ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




แพทย์แนะ ชาย วัยทอง

 

 

แพทย์แนะเป็นหนุ่มวัยทองอย่างมีคุณภาพ



เรามักจะคุ้นหูกับคำว่า “ผู้หญิงวัยทอง”
ซึ่งหมายถึงผู้หญิงซึ่งเข้าสู่วัยหมดประจำเดือน แต่ในความเป็นจริงแล้ว คุณผู้ชายแม้จะไม่มีประจำเดือน
แต่หากอายุก้าวแตะเลข 4 ไปแล้วก็เข้าสู่ “วัยทอง” ได้เช่นกัน
และเพื่อเป็นการเตรียมตัวให้กับหนุ่มวัยทอง นายแพทย์ ตนุพล วิรุฬหการุณ แพทย์ผู้ช่วยผู้อำนวยการ
ด้านการแพทย์การศึกษา ศูนย์ส่งเสริมสุขภาพไวทัลไลฟ์
ในเครือโรงพยาบาลบำรุงราษฎร์ อินเตอร์เนชั่นแนล
มีคำแนะนำในการปฎิบัติตัวเพื่อที่จะได้เป็นหนุ่มวัยทองอย่างมีคุณภาพ

นายแพทย์ ตนุพล วิรุฬหการุณ
นายแพทย์ ตนุพล วิรุฬหการุณ

นายแพทย์ ตนุพล วิรุฬหการุณ กล่าว ในผู้ชายมีฮอร์โมนที่มีผลต่อสมรรถภาพและความแข็งแรงของร่างกาย
ชื่อว่าแอนโดรเจน (Androgen) ในทางธรรมชาติแล้วผู้ชายอาจจะแก่ช้ากว่าผู้หญิง
แต่เมื่อย่างเข้าสู่วัยทอง ฮอร์โมนแอนโดรเจน ซึ่งสร้างจากอัณฑะและมีมากในวัยเจริญพันธุ์ก็จะเริ่มลดน้อยลง
ซึ่งมีผลต่อการเปลี่ยนแปลงทางร่างกายและจิตใจของผู้ชาย ไม่ต่างไปจากผู้หญิง
ทางการแพทย์จึงเรียกผู้ชายวัยทองว่า “แอนโดรพอส” (Andropause)

“สำหรับคุณผู้ชายแม้อาการวัยทองจะไม่เด่นชัดเท่าคุณผู้หญิง แต่เมื่อความหนุ่มเริ่มถดถอย
สัญญาณเตือนภัยที่บ่งบอกว่าความหนุ่มใกล้จะลาจาก เช่น มีอาการอ่อนเพลียง่าย กล้ามเนื้อลีบเล็ก
อ้วนลงพุง ภาวะกระดูกพรุน หงุดหงิดง่าย ซึมเศร้า สมาธิลดลง ความจำระยะสั้นถดถอย
อาการร้อนวูบวาบ เหงื่อออกมาก ชีพจรเต้นเร็ว นอนไม่หลับ ความสนใจทางเพศกิจกรรมทางเพศลดลง
อวัยวะเพศไม่แข็งตัวและการหลั่งน้ำอสุจิลดลง ทั้งปริมาณและความถี่ นอกจากอายุที่มากขึ้น
ทำให้ฮอร์โมนเพศชายลดลงแล้ว ไลฟ์สไตล์และการใช้ชีวิตอย่างเร่งด่วนของคนในปัจจุบัน
ยังเป็นปัจจัยทำให้ผู้ชายเข้าสู่วัยทองเร็วกว่าปกติอีกด้วย”

สำหรับวิธีการการรักษาผู้ชายวัยทอง นายแพทย์ตนุพล กล่าวว่า
ผู้ชายบางคนอาจจะเริ่มมีปัญหาตั้งแต่อายุ 40 ปี
แต่ผู้ชายที่มีอายุ 80 ปี บางคนก็ยังมีฮอร์โมนเพศและสุขภาพที่ดีอยู่ก็ได้
ดังนั้น ก่อนการรักษา จึงต้องมีการตรวจประเมินอาการทั้งด้านร่างกาย และจิตใจ
รวมทั้งการตรวจเลือดเพื่อวัดระดับฮอร์โมนเทสทอสเตอโรนชนิดรวม และ sex hormone binding globulin
เพื่อการวินิจฉัยอาการวัยทอง และสุขภาพโดยรวม
เพื่อการวางแนวทางการรักษาให้สามารถใช้ชีวิตหนุ่มได้อย่างสมบูรณ์
ทั้งในด้านการเลือกรับประทานอาหาร การออกกำลังกาย การปรับสภาพแวดล้อมและวิถีชีวิต

“ในบางรายการปรับการดำเนินชีวิตก็อาจจะเพียงพอ แต่ในบางรายอาจจะต้องมีการรักษาฟื้นฟูจิตใจ
ควบคู่ไปกับการใช้ฮอร์โมนบำบัด โดยฮอร์โมนเพศชายมีอยู่หลายรูปแบบ ได้แก่ ชนิดรับประทาน
ชนิดฉีด ชนิดทาผิวหนัง ชนิดแปะที่อัณฑะ ชนิดแปะผิวหนัง และชนิดฝังใต้ผิวหนัง
ซึ่งแพทย์จะเลือกให้ฮอร์โมนเพศทดแทน ที่ให้อยู่ในเกณฑ์ปกติใกล้เคียงธรรมชาติ

อย่างไรก็ตาม การให้ฮอร์โมนเพศทดแทนยังเป็นเรื่องใหม่
รวมทั้งมีข้อดีและข้อเสียเช่นเดียวกับการรักษาทุกชนิด
ดังนั้นจึงมีความจำเป็นที่จะต้องอยู่ภายใต้การดูแลของแพทย์ รวมทั้งมีการตรวจติดตามผลเป็นระยะ
ทั้งการวิเคราะห์ภาวะบกพร่องของฮอร์โมน และคัดกรองโรคทั่วไปด้วย”

สำหรับคุณผู้ชายที่ต้องจะคงความหนุ่มของตนเองให้ยืนยาว หรือเข้าสู่วัยทองให้ช้าที่สุด สามารถทำได้
คือการสร้างวินัยในการดำเนินชีวิต เพื่อให้เกิดไลฟ์สไตล์ที่สมดุล
พักผ่อนให้เพียงพออย่างน้อย 6-8 ชั่วโมง
กินอาหารที่มีประโยชน์ถูกต้องตามหลักโภชนาการ โดยควรจำกัดอาหารในส่วนไขมัน
และควรรับประทานพืชผักและผลไม้ โดยเฉพาะมะเขือเทศ เนื่องจากมีสารไลโคปิน
ซึ่งสามารถต้านโรคมะเร็งต่อมลูกหมาก ที่สามารถเกิดขึ้นได้กับผู้ชายวัยทองโดยทั่วไป
การมองโลกในแง่ดี ลดความเครียด ออกกำลังกายสม่ำเสมอ
โดยเลือกกิจกรรมที่เหมาะสมกับแต่ละบุคคล และที่สำคัญ คือ งดสูบบุหรี่และดื่มเหล้า


“นอกจากการรับมือเบื้องต้นแล้ว ดังกล่าวแล้ว หากคิดว่าตนเองมีอาการวัยทอง
หรืออาการเปลี่ยนแปลงต่างๆ ที่ ก่อให้เกิดปัญหากับสุขภาพร่างกายและจิตใจ
ทางที่ดีที่สุดคือพบแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเพื่อขอรับคำปรึกษา เพื่อที่แพทย์จะได้วินิจฉัยอาหาร
และวางแผนการรักษาในรูปแบบเฉพาะบุคคล ซึ่งการรับมือและจัดการชีวิตอย่างเหมาะสมตั้งแต่เริ่มต้น
ก็อาจทำให้คุณผู้ชายก้าวข้ามวัยทองของชีวิตได้โดยไร้ซึ่งปัญหาใดๆ” นายแพทย์ตนุพล กล่าวในที่สุด


ที่มา : http://www.naewna.com

 

 




แพทย์ วิสัญญี เภสัชกร ยาแผนปัจจุบัน การดูแลผู้ป่วย สาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ

ควรทานยาปฏิชีวนะให้ครบ
ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
โรคฉี่หนู
อย่ากินแอปเปิ้ลไซเดอร์ถ้าไม่รู้ 4.5 ข้อนี้ article
ผิวดำง่ายมากเกิดจาก 6 ข้อนี้ article
กินอาหารแล้วอ้วนจริงหรือ article
เอ็นข้อศอกอักเสบ เกิดจากอะไร? article
เจาะลึกกระบวนการ 'ทดลองยาในคน' article
กว่าจะเป็นยา ต้องผ่านขั้นตอน อะไรบ้าง? article
5 โรคร้ายรักษาง่ายๆด้วย ข้าวกล้อง article
เคล็บลับนอนหลับง่ายๆโดยไม่ต้องใช้ยา article
5 อาหารไขมันสูงยิ่งกินยิ่งผอม article
มือชา รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
กระดูกพรุน รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
เท้าปุก คืออะไร? รักษาอย่างไร? article
กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
ปวดหลังร้าวลงขา นั่งไม่ได้ รักษาอย่างไร? article
โรคท้องผูก ลำไส้ทำงานอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
การรับมือกับโรคมะเร็ง article
โรคหลอดเลือดหัวใจในหนุ่มสาว article
การจัดการโรคไตเรื้อรัง และสิ่งที่เชื่อผิดๆ article
น้ำดื่มบำรุงไต ไม่อยากฟอกไตต้องดู article
5 ความเชื่อผิดๆที่ทำให้ลดน้ำหนักไม่มีวันสำเร็จ article
7 วิธีควบคุมความดันโดยไม่ต้องพึ่งยา article
3 เทคนิคลดความอ้วน “#ไม่ต้องออกกำลังกาย” article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน