ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




วุฒิสภาห่วง กฎหมายฟอกเงิน-ก่อการร้าย ละเมิดสิทธิ์ปชช.

วุฒิสภาห่วง กฎหมายฟอกเงิน-ก่อการร้าย ละเมิดสิทธิ์ปชช.

วันจันทร์ที่ 14 มกราคม 2556 เวลา 17:11 น.

 
ที่ประชมุมวุฒิสภา เห็นชอบ ‘กม.ฟอกเงิน-ก่อการร้าย’ ด้าน ส.ว.หวั่น ละเมิดสิทธิ์ปชช.ทำลายวิถีชีวิตของประชาชน
               วันนี้ (14 ม.ค.) ที่รัฐสภา ที่ประชุมวุฒิสภามีมติเสียงข้างมาก 83 ต่อ 15 เสียง และ 93เสียง ต่อ 8 เสียง เห็นชอบในร่างพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงิน พ.ศ... และ ร่างพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการสนับสนุนทางการเงิน พ.ศ... ตามลำดับ ซึ่งคณะกรรมาธิการ(กมธ.)ร่วมกันของสภาผู้แทนราษฎรและวุฒิสภาได้พิจารณาเสร็จแล้ว โดยหลังจากนี้จะส่งร่างพ.ร.บ.ทั้งสองฉบับให้สภาฯเพื่อดำเนินการตามขั้นตอนต่อไป

               ทั้งนี้ ก่อนให้ความเห็นชอบ ส.ว.ได้อภิปรายแสดงความเป็นห่วงว่ากฎหมายดังกล่าวอาจจะไปละเมิดสิทธิของประชาชน  เช่น มาตรา 3 ของร่างพ.ร.บ.ป้องกันและปราบปรามการฟอกเงินว่าด้วยการกำหนดความผิดมูลฐานใน (14) ซึ่งกำหนดให้การแสวงหาทรัพยากรธรรมชาติหรือสิ่งแวดล้อมอันมีลักษณะเป็นการ ค้ามีความผิด จะส่งผลให้ประชาชนที่มีวิถีชีวิตอยู่กับธรรมชาติไม่สามารถดำรงชีวิตได้ตาม ปกติ หรือ มาตรา 12 เกี่ยวกับการให้กรมสอบสวนคดีพิเศษเข้ามาสอบสวนได้ อาจจะก่อให้ปัญหาในทางการเมืองอย่างที่เห็นในปัจจุบันได้ โดยนายสุรจิต ชิรเวทย์ ส.ว.สมุทรสงคราม กล่าวว่า กฎหมายดังกล่าวเป็นการเขียนเอาไว้องค์กรต่างชาติเกินไปหรือไม่ เพราะมีบทบัญญัติที่อาจขัดต่อการละเมิดสิทธิเสรีภาพและกระทบต่อวิถีชีวิตของ ประชาชน โดยเฉพาะมาตรา 3 ที่เดิมวุฒิสภาได้แก้ไขให้เพิ่มเนื้อหาเพื่อคุ้มครองวิถีชีวิตประชาชนที่ต้องดำรงชีพด้วยทรัพยากรธรรมชาติไม่ให้มีความผิดตามกฎหมาย แต่เมื่อเสียงข้างมากได้ตัดเนื้อหาไปดังนั้นภาครัฐจะคุ้มครองประชาชนอย่างไร
 
                พล.ต.ท.มาโนช ไกรวงศ์ ส.ว.สุราษฎร์ธานี ในฐานะรองประธานคณะกมธ. ชี้แจงว่า ไม่ได้เป็นการให้อำนาจพนักงานสอบสวนสามารถกระทำละเมิดสิทธิประชาชนได้ เพราะกฎหมายฟอกเงินเป็นกฎหมายทางแพ่ง ซึ่งถือเป็นคนละส่วนกันกับการดำเนินคดีอาญา หมายความว่า หากประชาชนที่เข้าไปหาทรัพยากรในป่าเพื่อการดำรงชีพหรือไม่ได้นำที่ดินไปขาย โดยมิชอบด้วยกฎหมายก็จะไม่มีความผิดตามกฎหมายฟอกเงิน โดยหากจะมีความผิดก็จะผิดเฉพาะทางอาญาเท่านั้นซึ่งไม่เกี่ยวกับกฎหมายฟอก เงิน ที่สำคัญของการพิจารณาคดีจะมีคณะกรรมการธุรกรรมที่ประกอบด้วยตัวแทนจากหลายฝ่ายขึ้นมาตรวจสอบก่อน ส่วนกรณีที่ดีเอสไอสามารถเข้ามาดำเนินการสอบสวนได้ตามกฎหมายฟอกเงินนั้นเป็น ลักษณะที่ป.ป.ง.ต้องยืมอำนาจตามพ.ร.บ.การสอบสวนคดีพิเศษมาใช้เพื่อแสวงหา หลักฐานบางประการ ที่ป.ป.ง.ไม่มีอำนาจดำเนินการได้อย่างการดักฟังโทรศัพท์ หรือการตรวจสอบข้อมูลทางธุรกรรมบางกรณี หากไม่ให้ดีเอสไอเข้ามาร่วมตามกฎหมายก็อาจจะไม่สามารถพิจารณาคดีได้อย่างมี ประสิทธิภาพ และการทำงานตามกฎหมายฟอกเงินของดีเอสไอไม่ได้ปล่อยดีเอสไอดำเนินการโดยลำพัง เพราะป.ป.ง.จะร่วมเข้าไปทำงานด้วย  
 







เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน