ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




คำตอบสุดท้ายคือ'ประชามติ'

คำตอบสุดท้ายคือ'ประชามติ'

วันศุกร์ที่ 28 ธันวาคม พ.ศ.2555


 
 
          แล้ววาระร้อนเรื่องแก้รัฐธรรมนูญก็ไม่จบ ลากยาวกันข้ามปีกับแนวการควานหาแนวทางที่เหมาะสมเพื่อศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 เพราะเรื่องนี้ถูกแตะเบรกเบาๆ จากศาลรัฐธรรมนูญ ภายหลังการที่ออกมาเนื่องจากมีผู้ร้องในเรื่องการแก้ไขรัฐธรรมนูญทั้งฉบับแก่ศาลรัฐธรรมนูญ ซึ่งความเห็นของตุลาการศาลรัฐธรรมนูญก็มีความต่างกันไป สรุปแล้วรัฐบาลตกผลึกภายใต้การระดมความความคิดว่าแนวทางการนำประชามติมาใช้นั้นย่อมจะเป็นการดีที่สุดในวันนี้ แม้วันนี้จะยังไม่มีความชัดเจนแต่แนวโน้มก็ยังคงมีอยู่ในเรื่องการที่รัฐบาลจะหยิบเรื่องดังกล่าวมาใช้


          ภายหลังมีการประชุมมาหลายนัดระหว่างพรรคร่วมรัฐบาลด้วยกันก็ยังไม่ได้ข้อสรุปว่าจะฟันธงเอาอย่างไร มีเพียงแต่ให้ศึกษาในแต่ละด้านว่าวิธีการไหนจะเหมาะสมและฉลุยที่สุด แม้แต่หัวหอกพรรคเพื่อไทยเองก็ยังมีเสียงที่ต่างกันอยู่บ้าง เพราะหนึ่งในหลักเกณฑ์เกี่ยวกับประชามตินั้นต้องหาคนมาลงรับรองให้ได้เกือบ 25 ล้านเสียง ถึงขนาดที่ ร.ต.อ.เฉลิม อยู่บำรุง รองนายกรัฐมนตรี ถึงกับเอ่ยปากว่าเป็นงานยากแต่ก็จะพยายามทำให้ได้หากเป็นมติพรรค ผิดกับนายวราเทพ รัตนากร รัฐมนตรีประจำสำนักนายกรัฐมนตรี และเลขานุการคณะทำงานพรรคร่วมรัฐบาล เพื่อศึกษาการแก้ไขรัฐธรรมนูญมาตรา 291 ที่บอกว่าจะสามารถลดความขัดแย้งในสังคมได้ เนื่องจากตามระบอบประชาธิปไตย ต้องรับฟังเสียงส่วนใหญ่ ดังนั้น เมื่อได้ข้อยุติในการทำประชามติแล้วทุกฝ่ายควรยอมรับ ขณะเดียวกัน คาดว่าการแก้ไขรัฐธรรมนูญจะใช้เวลาไม่เกิน 2 ปี จะได้รัฐธรรมนูญฉบับใหม่ ซึ่งเมื่อสภาร่างรัฐธรรมนูญเสร็จสิ้นแล้ว ก็จะต้องมีการทำ 'ประชามติ' ในขั้นตอนสุดท้ายด้วย

           โดยนายวราเทพ แบไต๋โดยตรงไปตรงมา ขอยอมทำแบบไม่กักเอาประชามติเป็นประกันฟังเสียงประชาชนไปเลยว่าเอาด้วยหรือไม่ ความเชื่อของนายวราเทพนั้นคือตนเองกำอยู่ในมือแน่นอนแล้วจากเสียงของที่ประชาชนเลือกมาเป็นรัฐบาลซึ่งก็เยอะในระดับหนึ่ง เหลือเพียงแค่รณรงค์และทำความเข้าใจจากประชาชนเท่านั้น ตามความคิดนายวราเทพก็เลยคิดว่าการทำประชามตินั้นไม่อยาก ผิดกับ ร.ต.อ.เฉลิม ที่ออกท่าทางอย่างเห็นได้ชัดว่างานมีเหนื่อยแต่ถ้าจำเป็นต้องช่วยกัน 
จนมาข้อสรุปส่งท้ายของการประชุมนัดแรกของคณะกรรมการศึกษาวิธีการออกเสียงประชามติ ครั้งที่ 1 ที่มอบหมายจากรัฐบาลว่าให้ประชุมได้พิจารณาร่วมกันใน 3 ประเด็นไปให้มหาดไทยได้พิจารณา พร้อมทั้งเชิญจะมีการเชิญคณะกรรมการการเลือกตั้งมาหารือในเรื่องการทำประชามติด้วย....

          มาถามกูรูเรื่องการการจัดการเลือกตั้งย่อมไม่พ้นคณะกรรมการการเลือกตั้งหรือ กกต. โดยนางสดศรี สัตยธรรม กกต.ด้านกิจการพรรคการเมือง 1 ใน 5 อรหันต์ของ กกต. ให้สัมภาษณ์ โดยยอมรับว่าขณะนี้รัฐบาลเองก็ยังไม่ได้แจ้งเรื่องที่จะมีการหารือ แล้วก็กฎหมายก็มีอยู่แล้วใน พ.ร.บ.การออกเสียงประชามติ ซึ่งก็มีคนถามว่า พ.ร.บ.อันนี้ขัดต่อรัฐธรรมนูญหรือไม่ แล้วก็ศาลรับธรรมนูญเคยวินิจฉัยตามความเห็นประธานรัฐสภาให้พิจารณาอันนี้ ก็บอกว่า พ.ร.บ.ออกเสียงประชามติฉบับนี้ไม่ขัดหรือแย้งกับรัฐธรรมนูญ คือมีประเด็นที่ว่า พ.ร.บ.ฉบับนี้ไม่ขัด ก็ดูแล้วถ้าจะถามก็เป็นเรื่องนี้ เพราะตอนนี้ยังไม่มีหนังสือมาว่าจะให้ทำเรื่องอะไร

           “การออกเสียงประชามติถ้ามองในแง่ว่าทำแล้วเป็นประโยชน์กับคนที่ตั้งประเด็นก็ดีไป ถ้าทำแล้วได้ผลลบขึ้นมา กรณีที่จะบอกว่าควรแก้รัฐธรรมนูญทั้งฉบับหรือไม่ ถามประเด็นนี้ก็จะเป็นเหมือนกับกำแพงพิงให้กับรัฐบาล ถ้าไม่ถึงเกณฑ์ก็จะกลายเป็นผลลบ ก็มีการพูดกันมากในเรื่องมีวาระที่ 3 ในการลงมติในมาตรา 291 ก็เกิดความกลัวว่าเสียงจะไม่ถึง คือเรื่องการเมืองข้างหน้าว่ารัฐบาลจะเดินไปได้ลำบากเช่นกันว่าเขาจะไปยังไง มันก็ติดขัดทั้งสองฝ่าย แต่ถ้าเดินตามรูปของศาลรัฐธรรมนูญที่ว่าไว้ เรื่องของผลถ้าออกมาดีก็เป็นกำแพงให้กับรัฐบาล”

         นางสดศรี กล่าวต่อไปว่า การเลือกตั้งกับกับการออกเสียงประชามติมันต่างกันตรงนี้ การออกเสียงประชามติทำให้มีทิศทางให้เดิน การเลือกตั้ง ส.ส.นั้นคือทำยังไงก็ได้ที่ทำให้คนเลือกเรา แต่การออกเสียงประชามติไม่ใช่แบบนั้น มันเป็นการที่ต้องฟังเสียงประชาชน ระบบประชาธิปไตยของบ้านเราการตื่นตัวในเรื่องของสิทธิ์ยังมีความน้อยมาก มันเหมือนกับว่าไม่ใช่หน้าที่ เขารู้สึกว่าเขาจะไปออกเสียงทำไม และออกเสียงแล้วจะได้อะไรขึ้นมา ต้องเสียค่ารถหรือค่าอะไรหลายอย่าง อันนี้คือเป็นจุดอ่อนในการออกเสียงประชามติในประเทศไทย มันไม่ได้มีเหตุจูงใจอะไรที่จะไปออกเสียง เพราะผิดกับต่างประเทศเขาที่คิดว่าเป็นหน้าที่ของประชาชน เพราะกฎหมายที่ออกมาเป็นมติของประชาชนแล้วรัฐจะต้องทำตาม อันนี้ก็คือความต่างกันเพราะพื้นฐานในการมองคนละแง่กัน ฉะนั้น ต้องมั่นใจในการจะทำ เพราะทำแล้วมันจะผลดีแค่ไหน

         รัฐบาลมีทางเลือก 3 ที่รัฐบาลจะทำ ว่าจะโหวตวาระที่ 3 ไปเลยไหม หรือจะทำประชามติก่อน หรือจะแก้ทำเป็นรายมาตราที่พรรคประชาธิปัตย์เคยทำไปแล้วเมื่อปี 2553 ถ้าแก้เป็นรายมาตราก็เอามาตราเป็นหัวใจ ก็มีอยู่ 3 ข้อเท่านั้นที่จะให้เลือกเท่านั้น

          กกต.ด้านกิจการพรรคการเมือง  กล่าวเพิ่มเติมว่า การทำประชามติแบบนี้จะได้ข้อสรุปที่เหมือนกับว่าเกิดความชัดเจนขึ้นมา อันนี้ต้องตั้งโจทย์ที่จะต้องตอบตัวเอง ชีวิตนี้เราต้องการอะไร ต้องมียุทธศาสตร์ในใจ ถ้าออกมาไม่ผ่านมันก็มีแนวทางให้เลือกต่อไปก็คือแก้รายมาตรา แต่มันก็เหมือนกับเสียงรังวัดว่าประชาชนไม่เห็นด้วยไม่ให้แก้แต่คุณก็ยังดึงกันที่จะแก้ หมายถึงว่าถ้าจะทำประชามติจริงๆ ต้องมีความมั่นใจ ประเมินแล้วว่าเราไม่เสียหาย ถ้าผ่านก็ถือว่าเป็นบุญของรัฐบาล มันเป็นเรื่องที่ของการประชาสัมพันธ์ว่าเราจะเอายังไง ในบทบัญญัติของการออกเสียงประชามตินั้นก็คือการให้เปิดเวทีในการมาโต้แย้งกัน มันก็คือการประชาสัมพันธ์และออกโรงว่าสิ่งที่จะแก้นั้นคืออะไรแล้วจะแก้ยังไง ส่วนเรื่องแก้รัฐธรรมนูญเสร็จแล้วนั้นจำเป็นหรือไม่ที่ต้องมีการลงประชามติ ในเรื่องการแก้รัฐธรรมนูญก็ไม่ได้มีการเขียนว่าเมื่อแก้รัฐธรรมนูญแล้วจะต้องการทำประชามติ

          การที่รัฐบาลไม่มั่นใจในศาลรัฐธรรมนูญก็ในความคิดเห็นทำไมไม่ทำอะไรที่มันปลอดภัยกับตัวเอง ถ้าแก้รัฐธรรมนูญก็ควรเดินไปในทางที่รัฐสภามากกว่า เรื่องประชามติก็เป็นเรื่องปกติของนานาประเทศเหมือนกัน ถ้าจะเกิดปัญหามันก็มีได้ตลอดเวลา ถ้าสิ่งไหนที่เดินตามรุ่นพี่ก็จะเป็นเรื่องที่ปลอดภัยกว่า แก้ไปปีละมาตราก็ดีกว่าจะแก้ไปทีเดียวหมดเลย ซึ่งรู้อยู่แล้วว่าเข็นครกขึ้นภูเขาเหมือนกัน ถ้าแก้เป็นบางเรื่องที่มีความจำเป็นแน่นอนว่าไม่มีใครขัดขวางเหมือนกัน

          นางสดศรี ทิ้งท้ายเกี่ยวกับเรื่องประชามติในความเห็นส่วนตัวว่า “ในมุมเรื่องประชามติเป็นเรื่องของการแก้ปัญหาในประเทศบางประเทศเท่านั้นเอง ประเทศไทยยังไม่ถึงจุดนั้น ตราบใดที่ในประเทศไทยยังมีความเห็นต่างกัน ยังมีความหวาดระแวงต่อบางองค์กรที่มองว่าไม่มีความเป็นธรรมกับเขา มันก็ลำบากเหมือนกันที่จะทำในเรื่องนี้ ในช่วงที่หัวเลี้ยวหัวต่อของรัฐบาลที่ดำเนินมาแล้ว 1 ปี ก็น่าจะพิจารณาให้ชัดเจน การไม่ประมาทนั้นเป็นเรื่องสำคัญ ไม่ใช่หมูนะ บางทีไม่ได้ขึ้นอยู่กับตัวเราคนเดียว!”.







เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน