเฉพาะเมื่อมีภาวะเครียดเกิดขึ้น
 
ถ้ามีโรคแพนิคจะดูแลตนเองอย่างไร?
     -         ออกกำลังกายอย่างสม่ำเสมอ คนไข้อาจไม่กล้าทำ เพราะคิดว่าจะยิ่งทำให้ใจสั่นเวลาเหนื่อย แต่ที่จริงแล้วการออกกำลังกลับทำให้ระบบหัวใจ   และปอดทำงานสมดุลขึ้น
     -         พักผ่อนอย่างเพียงพอและมีสุขลักษณะการนอนที่ดี หากอดนอนโรคจะกำเริบง่าย
     -         งดใช้คาเฟอีน (ชา กาแฟ ชาเขียว เครื่องดื่มชุกำลัง) สุรา และสารเสพติด เพราะอาจมีฤทธิ์กระตุ้นให้เกิดแพนิค
     -         การผึกการผ่อนคลายด้วยวิธีเหล่านี้  โดยต้องฝึกอย่างสม่ำเสมอและใช้เวลาอย่างน้อยครั้งละ 15-20 นาที
     -         การฝึกหายใจเข้าออกช้า ๆ  
     -         การฝึกสมาธิ หรือเดินจงกรม
     -         การฝึกจินตนาการเพื่อการผ่อนคลาย โดยอาจใช้ฟังเพลงช่วย
     -         การผึกโยคะ ไทเก็ก หรือการออกกำลังที่ประสานร่างกายและจิตใจ
     -         การได้ปรึกษาหรือระบายปัญหากับผู้ที่ตนไว้ใจหรือศรัทธา หรือใช้บริการจากผู้เชี่ยวชาญทางสุขภาพจิต
     -         การจัดการกับความเครียดด้วยวิธีที่เหมาะสม เช่นศึกษาธรรมะ หรือทำงานอดิเรกที่ผ่อนคลาย
     -         ปรึกษาแพทย์ก่อนใช้ยา และแจ้งให้แพทย์ทราบเมื่อมีอาการเกิดขึ้นหลังจากใช้ยา
     -         เวลาเป็นแพนิค อย่าเพิ่งตกใจ อย่าคิดต่อเนื่องไปว่าจะป่วยหนักหรือจะหัวใจวายตาย เพราะจะยิ่งทำให้เครียดและ ยิ่งเป็นมากขึ้น ให้นั่งพักและรออาการสงบไป ซึ่งจะหายไปเองเหมือนครั้งก่อนๆที่เคยเป็น หรือรับประทานยาที่แพทย์ให้ไว้ใช้เวลาที่เกิดอาการแล้วพักสักครู่รอยาออกฤทธิ์ ขอให้มั่นใจว่าไม่เคยมีใครตายจากโรคแพนิค มีแต่คนที่เป็นแล้วคิดมากจนไม่มีความสุข เลยไม่หายและยิ่งเป็นบ่อยๆ

 




แพทย์ วิสัญญี เภสัชกร ยาแผนปัจจุบัน การดูแลผู้ป่วย สาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ

ควรทานยาปฏิชีวนะให้ครบ
ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
โรคฉี่หนู
อย่ากินแอปเปิ้ลไซเดอร์ถ้าไม่รู้ 4.5 ข้อนี้ article
ผิวดำง่ายมากเกิดจาก 6 ข้อนี้ article
กินอาหารแล้วอ้วนจริงหรือ article
เอ็นข้อศอกอักเสบ เกิดจากอะไร? article
เจาะลึกกระบวนการ 'ทดลองยาในคน' article
กว่าจะเป็นยา ต้องผ่านขั้นตอน อะไรบ้าง? article
5 โรคร้ายรักษาง่ายๆด้วย ข้าวกล้อง article
เคล็บลับนอนหลับง่ายๆโดยไม่ต้องใช้ยา article
5 อาหารไขมันสูงยิ่งกินยิ่งผอม article
มือชา รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
กระดูกพรุน รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
เท้าปุก คืออะไร? รักษาอย่างไร? article
กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
ปวดหลังร้าวลงขา นั่งไม่ได้ รักษาอย่างไร? article
โรคท้องผูก ลำไส้ทำงานอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
การรับมือกับโรคมะเร็ง article
โรคหลอดเลือดหัวใจในหนุ่มสาว article
การจัดการโรคไตเรื้อรัง และสิ่งที่เชื่อผิดๆ article
น้ำดื่มบำรุงไต ไม่อยากฟอกไตต้องดู article
5 ความเชื่อผิดๆที่ทำให้ลดน้ำหนักไม่มีวันสำเร็จ article
7 วิธีควบคุมความดันโดยไม่ต้องพึ่งยา article
3 เทคนิคลดความอ้วน “#ไม่ต้องออกกำลังกาย” article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน