ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




ครามรักษาได้

คราม คราม รักษาได้

ชื่อวิทยาศาสตร์ : Indigfera tinctoria L.

ชื่อสามัญ : Indigo

ชื่อวงศ์ : LEGUMINOSAE-PAPILIONOIDEAE

ชื่อพื้นเมือง : คราม (ไทย), คาม (เหนือ,อีสาน)  ครามย้อม (กรุงเทพฯ)  ครามป่า (เชียงใหม่), ครามเถื่อ (เงี้ยว-เชียงใหม่), ครามใหญ่ (อุบล)

ลักษณะทางพฤษศาสตร์ :

ต้น ครามเป็นไม้เนื้ออ่อนกึ่งเลื้อยพักอาศัยการพาดเกาะตามสิ่งที่อยู่ใกล้เพื่อทอดลำต้น มีการแตกกิ่งก้านสาขาไม่มากนัก

ใบ ใบครามมีลักษณะเป็นใบประกอบแบบขนนกเรียงสลับ ใบย่อยรูปวงรีแกมขอบขนาน ก้วาง 0.8-1 ซม. ยาว 1.5-3.5 ซม.

ดอก มีขนาดเล็กคล้ายดอกถั่ว ออกเป็นช่อที่ซอกใบ  มีสีเขียวอ่อนอมครีม เริ่มบานมีสีแดงหรือชมพู

ฝัก ลักษณะคล้ายฝักถั่วแต่เล็กกว่า  ออกเป็นกระจุก   ขนาดความยาวของฝัก 5-8 เซนติเมตร

ผล มีลักษณะเป็นสีน้ำตาล แตกฝักได้

เมล็ด ขนาดเล็กสีครีมอมเหลือง หรือ น้ำตาลอ่อน รูปทรงกระบอกอยู่ภายในฝัก  ประมาณ 8 – 10 เมล็ด เมล็ดสีครีมอมเหลือง เป็นพรรณไม้ในเขตร้อนชื้นกระจายพันธ์อยู่ แถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ เช่น ไทย พม่า ลาว ฯลฯ เจริญเติบโตได้ดีในที่โล่งแจ้งในธรรมชาติ เมล็ดที่ร่วงหล่นจะงอกเป็นต้นเจริญเติบโตในหน้าฝน และเมล็ดจะแก่ในช่วงฤดูหนาว จะมีช่วงวงจรชีวิตอยู่ในเดือนพฤษภาคม-ธันวาคม แต่สามารถเก็บเมล็ดนำมาปลูกเลี้ยงได้ตลอดปี

การขยายพันธ์ :
การเก็บฝักแก่ในช่วงประมาณเดือนตุลาคม-พฤศจิกายนโดยจะเก็บฝัก มาพึ่งแดดอ่อนให้แห้ง ประมาณ 2 – 3 แดด เพื่อเก็บรักษาไว้เพาะพันธุ์ การขยายพันธุ์จะทำได้โดยการแกะเมล็ดออกจากฝัก แล้วนำไปเพาะในกระบะเพาะแล้วแยกปลูก หรือสามารถเพาะกล้าในถุงปลูกขนาดเล็ก เมื่อต้นกล้าแข็งแรงแล้วจะมีใบอ่อน 3 – 5 ใบ ก็นำปลูกในหลุม หรือแปลงปลูก

คราม สมุนไพร ฝักของคราม ลักษณะคล้ายฝักถั่วแต่เล็กกว่า  ออกเป็นกระจุก   ขนาดความยาวของฝัก 5-8 เซนติเมตร

คราม สมุนไพร ฝักของคราม ลักษณะคล้ายฝักถั่วแต่เล็กกว่า ออกเป็นกระจุก ขนาดความยาวของฝัก 5-8 เซนติเมตร

ข้อมูลการเพาะเลี้ยง :

การเตรียมหลุม/แปลงปลูกและการปลูก
เตรียม แปลงหรือหลุมปลูก โดยย่อยดินให้ร่วนซุยคลุกด้วยปุ๋ยคอด หรือปุ๋ยมักพอประมาณแล้วจึงนำต้นกล้าจากกระบะเพาะ หรือถุงเลี้ยงกล้าลงปลูก ในการย้ายกล้าควรมีดินติดกล้าให้มาก พยายามอย่าให้รากขาดมากจะทำให้ต้นกล้าเหี่ยวเฉาง่าย และควรย้าย ปลูกในช่วงอากาศและแสงแดดไม่ร้อนจัดหลังจากปลูกให้ลดน้ำให้ชุ่มหรือถ้าแสง แดดจัดควรพลางแสงในช่วง 2 – 3 วันแรก เพื่อให้ตั้งตัวได้เร็วขึ้น

การดูแลรักษา
ครามเป็นพืชที่ชอบเจริญเติบโตในที่แจ้งน้ำไม่ท่วมขังควรให้น้ำปานกลางโดยปกติสามารถเติบโตได้ดีเป็นธรรมชาติแต่ถ้าปลูกในแปลงเกษตร อาจชิดกันผิดธรรมชาติไป ก็ควรให้ปุ๋ยคอกปุ๋ยหมักเพิ่มธาตุอาหาร เพื่อให้เจริญเติบโตได้ดีขึ้น

ศัตรูพืชและการป้องกัน
ในด้านศัตรูพืช ครามที่นำมาปลูก มักจะเกิดปัญหาเรื่องยอดและใบหงิกงอ สาเหตุเกิดจากเพลี้ยอ่อน ดูดน้ำเลี้ยงที่บริเวณยอดทำให้ใบหงิกม้วนงอก ต้นทรุดโทรม เก็บผลผลิตได้น้อย การกำจัดอาจใช้พืชสมุนไพร เช่น น้ำหมักใบยาสูบ หรือ น้ำสบู่เข้มข้นฉีดพ่นและไล่เพลี้ยก่อน ถ้ามีปริมาณมากและรุนแรงอาจใช้สารฆ่าแมลงเช่น เซฟวิน 85 ฉีดพ่น 1 – 2 ครั้ง จากนั้นใช้สมุนไพรฉีดช่วยภายหลัง

การเก็บเกี่ยวและการรักษาหลังเก็บเกี่ยว
คราม นิยมเก็บเกี่ยวส่วนของใบและกิ่ง ในช่วงเดือนมิถุนายน ถึง สิงาคม ซึ่งจะเลือกเก็บ เฉพาะใบที่แก่จัด มีสีใบเข้ม ในการเพาะปลูกเลี้ยงจะสามารถเก็บได้ 3 ครั้ง ในช่วงฤดูฝน จะเก็บครามในช่วงเดือนมิถุนายน –กรกฎาคม เพื่อนำมาหมัก และเก็บหัวครามเข็มข้นตามกรรมวิธีการมัก ซึ่งเป็นภูมิปัญญาท้องถิ่นที่สืบทอดกันมา หัวครามจะมีลักษณะคล้ายดินโคลนมีน้ำเงินเข้ม หล่อเลี้ยงด้วยน้ำเล็กน้อยเพื่อป้องกันหัวครามแห้งเกินไป โดยจะนำหัวครามเข็มที่ได้ใส่ลงไปในปีบขนาด 20 ลิตร ซึ่งภายในบรรจุด้วยถุงพลาสติกเพื่อเก็บไว้จำหน่าย ในปัจจุบัน (ปีพ.ศ. 2547) ราคาหัวครามประมาณกิโลกรรมละ 200 บาท ซึ่งหัวครามนี้สามารถเก็บไว้ใช้ได้นานปี

กรรมวิธีทำหัวคราม :

  1. นำต้นห้อม,ต้นครามที่ตัดแล้วมามัดรวมกันเป็นกำ ขนาดกำละประมาณ 2 กำมือ
  2. นำต้นห้อม,ต้นครามที่มัดเรียบร้อยแล้วมาใส่ในหม้อ เติมน้ำเปล่าพอให้ท่วม โดยเฉลี่ยจะใช้น้ำประมาณ 10 ลิตรต่อการแช่ห้อมหรือคราม 1 กิโลกรัม ให้มัดห้อมหรือครามจมอยู่ในน้ำ โดยอาจใช้ก้อนอิฐทับไว้ให้จมอยู่ใต้น้ำ ปิดฝาหม้อให้เรียบร้อย ทิ้งไว้ประมาณ 2 – 3 วัน ให้ต้นห้อม ,ต้นครามเน่าเปื่อย ให้สีครามละลายออกมาในน้ำ
  3. กรองเอาต้นห้อม, ต้นครามและเศษชิ้นส่วนต่างๆออกเหลือไว้แต่น้ำคราม
  4. ทำการ “ซวก” โดยใช้ชะลอมที่สานด้วยไม้ไผ่จนกระทั่งน้ำในหม้อเกิดเป็นฟองอากาศสีครามผุดขึ้นมาเหนือผิวน้ำ
  5. ละลายปูนขาวหรือปูนแดงกับน้ำเปล่า คนเพื่อไม่ให้ปูนจับตัวเป็นก้อนเติมลงไปในน้ำครามซึ่งก็จะใช้ปูนขาประมาณ 200 กรัมต่อน้ำคราม 10 ลิตร
  6. ซวกต่อไปจนกระทั้งฟองอากาศยุบตัวลง จึงทิ้งไว้ประมาณ 1 คืนเพื่อรอให้เกิดการตกตะกอนของเนื้อคราม
  7. เมื่อน้ำครามตกตะกอนเทน้ำข้างบนที่เป็นสีเหลืองทิ้งไปเหลือเฉพาะแต่น้ำครามขุ่นก้นหม้อ
  8. นำน้ำครามมากรองด้วยผ้าขาวบาง น้ำที่เหลือจากการกรองเททิ้งไปเหลือไว้เฉพาะตะกอนที่ติดอยู่กับผ้าขาวบาง
  9. ตะกอนที่ได้คือเนื้อครามที่จะใช้เป็นส่วนผสมที่สำคัญที่ทำให้เกิดสีในการย้อมผ้า เนื้อครามที่ได้นี้สามารถเก็บไว้ได้นานประมาณ 1 – 2 ปี โดยการบรรจุในไหที่ปิดสนิท

สรรพคุณของสมุนไพร :

  • ใบ เป็นยาดับพิษ แก้ไข้ตัวร้อนและแก้ปวดศีรษะ
  • ลำต้น เป็นยาแก้กระษัย แก้ไข้ตัวร้อน แก้ปวดศีรษะ
  • เปลือกใช้แก้พิษงู แก้พิษฝีและแก้บวม
  • ถ้าถูกมีดบาดหรือเป็นแผลไฟไหม้น้ำร้อนลวก สามารถนำเนื้อครามทาเพื่อสมานแผลได้ ผ้าที่ย้อมครามก็มีคุณสมบัติทางยาเช่นกัน เพียงนำผ้าครามไปนึ่งให้อุ่น ประคบตามรอยช้ำก็สามารถบรรเทาอาการได้

ประโยชน์ด้านอื่นๆ :

  1. ในด้านความสวยความงามนั้น น้ำคั้นจากใบสดของครามช่วยบำรุงเส้นผม ป้องกันผมหงอก สารสกัดครามทั้งต้น (ยกเว้นใบ) เป็นส่วนผสมในสีที่ใช้ย้อมผม
  2. ครามเป็นพืชที่มีการนำมาใช้ย้อมสีมากที่สุด เนื่องจากเป็นพืชให้สีน้ำเงินใช้ในการย้อมฝ้ายได้ผลดี ทั้งนี้การย้อมครามส่วนใหญ่อยู่ในสภาพน้ำย้อมเป็นด่าง การย้อมเส้นไหมจึงไม่ค่อยได้รับความนิยมและติดสีไม่ดี การย้อมเส้นไหมพบมากในจังหวัดสุรินทร์ มีการย้อมครามอย่างแพร่หลาย สีน้ำเงินที่ได้จากครามจัดเป็นแม่สีที่สามารถใช้ร่วมกับสีหลักอื่นๆ ได้หลากหลายสี วิธีการย้อมเส้นไหมด้วยคราม เตรียมน้ำครามเหมือนกับการเตรียมน้ำครามเพื่อย้อมฝ้าย โดยนำต้นครามสดทั้งใบและกิ่งมาแช่ในโอ่งเติมน้ำปูนขาว (ปูนจากเปลือกหอย) แล้วกดทับให้ครมจมน้ำ ไม่ใช้ทำปฏิกิริยากับอากาศ และพลิกกลับครามทุกวัน นาน 4 วัน หรือจนสังเกตเห็นน้ำที่หมักครามมีสีเหลืองแล้วกรองเอาแต่น้ำคราม ในการนำน้ำครามย้อมเส้นไหม ควรปรับค่าความเป็นกรดด่างให้เหมาะสมประมาณ 9.7 โดยใช้น้ำด่างธรรมชาติและน้ำมดแดง จากนั้นนำเส้นไหมมาย้อมแบบย้อมเย็นนากรย้อมครามอีกวิธีหนึ่ง เป็นวิธีย้อมที่รวดเร็วได้แก่การนำเอาครามเปียก ก้อนครามหรือผงคราม มาย้อมเส้นไหม โดยใช้สารละลายด่างโซดาไฟ ละลายเนื้อครามแล้วเติมสารพวก Reducing agent เช่น การน้ำตาลร่วมกับผงเหม็น (Sodium hydrosulfite) จนน้ำครามเป็นสีเขียวเหลือง และมีฟองสีน้ำเงิน ปรับความเปนกรดด่าง โดยการเติมกรดน้ำส้มให้ pH น้ำย้อมอยู่ในระดับ 6.1-6.5 แล้วนำเส้นไหมมาย้อมด้วยกรรมวิธีการย้อมเย็น นานประมาณ 1 ชั่งโมง เมื่อครบนำเส้นไหมาล้างด้วยน้ำสะอาด จากนั้นนำเส้นไหมามาย้อมทับอีกครั้งจะได้สเนไหมสีน้ำเงินหรือสีฟ้าเข้ม
  3. คุณสมบัติพิเศษอีกประการที่มีงานวิจัยทั้งในอเมริกา และญี่ปุ่นก็คือ ผ้าที่ย้อมจากครามสามารถป้องกันผิวของผู้สวมใส่จากรังสีอัลตราไวโอเลตได้

ถิ่นที่อยู่ : พรรณไม้นี้มีถิ่นกำเนิดอยู่ทางภาคเหนือ และได้พบว่าปลูกกันเพื่อเอาไว้ทำครามย้อมผ้า พบที่พะเยาตอนใกล้กับอำเภองาว




แพทย์ทางเลือก ฝังเข็ม นวดกดจุด สมุนไพร อาหารเพื่อสุขภาพ

ชะพลู ผลวิจัยเผยสรรพคุณสุดเจ๋ง..!!! รักษาอาการโรคเบาหวาน และทำให้สุขภาพดีขึ้นแบบนี้..| Nava DIY
น้ำขิงมะนาว จิบเดียวประโยขน์มหาศาล article
ภญ.ดร.สุภาภรณ์ ปิติพร บรรยายเรื่อง ป่าเฮ่วหมอง article
7 ประโยชน์ขั้นเทพของ “กระเจี๊ยบเขียว” ที่คุณอาจไม่รู้
ขมิ้นชัน
5 ผักพื้นบ้าน ต้านมะเร็ง
สะระแหน่ ปลูกง่ายโตเร็ว สรรพคุณเพียบ article
จัดการกรดไหลย้อนให้หายขาด
กินผลไม้อย่างไร ให้ได้ประโยชน์สูงสุด article
"ต้นป่าช้าเหงา"สมุนไพรไทยดังไกลไปทั่วโลก article
ก้อนอึ 12 ประเภท ที่จะบ่งบอกได้ว่าสุขภาพของคุณเป็นอย่างไร article
17 อาหารช่วยเผาผลาญไขมัน และช่วยล้างพิษ article
ของดี 9 อย่าง ช่วยทำความสะอาดหลอดเลือด article
กินกล้วยอย่างไร ให้ได้ประโยชน์มากที่สุด article
ฟักข้าว ประโยชน์ของพืชพื้นบ้านลูกจิ๋ว สรรพคุณแจ๋ว
8 สุดยอด ธัญพืช
อินทผลัม อัศจรรย์ผลไม้กลางทะเลทราย สรรพคุณมากมายเกินคาดคิด !!
หวานซ่อน ร้าย
8 วิธีง่ายๆ ป้องกันมะเร้ง
9 อาหาร ที่ควรกินทุกวัน สุขภาพดีห่างไกลหมอ
10 สุดยอดอาหารบำรุงคนท้อง เพื่อพัฒนาการที่ดีของทารกในครรภ์
5 ผลไม้บำรุงเลือด
13 ผักผลไม้และสมุนไพรบำรุงตับ
น้ำใบบัวบก
รู้หรือไม่ พืชชนิดนี้ช่วยฆ่าเซลล์มะเร็งได้ในเวลาเพียง 16 ชั่วโมง รู้เเล้วไปหามากินป้องกันไว้ได้เลย
วิธีเลือกเครื่องดื่มเพื่อสุขภาพ
นวดแก้อาการ-รักษา 31 โรค แก้อาการทุกชนิดแบบเอื้ออาทร
กรมแพทย์แผนไทย เตือน 6โรคห้ามนวดถึงตาย
อันตรายจาก "สมุนไพร" ที่เรา(อาจ)คาดไม่ถึง!
การนวดกดจุดสะท้อนเท้าสำหรับผู้ป่วยเบาหวาน
ชาวพังงาหรรษานอนแช่บ่อน้ำพุร้อนปลายพู่-ต้มไข่กิน เชื่อมีแร่ธาตุบำบัดโรค
ต้องอ่านนะค่ะ ของดี ถ้ายังรักตัวเอง โดย อาจารย์ ไกร มาศพิมล (นักโภชนาการบำบัด) http://youtu.be/TkreU-jK-EU
พังแหร สรรพคุณและประโยชน์ของต้นพังแหรใหญ่ 19 ข้อ
'น้ำเต้าญี่ปุ่น' ขับปัสสาวะ
'ข่อยหยอง' ขับปัสสาวะ
"ตาเสือ’"เปลือกต้นเป็นยาขับโลหิต
“กำยาน”บำรุงหัวใจ คลายเครียด
29 สรรพคุณและประโยชน์ของต้นคว่ำตายหงายเป็น
"สาบเสือ"ใบสดตำพอกปากแผลห้ามเลือด
พิชิตโรคภัย ด้วยดอกไม้ 5 ชนิด ประโยชน์ดีๆที่ไม่ควรมองข้าม



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน