ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




วิธีรักษาฟันคุด

ฟันคุด

อาการของการเป็นฟันคุด 

     ลักษณะอาการของการเป็นฟันคุด คือ การปวดฟันกรามด้านล่าง ฟันคุด คือ ฟันที่ไม่สามารถขึ้นมาในช่องปากได้  เป็นฟันที่เกิดจากฟันซี่อื่นหรอืมีกระดูกขัดขวางการขึ้นของฟันทำให้ขึ้นไม่ได้จึงเรียกกันว่า ฟันคุด สาเหตุของการเกิดฟันคุดมาจาก แท้จริงแล้วยังไม่มีการศึกษาสาเหตุที่แน่นอนแท้จริงของฟันคุด แต่ส่วนใหญ่เกิดจากขนาดของขากรรไกรไม่สัมพันธ์กับขนาดของฟัน 

 

    ถ้าลักษณะขิงขากรรไกรเล็กแต่ฟันมีขนาดใหญ่จึงทำให้ฟันไม่สามารถมาขึ้นได้ในช่องปากจึงกลายเป็นฟันคุดได้  แต่ก็ไม่ใช่ว่าทุกคนที่จะต้องเป็นฟันคุดเพราะบางคนที่ไม่มีปัญหาเรื่องขนาดของฟัน  หรือขากรรไกรก็จะไม่มีปัญหาเรื่องฟันคุดแต่เป็นฟันที่ขึ้นปกติธรรมดาเท่านั้น ฟันคุดต้องเอาออกในช่วงอายุ 16-25 ปีที่สามารถเอาฟันคุดออกแล้วไม่มีปัญหาและผลเสียอื่นๆตามมา  ซึ่งเป็นช่วงที่รากฟันของฟันคุดยังเจริญเติบโตไม่เต็มที่ กระดูกขากรรไกรยังไม่หนาทำให้แผลหายได้ง่ายกว่า

 

 ฟันคุด

สาเหตุของการเกิดฟันคุด

 

 ผลเสียของการไม่เอาฟันคุดออก

 

1.อาจทำให้เกิดเหงือกอักเสบซ้ำได้ อาจทำให้เหงือกเราอักเสบบวมและเป็นซ้ำๆไม่หาย สามารถกลับมาเป็นอีกเรื่อยๆ

 2.อาจทำให้ฟันซี่ที่ติดกับฟันคุดผุได้

 3.กระดูกขากรรไกรอาจหักได้ง่าย บริเวณฟันคุดขากรรไกรจะบางทำให้เกิดการหักของกระดูกขากรรไกรได้ง่าย

     การรักษาฟันคุดทำได้โดยการผ่าเอาฟันคุดออก โดยการฉีดยาชาจนชาเต็มที่ หลังจากนั้นหมอจะเปิดเหงือกเฉพาะส่วนที่คลุมฟันคุดอยู่ออก  แบ่งฟันออกเป็นชิ้นส่วนเล็กและค่อยๆเอาออกที่ส่วนเล็กนั้นจนกว่าจะหมด  จากนั้นล้างด้วยน้ำล้างแผลให้สะอาดขั้นตอนสุดท้ายก็เย็บปิดแผล

 ฟันคุด

ขั้นตอนของการผ่าฟันคุด 

วิธีการดูแลหลังผ่าฟันคุด

 1.กัดผ้าเอาไว้อย่างน้อย 2 ชั่วโมง ถ้าหลังจาก 2 ชั่วโมงที่กัดผ้ายังมีเลือดไหลอยู่ก็ให้กัดต่อจนกว่าเลือดจะหยุดไหล

 

2.ใช้ผ้าห่อน้ำแข็งประคบไว้ 1 วัน หลังจากกลับไปบ้านให้ใช้ผ้าห่อน้ำแข็งประคบด้านนอกปาก จากบริเวณหน้าหูถึงใต้คาง

 

3.ใช้ผ้าชุบน้ำอุ่นจัดๆ ประคบไว้อีกวันหนึ่ง วันที่ 2  หลังจากผ่าฟันคุดให้ใช้น้ำอุ่นประคบในบริเวณเดิมที่ประคบ

 

4.ทานยาแก้ปวด ทานอาหารอ่อนๆ  อาจมีอาการปวดบวมได้เพราะเกิดจากผลข้างเคียง

 

5.ให้ทันตแพทย์ตัดไหมออกวันที่ 7  ระหว่างนี้สามารถแปรงฟันได้ปกติ แต่หลีกเลี่ยงบริเวณที่ผ่าตัดฟันคุดเท่านั้น

 

เมื่อมีอาการหรือสังเกตว่าตนเองอาจมีปัญหาเกี่ยวกับฟุนคุดแนะนำให้รีบไปพบหรือปรึกษาทันตแพทย์เพื่อสุขภาพช่องปากที่ดี




แพทย์ วิสัญญี เภสัชกร ยาแผนปัจจุบัน การดูแลผู้ป่วย สาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ

ควรทานยาปฏิชีวนะให้ครบ
ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
โรคฉี่หนู
อย่ากินแอปเปิ้ลไซเดอร์ถ้าไม่รู้ 4.5 ข้อนี้ article
ผิวดำง่ายมากเกิดจาก 6 ข้อนี้ article
กินอาหารแล้วอ้วนจริงหรือ article
เอ็นข้อศอกอักเสบ เกิดจากอะไร? article
เจาะลึกกระบวนการ 'ทดลองยาในคน' article
กว่าจะเป็นยา ต้องผ่านขั้นตอน อะไรบ้าง? article
5 โรคร้ายรักษาง่ายๆด้วย ข้าวกล้อง article
เคล็บลับนอนหลับง่ายๆโดยไม่ต้องใช้ยา article
5 อาหารไขมันสูงยิ่งกินยิ่งผอม article
มือชา รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
กระดูกพรุน รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
เท้าปุก คืออะไร? รักษาอย่างไร? article
กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
ปวดหลังร้าวลงขา นั่งไม่ได้ รักษาอย่างไร? article
โรคท้องผูก ลำไส้ทำงานอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
การรับมือกับโรคมะเร็ง article
โรคหลอดเลือดหัวใจในหนุ่มสาว article
การจัดการโรคไตเรื้อรัง และสิ่งที่เชื่อผิดๆ article
น้ำดื่มบำรุงไต ไม่อยากฟอกไตต้องดู article
5 ความเชื่อผิดๆที่ทำให้ลดน้ำหนักไม่มีวันสำเร็จ article
7 วิธีควบคุมความดันโดยไม่ต้องพึ่งยา article
3 เทคนิคลดความอ้วน “#ไม่ต้องออกกำลังกาย” article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน