ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




โรคไทรอยด์ ระหว่างตั้งครรภ์

เมื่อคุณแม่ตั้งครรภ์ เป็นไทรอยด์

ไทรอยด์เป็นอีกโรคหนึ่งที่ควรเฝ้าระวัง และเป็นโรคเรื้อรังที่ต้องมีการควบคุมดูแลอย่างใกล้ชิด โดยเฉพาะในคุณแม่ที่วางแผนตั้งครรภ์ แพทย์มักจะแนะนำให้โรคสงบก่อนจึงค่อยคิดมีบุตร เพราะหากตั้งครรภ์ในระหว่างที่ฮอร์โมนไทรอยด์ไม่สามารถควบคุมได้ นั่นหมายถึงอันตรายที่จะเกิดขึ้นทั้งต่อคุณแม่และลูกน้อยในครรภ์

ฮอร์โมนไทรอยด์สำคัญอย่างไรในภาวะตั้งครรภ์?



ฮอร์โมนไทรอยด์ช่วยในการเจริญเติบโตของร่างกายและอวัยวะต่างๆ หากขาดฮอร์โมนไทรอยด์ระหว่างตั้งครรภ์อาจทำให้ทารกในครรภ์มีการสร้างอวัยวะที่ไม่สมบูรณ์ อาจมีโรคเอ๋อ คือมีความผิดปกติทางระบบประสาทและกล้ามเนื้อ พัฒนาการทางสมอง สติปัญญาและร่างกายช้ากว่าปกติ เตี้ยะแคระแกร็น รวมทั้งทำให้ต่อมไทรอยด์ของทารกต้องทำงานหนักเพื่อผลิตฮอร์โมนจนอาจเกิดภาวะคอพอก ซึ่งหากเป็นรุนแรง คอพอกอาจมีขนาดใหญ่จนกดการหายใจของทารกช่วงคลอดได้

ระหว่างที่ตั้งครรภ์ ต่อมไทรอยด์จะผลิตฮอร์โมนไทรอยด์มากขึ้นจากหลายกลไก เนื่องจากการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาในช่วงตั้งครรภ์ ได้แก่ การส่งผ่านฮอร์โมนไทรอยด์และสารไอโอดีนทางรกไปยังลูกน้อย การขับไอโอดีนทางปัสสาวะทำให้ระดับไอโอดีนในเลือดลดลง สารบางอย่าง (Thyroid binding globulin) ในร่างกายเพิ่มมากขึ้นทำให้ฮอร์โมนไทรอยด์ออกฤทธิ์ลดลง เป็นต้น ซึ่งทำให้หญิงตั้งครรภ์หลายคนมีต่อมไทรอยด์โตชั่วคราวในช่วงตั้งครรภ์ ด้วยเหตุนี้เององค์การอนามัยโลกจึงแนะนำให้หญิงตั้งครรภ์รับสารไอโอดีนในอาหารปริมาณ 200 ไมโครกรัมต่อวัน ในขณะที่คนปกติทั่วไปต้องการไอโอดีน 150 ไมโครกรัมต่อวัน

โรคไทรอยด์ระหว่างตั้งครรภ์อันตรายอย่างไร?

ไทรอยด์บกพร่อง (Hypothyroidism)


มีหลายสาเหตุได้แก่ ไทรอยด์อักเสบเรื้อรัง หรือโรคภูมิต้านทานผิดปกติต่อตนเองของไทรอยด์ เรียกว่า โรคฮาชิโมะโต๊ะ (Hashimoto’s thyroiditis) การกลืนแร่รังสีเพื่อรักษาไทรอยด์เป็นพิษ การผ่าตัดต่อมไทรอยด์ การได้รับยาต้านไทรอยด์มากเกินไป ส่วนอีกสาเหตุหนึ่งซึ่งปัจจุบันพบได้น้อยคือ การขาดไอโอดีนที่ทำให้เกิดโรคคอพอก

หากมีไทรอย์บกพร่องในขณะตั้งครรภ์ และไม่ได้รับการรักษาที่ถูกต้องเหมาะสม อาจส่งผลกระทบทั้งมารดาและลูกน้อย ได้แก่ การแท้ง คลอดก่อนกำหนด ครรภ์เป็นพิษ รกลอกตัวก่อนกำหนด ทารกแรกเกิดน้ำหนักตัวน้อย การตายคลอด รวมทั้งภาวะผิดปกติของพัฒนาการทางร่างกายและสมองของทารกดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นนั่นเอง

การรักษาคือรับประทานฮอร์โมนไทรอยด์ชื่อไทร๊อกซิน หรือเอลทร๊อกซิน (Thyroxin, Eltroxin) อย่างสม่ำเสมอและถูกขนาด ซึ่งต้องมีการปรับขนาดยาโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น ที่สำคัญคือ ฮอร์โมนไทรอยด์จะถูกดูดซึมน้อยลงเมื่อรับประทานร่วมกับยาธาตุเหล็กและแคลเซียม ซึ่งหญิงตั้งครรภ์มักได้รับเพื่อบำรุงครรภ์ ดังนั้นจึงควรรับประทานห่างกันอย่างน้อย 4-6 ชั่วโมง หญิงตั้งครรภ์ที่รักษาภาวะไทรอยด์บกพร่องด้วยฮอร์โมนไทรอยด์ หลายคนมักเข้าใจผิดว่ายาฮอร์โมนอาจส่งกระทบต่อเด็กในครรภ์ และหยุดยาเองโดยไม่ได้ปรึกษาแพทย์ ทำให้เด็กในครรภ์เกิดภาวะขาดฮอร์โมนไทรอยด์นำมาสู่ผลกระทบต่างๆ ดังนั้นจึงไม่ควรหยุดยา และในบางคนอาจต้องได้รับขนาดยาที่เพิ่มขึ้นเนื่องจากช่วงตั้งครรภ์มารดาต้องส่งผ่านฮอร์โมนไปยังลูกน้อย และภาวะการเปลี่ยนแปลงทางสรีรวิทยาดังที่ได้กล่าวไว้ข้างต้นนั่นเอง

ไทรอยด์เป็นพิษ (Hyperthyroidism)

มีอาการ ขี้ร้อน เหงื่อออกมาก อ่อนเพลีย กังวล หัวใจเต้นเร็ว ซึ่งอาจพบได้ในหญิงตั้งครรภ์ปกติได้ แต่อาการน้ำหนักลด หัวใจเต้นเร็วมากกว่า 100 ครั้ง/นาที ต่อมไทรอยด์โตทั่วไป และอาการระบบทางเดินอาหาร เช่น คลื่นไส้อาเจียนมากจะทำให้นึกถึงไทรอยด์เป็นพิษมากขึ้น

สาเหตุของไทรอยด์เป็นพิษที่พบบ่อยที่สุดคือ โรคเกรฟ (Graves’ disease) ซึ่งเป็นโรคภูมิต้านทานผิดปกติที่ไทรอยด์ชนิดหนึ่ง กระตุ้นให้ไทรอยด์ทำงานมากผิดปกติ (Autoimmune) โดยพบเป็นสาเหตุถึง 85-95% สาเหตุอื่นๆ ได้แก่ ต่อมไทรอยด์อักเสบ ก้อนเนื้องอกที่ต่อมไทรอยด์เป็นพิษ ครรภ์ไข่ปลาดุก ภาวะไทรอยด์เป็นพิษชั่วคราวจากภาวะแพ้ท้องรุนแรง

ความเสี่ยงของภาวะแทรกซ้อนในมารดาและทารกขึ้นอยู่กับระยะเวลาที่เป็นและการควบคุมภาวะไทรอยด์เป็นพิษภาวะแทรกซ้อนที่เกิดขึ้นได้แก่ การคลอดก่อนกำหนด ภาวะครรภ์เป็นพิษ ส่วนภาวะแทรกซ้อนในเด็ก คือ ภาวะตายคลอด เด็กน้ำหนักตัวน้อยกว่ากำหนดและพิการ

การรักษาไทรอยด์เป็นพิษในหญิงตั้งครรภ์ต้องได้รับการตรวจรักษาจากแพทย์ผู้เชี่ยวชาญเท่านั้น และต้องติดตามผลการทำงานของไทรอยด์เป็นระยะ เนื่องจากหากได้รับยาต้านไทรอยด์มากเกินไปอาจส่งผลกระทบต่อเด็กในครรภ์ทำให้มีภาวะไทรอยด์ทำงานต่ำได้ และที่สำคัญคือการกลืนน้ำแร่เพื่อรักษาไทรอยด์เป็นพิษเป็นข้อห้ามในหญิงตั้งครรภ์ หากสงสัยว่าจะตั้งครรภ์ควรแจ้งแพทย์ให้ทราบ

ไทรอยด์เป็นพิษในหญิงตั้งครรภ์จะควบคุมได้ดีขึ้นเรื่อยๆ เมื่ออายุครรภ์มากขึ้นแต่มักกำเริบหลังคลอดบุตร เพราะฉะนั้นการเฝ้าระวังอาการไทรอยด์เป็นพิษและติดตามผลการทำงานของไทรอยด์หลังคลอดเป็นสิ่งที่จำเป็นอย่างยิ่ง

ต่อมไทรอยด์โตแต่ทำหน้าที่ปกติ (Euthyroid goiter)

ส่วนหนึ่งของผู้ป่วยกลุ่มนี้ มีภาวะภูมิต้านทานผิดปกติต่อตนเองของไทรอยด์ทำให้มีไทรอยด์อักเสบเรื้อรัง (Autoimmune thyroiditis) ซึ่งเสี่ยงต่อไทรอยด์ทำงานบกพร่อง ดังนั้นจึงควรตรวจการทำงานของไทรอยด์เมื่อตั้งครรภ์เพื่อเฝ้าระวังไทรอยด์ทำงานน้อยผิดปกติ

ก้อนที่ต่อมไทรอยด์

พบว่าหญิงตั้งครรภ์มีอุบัติการณ์การเกิดก้อนที่ต่อมไทรอยด์มากกว่าหญิงที่ไม่ตั้งครรภ์ รวมทั้งผู้ที่มีก้อนที่ต่อมไทรอยด์อยู่แล้วอาจมีก้อนที่โตขึ้นได้ อย่างไรก็ตามไม่พบว่ามีอุบัติการณ์ของมะเร็งไทรอยด์เพิ่มขึ้น

ว่าที่คุณแม่ที่กำลังตั้งครรภ์ หรือสงสัยว่าตนอาจตั้งครรภ์ โดยที่มีภาวะไทรอยด์เป็นพิษ หรือคิดว่าตนอาจมีความเสี่ยงเป็นโรคไทรอยด์ ควรรีบปรึกษาแพทย์โดยเร็ว รวมถึงผู้ที่วางแผนตั้งครรภ์ควรรับการตรวจสุขภาพโดยละเอียดเพื่อให้รู้ว่า เราพร้อมสำหรับการตั้งครรภ์หรือไม่ และเพื่อการตั้งครรภ์อย่างปลอดภัย

 


ศูนย์เบาหวาน ไทรอยด์และต่อมไร้ท่อ โรงพยาบาลเวชธานี

 

 
 

ไทยรัฐออนไลน์

  • โดย โรงพยาบาลเวชธานี



แพทย์ วิสัญญี เภสัชกร ยาแผนปัจจุบัน การดูแลผู้ป่วย สาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ

ควรทานยาปฏิชีวนะให้ครบ
ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
โรคฉี่หนู
อย่ากินแอปเปิ้ลไซเดอร์ถ้าไม่รู้ 4.5 ข้อนี้ article
ผิวดำง่ายมากเกิดจาก 6 ข้อนี้ article
กินอาหารแล้วอ้วนจริงหรือ article
เอ็นข้อศอกอักเสบ เกิดจากอะไร? article
เจาะลึกกระบวนการ 'ทดลองยาในคน' article
กว่าจะเป็นยา ต้องผ่านขั้นตอน อะไรบ้าง? article
5 โรคร้ายรักษาง่ายๆด้วย ข้าวกล้อง article
เคล็บลับนอนหลับง่ายๆโดยไม่ต้องใช้ยา article
5 อาหารไขมันสูงยิ่งกินยิ่งผอม article
มือชา รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
กระดูกพรุน รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
เท้าปุก คืออะไร? รักษาอย่างไร? article
กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
ปวดหลังร้าวลงขา นั่งไม่ได้ รักษาอย่างไร? article
โรคท้องผูก ลำไส้ทำงานอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
การรับมือกับโรคมะเร็ง article
โรคหลอดเลือดหัวใจในหนุ่มสาว article
การจัดการโรคไตเรื้อรัง และสิ่งที่เชื่อผิดๆ article
น้ำดื่มบำรุงไต ไม่อยากฟอกไตต้องดู article
5 ความเชื่อผิดๆที่ทำให้ลดน้ำหนักไม่มีวันสำเร็จ article
7 วิธีควบคุมความดันโดยไม่ต้องพึ่งยา article
3 เทคนิคลดความอ้วน “#ไม่ต้องออกกำลังกาย” article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน