ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




รู้ทันโรคเริม

รู้ทันโรคเริม


 เริมคืออะไร?


เริมคืออะไร?

            โรคเริมเป็นโรคผิวหนังที่เกิดจากเชื้อไวรัส ชื่อ Herpes simplex ซึ่งเชื้อไวรัสตัวนี้มีอยู่ 2 ชนิด คือ ชนิดที่มักจะพบบริเวณอวัยวะเพศ พบในผู้ใหญ่มากกว่าเด็ก และชนิดที่ทำให้เกิดแผล (cold sore) บริเวณริมฝีปาก พบได้ทั้งในเด็กและผู้ใหญ่


             เริมเป็นโรคเรื้อรังรักษาไม่หาย คำว่าเรื้อรังในทางการแพทย์นั้นหมายความว่าระยะยาว อย่างไรก็ตามในผู้ติดเชื้อเริมส่วนใหญ่อาจจะไม่มีอาการของโรคปรากฏขึ้นเลยก็ได้ ขณะที่ผู้ติดเชื้อเริมหลาย ๆ คนอาจมีอาการกำเริบซ้ำของโรคขึ้นมาอีก กรณีผู้ติดเชื้อเริมครั้งแรกที่มีการแสดงอาการ อาการของโรคก็อาจจะกำเริบได้อีกหลาย ๆ ครั้งในเวลาต่อมา เมื่อเวลาผ่านไประยะฝังตัวของโรคจะกินเวลานานขึ้นเรื่อย ๆ (โรคไม่แสดงอาการบ่อย) โดยจะมีความรุนแรงของอาการน้อยลงเรื่อย ๆ และหายเร็วกว่าในครั้งแรก ๆ


เริมที่อวัยวะเพศ?

            โรคเริมที่อวัยะเพศ เป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ที่มีสาเหตุมาจากเชื้อไวรัส HSV (herpes simplex virus) โดยที่เชื้อไวรัสตัวนี้จะติดต่อและมักแสดงอาการขึ้นที่บริเวณอวัยวะเพศ ปากมดลูก หรืออาจจะแสดงอาการบนผิวหนังบริเวณอื่นของร่างกาย


อาการของเริมที่อวัยวะเพศเป็นอย่างไร?

            อาการของเริมที่อวัยวะเพศจะมีตุ่มแผลที่อวัยวะเพศและ มีอาการเจ็บแสบบริเวณรอบ ๆ อวัยวะ และอาจมีอาการปวดศีรษะ เป็นไข้ ปวดเมื่อยกล้ามเนื้อก่อนแล้วจึงจะเกิดตุ่มใส ๆ ขึ้นและมีอาการเจ็บปวดมาก

            ในผู้ติดเชื้อส่วนใหญ่ อาการของโรคอาจจะยังไม่ปรากฏทันที อาจใช้เวลาหลายเดือน หรือหลายปีหลังจากที่ติดเชื้อแล้ว สำหรับผู้ที่ติดโรคเริมที่อวัยวะเพศและแสดงอาการครั้งแรกนั้น อาการของโรคจะปรากฏอยู่นานประมาณ 4 ถึง 7 วัน


ไวรัสโรคเริม (HSV) มีอัตราการแพร่เชื้อได้สูงมาก

            ไวรัสโรคเริม (HSV) สามารถแพร่เชื้อในคนได้อย่างง่ายดาย โดยติดต่อจากคนใกล้ชิดด้วยการสัมผัสโดยตรง โดยทั่ว ๆ ไปแล้วเริมที่อวัยวะเพศนั้นแพร่เชื้อผ่านการมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอด รูทวาร หรือด้วยปาก เมื่อผู้ใดติดเชื้อไวรัสเริมแล้ว เชื้อนี้จะทำการฝังตัวอยู่ในร่างกายอย่างถาวร ผู้ติดเชื้อโรคเริมที่อวัยวะเพศหลายคนอาจไม่ทราบว่าตนเองติดเชื้อ เพราะมีอาการเพียงเล็กน้อย หรือในหลาย ๆ คนนั้นไม่มีอาการของโรคที่สามารถสังเกตเห็นได้เลย


อาการของการติดเชื้อปฐมภูมิ

              การติดเชื้อปฐมภูมิ เป็นการติดเชื้อครั้งแรก อาการของการติดเชื้อปฐมภูมิ ถ้าหากมีการแสดงอาการก็มักจะมีความรุนแรงของอาการมากกว่าในครั้งต่อ ๆ ไปและ อาจจะปรากฏอาการอยู่นานถึง 20 วัน สามารถสังเกตุอาการได้มีดังนี้:

           แผลแสบ และแผลพุพองที่ปากมดลูก

           ตกขาว

           เจ็บแสบเมื่อปัสสาวะ

           มีไข้ตัวร้อน

           ปวดศรีษะ

           ตุ่มใสบริเวณปาก

           ผื่นแดง – ซึ่งปกตินั้นมักเจ็บปวดมากแล้วหลังจากนั้นจะเกิดทำให้รู้สึกแสบร้อน แล้วกลายเป็นแผลพุพองที่บริเวณโดยรอบอวัยวะเพศ ขาหนีบ ก้นและทวารหนักในเวลาต่อมา

ส่วนใหญ่แล้วแผลพุพองนี้จะหายไปเองและจะไม่ทิ้งรอยแผลเป็นหลงเหลือไว้


อาการของการกำเริบซ้ำของโรค

           อาการกำเริบซ้ำของเริมที่อวัยวะเพศเหล่านี้มักจะมีความรุนแรงน้อยลงและหายเร็วกว่าครั้งแรก ๆ เพราะร่างการของผู้ติดเชื้อนั้นได้สร้างภูมิคุ้มกันขึ้นมาเพื่อต่อต้านกับไวรัสเริมแล้ว ส่วนใหญ่แล้วอาการของโรคจะกินเวลาไม่เกิน 10 วัน สามารถสังเกตุอาการได้มีดังนี้:

      ปวดแสบปวดร้อน /เจ็บแปลบ ๆ บริเวณอวัยวะเพศก่อนที่จะปรากฏตุ่มแผลพุพองขึ้นมา

ในผู้หญิงอาจมีแผลพุพองและแผลแสบนี้ที่ปากมดลูก ตุ่มใส ๆ บริเวณปาก

      ผื่นแดง – ซึ่งปกตินั้นมักเจ็บปวดมากแล้วหลังจากนั้นจะเกิดทำให้รู้สึกแสบร้อน แล้วกลายเป็นแผลพุพองที่บริเวณโดยรอบอวัยะเพศ ขาหนีบ ก้นและทวารหนักในเวลาต่อมา

การกำเริบซ้ำของอาการอาจเกิดขึ้นเป็น ๆ หาย ๆ น้อยลงและมีความรุนแรงลดลงเรื่อย ๆ สำหรับผู้ที่ติดเชื้อ HSV-1 จะมีการกำเริบซ้ำของอาการน้อยกว่าและมีความรุนแรงของอาการลดลงมากกว่า อาการที่เกิดขึ้นซ้ำในผู้ติดเชื้อ HSV-2


โรคเริมที่อวัยวะเพศเกิดจากอะไร?

           เมื่อโรคเริม (HSV) ปรากฏอาการขึ้นบนผิวหนังของผู้ติดเชื้อแล้ว ผู้ติดเชื้อสามารถแพร่เชื้อนี้ไปยังผู้อื่นได้ง่าย โดยผ่านบริเวณผิวหนังที่มีความชื้น เช่น ปาก ทวารหนักและอวัยวะเพศ เชื้อไวรัสนี้ยังอาจจะแพร่ผ่านไปยังผู้อื่นได้ทางผิวหนังบริเวณอื่น ๆ ของร่างกายเช่น ดวงตา ได้อีกด้วย

 

         เราไม่สามารถติดเชื้อโรคเริมได้โดยการหยิบจับวัตถุสิ่งของเช่น ผิวโต๊ะทำงาน อ่างชะล้าง หรือผ้าขนหนูที่ผู้ติดเชื้อโรคเริมหยิบจับมาก่อนได้


สาเหตุดังต่อไปนี้อาจนำไปสู่การติดต่อเชื้อโรคเริมได้

           การมีเพศสัมพันธ์ทางช่องคลอดหรือทางทวารหนักโดยไม่มีการป้องกัน

           การใช้ปากในการมีเพศสัมพันธ์กับผู้ที่มีเม็ดตุ่มใสที่ปาก

           ใช้อุปกรณ์เพื่อกิจกรรมทางเพศร่วมกัน

           ทำการสัมผัสอวัยวะเพศกับผู้ที่ติดเชื้อโรคเริม

           ไวรัสโรคเริม (HSV) สามารถแพร่จากผิวหนังของผู้ติดเชื้อได้แม้ในระยะก่อนจะปรากฏตุ่มแผลขึ้น ส่วนใหญ่แล้วไวรัสนี้จะแพร่ไปสู่ผู้อื่นได้ในระยะฟักตัวก่อนที่จะมีแผลพุพองปรากฏขึ้นบนผิวหนัง ขณะที่อาการปรากฏอยู่และเมื่อหลังจากที่ตุ่มแผลนั้นเพิ่งหายสนิท

            ไวรัสโรคเริม ยังอาจจะถูกถ่ายทอดไปสู่ผู้อื่นได้ แม้จะไม่ปรากฏสัญญาณของการแสดงอาการกำเริบของโรค(ระยะฝังตัว)เลยก็ตาม (แต่มีโอกาสเป็นไปได้น้อยกว่า)

            ถ้ามารดาที่ติดเชื้อโรคเริมที่อวัยวะเพศนั้นมีอาการกำเริบของโรคขึ้นระหว่างการคลอดบุตร โอกาสก็เป็นไปได้สูงที่เชื้อสามารถแพร่ไปยังทารกได้ (ดูหัวข้อกรณีผู้ติดเชื้อตั้งครรภ์ด้านล่าง)


การวินิจฉัยโรคเริมที่อวัยวะเพศทำได้อย่างไร?

            ผู้ติดเชื้อโรคเริมที่อวัยวะเพศที่มีอาการแสดง ควรเข้ารับคำปรึกษากับ แพทย์เวชทั่วไป หรือคลินิคสมรรถภาพทางเพศหรือคลินิคโรคทางเดินปัสสาวะ การวินิจฉัยโรคเบื้องต้นควรได้รับการระบุโดยผู้เชี่ยวชาญด้านโรคทางเดินปัสสาวะ – หรือสามารถเข้ารับการตรวจได้ที่คลินิกแพทย์โรคทั่วไปแทนก็ได้ อย่างไรก็ตามแพทย์โรคทั่วไปอาจให้คำแนะนำให้คุณควรพบแพทย์เฉพาะทางก่อนที่จะดำเนินการวินิจฉัยให้ หลังจากนั้นแพทย์จะทำการสอบถามข้อมูลเกี่ยวกับอาการจากผู้เข้ารับการตรวจแล้วทำการวิเคราะห์วินิจฉัยโรค


โรคเริมนั้นสามารถวินิจฉัยได้โดยง่ายเมื่อเพิ่งติดเชื้อได้ไม่นาน

           แพทย์จะทำการป้ายเอาตัวอย่างของเหลวจากบริเวณแผลโรคเริม – โดยอาจต้องทำให้ตุ่มแผลแตก หลังจากนั้นแพทย์จะนำเอาตัวอย่างของเหลวนี้เข้าห้องแล็บเพื่อทำการตรวจ ถ้าหากผลออกมาเป็นลบก็อาจจะไม่ได้หมายความว่าผู้เข้ารับการตรวจนั้นไม่ได้รับการติดเชื้อโรคเริมเสียทีเดียว เพราะหากผู้เข้ารับการตรวจครั้งแรกนั้นเกิดมีอาการของโรคเริมกำเริบซ้ำขึ้นมาอีกในภายหลัง นั่นสามารถยืนยันสภาวะการติดเชื้อโรคเริมได้ในตัวของมันเอง หรืออาจจะทำการตรวจเลือดเพื่อดูว่ามีการติดเชื้อโรคเริมหรือไม่ก็ได้ แต่ในการตรวจเลือดนี้ก็อาจมีความคลาดเคลื่อนได้สูงถ้าหากว่าเพิ่งติดเชื้อได้ไม่นาน


การวินิจฉัยการติดเชื้อซ้ำของโรคเริมที่อวัยวะเพศ

           ผู้ใดที่มีอาการของโรคเริมที่อวัยวะเพศซ้ำมาระยะเวลาหนึ่งแล้ว ควรเข้ารับการตรวจวินิจฉัยโรค โดยแพทย์จะทำการสอบถามอาการและจำนวนครั้งที่มีการแสดงอาการก่อนหน้านั้น และจะวินิจฉัยถึงสาเหตุที่เป็นปัจจัยให้เกิดการกระตุ้นและแสดงอาการของโรคในครั้งนี้ด้วย เช่น การเจ็บป่วย หรือความเครียด เป็นต้น จากนั้นแล้วแพทย์ก็จะทำการตรวจอวัยวะเพศเพื่อดูว่าการติดเชื้อนั้นมีความรุนแรงมากน้อยเพียงใด


การดูแลรักษาโรคเริมที่อวัยวะเพศนั้นทำได้อย่างไรบ้าง?

          อาการเจ็บปวด – บรรเทาด้วยยาพาราเซตามอล (ไทลินอล, แอคซิตามิโนฟีน) หรือไอบูโปรเฟน ซึ่งสามารถหาซื้อได้โดยไม่ต้องอาศัยคำสั่งแพทย์

ผู้ติดเชื้อโรคเริมบางคนแนะนำว่าการแช่อาบน้ำเกลือนั้นสามารถบรรเทาอาการได้เช่นกัน

ปะคบด้วยถุงน้ำแข็ง โดยห่อน้ำแข็งด้วยวัสดุอื่นก่อน – อย่าปะคบก้อนน้ำแข็งบนผิวหนังโดยตรง

          ทาวาสลีน (หรือขี้ผึ้งปิโตเลียมอื่น ๆ ) ลงบนบริเวณแผล ถ้าหากว่ามีอาการปวดแสบเมื่อปัสสาวะให้ชะโลมครีมหรือโลชั่น ตัวอย่างเช่น ลิโดเคอีน เป็นต้น ลงบนบริเวณช่องทางเดินปัสสาวะ บางคนใช้วิธีการปัสสาวะขณะที่แช่ในน้ำอุ่นเพื่อช่วยลดความเจ็บปวด

ไม่ควรสวมเสื้อผ้าที่คับแน่นหรือพอดีตัว โดยเฉพาะบริเวณที่ปรากฏอาการของโรค

ล้างมือให้สะอาด โดยเฉพาะเมื่อคุณสัมผัสบริเวณที่ปรากฏอาการของโรค

งดเว้นการมีเพศสัมพันธ์จนกว่าอาการของโรคที่ปรากฏนั้นหายดี

การรักษาทางยา


ณ ปัจจุบันนี้ยังไม่มีตัวยาตัวใดที่สามารถกำจัดเชื้อไวรัสชนิดนี้ได้หายขาด ดังนั้นแล้วแพทย์อาจจะสั่งยาจำพวกที่มีฤทธิ์ต่อต้านไวรัส เช่น acyclovir เป็นต้น ให้กับผู้ติดเชื้อฯ โดยปกติแล้วผู้ติดเชื้อต้องใช้ยา acyclovir นี้วันละห้าครั้ง ตัวยาตัวนี้จะช่วยยับยั้งการแพร่จำนวนของเชื้อไวรัส ระยะเวลาในการเยียวยารักษาโดยใช้ยา acyclovir นั้นอยู่ที่ประมาณห้าวันนับแต่วันที่เริ่มใช้ยาวันแรกจนแผลบริเวณอวัยวะเพศหายเป็นปกติ ในกรณีมีตุ่มและแผลพุพอง ยาเม็ดต้านไวรัสนั้นจะช่วยให้แผลที่ปรากฏนั้นหายเร็วยิ่งขึ้น – ยังสามารถช่วยลดระดับความรุนแรงของอาการได้อีกด้วย แต่ตัวยาต่อต้านไวรัสนี้โดยปกติแล้วจะใช้ในในผู้ติดเชื้อที่แสดงอาการครั้งแรก


เนื่องจากปกติแล้วอาการของโรคเริมที่กำเริบซ้ำนั้นมีความรุนแรงน้อยลง ดังนั้นการรักษาทางยานี้จึงไม่มีความจำเป็นเท่าใดนักต่ออาการในครั้งถัด ๆ ไป


การรักษาแบบเป็นครั้งคราวและการรักษาแบบระงับอาการ

             การรักษาแบบเป็นครั้งคราว – ปกติแล้วมักใช้กับกรณีผู้ติดเชื้อที่มีอาการกำเริบน้อยกว่าหกครั้งต่อปี เป็นการรักษาด้วยคอร์สห้าวัน ในการใช้ยาต่อต้านไวรัสในแต่ละครั้งที่มีอาการของโรคเริมปรากฏ

             การรักษาแบบระงับอาการ – ถ้าผู้ติดเชื้อมีการกำเริบของอาการมากกว่าหกครั้งต่อปี หรือกรณีที่อาการที่กำเริบนั้นมีความรุนแรงมาก อาจมีความจำเป็นต้องใช้ยาต่อต้านไวรัสนานกว่าห้าวัน แต่เป้าหมายที่แท้จริงของการรักษาแบบนี้ก็คือเพื่อป้องกันไม่ให้มีอาการกำเริบขึ้นมาในภายภาคหน้า ดังนั้นผู้ติดเชื้อบางคนอาจใช้ยา acyclovir สองครั้งต่อวันติดต่อกันเป็นเวลาหลายเดือน และถึงแม้ว่าการรักษาแบบระงับอาการนี้จะช่วยลดความเสี่ยงต่อการแพร่เชื้อโรคเริมไปยังคู่รักได้ แต่ก็ยังคงมีโอกาสเป็นไปได้ที่เชื้อโรคเริมนั้นยังสามารถแพร่เชื้อได้อยู่นั่นเอง

 

โรคเริมที่อวัยวะเพศในขณะตั้งครรภ์

           ถ้ากรณีที่มารดามีอาการกำเริบขึ้นของโรคเริมที่อวัยวะเพศก่อนที่จะมีการตั้งครรภ์ โอกาสที่เชื้อโรคจะถ่ายทอดไปยังทารกนั้นค่อนข้างต่ำ นั่นก็เป็นเพราะว่าภูมิคุ้มกันของมารดานั้นจะถูกส่งผ่านไปยังทารกในครรภ์ ยิ่งมารดาผู้นั้นติดเชื้อโรคเริมก่อนการตั้งครรภ์นานเท่าใดระบบภูมิคุ้มกันโรคเริมยิ่งมากขึ้นเท่านั้น และภูมิคุ้มกันที่ถูกสร้างขึ้นมานั้นก็จะถูกถ่ายทอดไปยังทารกในครรภ์ ภูมิคุ้มกันเหล่านั้นจะทำหน้าที่ปกป้องทารกในขณะคลอดและยังคุ้มครองต่อไปอีกหลาย ๆ เดือนหลังคลอดแล้วด้วย

             สำหรับสตรีที่เพิ่งติดเชื้อโรคเริมที่อวัยวะเพศในระยะ 13 สัปดาห์แรก (ไตรมาสแรก) ของการตั้งครรภ์ อัตราความเสี่ยงที่เชื้อโรคจะถูกส่งผ่านไปยังทารกในครรภ์นั้นก็สูงขึ้นมาอีกขั้นหนึ่ง ถ้ามารดาติดเชื้อในระยะท้าย ๆ ระหว่างการตั้งครรภ์ ความเสี่ยงที่ทารกในครรภ์จะได้รับเชื้อนั้นก็ยิ่งเพิ่มสูงขึ้นไปอีก สตรีส่วนใหญ่ผู้ซึ่งได้รับการติดเชื้อระหว่างการตั้งครรภ์ แพทย์มักแนะนำให้ใช้ยา acyclovir (ตัวยาต่อต้านไวรัส) ในขณะที่ตั้งครรภ์นั้น ๆ

            อัตราความเสี่ยงในการส่งผ่านเชื้อโรคเริมไปยังทารกในครรภ์นั้นยิ่งสูงมากขึ้นเมื่อผู้ป่วยติดเชื้อโรคเริมในระยะท้าย ๆ ของการตั้งครรภ์ ความเสี่ยงในการติดเชื้อโรคเริมของทารกนั้นจะเกิดขึ้นเฉพาะขณะที่ยังอยู่ในครรภ์มารดาหรือในช่วงก่อนการคลอด เพราะส่วนใหญ่แพทย์มักจะแนะนำให้มารดาผู้ติดเชื้อโรคเริมที่อวัยวะเพศทำการคลอดโดยการผ่าตัดและ มารดาเองก็จะได้รับยาต่อต้านไวรัสไปด้วย ในกรณีที่มารดาผู้มีอาการกำเริบของเชื้อโรคเริมในช่วงไตรมาศที่สามของการตั้งครรภ์และ ปรากฏมีตุ่มแผลและแผลพุพองบริเวณอวัยวะเพศในช่วงใกล้วันคลอดนั้น ก็อาจมีความจำเป็นเป็นอย่างมากที่จะต้องทำการผ่าตัดในการคลอด แพทย์ส่วนใหญ่จะไม่แนะนำให้ทำการคลอดโดยการผ่าตัดหากว่ามารดาไม่มีอาการเจ็บปวดใด ๆ อีกทั้งได้รับการติดเชื้อโรคเริมมาตั้งแต่ก่อนมีการตั้งครรภ์ เพราะอย่างที่ทราบว่ากรณีนี้โอกาสในการส่งผ่านเชื้อโรคเริมไปยังทารกนั้นมีน้อยมาก ๆ


การป้องกัน เพื่อลดความเสี่ยงของการพัฒนาหรือการแพร่เชื้อโรคเริมที่อวัยวะเพศ :

           สวมใส่ถุงยางอนามัยทุกครั้งเมื่อมีเพศสัมพันธ์

           งดการมีเพศสัมพันธ์ในขณะที่อาการของโรคเริมนั้นยังกำเริบอยู่ (ไม่ว่าจะทางอวัยวะเพศ, ทวารหนัก, หรือผิวหนังสัมผัสผิวหนังก็ตาม)

           หลีกเลี่ยงการจูบเมื่อมีตุ่มใสขึ้นบริเวณปาก

          ไม่ควรมีคู่นอนหลายคน

           ในบางคนอาจพบว่าความเครียด ความอ่อนเพลีย ความเจ็บป่วย การขัดสีผิวหนัง หรือว่าการอาบแดด นั้นเป็นสาเหตุที่กระตุ้นให้อาการของโรคเริมกำเริบขึ้นอีกเรื่อย ๆ ดังนั้นเมื่อทราบว่าปัจจัยใดเป็นตัวกระตุ้นให้อาการกำเริบแล้วก็ควรหลีกเลี่ยงเสีย เพราะนั่นสามารถช่วยลดความถี่ของอาการกำเริบของโรคเริมได้มากทีเดียว


ความรู้เพิ่มเติมเกี่ยวกับโรคเริม

              “ผู้ที่ติดเชื้อโรคเริมที่อวัยวะเพศสามารถทำกิจกรรมทางเพศได้ โดยหลีกเลี่ยงการสัมผัสทางเพศใด ๆ ก็แล้วแต่ในขณะที่แสดงอาการ การสวมถุงยางอนามัยขณะร่วมเพศสามารถช่วยป้องกันการแพร่เชื้อโรคได้”


“ประชากรชาวอเมริกันมากกว่า 50% ติดเชื้อโรคเริมและส่วนใหญ่ไม่ทราบว่าตนเองติดเชื้อ”

“การจูบปากกับผู้ที่มีตุ่มใสที่ริมฝีปากนั้น มีความเสี่ยงสูงที่จะติดเชื้อโรคเริมได้ ”

“คุณไม่สามารถติดเชื้อโรคเริมได้จากการนั่งบนโถชักโครกเดียวกันกับผู้ติดเชื้อ ”

“โรคเริมที่อวัยวะเพศนั้นสามารถกระจายจากจุดหนึ่งของร่างกายไปยังส่วนอื่น ๆ ได้ ”

“ถ้าคุณไม่เคยมีอาการของผู้เป็นโรคเริมเลยนั้น ไม่ได้หมายความว่าคุณไม่ติดเชื้อโรคเริมที่อวัยวะเพศ ”

“ความเครียดสามารถกระตุ้นการกำเริบซ้ำของโรคเริมได้ ”

“ผู้ติดเชื้อโรคเริมที่อวัยวะเพศมีภูมิคุ้มกันอ่อนแอต่อเชื้อไวรัส HIV”

“โรคเริมที่อวัยวะเพศไม่ทำให้เป็นหมัน”




แพทย์ วิสัญญี เภสัชกร ยาแผนปัจจุบัน การดูแลผู้ป่วย สาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ

ควรทานยาปฏิชีวนะให้ครบ
ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
โรคฉี่หนู
อย่ากินแอปเปิ้ลไซเดอร์ถ้าไม่รู้ 4.5 ข้อนี้ article
ผิวดำง่ายมากเกิดจาก 6 ข้อนี้ article
กินอาหารแล้วอ้วนจริงหรือ article
เอ็นข้อศอกอักเสบ เกิดจากอะไร? article
เจาะลึกกระบวนการ 'ทดลองยาในคน' article
กว่าจะเป็นยา ต้องผ่านขั้นตอน อะไรบ้าง? article
5 โรคร้ายรักษาง่ายๆด้วย ข้าวกล้อง article
เคล็บลับนอนหลับง่ายๆโดยไม่ต้องใช้ยา article
5 อาหารไขมันสูงยิ่งกินยิ่งผอม article
มือชา รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
กระดูกพรุน รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
เท้าปุก คืออะไร? รักษาอย่างไร? article
กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
ปวดหลังร้าวลงขา นั่งไม่ได้ รักษาอย่างไร? article
โรคท้องผูก ลำไส้ทำงานอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
การรับมือกับโรคมะเร็ง article
โรคหลอดเลือดหัวใจในหนุ่มสาว article
การจัดการโรคไตเรื้อรัง และสิ่งที่เชื่อผิดๆ article
น้ำดื่มบำรุงไต ไม่อยากฟอกไตต้องดู article
5 ความเชื่อผิดๆที่ทำให้ลดน้ำหนักไม่มีวันสำเร็จ article
7 วิธีควบคุมความดันโดยไม่ต้องพึ่งยา article
3 เทคนิคลดความอ้วน “#ไม่ต้องออกกำลังกาย” article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน