ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนตัน article

 

การส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้น

วิธีการส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร เป็นวิธีหนึ่งซึ่งสามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ ถูกต้องมากยิ่งขึ้น โดยกล้องที่ใช้ตรวจจะมีลักษณะเป็นท่อเล็ก ๆ สามารถโค้งงอไปตามท่อทางเดินอาหารได้

 

ข้อบ่งชี้ในการส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร (Indication for Esophage-gastro duodenoscopy)


ปวดจุกแน่นใต้ลิ้นปี่ ใต้ชายโครงซ้ายเหนือสะดือ เสียดท้อง ปวดแสบท้อง

อาหารไม่ย่อย ลมแน่นท้อง (Dyspepsia)

กลืนอาหารลำบาก (Cysphagia)

กลืนอาหารเจ็บ (Odynophagia)

น้ำหนักลดลง (Weight loss)

เบื่ออาหาร (Anorexia)

อาเจียนบ่อย (Repeated vomiting)

ซีด ภาวะโลหิตจาง (Anemia)

อาเจียนเป็นเลือด (Hematemesis)

ถ่ายอุจจาระดำ (Melena)

พบก้อนในช่องท้องด้านบน (Upper abdominal mass)

การตรวจกระเพาะอาหารและลำไส้ส่วนต้น

วิธีการส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร เป็นวิธีหนึ่งซึ่งสามารถวินิจฉัยโรคได้อย่างรวดเร็ว แม่นยำ ถูกต้องมากยิ่งขึ้น โดยกล้องที่ใช้ตรวจจะมีลักษณะเป็นท่อเล็ก ๆ สามารถโค้งงอไปตามท่อทางเดินอาหารได้ ซึ่งจะเริ่มส่องกล้องนี้เข้าทางช่องปากไปจนถึงลำไส้เล็กส่วนต้น ซึ่งสามารถช่วยให้แพทย์เห็นภาพในกระเพาะอาหารได้อย่างชัดเจน ทั้งลักษณะความผิดปกติและตำแหน่งที่พบความผิดปกติได้ทางจอรับภาพ พร้อมทั้งสามารถบันทึกภาพและนำรูปภาพออกมาดูได้

การเตรียมตัวก่อนมาโรงพยาบาล

1. ต้องงดน้ำ-อาหารอย่างน้อย 6 ชม. และอาหารมื้อสุดท้าย ก่อนงดควรเป็นอาหารอ่อนย่อยง่าย เพื่อให้กระเพาะอาหารว่าง

2. ถ้ามีฟันปลอมให้ถอดออกก่อนการส่องกล้อง

3. ถ้ามียาที่รับประทานอยู่ประจำ ควรแจ้งให้แพทย์ทราบเพื่อพิจารณางดยาถ้าจำเป็น เช่น ยาในกลุ่มละลายลิ่มเลือด แอสไพริน

4. ผู้สูงอายุ หรือผู้ที่มีความวิตกกังวลสูงควรพาญาติมา รพ.ด้วย

5.ควรมาถึง รพ. ก่อนเวลานัดอย่างน้อย 1/2-1 ชม. ก่อนเวลาส่องกล้องขณะที่แพทย์ส่องกล้องท่านจะพบกับอะไรบ้าง

1. ท่านจะได้รับยาชาเฉพาะที่ชนิดพ่นลงในลำคอ ซึ่งสามารถกลืนได้โดยไม่เป็นอันตราย ถ้าผู้ป่วยมีความวิตกกังวลขณะส่องกล้อง แพทย์อาจพิจารณาให้ยาคลายวิตกกังวลซึ่งจะทำให้ท่านสบายขึ้น

2. ท่านจะต้องนอนในท่าตะแคงซ้ายขณะส่องกล้อง และสามารถช่วยแพทย์โดยการกลืนน้ำลายลงคอ เพื่อช่วยให้กล้องผ่านเข้าสู่หลอดอาหารได้สะดวก และลดการรบกวนหลอดอาหารได้ด้วย โดยขั้นตอนนี้แพทย์จะเป็นผู้ให้คำแนะนำตลอดเวลา

3. เมื่อกล้องผ่านหลอดอาหารแล้ว ท่านไม่จำเป็นต้องกลืนน้ำลาย สามารถปล่อยให้น้ำลายไหลลงที่ผ้ากันเปื้อนได้

4. ใช้เวลาในการส่องกล้องประมาณ 5-10 นาที ในระหว่างส่องกล้องท่านอาจจะมีอาการอึดอัดบ้าง เนื่องจากแพทย์จะเป่าลมเข้าทางกล้อง เพื่อขยายกระเพาะอาหารให้เห็นได้ชัดเจน

5. ขณะส่องกล้องท่านจะสามารถหายใจทางจมูกได้ตามปกติ อย่ากลั้นหายใจ เพราะจะทำให้ท่านรู้สึกอึดอัดและไม่สุขสบาย

ประโยชน์ของการส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร

เพื่อตรวจดูหลอดอาหาร กระเพาะอาหารและลำไส้เล็กส่วนต้นว่ามีลักษณะผิดปกติ เช่น ตีบ อุดตัน เป็นแผล อักเสบ เนื้องอก มะเร็ง จุดเลือดออก เส้นเลือดแตกหรือไม่

ถ้าพบลักษณะแผล เนื้องอกมะเร็ง แพทย์จะตัดชิ้นเนื้อเพื่อส่งพิสูจน์ต่อไปว่า เป็นแผลธรรมดา เป็นมะเร็ง หรือมีเชื้อโรคเฮลิโคแบคเตอร์ไพโลไรหรือไม่

ถ้าพบจุดเลือดออก อาจฉีดยาห้ามเลือด หรือใช้ความร้อน จากกระแสไฟฟ้าห้ามเลือด หรือใช้ Hemoclip (คล้ายเข็มเย็บกระดาษ) ช่วยหยุดเลือด

หากมีการตีบตันก็จะใช้กล้องส่องกระเพาะช่วยขยายได้บางส่วน

ในกรณีที่มีเส้นเลือดดำโป่งพองที่ส่วนปลายหลอดอาหาร (พบในผู้ป่วยตับแข็ง ซึ่งจะมีอาการอาเจียนเป็นเลือด) สามารถรัดเส้นเลือดดำที่แตกนี้ได้โดยรัดผ่านกล้องส่องตรวจกระเพาะอาหารซึ่งเป็นวิธีที่นิยมทำ

เพื่อติดตามผลการรักษาด้วยยา ว่าแผลหายดีหรือไม่

ผลข้างเคียงของการส่องกล้องตรวจกระเพาะอาหาร

อาจมีเลือดออก พบได้น้อยกว่า 1:1000 มักพบในรายที่จี้ตัดเนื้องอก หรือตัดชิ้นเนื้อหลาย ๆ แห่ง

การสำลักน้ำลาย เกิดปอดอักเสบ พบได้น้อย

การติดเชื้อ พบได้น้อย

ส่วนอาการเจ็บระคายคอ การดื่มน้ำมาก ๆ จะช่วยได้

การปฏิบัติตัวหลังได้รับการส่องกล้อง

1.ท่านจะรู้สึกเหมือนมีเสมหะติดที่ลำคอ หรือรู้สึกหนา ๆ บริเวณโคนลิ้น ซึ่งเป็นอาการที่เกิดจากฤทธิ์ของยาชา ท่านจะรู้สึกอยู่นานประมาณ 30 นาที แล้วอาการเหล่านี้จะค่อย ๆ หายไปเอง

2. ท่านสามารถอมน้ำบ้วนปากได้ แต่ยังไม่ควรดื่มน้ำในทันที เพราะอาจทำให้ท่านสำลักน้ำได้ เนื่องจากยังมีฤทธิ์ยาชาอยู่จะบังคับการกลืนได้ไม่ดี

3. เมื่อรู้สึกว่าคอหายชาแล้ว ให้ท่านลองจิบน้ำก่อน ถ้าท่านสามารถบังคับการกลืนได้ดี ไม่มีอาการสำลักน้ำจึงสามารถเริ่มรับประทานอาหารได้ และควรเริ่มเป็นอาหารอ่อนก่อน

4. ในกรณีที่ท่านได้รับยาคลายวิตกกังวล ท่านอาจจะต้องนอนในห้องพักฟื้นจนกว่าท่านจะรู้สึกตัวดีจึงกลับบ้านได้

5. ในกรณีที่แพทย์สั่งยารักษาให้ท่าน ควรรับประทานยาให้ครบถ้วนและถูกต้องอย่างเคร่งครัด

6.เพื่อให้การรักษาเป็นไปอย่างต่อเนื่องและมีประสิทธิภาพ ควรมารับการตรวจรักษาตามที่แพทย์นัดทุกครั้ง เพื่อประโยชน์แก่ตัวท่านเอง

ข้อมูลจาก ศูนย์โรคระบบทางเดินอาหารและโรคตับ โรงพยาบาลพญาไท 1/ http://www.phyathai.com

นายแพทย์สุรพงศ์ อำพันวงษ์




แพทย์ วิสัญญี เภสัชกร ยาแผนปัจจุบัน การดูแลผู้ป่วย สาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ

ควรทานยาปฏิชีวนะให้ครบ
ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
โรคฉี่หนู
อย่ากินแอปเปิ้ลไซเดอร์ถ้าไม่รู้ 4.5 ข้อนี้ article
ผิวดำง่ายมากเกิดจาก 6 ข้อนี้ article
กินอาหารแล้วอ้วนจริงหรือ article
เอ็นข้อศอกอักเสบ เกิดจากอะไร? article
เจาะลึกกระบวนการ 'ทดลองยาในคน' article
กว่าจะเป็นยา ต้องผ่านขั้นตอน อะไรบ้าง? article
5 โรคร้ายรักษาง่ายๆด้วย ข้าวกล้อง article
เคล็บลับนอนหลับง่ายๆโดยไม่ต้องใช้ยา article
5 อาหารไขมันสูงยิ่งกินยิ่งผอม article
มือชา รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
กระดูกพรุน รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
เท้าปุก คืออะไร? รักษาอย่างไร? article
กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
ปวดหลังร้าวลงขา นั่งไม่ได้ รักษาอย่างไร? article
โรคท้องผูก ลำไส้ทำงานอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
การรับมือกับโรคมะเร็ง article
โรคหลอดเลือดหัวใจในหนุ่มสาว article
การจัดการโรคไตเรื้อรัง และสิ่งที่เชื่อผิดๆ article
น้ำดื่มบำรุงไต ไม่อยากฟอกไตต้องดู article
5 ความเชื่อผิดๆที่ทำให้ลดน้ำหนักไม่มีวันสำเร็จ article
7 วิธีควบคุมความดันโดยไม่ต้องพึ่งยา article
3 เทคนิคลดความอ้วน “#ไม่ต้องออกกำลังกาย” article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน