ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




เร่งเจรจาเมียนมาร์-องค์กรต่างชาติแก้โรฮิงญา

เร่งเจรจาเมียนมาร์-องค์กรต่างชาติแก้โรฮิงญา

วันศุกร์ที่ 18 มกราคม 2556 เวลา 15:47 น.

 
 
              วันนี้ ( 18 ม.ค.)  ที่กระทรวงการต่างประเทศ  นายสุรพงษ์ โตวิจักษณ์ชัยกุล รองนายกรัฐมนตรีและรมว.ต่างประเทศ กล่าวถึงการดำเนินการกับชาวโรฮิงญา กว่า 900 คน ที่ถูกจับกุมเพราะลักลอบเข้ามาในภาคใต้ของไทย ว่า ชาวโรฮิงญาทั้งหมดให้ถือเป็นผู้หลบหนีเข้าเมืองโดยผิดกฎหมาย และหน่วยงานที่เกี่ยวข้องจะยึดถือการปฏิบัติตามกฎหมายไทย ว่าด้วยผู้หลบหนีเข้าเมืองทางทะเล แต่จะปรับวิธีการให้ยืดหยุ่นและเหมาะสมตามสถานการณ์ โดยเฉพาะการปฏิบัติต่อเด็กและสตรี รวมทั้งการตรวจสอบคัดแยกเหยื่อการค้ามนุษย์ และการจำแนกความผิดตามกฎหมายให้ชัดเจนก่อน โดยน.ส.ยิ่งลักษณ์ ชินวัตร นายกรัฐมนตรี ได้ให้นโยบายไว้ชัดเจนว่าให้คำนึงถึงหลักมนุษยธรรม และต้องให้ความช่วยเหลือด้วยการให้ที่พักพิงไว้ก่อนในเบื้องต้น

               นายสุรพงษ์ กล่าวอีกว่า สำหรับมาตรการในเรื่องนี้ แบ่งเป็นมาตรการเฉพาะหน้าและระยะยาว โดยมาตรการเฉพาะหน้า จะให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องดูแลชาวโรฮิงญากลุ่มนี้ไปก่อน ด้วยงบประมาณของต้นสังกัด  ส่วนมาตรการระยะยาว กระทรวงการต่างประเทศจะดำเนิน ได้แก่
 
1.เจรจากับประเทศเมียนมาร์ และประเทศอื่นๆ เพื่อแก้ไขปัญหาอย่างยั่งยืน โดยเฉพาะกับประเทศต้นทาง
 
2.หารือกับองค์กรระหว่างประเทศด้านมนุษยธรรม อาทิ สำนักงานข้าหลวงใหญ่ผู้ลี้ภัยแห่งสหประชาชาติ(ยูเอ็นเอชซีอาร์) องค์กรนานาชาติเพื่อการย้ายถิ่นฐาน(ไอโอเอ็ม) และกองทุนเพื่อเด็กแห่งสหประชาติ (ยูนิเซฟป และกาชาดสากล(ไอซีอาร์ซี) เพื่อกำหนดแนวทางการดำเนินงานที่เหมาะสม โดยคำนึงของหลักอธิปไตยของไทย
 
3.ให้หน่วยงานที่เกี่ยวข้องจำทำแผนงานและงบประมาณจัดส่งให้สภาความมั่นคงแห่งชาติ หรือสมช. เพื่อบูรณาการแผนงานเพื่อของบประมาณกลางจากรัฐบาล นอกจากนี้ ทางกระทรวงฯได้เริ่มหารือกับผู้แทนของยูเอ็นเอชซีอาร์ และไอโอเอ็ม เมื่อวันที่ 15 ม.ค.ที่ผ่านมา เพื่อกำหนดกรอบบทบาทการเข้ามาให้ความช่วยเหลือ โดยต้องเป็นไปตามหลักอธิปไตยของไทย และจะมีการหารือกันในรายละเอียดอีกครั้งในสัปดาห์หน้า โดยมีแผนจะนำผู้แทนองค์กรระหว่างประเทศด้านมนุษยธรรมลงพื้นที่เยี่ยมชาวโรฮิงญา เพื่อแสดงให้เห็นว่าไทยให้การดูแลคนเหล่านี้อย่างเหมาะสม

               เมื่อถามถึงความเป็นไปได้ในการตั้งศูนย์ช่วยเหลือชาวโรฮิงญา นายสุรพงษ์ กล่าวว่า ต้องดูในรายละเอียดอีกครั้งและขั้นตอนในการดำเนินการตามกฎหมายต้องมีต่อไป อย่างไร หลังจากที่แยกกลุ่มแล้ว แต่ทุกอย่างจะต้องคุยกับองค์กรระหว่างประเทศเพื่อให้เข้าใจในสิ่งที่ไทยดำเนินการ แม้แต่องค์การความร่วมมืออิสลาม(โอไอซี) ก็จะเชิญมาด้วย เพื่อให้มีส่วนร่วมรู้เห็น ยืนยันว่าจะทำเต็มที่ 

              ต่อข้อถามว่าไทยจะพิจารณาส่งตัวชาวโรฮิงญาไปยังประเทศอื่นหรือไม่ นายสุรพงษ์ กล่าวว่า สภาความมั่นคงแห่งชาติ(สมช.) และกระทรวงการต่างประเทศ เห็นว่าเป็นการเข้ามาอย่างผิดกฎหมาย แต่จะส่งกลับหรือไม่นั้น เราต้องมาพิจารณาก่อนว่าออกมาจากประเทศต้นทางด้วยสาเหตุใด เพราะมีขั้นตอนทางกฎหมายอยู่ เป็นเรื่องที่ไทยปฏิบัติมาตลอด อย่างไรก็ตาม ตนขอให้สบายใจ เพราะเมื่อไทยจะทำอะไร ก็จะคำนึงถึงสังคมโลก เพราะไม่อยากให้ใครเข้าใจผิด โดยเราจะทำทุกอย่างด้วยความยุติธรรมและรอบคอบ







เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน