ReadyPlanet.com
dot dot
dot

dot
ตราครุฑ




การฉีดซีเมนต์ รักษาภาวะกระดูกสันหลังยุบในโรคกระดูกพรุน article

 การฉีดซีเมนต์ รักษาภาวะกระดูกสันหลังยุบในโรคกระดูกพรุน

3 ก.พ. 2558  เรียบเรียงข้อมูลโดย www.legendnews.net  

 

 

การฉีดซีเมนต์เพื่อเสริมโครงกระดูกสันหลัง (vertebroplsasty / kyphoplasty) เป็นวิธีการรักษาผู้ป่วยที่มีอาการปวดหลังจากภาวะกระดูกสันหลังหัก หรือ ทรุด และภาวะกระดูกสันหลังผิดรูปอันเนื่องมาจากกระดูกพรุนเป็นหลัก รวมถึงผู้ป่วยที่มีเนื้องอก บริเวณไขสันหลังและไขสันหลังบาดเจ็บด้วย ในกลุ่มที่มีอาการปวดมาก และลดภาวะแทรกซ้อนจากการนอนนานๆ ก่อนที่จะรักษาเพิ่มเติมด้วยวิธีอื่น ผู้ป่วยควรได้รับการตรวจ MRI (เอกซเรย์แม่เหล็กไฟฟ้า) เพื่อช่วยระบุตำแหน่ง นอกจากนี้ยังช่วยในการประเมินการกดทับไขสันหลังหรือเส้นประสาท

การฉีดซีเมนต์ไปยังตำแหน่งที่มีการหักยุบของกระดูกสันหลัง โดยซีเมนต์จะเข้าไปแทรกตามกระดูกทำให้กระดูกที่หักยึดติดกันไม่ขยับ และยังมีความแข็งแรงช่วยรับน้ำหนักตัวได้ ทำให้ไม่มีอาการปวดเวลาขยับตัว หรือ เวลา นั่ง ยืน เดิน การรักษาแบบนี้มีความเสี่ยงน้อยและสามารถทำได้โดยไม่ต้องนอนโรงพยาบาล แต่ต้องทำที่ห้องผ่าตัด อีกทั้งเวลาทำผู้ป่วยจะไม่รู้สึกเจ็บขณะทำ เพราะวิสัญญีแพทย์จะเป็นผู้พิจารณาวิธีการฉีดยาชา หรือ ดมยาสลบตามความเหมาะสม ใช้เวลาในการทำประมาณ 30 นาที และผู้ป่วยต้องนอนคว่ำตลอดการฉีด หลังการฉีดผู้ป่วยต้องนอนหงายเป็นเวลา 4 ชั่วโมง เพื่อให้ซีเมนต์ที่ฉีดไปแข็งตัวดี จากนั้นผู้ป่วยสามารถลุกนั่ง ยืน เดิน ได้ โดยทั่วไปอาการปวดจะดีขึ้นมากหรือในบางรายจะไม่มีอาการปวดเลย

ในผู้ป่วยที่ทานยาต้านเกล็ดเลือด หรือ ยาละลายลิ่มเลือด ควรงดยาก่อนทำเป็นเวลา 1 สัปดาห์
 
สำหรับผู้ป่วยบางรายไม่สามารถรักษาโดยวิธีนี้ได้แก่ ผู้ป่วยที่มีภาวะการติดเชื้อ ภาวะเลือดเข็งตัวยาก โรคหัวใจและปอดที่มีอาการมาก แพ้ซีเมนต์หรือสารทึบรังสี เป็นต้น  

โดยโรคกระดูกพรุน พบได้ในหญิงวัยหมดประจำเดือน หรือ ผู้สูงอายุทั้งชายและหญิง ทำให้กระดูกขาดความแข็งแรง และมีความเสี่ยงต่อการเกิดกระดูกหักแม้เกิดจากแรงเพียงเล็กน้อยได้ ผู้ป่วยจะมาพบแพทย์ด้วยอาการปวดหลัง เกิดหลังจากเหตุการณ์กระทบกระเทือนเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตประจำวัน เช่น นั่งรถตกหลุม นั่งกระแทกบนโซฟา หรือ ก้มยกของ เป็นต้น และในบางรายอาจไม่พบเหตุการณ์ที่ทำให้เกิดอาการ ผู้ป่วยเพียงแต่ใช้ชีวิตประจำวันตามปกติ ก็สามารถเกิดภาวะกระดูกสันหลังหักยุบได้

อาการเบื้องต้น

ผู้ป่วยจะมีอาการเจ็บปวดบริเวณกลางหลังตรงตำแหน่งที่มีการหักยุบ โดยอาการปวดจะเป็นมากขึ้นเวลาขยับ เช่น พลิกตะแคงตัวในท่านอน ลุกจากนอนมานั่ง ลุกจากนั่งมายืน บิดตัว ก้ม และเงย เป็นต้น เนื่องจากมีการขยับและเสียดสีกันของกระดูกที่หัก นอกจากนี้ผู้ป่วยจะมีอาการปวดมากขึ้นเวลาที่กระดูกสันหลังรับน้ำหนัก เช่น ท่านั่ง ยืน หรือ เดิน อาการปวดหลังอาจมีเพียงเล็กน้อย ผู้ป่วยสามารถใช้ชีวิตประจำวันได้ หรือปวดมากจนผู้ป่วยไม่สามารถลุกนั่ง ยืน หรือ เดินได้ ต้องนอนอยู่ตลอดเวลา หากมีการเคลื่อนของกระดูกสันหลังอาจไปกดทับไขสันหลัง หรือเส้นประสาท จะทำให้มีอาการชา อ่อนแรงของขา หรือ ทำให้ไม่สามารถควบคุมการขับถ่ายอุจจาระ หรือ ปัสสาวะได้

การรักษาเบื้องต้น ได้แก่

- การพักโดยการจำกัดกิจกรรม ให้ผู้ป่วยนอนพักในระยะแรก และ ลุกนั่ง ยืน เดิน    เท่าที่จำเป็น เช่น ลุกนั่งทานข้าว ยืน เดินไปเข้า ห้องน้ำ เป็นต้น
- ใส่เสื้อพยุงหลังที่เหมาะสม โดยทั่วไปต้องใช้ตัวที่ยาวจากสะโพก ถึงไหล่ จึงจะสามารถประคองกระดูกที่หัก และลดการเคลื่อนไหวของกระดูกที่หักได้ ทำให้มีอาการปวดน้อยลง และลดการยุบเพิ่มขึ้นของกระดูกสันหลังได้ โดยให้ใส่ตลอดเวลาที่มีการทำกิจกรรม เช่น ลุกนั่ง ยืน เดิน เป็นต้น สามารถถอดออกได้เวลานอน หรือ อาบน้ำ
- ให้ยาแก้ปวด เพื่อให้ผู้ป่วยสามารถทำกิจวัตรประจำวันที่จำเป็นได้
- ให้แคลเซียม และวิตามินดี เพื่อช่วยการสมานตัวของกระดูก
- ให้ยาฮอร์โมน Calcitonin ชนิดพ่นจมูก ซึ่งจะช่วยลดอาการเจ็บปวดจากกระดูกสันหลังหักยุบ และยังช่วยในการสมานตัวของกระดูกด้วย

นอกจากนี้ผู้ป่วยควรบริหารแขนขา โดยการขยับแขนขาอยู่เสมอแม้ในท่านอนเพื่อลดการฝ่อตัวของกล้ามเนื้อจากการใช้งานที่น้อยลง และช่วยการไหลเวียนโลหิตด้วย และบริหารปอดโดยการหายใจเข้าออกลึกๆ ยาวๆ เพื่อป้องกันภาวะปอดแฟบจากการนอนนาน

URL : http://thonburihospital.com/2013/Package_Detail.aspx?Id=15

ขอบคุณข้อมูลจากโรงพยาบาลธนบุรี 1

สอบถามข้อมูลเพิ่มเติม
โทร. 0-2421-3870 (เวลา 08.00-22.00น.)
HOT LINE 1645 กด 1 หรือ 0-2487-2000 ต่อ 7470-1
เปิดบริการทุกวัน
Email : 
th@thonburihospital.com
www. http://thonburihospital.com/




แพทย์ วิสัญญี เภสัชกร ยาแผนปัจจุบัน การดูแลผู้ป่วย สาระน่ารู้เกี่ยวกับโรคต่างๆ

ควรทานยาปฏิชีวนะให้ครบ
ดื่มน้ำไม่เพียงพอ
โรคฉี่หนู
อย่ากินแอปเปิ้ลไซเดอร์ถ้าไม่รู้ 4.5 ข้อนี้ article
ผิวดำง่ายมากเกิดจาก 6 ข้อนี้ article
กินอาหารแล้วอ้วนจริงหรือ article
เอ็นข้อศอกอักเสบ เกิดจากอะไร? article
เจาะลึกกระบวนการ 'ทดลองยาในคน' article
กว่าจะเป็นยา ต้องผ่านขั้นตอน อะไรบ้าง? article
5 โรคร้ายรักษาง่ายๆด้วย ข้าวกล้อง article
เคล็บลับนอนหลับง่ายๆโดยไม่ต้องใช้ยา article
5 อาหารไขมันสูงยิ่งกินยิ่งผอม article
มือชา รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
กระดูกพรุน รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
เท้าปุก คืออะไร? รักษาอย่างไร? article
กระดูกสันหลังเสื่อม รักษาอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
ปวดหลังร้าวลงขา นั่งไม่ได้ รักษาอย่างไร? article
โรคท้องผูก ลำไส้ทำงานอย่างไร? เข้าใจทุกประเด็นในคลิปนี้ article
การรับมือกับโรคมะเร็ง article
โรคหลอดเลือดหัวใจในหนุ่มสาว article
การจัดการโรคไตเรื้อรัง และสิ่งที่เชื่อผิดๆ article
น้ำดื่มบำรุงไต ไม่อยากฟอกไตต้องดู article
5 ความเชื่อผิดๆที่ทำให้ลดน้ำหนักไม่มีวันสำเร็จ article
7 วิธีควบคุมความดันโดยไม่ต้องพึ่งยา article
3 เทคนิคลดความอ้วน “#ไม่ต้องออกกำลังกาย” article



เว็บไซต์ www.legendnews.net ไม่สงวนลิขสิทธิ์ ในการคัดลอกหรือเปลี่ยนเป็นชื่อเว็บของท่าน